xs
xsm
sm
md
lg

SuperSci: พิชิต "จาวตาล"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กว่าจะเป็นจาวตาลเชื่อมสีเหลืองทองแสนอร่อย เคยทราบหรือไม่ว่า? ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง เพราะเปลือกกะลาตาลไม่ได้นุ่มนิ่มแบบที่เราคิดแต่กลับแข็งเสียยิ่งกว่ากะลา จนเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ "พิชิตจาวตาล"



SuperSci สัปดาห์นี้พาไปดูการสาธิตการใช้เครื่องผ่าจาวตาล ฝีมือการประดิษฐ์คิดค้นจากนักศึกษาอาชีวะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี'57

สันธิพงศ์ หนูสุข ปวส.ปี 2 สาขาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า "จาวตาล" คือ อาหารของต้นอ่อนตาลโตนด ซึ่งกินสดๆ ได้เช่นเดียวกับจาวมะพร้าว มีความแข็งและขุ่นแตกต่างจากลอนตาลที่เปลือกจะมีความอ่อนนุ่ม และมีความใสมากกว่า

สันธิพงศ์ เล่าว่า กว่าจะนำเนื้อจาวตาลมากินได้ต้องลำบากพอควร เพราะ จาวตาลมีเปลือกแข็งชั้นนอกคล้ายกะลามะพร้าว ต้องอาศัยความชำนาญในการเฉาะด้วยมีดพร้าทำให้ผู้เฉาะต้องเสี่ยงกับอันตรายจากความผิดพลาดในการใช้มีด จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์เครื่องผ่าจาวตาลขึ้น โดยอาศัยกลไกการทำงานคล้ายกับเลื่อยวงเดือน

“กลไกการทำงานของเครื่องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนผ่ากะลาลูกตาล และส่วนงัดจาวตาล โดยเริ่มจากนำเมล็ดลูกตาลใส่ในชุดจับยึดให้แน่น แล้วเปิดสวิทช์ให้ใบมีดหมุน จากนั้นจึงค่อยๆ หมุนรอบเมล็ดลูกตาลเพื่อหมุนกะลาให้ถึงเนื้อเมล็ดลูกตาล จากนั้นจึงนำเมล็ดลูกตาลย้ายมาที่เครื่องง้างเพื่อนำจาวตาลออกมา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ได้จาวตาลที่มีรูปทรงสวยงามมากกว่า ประหยัดเวลา และปลอดภัยกว่าการใช้มีด” สันธิพงศ์ กล่าวแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์







*******************************


กำลังโหลดความคิดเห็น