xs
xsm
sm
md
lg

วิศวกรพบสาเหตุโบสถ์บางใหญ่ถล่ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วิศวกรพบสาเหตุโบสถ์บางใหญ่ถล่มเพราะระบบรอกและแม่แรงรับน้ำหนักไม่เพียงพอ ระบุวัด-โบสถ์เป็นอาคารสาธารณะที่ควรมีวิศวกรควบคุม แต่มีกฎหมายพิเศษจึงมักใช้ช่าวท้องถิ่นที่อาศัยการทำงานตามประสบการณ์ ต่างจากวิศวกรที่ต้องควรก่อนเพื่อความปลอดภัย

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นักวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในฐานะรองเลขาธิการสภาวิศวกร ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 27 ส.ค.58 เพื่อสำรวจความเสียหายของอุโบสถวัดต้นเชือก อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี พังถล่มเมื่อวันที่ 25 ส.ค.58 ที่ผ่านมาขณะยกพื้นหนีน้ำท่วม

จากการสำรวจ ศ.ดร.อมรพบว่าการถล่มของอุโบสถเกิดจากการยกขึ้นสูงเกินไป และระบบรอกกับระบบแม่แรงรับน้ำหนักไม่เพียงพอ ซึ่งปกติการทำงานในลักษณธนี้จัดอยู่อาคารสาธารณะควบคุมที่ต้องมีวิศวกรออกแบบและคำนวณ เนื่องจากพื้นที่โบสถ์ 200 ตารางเมตร และหนักถึง 200-300 ตันนั้นจัดว่าเป็นอาคารขนาดใหญ่

“พอยกโครงสร้างใหญ่ ต้องมีระบบสำรองรับน้ำหนัก เพื่อให้ระบบทำงานแทนระบบหลักที่อาจเสียหาย ต้อง “สกรูว์แจ็ค” สำหรับสอดใต้ท้องคานเพื่อคานน้ำหนัก กรณีนี้เสาเข็มเล็กไม่แข็งแรง เมื่อยกสูงค้างไว้นานๆ แรงจะหายไป เวลาถ่ายน้ำหนักจะเกิดความไม่สมดุล แล้วทำให้กระแทกพื้นลงมาทันที” ศ.ดร.อมรอธิบาย

รองเลขาธิการสภาวิศวกรยังแสดงความเป็นห่วงว่าลมฝนที่รุนแรงจะทำให้เศษซากปลิวสร้างความเสียหาย และดินจะอุ้มน้ำจากน้ำฝนที่ตกลงมา จึงควรรื้อถอนโดยเร็วภายใต้การควบคุมของวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาต และการสร้างโบสถ์และวัดนั้นจัดเป็นอาคารสาธารณะเพราะมีประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ การก่อสร้างจึงต้องมีวิสวกรควบคุมแต่ที่ผ่านมา เข้าใจว่าหลายๆ กรณีไม่มีวิศวกร อาศัยเพียงช่างท้องถิ่นที่ทำตามประสบการณ์

“ความแตกต่างระหว่างการทำงานของวิศวกรและช่างท้องถิ่นที่อาศัยประสบการณ์คือ กรณีวิศวกรจะต้องคำนวณก่อน ว่าพื้นที่แต่ละส่วนมีน้ำหนักเท่าไร กำแพงหนาเท่าไร เพื่อคำนวณว่าต้องใช้แม่แรงกี่ตัว และต้องเผื่อแม่แรงเท่าไรเพื่อความปลอดภัย แต่กรณีช่างที่อาศัยเพียงประสบการณ์จะกะเอาคร่าวๆ ถ้ากะถูกก็ดี แต่ถ้าโครงสร้างใหญ่อาจใช้แม่แรงไม่พอ” ศ.ดร.อมรอธิบายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์













กำลังโหลดความคิดเห็น