xs
xsm
sm
md
lg

สร้าง Time lapse Movie จากภาพ Star Trails (ภาค 1)

เผยแพร่:   โดย: ศุภฤกษ์ คฤหานนท์


Startrail Timelapse from Thai Astrophotographer on Vimeo.



หลังจากบทความเรื่องการถ่ายภาพเส้นแสงดาว คอลัมน์ก่อนที่เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการถ่ายภาพไปแล้วนั้น และหากใครที่ได้มีโอกาสถ่ายภาพเส้นแสงดาวมาด้วยแล้วหล่ะก็ วันนี้ผมจะชวนนำภาพดาวที่ถ่ายไว้หลายร้อยภาพนั้น มาสร้างเป็นวีดีโอแบบ Time lapse Movie กันครับ

ทบทวนเทคนิคการถ่ายภาพกันก่อน
ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพดาวแบบต่อเนื่อง (Continuous) และใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ประมาณ 30 วินาที เพื่อให้ภาพจุดดาวไม่ยืดเป็นเส้น หรืออาจใช้กฎการถ่ายภาพ Rule of 400/600 ก็ได้ รวมทั้งใช้ค่าความไวแสงที่สามารถเห็นรายละเอียดของดาวและฉากหน้าได้ เราก็จะได้ภาพถ่ายจำนวนมากๆ หากถ่ายมาหลายๆ ชั่วโมงแล้ว ซึ่งภาพที่ถ่ายมานั้นนอกจากจะนำมาต่อกันเป็นภาพเส้นแสงดาวแล้ว เรายังสามารถนำมาใช้สร้างวิดีโอแบบ Time lapse Movie กันได้อีกด้วย เอาล่ะครับมาดูกันว่าวิธีการง่ายทำอย่างไรบ้าง

1. Time lapse Movie จากโปรแกรม Startrails
สำหรับโปรแกรมแรกนี้ ก็คือโปรแกรมที่โดยปกติเราใช้ในการทำภาพเส้นแสงดาว แต่ความพิเศษของโปรแกรมนี้ ยังสามารถนำภาพถ่ายมาสร้างเป็น วิดีโอแบบ Time lapse Movie ได้ดังนี้



2. Time lapse Movie จากโปรแกรม QuickTime Player
นอกจากโปรแกรม Startrails ข้างต้นแล้ว เรายังสามารถใช้โปรแกรมอื่นๆ เช่น QuickTime Player ในการสร้างภาพวิดีโอ Time lapse Movie ได้เช่นกัน ดังนี้




Sunset @ Doi Suthep Chiangmai Thailand from Thai Astrophotographer on Vimeo.



จะเห็นได้ว่าเทคนิคการสร้างสรรค์วีดีโอแบบ Time lapse Movie สามารถสร้างเองได้ไม่ยากเลยครับ ซึ่งเราก็สามารถนำเอาเทคนิคและวิธีการ ทั้งการถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง และการสร้างวีดีโอไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพแนวอื่นๆ ได้อีกด้วยครับ และสำหรับคอลัมน์ต่อไป ในตอนที่ 2 เราจะมาต่อยอดการสร้างสรรค์วิดีโอ Time lapse Movie ด้วยภาพถ่าย Startrails ในอีกรูปแบบหนึ่ง ติดตามคอลัมน์ต่อไปครับ



เกี่ยวกับผู้เขียน

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”

อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน







กำลังโหลดความคิดเห็น