xs
xsm
sm
md
lg

“จูโน” เข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสสำเร็จ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพจำลองยานอวกาศจูโน (Robyn BECK / AFP)
นาซาประกาศ “จูโน” ยานอวกาศไร้คนขับจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อลดความเร็วเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสแล้ว และเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ

ยานอวกาศไร้คนขับ “จูโน” (Juno) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จุดเครื่องยนต์หลักเพื่อชะลอความเร็ว เพื่อเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีแล้วเมื่อเวลา 10.18 น.วันที่ 5 ก.ค.2016 ตามเวลาประเทศไทย แต่ตรงกับวันชาติสหรัฐฯ ตามเวลาท้องถิ่น

เอเอฟพีรายงานตามประกาศอย่างเป็นทางการของนาซา ณ ห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory) ของนาซา ทั้งนี้ ต้องใช้เวลา 35 นาทีหลังจุดเครื่องยนต์หลักเพื่อแน่ใจว่ายานอวกาศได้เข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ของระบบสุริยะแล้ว และยานสามารถเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสฯ ได้สำเร็จ

นาซาส่งยานจูโนเมื่อ 5 ส.ค.2011 แล้ว เข้าสู่ปฏิบัติออกสู่อวกาศห้วงลึกเมื่อเดือน ส.ค.-ก.ย.2013 จากนั้นบินผ่านโลกเมื่ออาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ้วงโลกเมื่อ ต.ค.2013 แล้วเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสสำเร็จในเดือน ก.ค.2016 และตามกำหนดจูโนจะโคจรรอบดาวพฤหัสเป็นเวลา 20 เดือน หรือโคจรจนครบ 37 รอบ จากนั้นจะสิ้นสุดภารกิจในเดือน ก.พ. 2018

เป้าหมายหลักของยานจูโนคือทำความเข้าใจถึงกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวพฤหัสบดี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ข้อมูลจากนาซาระบุว่า ลึกลงไปใต้เมฆหนาที่ปกคลุมดาวก๊าซยักษ์ดวงนี้ มีความลับของกระบวนการและปัจจัยเริ่มต้นที่ควบคุมระบบสุริยะของเราระหว่างก่อกำเนิด

ความเข้าใจในดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์เพื่อนบ้านเรานี้จะเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจระบบดาวเคราะห์นอกระบบที่พบในระบบดาวฤกษ์อื่นๆ

เครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ครบครันของจูโนจะช่วยในการส่องสำรวจถึงการมีอยู่ของแกนกลางดาวเคราะห์ที่เป็นของแข็ง รวมถึงทำแผนที่สนามแม่เหล็กที่เข้มข้นของดาวพฤหัสฯ และวัดปริมาณน้ำกับแอมโมเนียในชั้นบรรยากาศที่อยู่ลึกลงไป พร้อมกับสังเกตปรากฏการณ์แสงออโรราที่ขั้วดาวเคราะห์ด้วย

“จูโนจะช่วยให้ความเข้าใจของเราเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ว่าดาวเคราะห์ยักษ์ก่อกำเนิดอย่างไร แล้วดาวเคราะห์ยักษ์เหล่านี้มีบทบาทช่วยให้ดาวเคราะห์ที่เหลือคงอยู่ร่วมกันในระบบสุริยะอย่างได้” นาซาระบุข้อมูลเบื้องต้นของภารกิจยานจูโน

***** F5/refresh to continue *****

- 5 ปี “จูโน” สู่วงโคจรดาวพฤหัส
นาซาถ่ายทอดสดบรรยากาศควบคุม จูโน เข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัส









กำลังโหลดความคิดเห็น