นักวิจัย มจธ.พัฒนากระดาษตรวจเบาหวาน โรคเก๊าท์ กล้ามเนื้ออักเสบราคาไม่ถึง 5 บาท เป็นกระดาษเคลือบขี้ผึ้งแทนพอลิเมอร์และใยสังเคราะห์ ลดต้นทุนนำเข้า ใช้ตรวจน้ำตาล ยูริค และแลกเทส สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โรคเก๊าท์และนักกีฬาเป็นตะคริวบ่อย ล่าสุด เล็งใช้กระดาษตรวจสารพิษในอากาศ
โดยปกติผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาล หรือ โรคเก๊าท์ ที่ต้องควบคุมกรดยูริคมักจะเลือกซื้อชุดคิทไว้ตรวจปัสสาวะเองที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล แต่มักประสบปัญหาชุดตรวจมีราคาสูง ตั้งแต่ 40-120 บาทเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้ามีราคาแพง อีกทั้งวัสดุที่ใช้มีต้นทุนสูงประกอบกันทั้งพลาสติก เส้นใยเซลลูโลส ทำให้ผู้ป่วยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงตามไปด้วย
จากกรณีดังกล่าว ทำให้ ดร.วิจิตรา เดือนฉาย นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ประจำปี 2557 จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้พัฒนาชุดคิทด้วยกระดาษเพียงอย่างเดียวกระทั่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงไปประมาณ 3 เท่า เพราะทุกวันนี้เราซื้อชุดตรวจวัดต่างๆ จากต่างประเทศมีราคาแพงมาก เธอจึงคิดที่จะทำชุดตรวจอย่างง่าย
“เป้าหมายคือราคาถูกลง แต่ใช้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งชุดตรวจส่วนใหญ่จะใช้พลาสติก หรือเส้นใยเซลลูโลส หรืออาจจะมีพอลิเมอร์ใยสังเคราะห์บ้าง และจะต้องมีเบสหรือพื้นฐานเป็นพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นชุดตรวจยูริค หรือชุดตรวจเบาหวานก็ตามจะมีราคาแพงเพราะเส้นใยที่ใช้มีราคาแพง แต่ชุดตรวจของเราจะทำบนกระดาษและไม่ใช้เครื่องมืออะไรเลย แต่จะต้องคิดค้นปฏิกิริยาเคมีขึ้นใหม่เพื่อเคลือบลงบนกระดาษ” ดร.วิจิตรากล่าว
ดร.วิจิตรา อธิบายว่า งานวิจัยเริ่มจากการนำเอากระดาษมาเคลือบเฉพาะขอบด้วยพอลิเมอร์ แต่พบว่าพอลิเมอร์ยังมีราคาสูง จึงทดลองใช้ขี้ผึ้งแทนโดยให้ขี้ผึ้งเป็นตัวควบคุมพื้นที่การหยดของเหลวที่ต้องการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นเลือดหรือปัสสาวะรวมถึงการใช้ขี้ผึ้งในการควบคุมทิศทางการไหลของของเหลว
นอกจากนี้ยังทำให้สามารถแตกงานวิจัยออกไปหลายๆ ส่วนตั้งแต่การขึ้นรูป การพัฒนาเทคนิคการเคลือบให้กระดาษที่ไม่ต้องการให้ของเหลวไหลไปมีความแข็งขึ้น ที่น่าสนใจคือการพัฒนารูปแบบในการแปรผลสำหรับชุดตรวจเบาหวาน ที่เดิมต้องนำกระดาษไปเสียบแปรผลบนมิเตอร์ เพื่อให้เครื่องแปลผลให้ ประกอบกับมิเตอร์ดังกล่าวมีราคาแพงต่ำสุด 5,000 -15,000 บาท ขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต ดร.วิจิตราจึงพัฒนารูปแบบการแปรผลให้มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัด เมื่อสารเหลวเคลื่อนตัวทำปฏิกิริยาเคมีบนกระดาษและไปหยุดอยู่ตรงเส้นไหนของไม้บรรทัด ให้อ่านค่าแปรผล ณ จุดนั้น
“ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะพบน้ำตาลในปัสสาวะ เมื่อนำปัสสาวะไปหยดลงบนกระดาษที่เคลือบสารจำเพาะและผ่านการควบคุมทิศทางการไหลของของเหลวแล้ว กลูโคสสามารถไหลไปได้ไกลและเกิดสีกับสารตั้งต้นที่เคลือบไว้บนช่องไหลเท่าที่มีอยู่มากหรือน้อย หากมีกลูโคสมากสีที่เกิดจะมีระยะทางไกลหากมีกลูโคสน้อยสีที่เกิดจะมีระยะทางสั้น เมื่อมาอ่านค่าบนไม้บรรทัดที่วิจัยขึ้นก็ทำให้ทราบผลทันที” ดร.วิจิตรา
ดร.วิจิตรา กล่าวว่า ในประเทศไทยนอกจากใช้มิเตอร์ในการแปรผลตรวจแล้ว ยังสามารถใช้การเทียบแถบสีว่ามีน้ำตาลต่ำหรือสูงได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักเข้าข้างตัวเองเรื่องค่าสูงหรือต่ำทำให้การอ่านค่าผิดเพี้ยน ดังนั้นการใช้วิธีการแปรผลโดยใช้ไม้บรรทัดจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่นอกจากลดค่าใช้จ่ายในการซื้อมิเตอร์ราคาแพงแล้วยังช่วยให้การอ่านค่าแปรผลเป็นไปอย่างแม่นยำอีกด้วย
ปัจจุบัน ดร.วิจิตรา สามารถพัฒนากระดาษที่สามารถตรวจได้ทั้งกลูโคสสำหรับเบาหวาน ตรวจยูริคสำหรับโรคเก๊าท์ และตรวจหาแลคเทสสำหรับกลุ่มนักกีฬาที่มีอาการเป็นตะคริวบ่อยๆ เพื่อดูความฟิตของกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งหมดน่าจะผลิตออกมาให้คนไทยใช้ได้จริงในอีกไม่เกิน 2 ปี เนื่องจากงบประมาณการลงทุนต้องอาศัยภาคเอกชนในการเข้ามาผลิตและจำหน่าย อย่างไรก็ตามล่าสุด ดร.วิจิตรายังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เพื่อนำกระดาษไปประยุกต์ใช้กับการตรวจสภาวะอากาศที่มีออกซิแดนคอมพาวด์ที่เป็นพิษซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย
โดยปกติผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาล หรือ โรคเก๊าท์ ที่ต้องควบคุมกรดยูริคมักจะเลือกซื้อชุดคิทไว้ตรวจปัสสาวะเองที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล แต่มักประสบปัญหาชุดตรวจมีราคาสูง ตั้งแต่ 40-120 บาทเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้ามีราคาแพง อีกทั้งวัสดุที่ใช้มีต้นทุนสูงประกอบกันทั้งพลาสติก เส้นใยเซลลูโลส ทำให้ผู้ป่วยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงตามไปด้วย
จากกรณีดังกล่าว ทำให้ ดร.วิจิตรา เดือนฉาย นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ประจำปี 2557 จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้พัฒนาชุดคิทด้วยกระดาษเพียงอย่างเดียวกระทั่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงไปประมาณ 3 เท่า เพราะทุกวันนี้เราซื้อชุดตรวจวัดต่างๆ จากต่างประเทศมีราคาแพงมาก เธอจึงคิดที่จะทำชุดตรวจอย่างง่าย
“เป้าหมายคือราคาถูกลง แต่ใช้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งชุดตรวจส่วนใหญ่จะใช้พลาสติก หรือเส้นใยเซลลูโลส หรืออาจจะมีพอลิเมอร์ใยสังเคราะห์บ้าง และจะต้องมีเบสหรือพื้นฐานเป็นพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นชุดตรวจยูริค หรือชุดตรวจเบาหวานก็ตามจะมีราคาแพงเพราะเส้นใยที่ใช้มีราคาแพง แต่ชุดตรวจของเราจะทำบนกระดาษและไม่ใช้เครื่องมืออะไรเลย แต่จะต้องคิดค้นปฏิกิริยาเคมีขึ้นใหม่เพื่อเคลือบลงบนกระดาษ” ดร.วิจิตรากล่าว
ดร.วิจิตรา อธิบายว่า งานวิจัยเริ่มจากการนำเอากระดาษมาเคลือบเฉพาะขอบด้วยพอลิเมอร์ แต่พบว่าพอลิเมอร์ยังมีราคาสูง จึงทดลองใช้ขี้ผึ้งแทนโดยให้ขี้ผึ้งเป็นตัวควบคุมพื้นที่การหยดของเหลวที่ต้องการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นเลือดหรือปัสสาวะรวมถึงการใช้ขี้ผึ้งในการควบคุมทิศทางการไหลของของเหลว
นอกจากนี้ยังทำให้สามารถแตกงานวิจัยออกไปหลายๆ ส่วนตั้งแต่การขึ้นรูป การพัฒนาเทคนิคการเคลือบให้กระดาษที่ไม่ต้องการให้ของเหลวไหลไปมีความแข็งขึ้น ที่น่าสนใจคือการพัฒนารูปแบบในการแปรผลสำหรับชุดตรวจเบาหวาน ที่เดิมต้องนำกระดาษไปเสียบแปรผลบนมิเตอร์ เพื่อให้เครื่องแปลผลให้ ประกอบกับมิเตอร์ดังกล่าวมีราคาแพงต่ำสุด 5,000 -15,000 บาท ขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต ดร.วิจิตราจึงพัฒนารูปแบบการแปรผลให้มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัด เมื่อสารเหลวเคลื่อนตัวทำปฏิกิริยาเคมีบนกระดาษและไปหยุดอยู่ตรงเส้นไหนของไม้บรรทัด ให้อ่านค่าแปรผล ณ จุดนั้น
“ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะพบน้ำตาลในปัสสาวะ เมื่อนำปัสสาวะไปหยดลงบนกระดาษที่เคลือบสารจำเพาะและผ่านการควบคุมทิศทางการไหลของของเหลวแล้ว กลูโคสสามารถไหลไปได้ไกลและเกิดสีกับสารตั้งต้นที่เคลือบไว้บนช่องไหลเท่าที่มีอยู่มากหรือน้อย หากมีกลูโคสมากสีที่เกิดจะมีระยะทางไกลหากมีกลูโคสน้อยสีที่เกิดจะมีระยะทางสั้น เมื่อมาอ่านค่าบนไม้บรรทัดที่วิจัยขึ้นก็ทำให้ทราบผลทันที” ดร.วิจิตรา
ดร.วิจิตรา กล่าวว่า ในประเทศไทยนอกจากใช้มิเตอร์ในการแปรผลตรวจแล้ว ยังสามารถใช้การเทียบแถบสีว่ามีน้ำตาลต่ำหรือสูงได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักเข้าข้างตัวเองเรื่องค่าสูงหรือต่ำทำให้การอ่านค่าผิดเพี้ยน ดังนั้นการใช้วิธีการแปรผลโดยใช้ไม้บรรทัดจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่นอกจากลดค่าใช้จ่ายในการซื้อมิเตอร์ราคาแพงแล้วยังช่วยให้การอ่านค่าแปรผลเป็นไปอย่างแม่นยำอีกด้วย
ปัจจุบัน ดร.วิจิตรา สามารถพัฒนากระดาษที่สามารถตรวจได้ทั้งกลูโคสสำหรับเบาหวาน ตรวจยูริคสำหรับโรคเก๊าท์ และตรวจหาแลคเทสสำหรับกลุ่มนักกีฬาที่มีอาการเป็นตะคริวบ่อยๆ เพื่อดูความฟิตของกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งหมดน่าจะผลิตออกมาให้คนไทยใช้ได้จริงในอีกไม่เกิน 2 ปี เนื่องจากงบประมาณการลงทุนต้องอาศัยภาคเอกชนในการเข้ามาผลิตและจำหน่าย อย่างไรก็ตามล่าสุด ดร.วิจิตรายังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เพื่อนำกระดาษไปประยุกต์ใช้กับการตรวจสภาวะอากาศที่มีออกซิแดนคอมพาวด์ที่เป็นพิษซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย