xs
xsm
sm
md
lg

ปส. อัพเดทสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฉบับ 7 : ยังไม่ทราบสถานกะแกนปฏิกรณ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจากโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เทปโก) เมื่อวันที่ 16 มี.ค.54 เห็นเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 3 ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ (ซ้าย) ที่อาคารคลุมถูกทำลายไปแล้ว และหน่วยที่ 4 ที่ยังเหลือผนังสีฟ้าไว้ให้เห็นบางส่วน  (AFP PHOTO / HO / TEPCO via JIJI PRESS)
รายงานเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจากเหตุแผ่นดินไหว โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ซึ่งได้รับแจ้งข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ในฐานะประเทศสมาชิก ซึ่งทางทีมงาน วิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ จะนำมาอัพเดททันที่ทีทาง ปส.แจ้งเข้ามา

(ข้อมูล ณ เวลา 21.20 น. ของวันที่ 15 มี.ค.54 ตามเวลาประเทศไทย)

สรุปผลของการเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิชิ ดังนี้

สถานการณ์ที่มีผลในบริเวณ
มีการยืนยันว่าวัดระดับรังสีได้ 400 mSv/h (มิลลิซีเวิร์ต) ในโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิเป็นผลเนื่องมาจากไฟไหม้โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4

เวลา 07.00 น. ของวันที่ 15 มี.ค.54 วัดรังสีที่ประตูทางเข้าหลักได้ 11.9 mSv/h จากนั้นในจุดเดียวกัน ณ เวลา 13.00 น. ระดับรังสีลดลงเหลือ 0.6 mSv/h

ส่วนการให้ประชาชนอยู่ในบริเวณที่พักอาศัย ได้มีการขยายขอบเขตเป็นระยะ 30 กิโลเมตร โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนบริเวณที่จำเป็นต้องมีการอพยพยังคงเดิมที่ระยะ 20 กิโลเมตร

สถานการณ์ที่มีผลนอกบริเวณ
ไม่พบวัสดุกัมมันตรังสีไอโอดีนและซีเซียม บริเวณใกล้กรุงโตเกียว

ทั้งนี้ มีการตรวจวัดผู้คนจำนวน 150 คนโดยรอบที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และคนในเมืองที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีการรายงานผลการตรวจวัดพบว่า มีคนจำนวน 23 คนต้องได้รับการชำระล้างการเปรอะเปื้อนทางรังสี เนื่องจากวัดการเปรอะเปื้อนได้สูงกว่า 13,000 cpm

โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังคงหยุดการเดินเครื่อง ขณะที่รายงานยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกและจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยใช้ดีเซลจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าได้ แต่มีการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้ จ่ายไฟให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยนี้

ส่วนข้อมูลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว และโครงสร้างของอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ (Primary Containment) ยังไม่สามารถบอกสถานะได้

โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 2

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังคงหยุดการเดินเครื่อง ขณะที่รายงานยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอก และจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยใช้ดีเซลจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าได้ แต่มีการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ ได้จ่ายไฟให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยนี้

เวลา 03.20 น. ไอเออีเอได้รับรายงานว่า มีการระเบิดที่อาคารปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าหน่วยนี้ ที่อาจมีผลต่อตัวอาคารปฏิกรณ์

เวลา 13.00 น. พบว่าแรงดันในอาคารปฏิกรณ์ลดลงเหลือ 155 kPa (กิโลปาสคาล) และขณะรายงานนี้ยังไม่มีข้อมูลสำหรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วในโรงไฟฟ้าหน่วยนี้

โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 3

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังคงหยุดการเดินเครื่อง ขณะที่รายงาน ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกและจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยใช้ดีเซลจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าได้ และขณะที่รายงานได้มีการฉีดน้ำทะเลเข้าไปยังในอาคารปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่อง

โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4

ไอเออีเอได้รับแจ้งจากเอ็นไอเอสเอว่ามีเพลิงไหม้ ใกล้บ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว

เวลา 06.54 น.ของวันที่ 15 มี.ค.54 เพลิงไหม้
เวลา 08.00 น. สามารถดับเพลิง

โรงไฟฟ้าหน่วยนี้ได้เปิดเครื่องมาตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.53

โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 5 และ 6

โรงไฟฟ้าทั้ง 2 หน่วยได้หยุดการเดินเครื่อง เพื่อการบำรุงรักษาขณะที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 5 หยุดเดินเครื่องมาตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.54
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 6 ได้หยุดเดินเครื่องตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 53

ขณะที่รายงานนี้ ไอเออีเอกำลังขอสถานะของแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วในโรงไฟฟ้าทั้ง 2 หน่วยนี้

อย่างไรก็ดีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอนากาวะ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โตไกได้หยุดการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าทั้ง 3 อยู่ในสถานะที่เครื่องปฏิกรณ์ไม่มีความร้อน

เมื่อเวลา 21.20 น.ของวันที่ 15 มี.ค.54 ไอเออีเอได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม โดยมีการกำหนดบริเวณห้ามบิน ในระยะ 30 กิโลเมตร โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ นอกเหนือจากบริเวณนี้สามารถทำการบินได้ตามปกติ

อีกทั้ง หน่วยงานป้องกันชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นได้มีการจัดตั้งระยะการเตือนเพื่อการอพยพโดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เป็นระยะ 10 กิโลเมตรโดยรอบ ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ ตั้งที่ระยะ 3 กิโลเมตรโดยรอบ

ส่วนประเทศไทยปริมาณรังสีแกมมาในอากาศ ที่สถานีเฝ้าระวังทางรังสีแห่งชาติ (หน่วย ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมง) เก็บข้อมูลไว้เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันที่ 15 มี.ค.54 ยังอยู่ในระดับปกติดังนี้

กรุงเทพฯเชียงใหม่ขอนแก่นอุบลราชธานีตราดระนองสงขลา
0.0450.0420.540.680.840.1010.050


ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่าขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อให้การปฏิบัติตนในกรณีที่มีผลต่อเนื่องจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ในครั้งนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนคนไทยให้มากที่สุด

สำหรับรายงานความคืบหน้าใดๆ สำนักงานฯจะได้รายงานให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

ที่มา
- Emergency Notification and Assistance Convention Website ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
- News Release ของ Ministry of Economy, Trade and Industry โดย สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (NISA : Nuclear and Industrial Safety Agency)


รายงานโดยกลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)
เจ้าหน้าที่ของเทปโกกำลังอธิบายถึงความเสียหายของเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 3 และ 4 เมื่อวันที่ 16 มี.ค.54 (AFP PHOTO / JIJI PRESS)


รวมเรื่องควรรู้ในพิบัติภัย-วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น
พนักงานส่วนหนึ่งของเทปโกกำลังโค้งขออภัยต่อประชาชนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างการแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของเทปโก กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 16 มี.ค.54 (AFP PHOTO / JIJI PRESS)
กำลังโหลดความคิดเห็น