xs
xsm
sm
md
lg

ชมเต็มๆ ความงามภาพถ่ายจากนักล่าดาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เผยความงามภาพถ่ายจากนักล่าดาวในเวทีประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ปีที่ 7 จาก สดร. ทั้งภาพ “เนบิวลา” วัตถุท้องฟ้าในอวกาศห้วงลึก , ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์, ดาวเสาร์ขณะเข้าใกล้โลก, ดาวหมุนรอบูเขา หรือ ปรากฏการณ์แปลกตาบันทึกด้วยสมาร์ทโฟนของนักบิน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) นำผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ประจำปี 2557 เข้ารับรางวัลจาก ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 57 โดยการประกวดดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และปีนี้ได้ร่วมกับ บริษัท แคนนอนมาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด จัดกิจกรรมนี้ขึ้น พร้อมทั้งจัดอบรมแก่ผู้แก่ผู้สนใจเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา

สำหรับผลรางวัลชนะเลิศจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ 5 ประเภท มีดังนี้

1. ประเภท Deep Sky Objects
ภาพ “Veil Nebula”
รางวัลชนะเลิศ ภาพ “Veil Nebula” โดย นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์

2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ภาพ “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์”
รางวัลชนะเลิศ ภาพ “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” โดย นายกีรติ คำคงอยู่


3.ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
ภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลก 2557”
รางวัลชนะเลิศ ภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลก 2557” โดย นายสิทธิ์ สิตไทย

4.ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
ภาพ ดาวหมุนกับภูผา
รางวัลชนะเลิศ ภาพ “ดาวหมุนบนภูผา” โดย นายอภินันท์ ตั้งศรีวงศ์

5. ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
ภาพ Cherdphong Corona Discharge
รางวัลชนะเลิศ ภาพ “Cherdphong Corona Discharge” โดย นายเชิดพงศ์ วิสารทานนท์

สำหรับภาพที่ได้รางวัลนั้น สดร.จะนำไปจัดทำเป็นสื่อทางดาราศาสตร์เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปฏิทินดาราศาสตร์ ภาพประกอบสื่อดาราศาสตร์ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมภาพถ่ายทางดาราศาสตร์สัญจรไปตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ประชาชน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงาม ความมหัศจรรย์ของท้องฟ้า ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างทั่วถึง

ด้าน นายตระกูลจิตร เจ้าของผลงานภาพ “Veil Nebula” อธิบายว่า ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงกลุ่มแก็สที่เกิดจากดาวฤกษ์กระจายออกเป็นรูปทรง แสงที่เรืองเกิดจากความร้อนและความสว่างของดาวที่หมดอายุขัยเมื่อประมาณ 5,000-8,000 ปีที่แล้ว ส่วนจุดเด่นที่ทำให้ผลงานได้รับรางวัล เขาคิดว่าอยู่ที่ความยากของผลงาน เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าเขาจะถ่ายภาพนี้ออกมาได้ต้องใช้ความอดทนและเทคนิคมากมาย

ส่วน นายเชิดพงศ์ ผู้มีอาชีพเป็นผู้ช่วยนักบิน เผยว่าภาพที่เขาได้รางวัลในประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลกนั้น บังเอิญถ่ายได้ขณะเตรียมตัวนำอากาศยานขึ้นบิน ซึ่งความพิเศษของภาพนี้คือ ภาพถูกบันทึกไว้ด้วยสมาร์ทโฟนจากความบังเอิญในชีวิตประจำวัน ประกอบกับความรู้ทางด้านปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เขามี ซึ่งนักดาราศาสตร์ยังไม่ฟันธงว่าคือปรากฏการณ์อะไร แต่คล้ายคลึงกับ “Jumping Sundog” ปรากฏการณ์แสงคู่ที่เกิดขณะดวงอาทิตย์ทรงกลด

ดูภาพที่ได้รับรางวัลหมดได้ที่
http://www.most.go.th/main/index.php/organization-news/4018--2557-.html
หรือ http://www.narit.o.th









กำลังโหลดความคิดเห็น