xs
xsm
sm
md
lg

ปส.อัพเดตข้อมูลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น ระดับรังสีในไทยยังปกติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชาวเกาหลีใต้ติดตามข่าวการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น (เอเอฟพี)
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ – ปส.อัพเดตสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง สรุปมีคนงานเสียชีวิต 1 คน จากเครนทับ ส่วนปริมาณรังสีในไทยจากสถานีตรวจวัดทั่วประเทศ พบอยู่ในระดับปกติ

จากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกี่ยวข้องแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 11 มี.ค.54 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รับแจ้งข้อมูลจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิชิ (Fukushima-Daiichi) และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima-Daini) เมื่อเวลา 6.03 น. วันที่ 13 มี.ค. 2554 โดยสรุปเหตุการณ์สำคัญๆ ดังนี้

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิชิ

1. โรงไฟฟ้าโรงที่ 1 เครื่องปฏิกรณ์ยังปิดตัวและอยู่ในที่ตั้ง ระดับน้ำหล่อเย็นมีความสูงเหนือแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยประมาณ 170 ซ.ม. ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเพื่อทำให้ระบบอื่นๆ ทำงานดังนั้นจึงมีการปฏิบัติงานเพื่อให้โรงไฟฟ้ามีกระแสไฟฟ้าใช้เพื่อดาเนินการส่วนอื่นต่อ ส่วนในขณะที่เกิดการระเบิดของอาคารที่คลุมเตาปฏิกรณ์ (Containment) นั้น พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดดังกล่าวจานวน 4 คน และมีการปฏิบัติงานฉีดน้ำทะเลผสมโบรอนเข้าไปในอาคารคลุมอย่างต่อเนื่อง

2. โรงไฟฟ้าโรงที่ 2 เครื่องปฏิกรณ์ยังคงปิดตัวและอยู่ในที่ตั้ง ระดับน้าหล่อเย็นไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีความสูงเหนือแท่งเชื้อเพลิงโดยประมาณ 355 ซ.ม. ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเพื่อทำให้ระบบอื่นๆ ทำงาน ดังนั้นจึงมีการปฏิบัติงานเพื่อให้โรงไฟฟ้ามีกระแสไฟฟ้าใช้เพื่อดำเนินการส่วนอื่นต่อ แต่การระบายความร้อนแท่งเชื้อเพลิงภายในเครื่องปฏิกรณ์ยังดำเนินการได้อยู่

3.โรงไฟฟ้าโรงที่ 3 เครื่องปฏิกรณ์ยังคงปิดตัวและอยู่ในที่ตั้ง ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเพื่อทำให้ระบบอื่นๆ ทำงานดังนั้นจึงมีการปฏิบัติงานเพื่อให้โรงไฟฟ้ามีกระแสไฟฟ้าใช้เพื่อดำเนินการส่วนอื่นต่อ ระดับน้าหล่อเย็นมีความสูงจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยประมาณ 135 ซ.ม. โดยการระบายความร้อนแท่งเชื้อเพลิงกระทำโดยการฉีดวัสดุหล่อเย็นแรงดันสูงเข้าไป และในปัจจุบันมีการฉีดน้ำทะเลผสมโบรอนเข้าไปอย่างต่อเนื่อง

จากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้มีการอพยพผู้คนที่อยู่โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในระยะ 20 กิโลเมตรออกนอกพื้นที่ จำนวนคนผู้อพยพโดยประมาณ 170,000 คน และจากการตรวจวัดรังสีบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สรุปได้ดังนี้





จากตารางข้างต้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไประดับรังสีลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีการระเบิดที่ตึกคลุมในโรงไฟฟ้าโรงที่ 1 และจากข้อมูลของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ได้จัดมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ ซึ่งเหตุการณ์นี้จัดอยู่ในระดับ 4 จากสูงสุด 7 ระดับ (ระดับ 4 หมายถึง อุบัติเหตุที่มีการปลดปล่อยของวัสดุกัมมันตรังสีภายในบริเวณสถานปฏิบัติการทางนิวเคลียร์ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรังสีจากอุบัติเหตุนั้น)

นอกจากนี้ หน่วยงานด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (NISA : Nuclear and Industrial Safety Agency) ได้รายงานเพิ่มเติมว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าที่ 1 จำนวน 4 คน และมีผู้ที่รับบาดเจ็บจากกรณีอื่นอีกจานวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คนที่ได้รับรังสีสูงกว่าปกติ คือ 106.30 ไมโครซีเวิร์ต (mSv) แต่ยังต่ำกว่าระดับรังสีสูงสุดที่ยอมให้รับได้ในกรณีฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่กำหนดโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ 500 ไมโครซีเวิร์ต

ส่วนการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่ประชาชนทั่วไป ได้มีการสุ่มตรวจวัดการเปรอะเปื้อนทางรังสีก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณหลบภัย จำนวนโดยประมาณ 100 คน พบว่ามีเพียง 9 คนที่มีการเปรอะเปื้อนทางรังสี ซึ่งพบว่า 5 คนมีการเปรอะเปื้อนทางรังสีเล็กน้อย ส่วน 4 คนมีการเปรอะเปื้อนในระดับที่สูงกว่าค่าปกติ คือ 18,000 -40,000 ซีพีเอ็ม (cpm) และต้องชำาระล้างการเปรอะเปื้อนทางรังสีต่อไป

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดนิ

ตามรายงานของ NISA พบว่าโรงไฟฟ้าโรงที่ 1 โรงที่ 2 และโรงที่ 4 พบว่ามีปัญหาเรื่องไม่มีกระแสไฟฟ้าในโรงงาน แต่ในโรงที่ 3 ปลอดภัย และมีรายงานว่ามีผู้ปฏิบัติงาน 1 คนเสียชีวิตจากเครนทับใส่ 2 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส และอีก 2 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ส่วนการอพยพผู้คนที่อยู่ในระยะโดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 10 กิโลเมตร มีจานวนผู้คนอพยพโดยประมาณ 30,000 คน

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า ปส.ได้ประสานงานกับ โรงพยาบาลราชวิถี โดย นพ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา และคณะ ที่จะเข้าไปร่วมให้ความช่วยเหลือในส่วนของแพทย์ฉุกเฉินที่ประเทศญี่ปุ่น ในสัปดาห์หน้านี้ สานักงานฯ ได้มีการเตรียมเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล เข้าช่วยในการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกิดขึ้น

สำหรับปริมาณรังสีแกมมาในอากาศที่วัดได้สถานีเฝ้าระวังภัย 4 สถานีทั่วประเทศ ที่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลา พบว่าค่าที่วัดได้อยู่ระดับปกติ และ ปส.ได้ติดตามข้อมูลที่ได้ประสานงานจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศตลอดเวลา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ จะรายงานให้ทราบเป็นระยะ

ที่มา
- Emergency Notification and Assistance Convention Website ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
- News Release ของ Ministry of Economy, Trade and Industry โดย Nuclear and Industrial Safety Agency (NISA) ประเทศญี่ปุ่น

แฟ้มภาพเมื่อปี 2010 ขณะเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้ากำลังเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ (เอพี)


รวมเรื่องควรรู้ในพิบัติภัย-วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น
เจ้าหน้าที่ตรวจวัดปริมาณรังสีเพื่อหาการเปรอะเปื้อนสารรังสี (เอพี)
กำลังโหลดความคิดเห็น