xs
xsm
sm
md
lg

ผลงาน ก.วิทยาศาสตร์ฯ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปีกว่าๆ ของรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังล่วงผ่านเลยไปแล้ว เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ โดยในส่วนของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย จะอดกล่าวถึงผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้การนำของเจ้ากระทรวงนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงอย่าง ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ไปไม่ได้

"ผู้จัดการวิทยาศาสตร์" จึงขอประมวลผลงานสำคัญๆ ในรอบปีมาให้ทบทวนกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าผลงานไดโดนหรือไม่โดนใจอย่างไรบ้าง

โครงการรายละเอียดสถานะ
แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เพื่อนำงานวิจัยขับเคลื่อนระบบการผลิตของประเทศ บูรณาการภาควิชาการและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน เป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการไทย 35% นำเทคโนโลยีช่วยการผลิตได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมา และกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการระยะแรก โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ภาควิชาการและภาคอุตสาหกรรมไปบางส่วน
พ.ร.บ.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ...กม.หลักด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับแรกและฉบับเดียวของไทยในขณะนี้ ก่อนหน้าเป็นเพียงไกด์ไลน์สำหรับผู้บริหาร และจะจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โดยกล่าวถึงการผลิตบุคลากรวิจัยแบบก้าวกระโดดในอัตรา 10 คนต่อประชาการ 10,000 คนในปี 2554ร่าง พ.ร.บ.ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.50 และกำลังนำทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ...กฎหมายเพื่อยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นมาตรการสร้างความมั่นใจแก่เยาวชนที่จะประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความพยายามผลักดันมานานกว่า 10 ปี ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขให้มีเนื้อหาเชิงส่งเสริมมากกว่าการควบคุม และกล่าวถึงการจัดตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่ระหว่างการดำเนินการโดยยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร โดยเฉพาะกรณีที่มีความกังวลว่า ร่างฯ ดังกล่าวควบคุมซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ของแพทย์และวิศวกรที่มีการบังคับใช้อยู่ก่อนแล้ว ทำให้ยังไม่อาจตกลงกันได้ **เพิ่มเติม** ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว เมื่อวันที่ 28 พ.ย.50 ขณะนี้อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไท
โครงการปลูกฝังปัญญาเยาว์ บำรุงเฝ้าปัญญายืนการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจของประชาชนในทุกระดับ โดยเฉพาะเยาวชนในความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้จักการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการรักษาสุขภาพ การสร้างรายได้เสริมหลังเกษียณอายุ และการเป็นแหล่งรวมความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นระยะๆ อาทิ รายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ การจัดมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมวันเทคโนโลยีแห่งชาติ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวได้
การสืบสวนสอบสวนความไม่ชอบมาพากลของโครงการก่อสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จ.นครนายกเนื่องจากพบความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์วิจัยขนาด 10 เมกะวัตต์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ที่จนปัจจุบันยังไม่อาจก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับ บ.เจเนอรัล อะตอมมิกส์ (จีเอ) ของสหรัฐฯ โดยรัฐสูญเสียเงินไปแล้วกว่า 1.8 พันล้านบาท อีกทั้งยังมีการฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วยมูลค่ามหาศาลที่ไม่เห็นวี่แววว่าจะสิ้นสุดการสืบสวนสอบสวนเป็นไปอย่างเชื่องช้า และยังไม่อาจหาตัวผู้รับผิดชอบใดๆ มาลงโทษได้ โดยมีการผลัดการแถลงความคืบหน้าของคดีมาโดยตลอด
การก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ความพยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างนิคมวิจัยสำหรับภาคเอกชนตามภูมิภาคต่างๆ ด้วยงบประมาณเกือบ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อการส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาโดยภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบัน 2 ใน 3 ของการวิจัยพัฒนาเกิดขึ้นโดยภาครัฐครม.เห็นชอบกับการดำเนินการโครงการระยะ 3 ปีแรกแล้ว ซึ่งจะเป็นการสำรวจปัญหาและความต้องการของภาคเอกชนและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่แล้วก่อน โดยใช้งบประมาณทั้ง 2 แห่งราว 580 ล้านบาท ก่อนจะเริ่มจัดหาและจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ มูลค่าเกือบ 7,000 ล้านบาทยังอยู่ในการพิจารณาความเหมาะสม
การทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ในระดับแปลงเปิดความพยายามผลักดันล้มเลิกมติ ครม. 3 เม.ย.2544 ที่ห้ามไม่ให้ทดสอบพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด เนื่องจากมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเกสรไปยังพืชอื่นๆ ในธรรมชาติได้ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ได้อนุมัติให้มีการทดสอบในแปลงปลูกของราชการได้ โดยก่อนปลูกต้องมีรายงานผลกระทบและรายงานการรับฟังเสียงจากประชาชนอย่างรอบด้านเพื่อการพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ซึ่งเอ็นจีโอสายที่ไม่เห็นด้วยต่างประณามการกระทำครั้งนี้ของรัฐบาล
การศึกษาเตรียมการความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศไทยเนื่องจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2007) ระบุให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกจำนวน 2,000 เมกะวัตต์ในปี 2563 และอีก 2,000 ในปีถัดไปที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 ต.ค.50มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ จัดทำร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานฯ ขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อนำสู่การพิจารณาของรัฐบาลในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วยงบประมาณ 1.8 พันล้านบาทว่า จะมีการก่อสร้างตามหรือไม่ โดยล่าสุด ครม.ได้เห็นชอบกับ พ.ร.บ.ปรมาณูเพื่อสันติ ฉบับ 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2508 ที่เสนอปรับปรุงอีกครั้ง
โครงการดาวเทียมธีออสโครงการก่อสร้างดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทย ในนาม “ธีออส” ในลักษณะการค้าต่างตอบแทนมูลค่ากว่า 6 พันล้านกับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งมีการจ่ายค่างวดครั้งสุดท้ายไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่คุ้มค่าการลงทุนมีการรายงานว่าการก่อสร้างดาวเทียมดังกล่าวแล้วเสร็จแล้ว และอยู่ในระหว่างการส่งขึ้นไปสู่วงโคจรของโลก ทว่ามีการเลื่อนกำหนดการปล่อยมาแล้วถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ก.ค.2550 ที่ผ่านมา ส่วนกำหนดการล่าสุดคือ 9 ม.ค.2551
การจัดแตกหน่วยงานลูกออกไปสู่ความเป็นองค์การมหาชนหลายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีความต้องการที่จะผลักดันตนเองไปสู่การเป็นองค์การมหาชน ซึ่งจะมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการพันธะกิจมากขึ้นหน่วยงานที่มีการผลักดันเป็นองค์การมหาชนในรอบปีที่ผ่านมา อาทิ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) รวมถึงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) เป็นหน่วยงานวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์นิวเคลียร์ของประเทศ

กำลังโหลดความคิดเห็น