xs
xsm
sm
md
lg

อาจมี “มหาสมุทร” บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจำลองหากมีมหาสมุทรบนดาวเคราะห์พรอกซิมา บี  (M. Kornmesser / EUROPEAN SOUTHERN OBSERVATORY / AFP)
นักวิทยาศาสตร์เผยดาวเคราะห์หินนอกระบบสุริยะที่เผยการค้นพบเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา และอยู่ในขอบเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นั้น อาจมีมหาสมุทรปกคลุมพื้นผิวเหมือนกับโลก

ดาวเคราะห์ดังกล่าวคือ “พรอกซิมา บี” (Proxima b) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เผยการค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้เมื่อเดือน ส.ค.2016 ที่ผ่านมา โดยจัดเป็น “เอกโซพลาเนต" (exoplanet) หรือดาวเคราะห์ที่อยู่ระบบสุริยะนอกระบบ และอาจเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่เป็นเป้าหมายของยานสำรวจจากโลก

ล่าสุดเอเอฟพีรายงานว่า ทีมนักวิจัยรวมถึงนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากสถาบันซเอ็นอาร์เอส (CNRS research institute) ในฝรั่งเศส ได้ออกมาเผยเพิ่มเติมว่า นักวิจัยได้คำนวณขนาดของดาวเคราะห์และคำนวณพบว่าอาจจะมีมหาสมุทรบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดังกล่าวเหมือนโลก

พรอกซิมา บี เป็นดาวเคราะห์หินที่โคจรรอบดาวฤกษ์ พรอกซิมา เซนทอรี (Proxima Centauri) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 4 ปีแสง มวลของดาวเคราะห์ดวงนี้เป็น 1.3 เท่าของโลก และโคจรห่างจากดาวฤกษ์ของตัวเอง 7.5 ล้านกิโลเมตร หรือเป็นระยะทาง 10 เท่าของระยะโคจรรอบดาวฤกษ์ของดาวพุธซึ่งโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

ระยะห่างวงโคจรรอบดาวฤกษ์ของ พรอกซิมา บี อยู่ใน “เขตอบอุ่น” เป็นขอบเขตที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ แม้ว่าอาจจะบางคนเห็นว่าระยะดังกล่าวอยู่ใกล้ดาวฤกษ์เกินไป แต่นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันซีเอ็นอาร์เอสแถลงว่า ระยะดังกล่าวไม่จำเป็นว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์ พรอกซิมา บี จะร้อนจนน้ำไม่สามารถอยู่ในรูปของเหลวได้

ทั้งนี้ เนื่องจากดาวฤกษ์ พรอกซิมา เซนทอรี นั้นเล็กกว่าและมีกำลังน้อยกว่าดวงอาทิตย์ 1,000 เท่า ทำให้ตำแหน่งของดาวเคราะห์ พรอกซิมา บี นั้นอยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ และที่พื้นผิวดาวเคราะห์อาจจะเหมาะสมสำหรับมีน้ำในรูปของเหลว และนั้นอาจจะมีสิ่งมีบางประเภทดำรงอยู่

สำหรับขนาดของดาวเคราะห์เอกโซพลาเนทนั้น โดยทั่วไปจะคำนวณโดยวัดจากความสว่างของแสงดวงฤกษ์ที่ลดลงขณะดาวเคราะห์ดวงนั้นผ่านหน้าเมื่อสังเกตจากมุมมองบนโลก ทว่าไม่เคยสังเกต “การผ่านหน้า” (transit) แบบของดาวเคราะห์ พรอกซิมา บี มาก่อน ดังนั้น ทีมวิจัยจึงต้องพึ่งแบบจำลองเพื่อคาดการณ์องค์ประกอบและรัศมีของดาวเคราะห์ดวงนี้

ผลการคำนวณพบว่าดาวเคราะห์นี้นาจะมีรัศมีอยู่ระหว่าง 0.94-1.4 เท่าของโลก ซึ่งมีรัศมีประมาณ 6,371 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย

เมื่ออนุมานว่าดาวเคราะห์นี้มีรัศมี 5,990 กิโลเมตร ดาวเคราะห์นี้จะมีความหนาแน่นสูงมาก และมีแกนกลางเป็นโลหะ 2 ใน 3 เท่าของมวลดาวเคราะห์ทั้งหมด และล้อมรอบด้วยเปลือกหินแข็ง และหากดาวเคราะห์มีพื้นผิวเป็นน้ำ น้ำนั้นจะมีไม่ถึง 0.05% ของมวลดาวเคราะห์ทั้งหมด คล้ายกับโลกที่มีมวลน้ำประมาณ 0.02%

ทว่า หากดาวเคราะห์ พรอกซิมา บี มีขนาดใหญ่กว่านั้นตามผลคำนวณ คือมีรัศมี 8,920 กิโลเมตร มวลของดาวเคราะห์ดวงนี้จะแบ่งเป็นแกนกลางหิน 50% และล้อมรอบด้วยน้ำ 50% กรณีนี้น้ำในมหาสมุทรบนดาวเคราะห์จะลึกถึง 200 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกรณีไม่ว่าดาวเคราะห์ พรอกซิมา บี จะมีรัศมีเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าโลก ล้วนมีขั้นบรรยากาศของก๊าซล้อมรอบดาวเคราะห์ไว้เหมือนกรณีของโลก ซึ่งจะส่งผลให้ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกไม่กี่ีแสงนี้ อยู่ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ภาพจำลองดาวเคราะห์พรอกซิมา บี ขณะโคจรรอบดาวฤกษ์ พรอกซิมา เซนทอรี   (AFP Photo/M. Kornmesser)





กำลังโหลดความคิดเห็น