คลังแนะโอนรถไฟสีแดงใช้เงินกู้ใน พ.ร.บ. 2.2 ล้านล้านบาทแทนกู้ไจก้า เหตุคล่องตัวกว่า ชี้ปัญหาหลักตีความ พ.ร.บ.ฮั้วสัญญา 3 ยืดเยื้อ ด้าน “ชัชชาติ” เร่งสรุปรายละเอียดโครงการ ปรับรถไฟความเร็วสูงระยะแรกสายเหนือลากยาวถึงเชียใหม่ ส่วนอีก 3 เส้นทางทำแค่ระยะแรกเหมือนเดิม
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กำลังเร่งสรุปรายละเอียดโครงการที่จะลงทุนโดยใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งล่าสุดนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เสนอให้ปรับแหล่งเงินลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จากเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพราะเห็นว่ามีความคล่องตัวมากกว่า
“คลังมองว่าการประมูลสายสีแดงมีปัญหามาก เช่น สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท มีปัญหาการตีความเรื่องเป็นกรรมการซ้อนกัน 2 กลุ่มในผู้ยื่นประกวดราคา ซึ่งไม่ผิดกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น แต่อาจเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) ของไทย แต่ไจก้ามองว่าไม่ผิดกฎหมายญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจะรอความชัดเจนจากคลังอีกครั้งเพราะเป็นคนหาแหล่งเงิน ส่วนคมนาคมไม่มีปัญหาเพราะมีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้างโครงการ” นายชัชชาติกล่าว
วานนี้ (16 ม.ค.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าแผนการลงทุนตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ปรับแผนดำเนินงานบางโครงการเพื่อความเหมาะสม เช่น รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 เส้นทาง จะดำเนินการระยะแรก 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนสายเหนือจะก่อสร้างตลอดสาย คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากเดิมจะก่อสร้างช่วงแรกแค่กรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน โดยวงเงินรวม 4 เส้นทางประมาณ 753,105 ล้านบาท โดยจะประกวดราคางานระบบและขบวนรถวงเงิน 150,621 ล้านบาทก่อนภายในไตรมาส 2/56 หรือในเดือนมิถุนายน ซึ่งนอกจากรวดเร็วแล้วจะทำให้กำหนดรูปแบบงานโครงสร้างพื้นฐานได้เหมาะสมมากขึ้น
“ในหลักการประมูลรถไฟความเร็วสูง ในส่วนของงานระบบและตัวรถนั้นจะให้ทำบัญชี (Short List) เพื่อให้แต่ละรายนำเทคโนโลยีมาโชว์ในงานนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงที่จะจัดกลางปีนี้ โดยจะประมูลคัดเลือกผู้ชนะเพียงรายเดียวสำหรับ 3 เส้นทาง คือ เชียงใหม่, นครราชสีมา, หัวหิน เพราะจะเป็นระบบและรถสเปกเดียวกัน ซึ่งทำให้ต้นทุนการจัดหาและการบริหารจัดการถูกลง ประหยัดทั้งการซ่อมบำรุงและแรงงาน ส่วนสายพัทยาอาจต้องแยกเพราะต้องพิจารณาเรื่องความเร็วที่สอดคล้องเพราะอาจจะต้องให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์” นายชัชชาติกล่าว
ส่วนงานก่อสร้างถนนที่จะใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น จะคัดเลือกเส้นทางที่มีความสำคัญด้านการขนส่งที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงและลดต้นทุนลอจิสติกส์ เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 90,000 ล้านบาท ส่วนเส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี จะใช้เงินกู้จาก พ.ร.บ. 2.2 ล้านล้านบาท เฉพาะค่าเวนคืนประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างมีความเป็นไปได้ว่าจะใช้การลงทุนแบบร่วมทุนกับเอกชน (Public-Private Partnership : PPP)
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กำลังเร่งสรุปรายละเอียดโครงการที่จะลงทุนโดยใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งล่าสุดนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เสนอให้ปรับแหล่งเงินลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จากเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพราะเห็นว่ามีความคล่องตัวมากกว่า
“คลังมองว่าการประมูลสายสีแดงมีปัญหามาก เช่น สัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท มีปัญหาการตีความเรื่องเป็นกรรมการซ้อนกัน 2 กลุ่มในผู้ยื่นประกวดราคา ซึ่งไม่ผิดกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น แต่อาจเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) ของไทย แต่ไจก้ามองว่าไม่ผิดกฎหมายญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจะรอความชัดเจนจากคลังอีกครั้งเพราะเป็นคนหาแหล่งเงิน ส่วนคมนาคมไม่มีปัญหาเพราะมีหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้างโครงการ” นายชัชชาติกล่าว
วานนี้ (16 ม.ค.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าแผนการลงทุนตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ปรับแผนดำเนินงานบางโครงการเพื่อความเหมาะสม เช่น รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 เส้นทาง จะดำเนินการระยะแรก 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนสายเหนือจะก่อสร้างตลอดสาย คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากเดิมจะก่อสร้างช่วงแรกแค่กรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน โดยวงเงินรวม 4 เส้นทางประมาณ 753,105 ล้านบาท โดยจะประกวดราคางานระบบและขบวนรถวงเงิน 150,621 ล้านบาทก่อนภายในไตรมาส 2/56 หรือในเดือนมิถุนายน ซึ่งนอกจากรวดเร็วแล้วจะทำให้กำหนดรูปแบบงานโครงสร้างพื้นฐานได้เหมาะสมมากขึ้น
“ในหลักการประมูลรถไฟความเร็วสูง ในส่วนของงานระบบและตัวรถนั้นจะให้ทำบัญชี (Short List) เพื่อให้แต่ละรายนำเทคโนโลยีมาโชว์ในงานนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงที่จะจัดกลางปีนี้ โดยจะประมูลคัดเลือกผู้ชนะเพียงรายเดียวสำหรับ 3 เส้นทาง คือ เชียงใหม่, นครราชสีมา, หัวหิน เพราะจะเป็นระบบและรถสเปกเดียวกัน ซึ่งทำให้ต้นทุนการจัดหาและการบริหารจัดการถูกลง ประหยัดทั้งการซ่อมบำรุงและแรงงาน ส่วนสายพัทยาอาจต้องแยกเพราะต้องพิจารณาเรื่องความเร็วที่สอดคล้องเพราะอาจจะต้องให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์” นายชัชชาติกล่าว
ส่วนงานก่อสร้างถนนที่จะใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทนั้น จะคัดเลือกเส้นทางที่มีความสำคัญด้านการขนส่งที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงและลดต้นทุนลอจิสติกส์ เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 90,000 ล้านบาท ส่วนเส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี จะใช้เงินกู้จาก พ.ร.บ. 2.2 ล้านล้านบาท เฉพาะค่าเวนคืนประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างมีความเป็นไปได้ว่าจะใช้การลงทุนแบบร่วมทุนกับเอกชน (Public-Private Partnership : PPP)