สำนักงาน ปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และมาตรการในการดำเนินการหลังเกิดการแพร่กระจายของรังสี โดยได้รับแจ้งจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(ไอเออีเอ) ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้ติดตามและมาอัพเดตข้อมูล
< 13.00 น. วันที่ 17 มี.ค.> ตามเวลาประเทศไทย
ข้อมูลที่แสดงดังต่อไปนี้เป็นข้อมูลล่าสุดที่แสดงรายละเอียดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi) ทั้ง 6 โรง
การวัดระดับรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการวัดระดับรังสีภายใน 8 ชั่วโมงแรกของวันที่ 16 มี.ค. 2554 โดยอยู่ในระหว่างรัศมี 20-60 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ไปจนถึงเมืองฟูกูชิมะ ระดับรังสีที่วัดได้ตลอดเส้นทางประมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3 ถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง มีบางตำแหน่งเท่านั้นที่สามารถวัดได้ 80 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้เริ่มทำการวัดที่ Tokai Village (Ibaraki prefecture) ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 14 มี.ค. 2554 ไปจนถึงเวลา 07.00 น.ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 17 มี.ค. 2554 ค่าที่วัดได้มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ 5 ถึง 1 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง รายงานการวัดการกระจายของรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดทำโดย กระทรวงการศึกษา วัฒนาธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan: MEXT)
ข้อมูลการตรวจวัดระดับรังสีรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติม สำหรับ 10 เมือง ได้รายงานไว้ในตารางต่อไปนี้
ช่วงเวลาระหว่าง 11.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 15 มี.ค.2554 ถึงเวลา 02.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554
ช่วงเวลาระหว่าง 02.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554 ถึงเวลา 19.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554
หน่วยที่ใช้วัด : ไมโครเกรย์ต่อชั่วโมง = ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
ที่มาของข้อมูล : The Ministry of Education, Culture, Sports, Science and technology of Japan (MEXT)
ระดับรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ
การวัดระดับในขอบเขตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ช่วงระหว่าง 07.00 น ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554 ไปจนถึงเวลา 05.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 17 มี.ค.2554 ระดับรังสีที่วัดได้อยู่ในช่วงตั้งแต่ 300 ไปจนถึง 1500 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลาตั้งแต่ 08.20 น. ไปจนถึง 14.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 วัดระดับรังสีใกล้ประตูทางเข้า (ค่าที่ได้เกินกว่าค่าที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ค่าสูงสุดที่บันทึกได้มีค่าเท่ากับ 10,850 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง รายงานข้อมูลของปริมาณรังสีที่วัดได้ในหนึ่งชั่วโมงจัดทำโดย NISA
ระดับรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daiini)
การวัดระดับรังสีในขอบเขตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ ช่วงระหว่าง 07.00 น ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ไปจนถึงเวลา 05.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 17 มี.ค. 2554 ระดับรังสีที่วัดได้อยู่ในช่วงตั้งแต่ 15 ไปจนถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ที่สถานีตรวจวัด MP1 วัดได้ในช่วงสั้นมีค่าสูงถึง 120 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง เวลา 07.40 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 รายงานข้อมูลของปริมาณรังสีที่วัดได้ในหนึ่งชั่วโมงจัดทำโดย NISA
สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 4
การเกิดเพลิงไหม้ครั้งที่สองในอาคารของเครื่องปฏิกรณ์สามารถมองเห็นได้เวลา 03.45 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 หลังจากนั้นเมื่อเวลา 05.26 น.ตามเวลาประเทศไทยไม่เห็นเปลวไฟหรือควันเกิดขึ้น ยังไม่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะของสระน้ำที่ใช้เก็บแท่งเชื้อ เพลิงที่ใช้แล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 5
เมื่อเวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ระดับน้ำใน Unit 5 ได้ลดลงถึงระดับ 1872 มม.เหนือจุดสูงสุดของแท่งเชื้อเพลิง แนวโน้มแสดงให้เห็นว่ามีการลดลงของระดับอย่างต่อเนื่องใน RPV (Reactor Pressure Vessel)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 6
เมื่อเวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ระดับน้ำใน หน่วยที่ 6 ได้ลดลงถึงระดับ 1773 มม.เหนือจุดสูงสุดของแท่งเชื้อเพลิง
สระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว
ได้ทำการวัดอุณหภูมิของน้ำในสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วใน Unit 4 ,5 และ 6 ค่าที่วัดได้แสดงในตารางต่อไปนี้
<07.00 น. วันที่ 18 มี.ค.> ตามเวลาประเทศไทย
สำนักงานได้รับแจ้งข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ถึงสถานการณ์ นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจากเหตุแผ่นดินไหว
การตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมนอกบริเวณโรงไฟฟ้าฯ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมนอกบริเวณโรง ไฟฟ้าฯ จากกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ระยะห่างจาก 20กิโลเมตรถึง 60 กิโลเมตร ที่เก็บในช่วงเวลา 07.00-14.00 น. ของวันที่ 17 มี.ค. ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่ารายงานที่ผ่านมาพร้อมทั้งข้อมูลทิศทางลม
ปริมาณรังสีในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือไปทางเมืองฟูกูชิมะอยู่ในช่วงประมาณ 3 ถึง 170 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง โดยที่ค่าสูงสุดวัดได้ที่ระยะประมาณ 30 กิโลเมตร ปริมาณรังสีที่บางจุดเพิ่มขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมง (2 จุดเพิ่มจาก 80 ถึง 170 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง และ 26 ถึง 75 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
ปริมาณรังสีในทิศทางอื่นๆ อยู่ในช่วง 1 ถึง 5 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
การตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงไฟฟ้าฯ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi)
ข้อมูลจากตำแหน่ง MP5 และ MP6 แนบมากับรายงานนี้ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 03.00 น. ของวันที่ 14 มี.ค. ถึง 13.30 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับรังสีพื้นหลังอยู่ที่ระดับประมาณ 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ค่าปริมาณรังสีสูงสุดวัดได้ 12000 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงณ เวลา 07.00 ของวันที่ 15 มี.ค. และน่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จากหน่วยที่ 2 และ 4 ถึงแม้ว่าระดับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่ในช่วงระยะ 300 ไมโครซีเวิร์ต
ค่าสูงสุดที่วัดได้คือ ๔๐๐๐๐๐ ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง หรือ ๔๐๐ ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งวัดได้ ณ ตำแหน่งอื่น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอินิ (Fukushima Daiini)
นอกเหนือจากค่าสูงสุดที่สูงกว่า 100 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง เล็กน้อย ณ เวลา 18.00 น. ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับรังสีในบริเวณรอบๆ อยู่ระหว่าง 10 ถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง สูงกว่าระดับปกติ 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ก่อนการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ
การคัดกรองการปนเปื้อนรังสีของบุคคล
ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 15 การคัดกรองการปนเปื้อนรังสีได้กระทำที่ศูนย์ปฏิบัติการนอกบริเวณโรงไฟฟ้าฯ ในเมืองโอกุมะ ซึ่ง 162 คนได้รับการตรวจสอบ โดยที่ 49 คนมีระดับรังสีในช่วง 6000 ถึง 13000 cpm และ 8 คนมีระดับรังสีเกินกว่า 13000 cpm ซึ่งเป็นระดับสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน ถ คนถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังจากที่ได้รับการชำระการเปรอะเปื้อน
ผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตร ได้รับการอพยพ และได้ย้าย 3 คนที่มีปริมาณรังสีสูงไปยังสถานพยาบาล
จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 60 คนที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายประชาชน พบปริมาณรังสีสูงใน 3 คน ทั้ง 60 คนได้รับการชำระการเปรอะเปื้อน
สถานะของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 หน่วยที่ 2 และหน่วยที่ 3 เมื่อช่วงเวลา 10.30 – 14.35 น. วันที่ 17 มีนาคม 2554 แสดงดังตาราง
สำหรับหน่วยที่ 1 ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 16 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 2 สายไฟฟ้าจากภายนอกกำลังถูกเตรียมการเพื่อต่อเชื่อมกับหน่วยที่ ๒ หลังจากเสร็จสิ้นการพ่นน้ำของหน่วยที่ 3 ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 3 การฉีดน้ำจากเฮลิคอปเตอร์เริ่มตั้งแต่เวลา 07.48 – 08.00 น. ของวันที่ 16 มี.ค. ทั้งหมด 4 ครั้ง รถบรรทุกน้ำระดมฉีดน้ำลดหน่วยที่ 3 จากเวลา 17.05 -18.09 น. ของวันที่ 17 มี.ค. ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 4 ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับอุณหภูมิและระดับน้ำของบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้ แล้ว ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 5 ณ เวลา 22.00 ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1872 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เวลา 15.00 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1868 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
สำหรับหน่วยที่ 6 ณ เวลา 22.00 ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1773 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เวลา 15.00 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1697 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ดีเซลฉุกเฉินของหน่วยที่ 6 ทำงานได้และสนับสนุนหน่วยที่ 5 และ 6 มีการฉีดน้ำเข้าสู่บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว และมีการวางแผนฉีดน้ำเข้าสู่ถังเครื่องปฏิกรณ์หลังจากที่สามารถใช้พลังงาน จากภายนอกได้
บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว
อุณหภูมิวัดได้ดังนี้
สำหรับรายงานความคืบหน้าใดๆ สำนักงานฯ จะได้รายงานให้ทราบเป็นระยะๆต่อไป
ที่มา
- Emergency Notification and Assistance Convention Website ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
- News Release ของ Ministry of Economy, Trade and Industry โดย Nuclear and Industrial Safety Agency (NISA) ประเทศญี่ปุ่น
โดย : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
< 13.00 น. วันที่ 17 มี.ค.> ตามเวลาประเทศไทย
ข้อมูลที่แสดงดังต่อไปนี้เป็นข้อมูลล่าสุดที่แสดงรายละเอียดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi) ทั้ง 6 โรง
การวัดระดับรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการวัดระดับรังสีภายใน 8 ชั่วโมงแรกของวันที่ 16 มี.ค. 2554 โดยอยู่ในระหว่างรัศมี 20-60 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ไปจนถึงเมืองฟูกูชิมะ ระดับรังสีที่วัดได้ตลอดเส้นทางประมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3 ถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง มีบางตำแหน่งเท่านั้นที่สามารถวัดได้ 80 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้เริ่มทำการวัดที่ Tokai Village (Ibaraki prefecture) ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 14 มี.ค. 2554 ไปจนถึงเวลา 07.00 น.ตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 17 มี.ค. 2554 ค่าที่วัดได้มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ 5 ถึง 1 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง รายงานการวัดการกระจายของรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดทำโดย กระทรวงการศึกษา วัฒนาธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology of Japan: MEXT)
ข้อมูลการตรวจวัดระดับรังสีรังสีบริเวณภายนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติม สำหรับ 10 เมือง ได้รายงานไว้ในตารางต่อไปนี้
ช่วงเวลาระหว่าง 11.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 15 มี.ค.2554 ถึงเวลา 02.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554
ช่วงเวลาระหว่าง 02.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554 ถึงเวลา 19.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554
หน่วยที่ใช้วัด : ไมโครเกรย์ต่อชั่วโมง = ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
ที่มาของข้อมูล : The Ministry of Education, Culture, Sports, Science and technology of Japan (MEXT)
ระดับรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ
การวัดระดับในขอบเขตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ช่วงระหว่าง 07.00 น ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค.2554 ไปจนถึงเวลา 05.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 17 มี.ค.2554 ระดับรังสีที่วัดได้อยู่ในช่วงตั้งแต่ 300 ไปจนถึง 1500 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลาตั้งแต่ 08.20 น. ไปจนถึง 14.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 วัดระดับรังสีใกล้ประตูทางเข้า (ค่าที่ได้เกินกว่าค่าที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ค่าสูงสุดที่บันทึกได้มีค่าเท่ากับ 10,850 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง รายงานข้อมูลของปริมาณรังสีที่วัดได้ในหนึ่งชั่วโมงจัดทำโดย NISA
ระดับรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daiini)
การวัดระดับรังสีในขอบเขตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ ช่วงระหว่าง 07.00 น ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ไปจนถึงเวลา 05.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 17 มี.ค. 2554 ระดับรังสีที่วัดได้อยู่ในช่วงตั้งแต่ 15 ไปจนถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ที่สถานีตรวจวัด MP1 วัดได้ในช่วงสั้นมีค่าสูงถึง 120 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง เวลา 07.40 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 รายงานข้อมูลของปริมาณรังสีที่วัดได้ในหนึ่งชั่วโมงจัดทำโดย NISA
สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 4
การเกิดเพลิงไหม้ครั้งที่สองในอาคารของเครื่องปฏิกรณ์สามารถมองเห็นได้เวลา 03.45 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 หลังจากนั้นเมื่อเวลา 05.26 น.ตามเวลาประเทศไทยไม่เห็นเปลวไฟหรือควันเกิดขึ้น ยังไม่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะของสระน้ำที่ใช้เก็บแท่งเชื้อ เพลิงที่ใช้แล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 5
เมื่อเวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ระดับน้ำใน Unit 5 ได้ลดลงถึงระดับ 1872 มม.เหนือจุดสูงสุดของแท่งเชื้อเพลิง แนวโน้มแสดงให้เห็นว่ามีการลดลงของระดับอย่างต่อเนื่องใน RPV (Reactor Pressure Vessel)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ หน่วยที่ 6
เมื่อเวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มี.ค. 2554 ระดับน้ำใน หน่วยที่ 6 ได้ลดลงถึงระดับ 1773 มม.เหนือจุดสูงสุดของแท่งเชื้อเพลิง
สระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว
ได้ทำการวัดอุณหภูมิของน้ำในสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วใน Unit 4 ,5 และ 6 ค่าที่วัดได้แสดงในตารางต่อไปนี้
<07.00 น. วันที่ 18 มี.ค.> ตามเวลาประเทศไทย
สำนักงานได้รับแจ้งข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ถึงสถานการณ์ นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจากเหตุแผ่นดินไหว
การตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมนอกบริเวณโรงไฟฟ้าฯ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมนอกบริเวณโรง ไฟฟ้าฯ จากกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ระยะห่างจาก 20กิโลเมตรถึง 60 กิโลเมตร ที่เก็บในช่วงเวลา 07.00-14.00 น. ของวันที่ 17 มี.ค. ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่ารายงานที่ผ่านมาพร้อมทั้งข้อมูลทิศทางลม
ปริมาณรังสีในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือไปทางเมืองฟูกูชิมะอยู่ในช่วงประมาณ 3 ถึง 170 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง โดยที่ค่าสูงสุดวัดได้ที่ระยะประมาณ 30 กิโลเมตร ปริมาณรังสีที่บางจุดเพิ่มขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมง (2 จุดเพิ่มจาก 80 ถึง 170 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง และ 26 ถึง 75 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
ปริมาณรังสีในทิศทางอื่นๆ อยู่ในช่วง 1 ถึง 5 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง
การตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงไฟฟ้าฯ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi)
ข้อมูลจากตำแหน่ง MP5 และ MP6 แนบมากับรายงานนี้ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 03.00 น. ของวันที่ 14 มี.ค. ถึง 13.30 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับรังสีพื้นหลังอยู่ที่ระดับประมาณ 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ค่าปริมาณรังสีสูงสุดวัดได้ 12000 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงณ เวลา 07.00 ของวันที่ 15 มี.ค. และน่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จากหน่วยที่ 2 และ 4 ถึงแม้ว่าระดับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่ในช่วงระยะ 300 ไมโครซีเวิร์ต
ค่าสูงสุดที่วัดได้คือ ๔๐๐๐๐๐ ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง หรือ ๔๐๐ ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งวัดได้ ณ ตำแหน่งอื่น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอินิ (Fukushima Daiini)
นอกเหนือจากค่าสูงสุดที่สูงกว่า 100 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง เล็กน้อย ณ เวลา 18.00 น. ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับรังสีในบริเวณรอบๆ อยู่ระหว่าง 10 ถึง 30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง สูงกว่าระดับปกติ 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ก่อนการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ
การคัดกรองการปนเปื้อนรังสีของบุคคล
ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 15 การคัดกรองการปนเปื้อนรังสีได้กระทำที่ศูนย์ปฏิบัติการนอกบริเวณโรงไฟฟ้าฯ ในเมืองโอกุมะ ซึ่ง 162 คนได้รับการตรวจสอบ โดยที่ 49 คนมีระดับรังสีในช่วง 6000 ถึง 13000 cpm และ 8 คนมีระดับรังสีเกินกว่า 13000 cpm ซึ่งเป็นระดับสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน ถ คนถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังจากที่ได้รับการชำระการเปรอะเปื้อน
ผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตร ได้รับการอพยพ และได้ย้าย 3 คนที่มีปริมาณรังสีสูงไปยังสถานพยาบาล
จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 60 คนที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายประชาชน พบปริมาณรังสีสูงใน 3 คน ทั้ง 60 คนได้รับการชำระการเปรอะเปื้อน
สถานะของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 หน่วยที่ 2 และหน่วยที่ 3 เมื่อช่วงเวลา 10.30 – 14.35 น. วันที่ 17 มีนาคม 2554 แสดงดังตาราง
สำหรับหน่วยที่ 1 ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 16 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 2 สายไฟฟ้าจากภายนอกกำลังถูกเตรียมการเพื่อต่อเชื่อมกับหน่วยที่ ๒ หลังจากเสร็จสิ้นการพ่นน้ำของหน่วยที่ 3 ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 3 การฉีดน้ำจากเฮลิคอปเตอร์เริ่มตั้งแต่เวลา 07.48 – 08.00 น. ของวันที่ 16 มี.ค. ทั้งหมด 4 ครั้ง รถบรรทุกน้ำระดมฉีดน้ำลดหน่วยที่ 3 จากเวลา 17.05 -18.09 น. ของวันที่ 17 มี.ค. ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 4 ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับอุณหภูมิและระดับน้ำของบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้ แล้ว ณ เวลา 15.30 ของวันที่ 17 มี.ค. น้ำทะเลยังคงถูกฉีดเข้าไปอยู่
สำหรับหน่วยที่ 5 ณ เวลา 22.00 ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1872 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เวลา 15.00 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1868 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
สำหรับหน่วยที่ 6 ณ เวลา 22.00 ของวันที่ 16 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1773 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เวลา 15.00 ของวันที่ 17 มี.ค. ระดับน้ำลดลงอยู่ที่ 1697 มิลลิเมตรเหนือส่วนบนสุดของแท่งเชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ดีเซลฉุกเฉินของหน่วยที่ 6 ทำงานได้และสนับสนุนหน่วยที่ 5 และ 6 มีการฉีดน้ำเข้าสู่บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว และมีการวางแผนฉีดน้ำเข้าสู่ถังเครื่องปฏิกรณ์หลังจากที่สามารถใช้พลังงาน จากภายนอกได้
บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว
อุณหภูมิวัดได้ดังนี้
สำหรับรายงานความคืบหน้าใดๆ สำนักงานฯ จะได้รายงานให้ทราบเป็นระยะๆต่อไป
ที่มา
- Emergency Notification and Assistance Convention Website ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
- News Release ของ Ministry of Economy, Trade and Industry โดย Nuclear and Industrial Safety Agency (NISA) ประเทศญี่ปุ่น
โดย : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ