สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และมาตรการในการดำเนินการหลังเกิดการแพร่กระจายของรังสี โดยได้รับแจ้งจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(ไอเออีเอ) ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้ติดตามและมาอัพเดตข้อมูล
<ข้อมูลช่วงเช้าวันที่ 17 มี.ค.54>
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi )
สถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสีด้านนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีรายละเอียดดังนี้
อัตราปริมาณรังสีที่วัดได้ด้านนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระหว่างเวลา 14.00 - 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ในวันที่ 16 มีนาคม 2554
สถานการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ในแต่ละหน่วย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 3
เกิดควันสีขาวจากอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์เมื่อเวลา 06.37 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 16 มีนาคม 2554 ซึ่งกำลังหาสาเหตุที่เกิดขึ้นอยู่
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 4
เมื่อเวลา 03.45 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 16 มีนาคม 2554 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งที่ 2 ในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ และเมื่อเวลา 05.26 น. ตามเวลาประเทศไทยสังเกตุไม่พบเปลวเพลิงและควันจากโรงไฟฟ้าหน่วยดังกล่าว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 5
เมื่อเวลา 19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 15 มีนาคม 2554 ระดับน้ำลดลงถึงที่ระดับ 201 เซนติเมตรเหนือแท่งเชื้อเพลิง โดยลดลง 40 เซนติเมตร และเมื่อเวลา 14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เจ้าหน้าที่กำลังวางแผนว่าจะใช้เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันดีเซลในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 6 เพื่อส่งน้ำไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 5
สถานการณ์รังสีล่าสุด
สถานการณ์รังสีในบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ อัตราของปริมาณรังสีที่แผ่กระจายวัดที่ประตูทางเข้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิได้แสดงไว้ดังตารางต่อไปนี้
อย่างไรก็ดี เมื่อเวลา 04.40น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554 วัดปริมาณรังสีที่ทิศตะวันตกของหน่วยที่ 3 ได้ 400 mSv/hr (มิลลิซีเวิร์ต) และ 100 mSv/hr ได้บริเวณ ใกล้ หน่วยที่ 4 และ ตรวจไม่พบรังสีนิวตรอน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daini)
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daini) ทั้ง 4 หน่วย ได้ปิดตัวลง (Cold Shutdown) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องรังสี
ระดับรังสีรังสีบริเวณรอบนอก
ระดับรังสีต่อไปนี้วัดบริเวณรอบนอกโรงไฟฟ้า บริเวณเมืองต่างๆ เมื่อเวลา 01.00 น.ตามเวลาของประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554
มาตรการต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสี
- การอพยพประชาชนที่อยู่ในรอบรัศมี 20 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้ดำเนินการอพยพเรียบร้อยแล้ว
- ได้มีคำสั่งให้ประชาชนที่อยู่ในรอบรัศมี 20-30 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ อยู่ภายในบ้าน
-ได้จัดเตรียมยาเม็ดไอโอดีนเสถียรหรือโพแทสเซียมไอโอไดด์ ไปยังศูนย์เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน ถ้าจำเป็นสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว
ทั้งนี้ ได้ทำการวัดอุณหภูมิของน้ำในสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วในหน่วยที่ 4 ,5 และ 6 ค่าที่วัดได้แสดงในตารางต่อไปนี้
สำหรับหน่วยที่ 3 ได้สังเกตเห็นว่า มีควันฟุ้งออกมาจาก ในช่วงเวลา 08.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554
อย่างไรก็ดี โปรดติดตามข้อมูล ข้อเท็จจริงจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งได้รับรายงานจาก ไอเออีเอ ในระยะต่อไป
ข้อมูลจาก : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.)
รวมเรื่องควรรู้ในพิบัติภัย-วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น
<ข้อมูลช่วงเช้าวันที่ 17 มี.ค.54>
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukushima Daiichi )
สถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสีด้านนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีรายละเอียดดังนี้
อัตราปริมาณรังสีที่วัดได้ด้านนอกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระหว่างเวลา 14.00 - 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ในวันที่ 16 มีนาคม 2554
สถานที่ | อัตราปริมาณรังสี (ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง) |
Miyaki | 0.153 |
Tokyo | 0.054 |
Ibaraki | 0.252 |
สถานการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ในแต่ละหน่วย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 3
เกิดควันสีขาวจากอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์เมื่อเวลา 06.37 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 16 มีนาคม 2554 ซึ่งกำลังหาสาเหตุที่เกิดขึ้นอยู่
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 4
เมื่อเวลา 03.45 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 16 มีนาคม 2554 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งที่ 2 ในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ และเมื่อเวลา 05.26 น. ตามเวลาประเทศไทยสังเกตุไม่พบเปลวเพลิงและควันจากโรงไฟฟ้าหน่วยดังกล่าว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 5
เมื่อเวลา 19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ของวันที่ 15 มีนาคม 2554 ระดับน้ำลดลงถึงที่ระดับ 201 เซนติเมตรเหนือแท่งเชื้อเพลิง โดยลดลง 40 เซนติเมตร และเมื่อเวลา 14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เจ้าหน้าที่กำลังวางแผนว่าจะใช้เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันดีเซลในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 6 เพื่อส่งน้ำไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 5
สถานการณ์รังสีล่าสุด
สถานการณ์รังสีในบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ อัตราของปริมาณรังสีที่แผ่กระจายวัดที่ประตูทางเข้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิได้แสดงไว้ดังตารางต่อไปนี้
Time(UTC) 16-March | Main Gate Nearby MP 6 (MicroSv/h) |
01.00 | 810.3 |
01.10 | 908.5 |
01.20 | 2399 |
01.30 | 1361 |
01.45 | 6400 |
01.55 | 2900 |
02.00 | 3391 |
อย่างไรก็ดี เมื่อเวลา 04.40น. ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554 วัดปริมาณรังสีที่ทิศตะวันตกของหน่วยที่ 3 ได้ 400 mSv/hr (มิลลิซีเวิร์ต) และ 100 mSv/hr ได้บริเวณ ใกล้ หน่วยที่ 4 และ ตรวจไม่พบรังสีนิวตรอน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daini)
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daini) ทั้ง 4 หน่วย ได้ปิดตัวลง (Cold Shutdown) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องรังสี
ระดับรังสีรังสีบริเวณรอบนอก
ระดับรังสีต่อไปนี้วัดบริเวณรอบนอกโรงไฟฟ้า บริเวณเมืองต่างๆ เมื่อเวลา 01.00 น.ตามเวลาของประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554
Location | Dose Rate (Micro Sivert/hr) |
เมือง Fukushima | 18.6 |
เมือง Koriyama | 2.73 |
เมือง Shirakawa | 4.10 |
เมือง Aizu Wakamatsu | 0.79 |
เมือง Minamiaizu | 0.13 |
เมือง Minamisoma | 3.78 |
เมือง Iwaki | 4.01 |
มาตรการต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสี
- การอพยพประชาชนที่อยู่ในรอบรัศมี 20 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้ดำเนินการอพยพเรียบร้อยแล้ว
- ได้มีคำสั่งให้ประชาชนที่อยู่ในรอบรัศมี 20-30 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ อยู่ภายในบ้าน
-ได้จัดเตรียมยาเม็ดไอโอดีนเสถียรหรือโพแทสเซียมไอโอไดด์ ไปยังศูนย์เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน ถ้าจำเป็นสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว
ทั้งนี้ ได้ทำการวัดอุณหภูมิของน้ำในสระที่ใช้เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วในหน่วยที่ 4 ,5 และ 6 ค่าที่วัดได้แสดงในตารางต่อไปนี้
หน่วยที่ 4 | หน่วยที่ 5 | หน่วยที่ 6 |
84 องศาเซลเซียส เวลา21.08 น. ตามเวลาของประเทศไทย วันที่ 14 มี.ค.2554 | 59.7 องศาเซลเซียส เวลา 18.00 น. ตามเวลาของประเทศไทยวันที่ 15 มี.ค.2554 | 58.0 องศาเซลเซียส เวลา 18.00 น. ตามเวลาของประเทศไทยวันที่ 15 มี.ค.2554 |
84 องศาเซลเซียส เวลา21.00 น. ตามเวลาของประเทศไทย วันที่ 15 มี.ค.2554 | 60.4 องศาเซลเซียส เวลา 21.00 น. ตามเวลาของประเทศไทยวันที่ 15 มี.ค.2554 | 58.5 องศาเซลเซียส เวลา 21.00 น. ตามเวลาของประเทศไทยวันที่ 15 มี.ค.2554 |
สำหรับหน่วยที่ 3 ได้สังเกตเห็นว่า มีควันฟุ้งออกมาจาก ในช่วงเวลา 08.00 น. ตามเวลาประเทศไทย วันที่ 16 มีนาคม 2554
อย่างไรก็ดี โปรดติดตามข้อมูล ข้อเท็จจริงจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งได้รับรายงานจาก ไอเออีเอ ในระยะต่อไป
ข้อมูลจาก : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ(ปส.)
รวมเรื่องควรรู้ในพิบัติภัย-วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น