xs
xsm
sm
md
lg

ส่องทะลุเมฆหมอก! เผยแดดระยิบทะเล “ไททัน” ดวงจันทร์ของดาวเสาร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพบริเวณขั้วเหนือของ ไททัน ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ จากยานแคสสินี ซึ่งเผยให้เห็นแสงสะท้อนของแสงแดดบนผิวน้ำทะเลขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ (AFP PHOTO/NASA/JPL-Caltech/University of Arizona/U. of Idaho/HANDOUT)
หากมีกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากพอ สิ่งที่เราจะได้เห็นเมื่อมอง “ไททัน” ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ด้วยตาเปล่า คือเมฆหมอกที่ปิดบังรายละเอียดของบริวารดาวเคราะห์เพื่อนบ้าน แต่นาซาเพิ่งเผยภาพจากยานอวกาศที่บินผ่าน ซึ่งแสดงรายละเอียดให้เห็นถึงพื้นผิวทะเลที่สะท้อนแดดเป็นประกาย

องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) เผยภาพโมเสคในย่านคลื่อนแสงอินฟราเรดใกล้ จากยานแคสซินี (Cassini) ซึ่งบันทึกภาพแสงแดดสะท้อนผิวทะเลทางขั้วเหนือของดวงจันทร์ไททัน (Titan) บริวารของดาวเสาร์ ซึ่งเอเอฟซีระบุว่า ก่อนหน้านี้ยานแคสซินีเคยบันทึกภาพขั้วเหนือของไททัน และภาพแสงแดดสะท้อนบนพื้นผิวทะเลได้หลายครั้ง แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บันทึกภาพทั้งสองไว้ได้ในภาพเดียว

ปรากฎการณ์แสงแดดสะท้อนผิวทะเลที่บันทึกได้บนไททันนั้นเป็นปรากฏการณ์สะท้อนแบบพิเศษที่เรียกว่า “ซันกลินท์” (sunglint) ซึ่งในภาพเราเห็นแสงสว่างจ้าในบริเวณด้านซ้ายบนของดวงจันทร์ โดยการสะท้อนแสงราวกระจกนี้เกิดขึ้นบริเวณตอนใต้ของทะเลขนาดใหญ่ที่สุดของไททันที่อยู่ทางขั้วเหนือชื่อทะเลกราเกนแมร์ (Kraken Mare) ใต้ตำแหน่งแสงสะท้อนเป็นเกาะที่แยกทะเลออกเป็น 2 ส่วน

ภาพดังกล่าวบันทึกขณะที่ยานแคสสินีผ่านดวงจันทร์ไททันไปเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2014 ซึ่งมีรหัสที่คณะทำงานของยานเรียกว่า “T104” ภาพที่บันทึกนั้นให้ข้อมูลสีจริงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าของมนุษย์ โดยสีแสงเป็นภาพที่บันทึกในความยาวคลื่น 5.0 ไมครอน สีเขียวบันทึกที่ความยาวคลื่น 2.0 ไมครอน และสีน้ำเงินบันทึกที่ 1.3 ไมครอน ซึ่งความยาวคลื่นเหล่านี้ทะลุผ่านชั้นบรรยากาศและช่วยให้มองเห็นพื้นผิวไททันได้ แต่หากมองด้วยตาเปล่าโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยเราจะเห็นแค่เมหหมอก







*******************************

"ผมไม่ได้ถ่ายภาพดาราศาสตร์เพื่อล่ารางวัล แต่ผมถ่ายเพราะผมมีความสุข" คำพูดจาก สิทธิ์ สิตไทย อาจารย์มหาวิทยาลัยที่อุทิศเวลาว่างให้การถ่ายภาพดาราศาสตร์ จนคว้า 3 รางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2557 ไปครอง อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #managersci #sciencenews #astronomy #astrography #astvscience

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น