ไม่ว่าจะป้องกันด้วยวิธีไหน หรือใช้ยาต่างๆ ต่อต้านเชื้อมาลาเรีย ก็ยังไม่ช่วยให้จำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากเชื้อมรณะชนิดนี้ ลดน้อยลงได้ นักวิจัยผู้ดีเลยงัด กลยุทธ์พันธุวิศวกรรมเข้าสู้ ด้วยการสร้างยุงจีเอ็มโอให้ตัวผู้เป็นหมัน ส่วนตัวเมียต้องไม่สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแพร่สู่คนได้ ปีหน้าเตรียมปล่อยทดสอบในอิตาลี
"เราไม่มีอะไรที่จะไว้ใจได้เลย ฉะนั้นต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว" แอนเดรีย คริซานตี (Andrea Crisanti) นักวิทยาศาสตร์จากอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London) ประเทศอังกฤษ กล่าว โดยสำนักข่าวเอพีรายงานว่า คริซานตีและทีมวิจัยกำลังทดลองดัดแปลงพันธุกรรมของยุงเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อมาลาเรีย
โรคมาลาเรียส่วนมาก ระบาดอยู่ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะในแอฟริกา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะของเชื้อ ซึ่งสหประชาชาติก็ยื่นมือเข้าช่วยเหลือเต็มที่ ทั้งจ่ายแจกมุ้งกันยุง และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง ทว่าก็ยังช่วยป้องกันได้ไม่มาก
ขณะที่มูลนิธิบิลแอนด์เมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ก็ให้การสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
เมื่อหลายวิธีใช้ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มจึงมองว่า หากสร้างยุงพันธุ์ใหม่ให้ต้านต่อเชื้อมาลาเรียได้ ก็น่าจะเป็นอีกวิธีที่น่าจะได้ผลดีกว่า ซึ่งทีมวิจัยของไครเซนไทก็กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน โดยในปี 2548 ไครเซนไทประสบความสำเร็จในการสอดแทรกยีนเข้าไปในพันธุกรรมของยุงเพศผู้ให้เรืองแสงสีเขียวได้
ล่าสุดคริซานตีและทีมวิจัย กำลังดัดแปลงพันธุกรรมยุงตัวผู้ให้เป็นหมัน และวางแผน จะปล่อยออกไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียในธรรมชาติ เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของยุงก่อนในเบื้องต้น ขณะเดียวกันก็กำลังพยายามตัดต่อพันธุกรรมให้ยุงต้านต่อเชื้อมาลาเรียได้ โดยทำให้เชื้อไม่สามารถใช้ยุงเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ได้อีกต่อไป ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วก็มีนักวิจัยสหรัฐฯ ดัดแปลงพันธุกรรมยุงให้ต้านเชื้อมาลาเรียได้ชนิดหนึ่งได้ในหนูทดลอง
ทีมวิจัยวางแผนไว้ว่า ปีหน้าจะทดสอบขั้นสุดท้าย ด้วยการทดลองปล่อยยุงตัวผู้ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จำนวนหลายล้านตัวในพื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลี โดยให้ยุงเหล่านี้อยู่ในกรงขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาดูว่ายุงจีเอ็มโอที่นำมาปล่อยจะเกิดปฏิสัมพันธ์กับยุงธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน และจะต้องใช้ยุงจีเอ็มโอมากเท่าไหร่จึงจะกำราบเชื้อมาลาเรียได้ผล
อย่างไรก็ดี ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสร้างยุงจีเอ็มโอ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาจากการที่ยุงมีพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม และที่ผ่านมาเชื้อมาลาเรียก็สามารถปรับตัวหลบหลีกอาวุธทุกชนิดที่มนุษย์ใช้ป้องกันโรคมาลาเรียได้เป็นอย่างดี
"มันเป็นสงครามการต่อสู้ ที่เชื้อมาลาเลียเป็นฝ่ายได้ชัยอยู่เสมอ เมื่อใดก็ตาม ที่ยุงมีพัฒนาการทางยีน จนสามารถต้านเชื้อมาลาเลียได้ เชื้อมาลาเรียก็จะพบหนทางใหม่ ที่จะทำให้มันอยู่ได้ต่อไป" ข้อคิดเห็นจาก โจ ไลน์ส (Jo Lines) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมาลาเรีย จากวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์และเวชศาสตร์เขตร้อนลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine) ซึ่งเขายังบอกอีกว่าถ้าจะให้เกิดผลจริงๆ ก็ต้องสร้างยุงจีเอ็มโอจำนวนมากเป็นพันๆ ล้านตัวเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันทางด้านนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมากไม่เห็นด้วยอย่างมากกับการใช้ยุงจีเอ็มโอแก้ปัญหาโรคมาลาเรียระบาด เพราะกังวลกันว่ายุงจีเอ็มโออาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และจะทำให้สมดุลในธรรมชาติที่มีมายาวนานเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงได้.
"เราไม่มีอะไรที่จะไว้ใจได้เลย ฉะนั้นต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว" แอนเดรีย คริซานตี (Andrea Crisanti) นักวิทยาศาสตร์จากอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London) ประเทศอังกฤษ กล่าว โดยสำนักข่าวเอพีรายงานว่า คริซานตีและทีมวิจัยกำลังทดลองดัดแปลงพันธุกรรมของยุงเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อมาลาเรีย
โรคมาลาเรียส่วนมาก ระบาดอยู่ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะในแอฟริกา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะของเชื้อ ซึ่งสหประชาชาติก็ยื่นมือเข้าช่วยเหลือเต็มที่ ทั้งจ่ายแจกมุ้งกันยุง และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง ทว่าก็ยังช่วยป้องกันได้ไม่มาก
ขณะที่มูลนิธิบิลแอนด์เมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ก็ให้การสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
เมื่อหลายวิธีใช้ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มจึงมองว่า หากสร้างยุงพันธุ์ใหม่ให้ต้านต่อเชื้อมาลาเรียได้ ก็น่าจะเป็นอีกวิธีที่น่าจะได้ผลดีกว่า ซึ่งทีมวิจัยของไครเซนไทก็กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน โดยในปี 2548 ไครเซนไทประสบความสำเร็จในการสอดแทรกยีนเข้าไปในพันธุกรรมของยุงเพศผู้ให้เรืองแสงสีเขียวได้
ล่าสุดคริซานตีและทีมวิจัย กำลังดัดแปลงพันธุกรรมยุงตัวผู้ให้เป็นหมัน และวางแผน จะปล่อยออกไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียในธรรมชาติ เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของยุงก่อนในเบื้องต้น ขณะเดียวกันก็กำลังพยายามตัดต่อพันธุกรรมให้ยุงต้านต่อเชื้อมาลาเรียได้ โดยทำให้เชื้อไม่สามารถใช้ยุงเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ได้อีกต่อไป ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วก็มีนักวิจัยสหรัฐฯ ดัดแปลงพันธุกรรมยุงให้ต้านเชื้อมาลาเรียได้ชนิดหนึ่งได้ในหนูทดลอง
ทีมวิจัยวางแผนไว้ว่า ปีหน้าจะทดสอบขั้นสุดท้าย ด้วยการทดลองปล่อยยุงตัวผู้ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จำนวนหลายล้านตัวในพื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลี โดยให้ยุงเหล่านี้อยู่ในกรงขนาดใหญ่ เพื่อศึกษาดูว่ายุงจีเอ็มโอที่นำมาปล่อยจะเกิดปฏิสัมพันธ์กับยุงธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน และจะต้องใช้ยุงจีเอ็มโอมากเท่าไหร่จึงจะกำราบเชื้อมาลาเรียได้ผล
อย่างไรก็ดี ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการสร้างยุงจีเอ็มโอ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาจากการที่ยุงมีพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม และที่ผ่านมาเชื้อมาลาเรียก็สามารถปรับตัวหลบหลีกอาวุธทุกชนิดที่มนุษย์ใช้ป้องกันโรคมาลาเรียได้เป็นอย่างดี
"มันเป็นสงครามการต่อสู้ ที่เชื้อมาลาเลียเป็นฝ่ายได้ชัยอยู่เสมอ เมื่อใดก็ตาม ที่ยุงมีพัฒนาการทางยีน จนสามารถต้านเชื้อมาลาเลียได้ เชื้อมาลาเรียก็จะพบหนทางใหม่ ที่จะทำให้มันอยู่ได้ต่อไป" ข้อคิดเห็นจาก โจ ไลน์ส (Jo Lines) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมาลาเรีย จากวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์และเวชศาสตร์เขตร้อนลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine) ซึ่งเขายังบอกอีกว่าถ้าจะให้เกิดผลจริงๆ ก็ต้องสร้างยุงจีเอ็มโอจำนวนมากเป็นพันๆ ล้านตัวเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันทางด้านนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมากไม่เห็นด้วยอย่างมากกับการใช้ยุงจีเอ็มโอแก้ปัญหาโรคมาลาเรียระบาด เพราะกังวลกันว่ายุงจีเอ็มโออาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และจะทำให้สมดุลในธรรมชาติที่มีมายาวนานเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงได้.