xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “ปุ่มหยุดบันไดเลื่อน" ช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ปุ่มหยุดบันไดเลื่อนฉุกเฉิน มักจะอยู่ที่บริเวณพื้นด้านล่างหรือบริเวณใต้ราวจับแล้วแต่รุ่น
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยชวนรู้จัก “ปุ่มหยุดบันไดเลื่อนฉุกเฉิน” ล้อมคอกกันบันไดเลื่อนชุ่ยกลืนชีวิตซ้ำรอย ย้ำ! กดเล่นพิเรณทร์ไม่มีเหตุอันควรมีสิทธิ์ติดคุก พร้อม 4 ข้อเสนอแนะเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของบันไดเลื่อน

รศ.ดร.สิริวัฒน์ ไชยชนะ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ หรือ วสท. กล่าวว่า จากกรณีบันไดเลื่อนกลืนร่างสาวชาวจีน ทำให้คณะกรรมการ วสท.เห็นพ้องกันว่า ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักกับ ปุ่มหยุดบันไดเลื่อนฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนรู้จักการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเบื้องต้น

ปุ่มบันไดเลื่อนฉุกเฉินจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไป ถ้าสังเกตเห็นได้ง่ายอย่างปุ่มหยุดของบันไดเลื่อนของรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่จะมีปุ่มหยุดอยู่ตรงกลางระหว่างบันไดขาขึ้นลงซึ่งเห็นได้ชัดก็ดีไป แต่บันไดเลื่อนตามห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสาธารณะกลับสังเกตได้ยาก เพราะจะอยู่บริเวณส่วนล่างของราวมือจับ

“ผมไม่แน่ใจว่าบันไดเลื่อนของจีนมีปุ่มหยุดฉุกเฉินไหม แต่มันน่าจะมี และถ้าผู้หญิง 2 คนนั้น รู้จักการใช้ปุ่มหยุดบันไดเลื่อนโศกนาฏกรรมนั้นคงไม่เกิดขึ้น ตอนแรกเราก็เกรงว่าจะมีพวกพิเรณทร์ไปกดเล่นเหมือนกัน แต่เมื่อมีเหตุเป็นบทเรียนแล้ว ผมว่าเราควรจะให้ความรู้มากกว่า เพราะจะรอให้มีเจ้าหน้าที่ หรือผู้ดูแลมากดปุ่มให้คงไม่ทันการณ์ แต่ก็ขอวิงวอนให้ใช้ปุ่มกดฉุกเฉินด้วยวิจารณญาณ อย่ากดเล่น เพราะนอกจากจะถูกจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ยังอาจทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บจากการหยุดเคลื่อนที่กะทันหันด้วย ขอให้ทุกคนร่วมกันใช้บันไดเลื่อนอย่างมีจิตสำนึก” รศ.ดร.สิริวัฒน์ กล่าวผ่านทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย กรรมการผู้อำนวยการ วสท.ยังได้เผย 4 ข้อเสนอแนะเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของบันไดเลื่อน ดังนี้

1.ในการพิจารณาจัดซื้อบันไดเลื่อน ควรพิจารณาตามมาตรฐานสากล โดยปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

2.ผู้ดูแลรักษาอุปกรณ์ควรดูแลอุปกรณ์ให้ตรงตามคู่มือการใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามรุ่น โดยจะมีการตรวจสอบทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือทุกๆ 1 ปี เช่น ทุก 3 เดือนจะต้องตรวจสอบกระแสไฟ น้ำมันหล่อลื่น ปรับความตึงหย่อนของโซ่ ส่วนทุก 1 เดือน ควรตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงไปในบันไดเลื่อน การสึกหรอของอุปกรณ์ เช่น ความหลวมของสปริง, ความตึงของโซ่, กระแสไฟ และถ้าพบว่ามีความชำรุดเสียหายควรเปลี่ยนหรือซ่อมทันที

3.ผู้ใช้ควรใช้ให้ถูกต้องตามหลัก เริ่มตั้งแต่มารยาทการใช้บันไดเลื่อนที่ควรจะชิดขอบด้านใดด้านหนึ่ง, อุ้มสัตว์เลี้ยงตลอดการขึ้นบันไดเลื่อน, หลีกเลี่ยงการขนสัมภาระขนาดใหญ่, ไม่ใช่เท้าแหย่บริเวณช่องข้างบันไดเลื่อน และถ้าหากสวมใส่เสื้อผ้ากรุยกราย รองเท้าส้นเข็ม หรือรองเท้าแตะควรระวังเป็นพิเศษ

4.ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้ปุ่มฉุกเฉินเพื่อหยุดบันไดเลื่อนขณะเกิดเหตุ
การกดปุ่มหยุดฉุกเฉินควรใช้ในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย หากกดเล่นโดยไม่มีเหตุอันควรจะถูกดำเนินคดี (ปุ่มฉุกเฉินอยู่ตรงคำว่า STOP)
(จากซ้ายไปขวา) นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย, รศ.ดร.สิริวัฒน์ ไชยชนะ และ นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย







แม่คำนาง ศรีสะอาด ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น ปรับตัวรับแล้งด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ดาวเรือง มะลิ รัก มะนาว พริก แทนการปลูกข้าว สร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท โดยใช้น้ำจากสระเก็บกักในหมู่บ้าน หน้าแล้งนี้จึงไม่มีอดตาย อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #savewater #adtvscience #kohkhean #thailand #farmer #water #crisis #flower #garden

รูปภาพที่โพสต์โดย AstvScience (@astvscience) เมื่อ



กำลังโหลดความคิดเห็น