xs
xsm
sm
md
lg

ตื่นเต้น! พบฟอสซิลสปีชีส์อื่นยุค “ป้าลูซี” เดินสองเท้าด้วย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ฟอสซิลกระดูกทั้ง 8 ชิ้นที่บ่งชี้ว่ามีสัตว์สปีชีส์อื่นนอกจาก ป้าลูซี ที่เดินสองเท้า (บีบีซีนิวส์)
นักวิทยาพบฟอสซิลกระดูกส่วนเท้าอายุ 3.4 ล้านปี ระบุไม่ได้ว่าเป็นสปีชีส์ไหน แต่รูปร่างของกระดูกบ่งชี้ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถเดินหลังตรงได้ นับเป็นการค้นครั้งสำคัญเพราะบ่งชี้ว่านอกจาก “ป้าลูซี” แล้วยังมีบรรพบุรุษของมนุษย์สปีชีส์อื่นๆ อีกที่เดินสองเท้า

ตัวอย่างฟอสซิลกระดูกดังกล่าวพบในชั้นตะกอนโคลนที่เบอร์เทเล (Burtele) ในตอนกลางของเขตอะฟาร์ (Afar region) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงแอดดิสอะบาบา (Addis Ababa) ของเอธิโอเปียไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 520 กิโลเมตร

ทางบีบีซีนิวส์ระบุว่าทีมวิจัยพบชิ้นส่วนของเท้าหน้าข้างขวา 8 ชิ้น โดยพวกเขาได้รายงานทางวารสารเนเจอร์ (Nature) ว่ารูปร่างของกระดูกนั้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวสามารถเดินตัวตรงได้ตั้งแต่ในยุคนั้น แต่ทีมวิจัยระบุว่าพวกเขาไม่มีตัวอย่างมากพอที่จะระบุได้ว่า “โฮมินิน” (hominin) หรือมนุษย์โบราณดังกล่าวเป็นสปีชีส์ใด

การค้นพบครั้งนี้บีบีซีนิวส์ระบุว่ามีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่ามีบรรพบุรุษมากกว่า 1 สปีชีส์อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันออกระหว่าง 3-47 ล้านปีก่อน ซึ่งแต่ละสปีชีส์ก็มีวิธีการเดินหน้าในรูปแบบเฉพาะของตัวเอง

บรรพบุรุษมนุษย์ที่รู้จักกันในวงกว้างคือ“ป้าลูซี” (Lucy) ซึ่งอยู่ในสปีชีส์ออสตราโลพิเธคัสอะฟาเรนซิส (Australopithecus afarensis) โดยชิ้นส่วนของเธอคือถูกพบและจำแนกได้เป็นแรกเมื่อปี 1974 ในเขตอะฟาร์ ณ เมืองฮาดาร์ (Hadar) ซึ่งห่างจากเมืองเบอร์เทเล 50 กิโลเมตร

ร่างกายของป้าลูซีถูกสร้างขึ้นมาให้สามารถเดินได้ โดยนิ้วหัวแม่เท้าที่เรียงต่อกับนิ้วเท้าอื่นๆ อีก 4 นิ้ว และยังมีอุ้งเท้าคล้ายมนุษย์ ซึ่งช่วยให้เธอเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนชิ้นส่วนฟอสซิลเท้าจากเมืองเบอร์เทเลนั้น แม้จะยังระบุไม่ได้ว่าเป็นสปีชีส์ใด แต่ก็สามารถบอกชัดๆ ว่าไม่ใช่ “อะฟาเรนซิส” (afarensis) อย่างแน่นอน

ฟอสซิลที่พบใหม่นี้ไม่มีอุ้งเท้าและหัวแม่เท้าขนาดใหญ่นั้นแยกจากนิ่วเท้าอื่นๆ ซึ่งช่วยให้สัตว์ชนิดนี้จะคว้ากิ่งก้านของต้นไม้ได้ ส่วนข้อเท็จจริงที่หนุนว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เดินได้นั่นคือลักษณะของข้อต่อ ซึ่งเรียงกันในลักษณะที่สามารถจิกปลายเท้าผลักไปข้างหน้า อันเป็นลักษณะที่มนุษย์เท่านั้นสามารถทำได้ และเป็นสิ่งที่ลิงไม่มีหางซึ่งมีเท้าแบนราบไม่สามารถทำได้

ทีมวิจัยกล่าวว่าสัณฐานของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ชวนให้นึกถึงสิ่งมีชีวิตเมื่อ 40.4 ล้านปีก่อนที่เรียกว่า “อาร์ดิพิเธคัสรามิดัส” (Ardipithecus ramidus) แต่สิ่งมีชีวิตขนิดนี้ก็ยังไม่ใช่ รามิดัส (ramidus) อยู่ดี

ด้าน ดร.อิสาเบลล์ เดอ กรูเต (Dr.Isabelle De Groote) นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (London's Natural History Museum) อังกฤษ กล่าวว่าการค้นพบครั้งนี้เป้นสิ่งที่น่าตื่นเต้นเพราะมีตัวอย่างเท้าอยู่ไม่มาก ซึ่งตัวอย่างเท้าอันใหม่นี้จะช่วยให้เราไขกระบวนการวิวัฒนาการสู่การเดินสองเท้าได้ และช่วยให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกระดูกได้อย่างต่อเนื่อง
ณ บริเวณแห่งนี้ในเอธิโอเปียเมื่อกว่า 3 ล้านปีก่อนเต็มไปด้วยต้นไม้และทะเลสาบ  (บีบีซีนิวส์)
การค้นพบฟอสซิลในเบื้องต้นเมื่อปี 2009 จากนั้นก็มีการวิเคราะห์การค้นพบเรื่อยมา (บีบีซีนิวส์)
กำลังโหลดความคิดเห็น