xs
xsm
sm
md
lg

SuperSci: “มะลิ” ของแทนใจให้คุณแม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

มะลิ (จากแฟ้มภาพศูนย์ข่าวภาคใต้ ผู้จัดการออนไลน์)
ถ้าพูดถึง “วันแม่แห่งชาติ” อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น “ดอกมะลิ” ดอกไม้สีขาวกลิ่นหอมละมุนแทนใจ ที่ใครๆ ต่างก็ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ แต่เคยรู้หรือไม่ว่าข้อมูลทางชีววิทยาของมะลิเป็นอย่างไร มะลิที่เราคุ้นเคยคือพืชชนิดไหน ตามไปรู้จัก “มะลิ” ให้มากขึ้นไปพร้อมๆ กับเรา




SuperSci สัปดาห์นี้ พามาทำความรู้จักกับเรื่องราวของ “มะลิ” ให้มากขึ้น กับนักพฤกษศาสตร์ไทย ผศ.ดร.ปิยะซักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวว่า มะลิ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า จัสมิน (Jasmine) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “จัสมินุม สปีชี่ส์” (Jasminum sp. L.) มะลิในประเทศไทยมีทั้งที่เป็นไม้พุ่ม และเถาเลื้อย มีมากมายหลายชนิด บางชนิดให้สารออกกลิ่น บางชนิดมีกลีบดอกชั้นเดียว บางชนิดมีกลีบดอกซ้อน ดอกที่ซ้อนส่วนมากมีตั้งแต่ 4,6 วงกลีบ หรือมากถึง 8-9 กลีบก็มี ซึ่งคนไทยมักรู้จักในชื่อ มะลิซ้อน และ มะลิลา มะลิจัดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีความหลากหลายสูง

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ เผยด้วยว่า มะลิไม่ได้พบได้เฉพาะแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังพบได้ทั่วทุกพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้รวมไปถึงแถบเมดิเตอเรเนียนแต่จะมีจำนวนน้อยกว่า โดยเป็นพืชที่ต้องการแดดจัด และความชื้นสูง ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

คนไทยมีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับใช้มะลิมาตั้งแต่โบราณจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพราะนิยมนำมะลิร้อยพวงมาลัยเพื่อเป็นเครื่องบูชาทางศาสนา และยังบรรจุมะลิให้เป็นดอกไม้ในตำรับยา ตำรับอาหาร เช่นที่เห็นเป็นส่วนประกอบของอาหารและขนมไทยบางชนิด นอกจากนี้ยังถูกนำไปสกัดเป็นหัวน้ำหอมเพราะมีกลิ่นหอมเย็นและสุภาพซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัว

“ด้วยความที่มะลิให้กลิ่นหอมสะอาด มีสีขาวบริสุทธิ์ และมีลิ่นที่หอมติดทนนาน มะลิจึงเป็นดอกไม้ที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่ เพื่อแทนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกอยู่เสมอ” ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าว
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย







แม่คำนาง ศรีสะอาด ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น ปรับตัวรับแล้งด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ดาวเรือง มะลิ รัก มะนาว พริก แทนการปลูกข้าว สร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท โดยใช้น้ำจากสระเก็บกักในหมู่บ้าน หน้าแล้งนี้จึงไม่มีอดตาย อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #savewater #adtvscience #kohkhean #thailand #farmer #water #crisis #flower #garden

รูปภาพที่โพสต์โดย AstvScience (@astvscience) เมื่อ



กำลังโหลดความคิดเห็น