xs
xsm
sm
md
lg

แงะหอยแมลงภู่ด้วยอุปกรณ์จากช้อนสแตนเลส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

น.ส.เยาวเรศ เณรศาสตร์ และ น.ส.ชนัฎา อิ่มอำไภย นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ
เด็กมัธยมสมุทรสาคร “ประดิษฐ์เครื่องมือแงะเปลือกหอยแมลงภู่” จากช้อนสั้นกินข้าว ประหยัด-ปลอดภัย-ทุ่นแรง ช่วยชาวบ้านผลิตหอยดองแงะหอยง่ายขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงมีดบาด ทั้งยังคว้ารางวัลที่ 3 ระดับนานาชาติจากเวทีประกวดโครงงานเยาวชนอาเซียน 2558

“คนทั่วไปคงนึกว่าหอยแมลงภู่มันเปิดง่ายใช่ไหมคะ ไม่ผิดหรอกค่ะเพราะที่คนส่วนมากเห็นคือตอนที่หอยถูกปรุงจนสุกและฝาอ้าออกแล้ว แต่สำหรับในชุมชนของหนูนั้นเราอยู่ใกล้ทะเล ทำให้เห็นชาวบ้าน ชาวประมงหลายคนต้องแงะเนื้อหอยจากหอยสดเพื่อนำมาทำเป็นหอยดอง และหอยแกะเอาแต่เนื้อเพื่อจำหน่าย ซึ่งหอยสดนั้นฝายังคงปิดแน่นสนิท วิธีการแงะที่ดีที่สุดคือ การใช้มีดแซะ ซึ่งค่อนข้างอันตรายและต้องออกแรงมาก” น.ส.เยาวเรศ เณรศาสตร์ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ เกริ่นถึงที่มาที่ไปของการประดิษฐ์เครื่องมืองัดเปลือกหอย

ด้วยเหตุนี้ เธอและเพื่อนจึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับแงะเปลือกหอยแมลงภู่ขึ้น ตั้งแต่การศึกษาตำแหน่งของตัวหอยที่สะดวกต่อการแงะไปจนถึงการออกแบบเครื่องมือ จนเกิดเป็นโครงงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ขึ้น ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่เมื่อปี 2556 หรือตั้งแต่ที่พวกเธอยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

น.ส.ชนัฎา อิ่มอำไภย นักเรียนเจ้าของผลงานอีกคนกล่าวว่า การประดิษฐ์เครื่องมือแงะหอยที่เธอทำ ผ่านการทดลองมาแล้วว่ารูปแบบใดเหมาะสมที่สุด ด้วยการทดลองมากถึง 7 ปัจจัยแวดล้อมทั้งขนาดของหัวงัด, ความหนา, รูปแบบหัวงัด, การเหลื่อมกันของหัวงัด, การวางจุดหมุนเพื่อผ่อนแรง, ประสิทธิภาพระหว่างตีมปกติ และเครื่องมืองัดจากช้อนแสตนเลส รวมไปตำแหน่งของเปลือกหอยที่จะทำให้ง่ายต่อการเปิด

“เราทดลองหลายๆ ปัจจัยเพราะอยากผลิตเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด เริ่มตั้งแต่การทดสอบว่าบริเวณไหนของเปลือกหอยที่จะง่ายต่อการงัดที่สุด ทั้งส่วนของเปลือกด้านบน ด้านข้างในของฝา และด้านนอกของฝา ซึ่งจากการจับเวลาลองแงะหอยดูก็พบว่าส่วนด้านในที่เป็นด้านโค้งของตัวหอยงัดง่ายที่สุด แล้วก็ทดสอบมาเรื่อยๆ จนได้ข้อสรุปว่า หัวงัดต้องมีขนาดใหญ่ เป็นหัวโค้ง ปลายหัวชิดแนบกัน จึงจะแงะหอยออกมาได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว” ชนัฎา เผย

ในส่วนของการใช้ช้อนสแตนเลสมาประยุกต์นั้น ชนัฎา ระบุว่าเป็นขั้นตอนหลังจากทดลององค์ประกอบอื่นๆ ครบแล้ว เนื่องจากคีบที่ใช้ในตอนแรกมีน้ำหนักมากและราคาสูง จึงมองหาสแตนเลสใหม่ๆ มาใช้กับการประดิษฐ์จนได้ลองนำช้อนสั้นกินข้าวมาทดลองทำพบว่าประสิทธิภาพดีไม่ต่างกัน อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา และราคาถูกมาก จนนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ถูกคัดเลือกให้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันโครงงานนวัตกรรมระดับประเทศ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

มากไปกว่านั้น สิ่งประดิษฐ์แงะฝาหอยแมลงภู่ของเยาวชนทั้งสองยังถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อในระดับนานาชาติสำหรับการประกวดโครงงานเยาวชนอาเซียนประจำปี 2558 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพและถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งเยาวชนทั้งสองเผยว่า เป็นเวทีระดับนานาชาติเวทีแรกในชีวิตและรู้สึกกดดันมาก เนื่องจากต้องนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องเข้าค่ายร่วมกับเยาวชนจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมากถึง 7 ประเทศระหว่างวันที่ 6-10 ก.ค. 2558 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) อ.คลองห้า จ.ปทุมธานี

ที่สุดพวกเธอก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดโครงงานประเภทนวัตกรรมสร้างสรรค์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมาครองได้สำเร็จ เนื่องจากเป็นผลงานที่ใช้ได้จริงและผ่านวิธีการคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน ซึ่งเยาวเรศ เผยว่า รู้สึกดีใจและหายเหนื่อย เพราะก่อนถึงการแข่งขันเธอต้องฝึกซ้อมภาษาอังกฤษสำหรับการนำเสนออย่างหนัก และเป็นรางวัลที่เหนือความคาดหมาย เนื่องจากนวัตกรรมของประเทศอื่นๆ ที่นำมาร่วมแข่งขันก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน

ทั้งนี้ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียนครั้งที่ 1 (The First ASEAN Student Science Project Competition) เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายจากประเทศอาเซียนได้มาแบ่งปันความรู้ และเนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดแสดงโครงงาน จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง อพวช.และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งในปีนี้มีทั้งหมด 7 ชาติเข้าร่วม ได้แก่ สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ลาว, อินโดนีเซีย, มาเลเซียเวียดนาม และไทย
เครื่องมือแงะหอยแมลงภู่ ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากช้อนแสตนเลส
มีการวิจัยเพื่อหาหัวงัดรูปทรงที่เหมาะสม
หัวงัดแบบมนเป็นหัวงัดที่งัดหอยได้มีประสิทธิภาพดีที่สุด
เริ่มแรกจากคีมงัดธรรมดา และดัดแปลงสู่การผลิตจากช้อนสแตนเลส







แม่คำนาง ศรีสะอาด ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น ปรับตัวรับแล้งด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ดาวเรือง มะลิ รัก มะนาว พริก แทนการปลูกข้าว สร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท โดยใช้น้ำจากสระเก็บกักในหมู่บ้าน หน้าแล้งนี้จึงไม่มีอดตาย อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #savewater #adtvscience #kohkhean #thailand #farmer #water #crisis #flower #garden

รูปภาพที่โพสต์โดย AstvScience (@astvscience) เมื่อ



กำลังโหลดความคิดเห็น