xs
xsm
sm
md
lg

จีนพบญาติ “ทีเรกซ์” มีขนเหมือนนก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<I>ยูไทแรนนัส</I> อาศัยบนโลกมาก่อนทีเรกซ์ในยุคต้นครีเตเชียส (Cretaceous Period)
งานวิจัยใหม่จากปักกิ่งชี้ญาติ “ทีเรกซ์” สปีชีส์ใหม่เป็นสัตว์ขนนกขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับทั้งที่สัตว์ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งไดโนเสาร์กินเนื้อดังกล่าวนี้อาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 125 ล้านปีก่อน ประมาณว่าเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีน้ำหนัก 1,400 กิโลกรัม

บีบีซีนิวส์รายงานว่าไดโนเสาร์ดังกล่าวเป็นสปีชีส์ใหม่ที่เรียกว่า “ยูไทแรนนัส” (Yutirannus) โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่นี้จากฟอสซิลที่พบในมณฑลเหลียวหนิง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ส่วนรายละเอียดของงานวิจัยนั้นได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งการค้นพบครั้งนี้นับว่าท้าทายวัฒนาการของทีเรกซ์ (T.rex) และญาติๆ ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่เรียกว่า “ไทแรนนอซอรอยด์” (Tyrannosauroids)

สำหรับทีเรกซ์หรือ ไทแรนนอซอรัส เรกซ์ (Tyrannosaurus rex) และญาติไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่ยักษ์นั้นอาศัยอยู่บนโลกมาจนถึงเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกและกวาดล้างไดโนเสาร์ไปหมดสิ้น หากแต่เชื่อว่าญาติของไดโนเสาร์เหล่านี้ในยุคแรกๆ จะมีขนาดที่เล็กกว่ามาก

อย่างไรก็ดี สิง สีว์ (Xing Xu) และคณะจากสภาวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนได้อธิบาย 3 ตัวอย่างของ ยูไทแรนนัส ซึ่งเป็นตัวแทนตัวอย่างในยุคแรกๆ ของลักษณะกลุ่มไดโนเสาร์ไรแรนนอซอรอยด์ โดยตัวอย่างดังกล่าวเป็นฟอสซิลของตัวเต็มวัยที่หนังประมาณ 1 ตันครึ่ง และไดโนเสาร์ตัวอ่อน 2 ตัวอย่างที่ม่ีน้ำหนักประมาณครึ่งตัน

ไดโนเสาร์ซึ่งเป็นญาติทีเรกซ์นี้ได้รับการตั้งชื่อที่แปลความออกมาได้ว่าเป็น “สัตว์ดุร้ายซึ่งมีขนนกอันสวยงาม” และยังมีลักษณะบางอย่างร่วมกันกับทีเรกซ์ซึ่งเป็นไทแรนนอซอร์รุ่นหลังๆ แต่กลับมีนิ้วใช้งาน 3 นิ้ว ขณะที่ทีเรกซ์มีนิ้วใช้เพียง 2 นิ้ว และมีลักษณะเท้าเหมือนญาติไทแนนอซอร์ยุคแรกๆ

เป็นไปได้ว่าการค้นพบที่สำคัญที่สุดในครั้งนี้คือขนนกจำนวนมากชองไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นหลักฐานอันชัดเจนถึงการมีตัวตนของไดโนเสาร์ขนนกขนาดใหญ่ และนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าขนนกเป็นเส้นฝอยยาวๆ นี้จะมีหน้าที่ฉนวนความร้อน แต่พวกเขาก็ไม่อาจตัดควมน่าจะเป็นว่าไดโนเสาร์ทีมีขนเหมือนนกนี้จะประโยชน์จากขนตัวเองเพื่อการจับคู่หรือแย่งชิงคู่ผสมพันธุ์

ข้อมูลจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพชีวินวิทยามนุษย์ (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology) ของสภาวิทยาศาสตร์จีน ระบุว่านักบรรพชีวินทราบมานานกว่าทศวรรษแล้วว่าไดโนเสาร์ขนาดเล็กบางชนิดนั้นมีขนแบบเดียวกับนก ซึ่งต้องยกความดีให้แก่การเก็บรักษาฟอสซิลอย่างดีของสภาพแวดล้อมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

สำหรับการค้นพบล่าสุดเป็นตัวอย่างไดโนเสาร์ที่มีแบบนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวอย่างฟอสซิลมีลักษณะของขนติดทลอยู่ที่ส่วนแขน คอ และหางของไดโนเสาร์ ซึ่งลักษณะคล้ายขนของลูกไก่ในปัจจุบัน ซึ่งคำอธิบายถึงเหตุผลที่ไดโนเสาร์ดังหล่าวมีขนเช่นนี้นั้นสัมพันธ์กับสภาพอากาศ โดยในยุคครีตาเซียสนั้นมีสภาพอากาศทั่วไปค่อนข้างอบอุ่น หากแต่ยูไทแรนนัสนั้นมีชีวิตอยู่ระหว่างช่วงกลางของยุคครีตาเชียสตอนต้นซึ่งเชื่อว่าอุณหภูมิของยุคนี้หนาวเย็นกว่านั่นเอง
ยูไทแรนนัสอาจมีขนยาวเหมือนนกเพื่อเป็นฉนวนให้แก่ร่างกาย
 ฟอสซิลของไดโนเสาร์มีขนเหมือนนกนี้ถูกเก็บรักษาในธรรมชาติมาเป็นอย่างดี (ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)
กำลังโหลดความคิดเห็น