xs
xsm
sm
md
lg

เบื้องหลังส่ง "เหี้ย" คืนคลอง "บุ๋ย" สุดทุลักทุเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

น้องบุ๋ย .. เหี้ยขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก 22 กิโลกรัม มีอายุประมาณ 20 ปี
เก็บมาฝากภาพบรรยากาศการปล่อย "น้องบุ๋ย" เหี้ยป่วยในมหิดล ศาลายา ที่กลับมาแข็งแรงร่าเริงอีกครั้ง หลังป่วยหนักจนต้องแอดมิตที่โรงพยาบาลสัตว์นานนับ 2 เดือน จะหวาดเสียวแค่ไหน? ทุลักทุเลเพียงใด? แล้วน้องบุ๋ยจะยอมลงน้ำกลับบ้านหรือไม่? ภาพชุดนี้อธิบายไว้อย่างชัดเจน



ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ไปยังคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม เพื่อติดตามการทำงานของ "ทีมหมอเหี้ย" และเก็บภาพ "น้องบุ๋ย" แบบทุกซอกทุกมุมก่อนถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติมาฝาก

สพ.ญ.อภิษฎา วิเศษศรีพงษ์ หรือ หมอส้มโอ สัตวแพทย์ผู้ดูแลน้องบุ๋ย ได้เผยกับทีมข่าวผู้จัดการด้วยว่า รู้สึกดีใจที่น้องบุ๋ยหายดีจนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ เพราะตอนนำมาแอดมิตเพื่อรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ น้องบุ๋ยต้องอยู่ในถังไฟเบอร์กลาสซึ่งคับแคบอาจทำให้ไม่สะดวกสบาย

"ดีใจค่ะ ที่น้องบุ๋ยได้กลับบ้านสักที แต่อีกใจหนึ่งก็ใจหายเพราะรู้สึกผูกพัน เกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งหมอต้น หมออ้อย และอีกหลายๆ คนช่วยกันดูแลน้องบุ๋ยอย่างดีมาตลอด โดยส่วนตัวจะเป็นคนให้ยา เปลี่ยนน้ำ ให้อาหาร พาไปเดินเล่นรับแสงแดด และทำกายภาพตลอด บุ๋ยกลับบ้านแล้วก็คงคิดถึงนิดๆ ถ้ามีเวลาก็ตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมน้องบุ๋ย ที่คลองบุ๋ยบ่อยๆ" หมอส้มโอกล่าว
น้องบุ๋ยนอนสงบนิ่งอยู่ในอ่าง
แผ่นตาข่ายถูกเปิดออกเตรียมการเคลื่อนย้าย
ที่ผิวหนังของน้องบุ๋ยมีลักษณะเปื่อยยุ่ยเล็กน้อย เนื่องจากกำลังลอกคราบ
ขนาดของน้องบุ๋ยเมื่อเทียบกับตัวของ หมออ้อย
หมอต้นและหมอส้มโอ ย้ายน้องบุ๋ยออกมาจากอ่างเพื่อใส่สายจูง โดยใช้กระสอบปิดตาไว้กันสัตว์ตื่นตระหนก
รศ.น.สพ.ดร.จิตรกมล ธนศักดิ์ หรือ หมอต้น ใส่สายจูงให้น้องบุ๋ยเพื่อให้สะดวกกับการเคลื่อนย้าย
หมออ้อย หรือ น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล โพสต์ท่าคู่น้องบุ๋ยทิ้งทวน
3 สัตวแพทย์ทีมหมอเหี้ยพร้อมไปส่งน้องบุ๋ยกลับบ้าน
เคลื่อนย้ายน้องบุ๋ยจากคณะสัตวแพทย์ไปยังคณะสิ่งแวดล้อมด้วยรถกอล์ฟของมหาวิทยาลัย
จับน้องบุ๋ยขึ้นรถพร้อมเคลื่อนย้าย
ทีมรปภ.ดูแลน้องบุ๋ยอย่างดีพร้อมปลอบประโลมไม่ให้ตกใจ
ใกล้ถึงบ้านทำให้น้องบุ๋ยมีแรง  เริ่มดิ้นหนีจนต้องใช้ 4 คนยก
ถอดสายจูงน้องบุ๋ยออกเตรียมปล่อยคืนธรรมชาติ
ทีมสัตวแพทย์ประชุมเตรียมปล่อยน้องบุ๋ย
ใกล้ถึงเวลาปล่อยน้องบุ๋ยยิ่งดูคึกคัก
เริ่มเดินลงตลิ่ง
หมอต้นให้ลูกเจี๊ยบเป็นอาหารเร่งให้บุ๋ยลงน้ำเร็วขึ้น
ค่อยๆเดินลงไปช้า  เพราะขาหลังอ่อนแรง
น้องบุ๋ยค่อยๆลงน้ำ
เหลียวซ้ายแลขวาหาเพื่อนพวกเดียวกัน
ลงน้ำไปเป็นที่เรียบร้อย
น้องบุ๋ยยังคงว่ายพยุงตัวอยู่ตามแนวริมตลิ่ง
หน้าตาดูมีความสุขกว่าตอนอยู่ในอ่างของโรงพยาบาล
เริ่มว่ายเข้าฝั่งมาหาอาหารที่หมอส้มโอให้
หมอส้มโอให้ไข่ต้มแก่น้องบุ๋ย
ซากลูกเจี๊ยบอาหารโปรดของน้องบุ๋ย
อ้าปากรับลูกเจี๊ยบไปกินอย่างเอร็ดอร่อย
นักศึกษาและบุคลากรมาร่วมส่งน้องบุ๋ย
ทุกคนต่างหยิบโทรศัพท์มือถือมาบันทึกภาพไว้เก็บความประทับใจ
เหี้ยน้องบุ๋ยและทีมหมอเหี้ย







แม่คำนาง ศรีสะอาด ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น ปรับตัวรับแล้งด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ดาวเรือง มะลิ รัก มะนาว พริก แทนการปลูกข้าว สร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท โดยใช้น้ำจากสระเก็บกักในหมู่บ้าน หน้าแล้งนี้จึงไม่มีอดตาย อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #savewater #adtvscience #kohkhean #thailand #farmer #water #crisis #flower #garden

รูปภาพที่โพสต์โดย AstvScience (@astvscience) เมื่อ



กำลังโหลดความคิดเห็น