xs
xsm
sm
md
lg

เปลี่ยน Star Trails ให้มีหางยาวๆ (Time lapse Movie ตอนที่ 2)

เผยแพร่:   โดย: ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

ตัวอย่างการสร้างวีดีโอ Time lapse Movie Star Trails ให้มีหางลากยาว หรือการสร้างให้เป็นวีดีโอดาวหาง
สำหรับการสร้างวีดีโอ Time lapse Movie ในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาต่อยอดการทำวีดีโอ Star Trails ที่ทำไว้ในตอนที่ 1 ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้เส้นแสงดาวมีหางยาวเป็นเส้น หรืออาจทำให้ดูเป็นภาพคล้ายกับดาวหางก็ได้

โดยโปรแกรมที่ผมจะนำมาแนะนำในคอลัมน์นี้ ต้องขอบคุณวทัญญู แพทย์วงษ์ น้องชายผมที่ลองผิดลองถูก ถึงขั้นค้นหาจนเจอและอีเมลไปคนที่ใช้โปรแกรมนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น จนได้คำแนะนำมาและผมก็ได้นำมาเผยแพร่กันต่อไปครับ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมเล็กที่สามารถใช้งานได้ไม่ยากเย็นนัก แต่ไฟล์วิดีโอ Time lapse Movie ที่จะนำมาทำนั้นให้ดีควรเป็นรูปแบบนามสกุล AVI ซึ่งก็เป็นรูปแบบวีดีโอที่เราได้จากการทำ วิดีโอ Time lapse Movie จากโปรแกรม Startrails ในคอลัมน์ตอนที่ 1 กันอยู่แล้วครับ

สำหรับโปรแกรมที่เราจะนำมาใช้ทำวิดีโอ Startrails ของเราให้มีหางยาวๆ นั้น มีชื่อว่า VirtualDub 1.9.11 ซึ่งจะมี Filters Afterimage ให้เลือกใช้ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ครับ

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=438EB5FFEA6PAO93TI8FX4JYVWXW4J

ตอนที่ 1 การทำวีดีโอ Trails ให้มีหางยาว






Timelase Startrail from Thai Astrophotographer on Vimeo.



เว็บลิงค์วีดีโอตัวอย่าง http://vimeo.com/85422305

ตอนที่ 2 การทำวีดีโอ Trails ให้เป็นดาวหาง
หลังจากขั้นตอนที่ 8 เราสามารถปรับรูปแบบวีดีโอ ให้มีหางคล้ายกับดาวหางได้ โดยการปรับค่า Subtractor ให้มีค่าเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่าง




Timelase comet like Star Trails from Thai Astrophotographer on Vimeo.



เว็บลิงค์วีดีโอตัวอย่าง http://vimeo.com/85423229

จากตัวอย่างการนำไฟล์วิดีโอ Time lapse Movie มาทำให้เห็นการเคลื่อนที่ของดาวบนท้องฟ้า นอกจากความสวยงามแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าได้อีกด้วยครับ สำหรับคอลัมน์ต่อไปผมจะมีอะไรมาให้ทดลองทำกันอีกติดตามครับ

(อ่านตอนที่ 1 สร้าง Time lapse Movie จากภาพ Star Trails (ภาค 1)



เกี่ยวกับผู้เขียน

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”

อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน







กำลังโหลดความคิดเห็น