แพทย์ชี้อย่าเชื่อ “ไขมันดี” มีมากจะไม่ป่วย พบคุณสมบัติเซลล์มี “ไขมันเลว” ปลอมปน แนะปรับลดไขมันเลวด้วยการปรับพฤติกรรมดีกว่าพึ่งยาลดไขมัน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไขมันมี 2 ประเภท คือ ไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) ซึ่งตามปกติไขมันดีในเลือดจะต้องอยู่ที่ 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) ไขมันเลวไม่ควรเกิน 170 มก./ดล. โดยส่วนใหญ่คนมักคิดว่าเมื่อมีไขมันดีเกินค่าปกติแล้วจะทำให้ไม่เกิดโรค แต่มีงานวิจัยที่พบว่า การเจาะเลือดแล้วพบไขมันดีสูง เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติเซลล์ลึกลงไปพบว่ามีไขมันเลวปลอมปนอยู่ ทำให้ค่าไขมันดีที่สูงๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าจะไม่เกิดโรคเส้นเลือดตีบตันแน่นอน และยังพบว่าเมื่อป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองแล้ว ค่าไขมันดีไม่สามารถเป็นตัวกำหนดการเจ็บป่วย จึงเป็นการเตือนว่าค่าไขมันดีไม่สามารถบอกได้เสมอไปว่าจะไม่เจ็บป่วย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับการลดไขมันเลวในเส้นเลือด หากคนไข้มีค่าไขมันเลวสูงกว่าปกติ จะใช้ยากลุ่มสเตนตินเพื่อลดไขมันเลวลงและป้องกันเส้นเลือดตีบตัน ซึ่งบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เมื่อพบไขมันสูงประกอบกับมีความเสี่ยงจากประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว แพทย์จะจ่ายยาเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบ ซึ่งหลายประเทศเริ่มใช้วิธีดังกล่าวเช่นกัน ทำให้คนเริ่มกินยาลดไขมันเร็วกว่าที่ควรจะเป็น แต่พบว่าคนเอเซีย โดยเฉพาะคนไทยเมื่อกินยาลดไขมันแล้วจะมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดพิษต่อกล้ามเนื้อ เกิดอาการปวดเมื่อย บางครั้งกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการปวด มักใช้ยาแก้ปวด ซึ่งพบว่ายาแก้ปวดเกือบทุกกลุ่มไม่ได้มีผลต่อตับอย่างเดียวแต่สามารถตกตะกอนในไตทำให้ไตวายได้ด้วย
“การใช้ยาลดไขมันถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเส้นเลือดตีบตีน แต่จำเป็นต้องพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันสูง โดยกลับมาตระหนักที่การแก้ปัญหาสำคัญ คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ด้วยควบคุมอาหาร เพิ่มผัก ผลไม้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ซึ่งคนทั่วไปที่ไม่ได้ไขมันสูงจากกรรมพันธุ์ สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ยอมปรับพฤติกรรมและอาศัยยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจำเป็นต้องรับรู้ถึงผลข้างเคียงของยาที่จะตามมาอีกด้วย ซึ่งแม้ว่ายาจะทำให้ไขมันเลวลดลงได้ แต่ต้องทราบว่ายังมีสารอื่นๆ จากอาหารอย่างเนื้อแดง ไข่แดงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ สมองอีกได้เช่นกัน” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไขมันมี 2 ประเภท คือ ไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) ซึ่งตามปกติไขมันดีในเลือดจะต้องอยู่ที่ 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) ไขมันเลวไม่ควรเกิน 170 มก./ดล. โดยส่วนใหญ่คนมักคิดว่าเมื่อมีไขมันดีเกินค่าปกติแล้วจะทำให้ไม่เกิดโรค แต่มีงานวิจัยที่พบว่า การเจาะเลือดแล้วพบไขมันดีสูง เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติเซลล์ลึกลงไปพบว่ามีไขมันเลวปลอมปนอยู่ ทำให้ค่าไขมันดีที่สูงๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าจะไม่เกิดโรคเส้นเลือดตีบตันแน่นอน และยังพบว่าเมื่อป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองแล้ว ค่าไขมันดีไม่สามารถเป็นตัวกำหนดการเจ็บป่วย จึงเป็นการเตือนว่าค่าไขมันดีไม่สามารถบอกได้เสมอไปว่าจะไม่เจ็บป่วย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับการลดไขมันเลวในเส้นเลือด หากคนไข้มีค่าไขมันเลวสูงกว่าปกติ จะใช้ยากลุ่มสเตนตินเพื่อลดไขมันเลวลงและป้องกันเส้นเลือดตีบตัน ซึ่งบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เมื่อพบไขมันสูงประกอบกับมีความเสี่ยงจากประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว แพทย์จะจ่ายยาเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบ ซึ่งหลายประเทศเริ่มใช้วิธีดังกล่าวเช่นกัน ทำให้คนเริ่มกินยาลดไขมันเร็วกว่าที่ควรจะเป็น แต่พบว่าคนเอเซีย โดยเฉพาะคนไทยเมื่อกินยาลดไขมันแล้วจะมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดพิษต่อกล้ามเนื้อ เกิดอาการปวดเมื่อย บางครั้งกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อเกิดอาการปวด มักใช้ยาแก้ปวด ซึ่งพบว่ายาแก้ปวดเกือบทุกกลุ่มไม่ได้มีผลต่อตับอย่างเดียวแต่สามารถตกตะกอนในไตทำให้ไตวายได้ด้วย
“การใช้ยาลดไขมันถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเส้นเลือดตีบตีน แต่จำเป็นต้องพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันสูง โดยกลับมาตระหนักที่การแก้ปัญหาสำคัญ คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ด้วยควบคุมอาหาร เพิ่มผัก ผลไม้ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ซึ่งคนทั่วไปที่ไม่ได้ไขมันสูงจากกรรมพันธุ์ สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ยอมปรับพฤติกรรมและอาศัยยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจำเป็นต้องรับรู้ถึงผลข้างเคียงของยาที่จะตามมาอีกด้วย ซึ่งแม้ว่ายาจะทำให้ไขมันเลวลดลงได้ แต่ต้องทราบว่ายังมีสารอื่นๆ จากอาหารอย่างเนื้อแดง ไข่แดงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ สมองอีกได้เช่นกัน” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่