ปรับโฉมครบทุกโมเดลกับปิกอัพที่ทำตลาดในไทย หลังจาก “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ ได้เผยโฉมอย่างเป็นทางการไปเมื่อเย็นวันจันทร์ที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับสร้างความฮือฮาให้กับตลาดปิกอัพไทย เพราะไม่เพียงเดินตามกระแสเครื่องยนต์ Downsizing แต่อีซูซุได้ประโคมเป็นปิกอัพ 1 ตันรายแรกของโลก ที่วางเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลขนาด 1.9 ลิตร ส่วนจะเด่น หรือด้อยกว่าคู่แข่ง?... “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้นำข้อมูลเทคนิคปิกอัพรุ่นเครื่องยนต์เล็กสุดแต่ละยี่ห้อมาเปรียบเทียบให้เห็น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเบื้องต้น...
ไม่สูงสุดแต่เลี้ยงม้าไว้แน่นคอกกว่า
ความน่าสนใจที่สุดของการปรับโฉมปิกอัพ “อีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่” น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่มาทำตลาด โดยได้มีการถอดรุ่น 2.5 ลิตรเดิมออก และวางเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลบล็อกใหม่ รหัส RZ4E-TC ขนาด 1.9 ลิตร (1,898 ซีซี) มาทำตลาดแทน แต่ยังคงรุ่นเครื่องยนต์ 4JJ1-TCX ขนาด 3.0 ลิตร 177 แรงม้า ไว้ทำตลาดคู่กันเพื่อคนชื่นชอบความแรงต่อไป
เครื่องยนต์บล็อกใหม่ติดตั้ง VGS เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ ไม่ได้เป็น Bi-Turbo ตามกระแสข่าวลือก่อนหน้านี้ แต่ขุมกำลังที่มีมาให้ไม่ได้ด้อยกว่าคู่แข่งหลายรุ่นในกลุ่มเครื่องยนต์เล็กด้วยกัน เพราะมีกำลังสูงสุด 150 แรงม้า หากเทียบกับขนาดคอกเพียง 1,898 ซีซี ถือว่าเลี้ยงม้าไว้แน่นสุดๆ แม้จะไม่มีจำนวนแรงม้ามากที่สุดก็ตาม โดยเป็นรอง มิตซูบิชิ ไทรทัน ที่เครื่องยนต์บล็อกใหม่ให้กำลังถึง 181 แรงม้า รวมถึงนิสสัน เอ็นพี300 นาวารา และเชฟโรเลต โคโลราโด ที่มีกำลัง 163 แรงม้า (ดูตารางประกอบ)
แน่นอนในฐานะปิกอัพที่ต้องใช้งานหนัก โดยเฉพาะการฉุดลากคงต้องดูแรงบิดสูงสุดประกอบ ซึ่งเครื่องยนต์ใหม่ของอีซูซุ ดี-แมคซ์อยู่ที่ 350 นิวตัน-เมตร ตั้งแต่รอบต่ำ 1,8000-2,600 รอบต่อนาที หากเทียบกับคู่แข่ง โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่, ฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า บีที-50 โปร ในรุ่นมาตรฐานทั่วไปนับว่าโดดเด่นกว่า ยกเว้นในรุ่นยกสูง หรือขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะด้วยน้ำหนักที่เพิ่มและการใช้งาน รถเหล่านี้จึงต้องปรับเพิ่มพลังรับการฉุดลาก ทั้งแรงบิดสูงสุดและกำลังแรงม้า
อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์บล็อกใหม่ของดี-แมคซ์น้ำหนักลดลง 60 กิโลกรัม หากเทียบกับรุ่น 2.5 ลิตรเดิม ส่งผลให้น้ำหนักรวมของดี-แมคซ์ใหม่ลดลง ทำให้พลังการฉุดลากมีประสิทธิภาพขึ้น แม้จะวางในตัวถังและรุ่นแตกต่างกันก็ตาม จะยกเว้นก็เพียงรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ต้องใช้กำลังมากจึงมอบหน้าที่ให้บล็อกเดิม 3.0 ลิตรทำตลาดแทน และเมื่อทำงานผสานกับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ (เดิมเป็นแบบ 5 จังหวะ) เหมือนกับปิกอัพส่วนใหญ่ในตลาด จึงช่วยเพิ่มสรรถนะให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกมิติ แม้เครื่องยนต์จะเล็กกว่ารุ่น 2.5 ลิตรก็ตาม ที่สำคัญเครื่องยนต์เล็กลงและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แน่นอนอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจึงดีกว่าเดิม 19% หรือตามข้อมูลในอีโคสติ๊กเกอร์ระบุไว้ที่ 14.9 กม./ลิตร และยังผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 6 ด้วย
อุปกรณ์มาตรฐาน-ความปลอดภัย
เกี่ยวกับอุปกรณ์มาตรฐานและความปลอดภัย ปัจจุบันปิกอัพแทบจะไม่แตกต่างจากรถยนต์นั่ง โดยเฉพาะในรุ่นท็อป หรือรุ่นบนๆ จะเห็นว่าอีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่ ให้มาสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบเหมือนกับคู่แข่ง แต่โดดเด่นสุดในกลุ่มจะเป็น “ฟอร์ด เรนเจอร์” ตามแนวทางของค่ายรถนี้ที่จัดเต็มตั้งแต่รุ่นล่างๆ หรือรุ่นมีแค็บราคากว่า 6 แสนบาทขึ้นไป
ระบบความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ แม้คนซื้อรถจะไม่ค่อยยกขึ้นมาพิจารณามากเท่าไหร่ แต่นับว่าค่ายรถมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญจึงพยายามใส่มาให้เลย อย่างเรื่องของถุงลมนิรภัยคู่หน้าบางค่าย อาทิ ฟอร์ด เรนเจอร์ มีให้ตั้งแต่รุ่นตอนเดียว และยิ่งในรุ่นมีแค็บแทบทุกรายมากันครบ รวมถึงอีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่ เครื่องยนต์ 1.9 ลิตร อาจจะไม่ได้จัดเต็มอย่างคู่แข่ง โตโยต้า ไฮลักซ์ ที่เพิ่มถุงลมนิรภัยบริเวณหัวเข่าผู้ขับมาให้ด้วย
หากไปดูในรุ่นดับเบิล แค็บ หรือปิกอัพ 4 ประตู ยิ่งเห็นว่าโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ให้มาค่อนข้างครบตั้งแต่รุ่นล่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า หัวเข่า ด้านข้าง และม่านนิรภัย ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน และระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน เรียกว่ามากันครบตั้งแต่รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบตัวถังปกติไปจนถึงรุ่นยกสูงกันเลย ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่จะมาในรุ่นท็อป หรือรองท็อป อย่างอีซูซุ ดี-แมคซ์ครบครันจริงๆ จะเป็นรุ่นท็อป 1.9 Ddi Z-Prestige เท่านั้น
เครื่องยนต์ใหม่มาเกือบทุกตัวถัง
การวางเครื่องยนต์ใหม่ของ อีซูซุ ดี-แมคซ์ เป็นการให้ความสำคัญกับทุกกลุ่ม เหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีให้เลือกตั้งแต่รุ่นมาตรฐาน หรือตอนเดียว รุ่นมีแค็บ และแบบ 4 ประตู รวมถึงรุ่นยกสูงของแต่ละตัวถังอีก จะมีเพียงรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่อีซูซุมีให้เลือกเฉพาะในรุ่นเครื่องยนต์บล็อกเดิม 3.0 ลิตร อาจจะมาจากรถประเภทนี้ต้องการสมรรถนะกำลังสูงๆ ประกอบกับอีซูซุไม่ได้ปรับให้เครื่องยนต์บล็อกเดียวกันมีหลายขนาดกำลัง เหมือนกับคู่แข่งอย่าง ฟอร์ด เรนเจอร์, มาสด้า บีที-50 โปร หรือนิสสัน เอ็นพี 300 นาวารา
ส่วนเครื่องยนต์เล็กรุ่นใหม่ที่มีขุมกำลังแรง อย่างบล็อก 4N15 MIVEC VG เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ขนาด 2.4 ลิตร 181 แรงม้า ของมิตซูบิชิ ไทรทัน โฉมใหม่ กลับเลือกวางเฉพาะในรุ่นยกสูงเท่านั้น ส่วนรุ่นธรรมดายังใช้บริการเครื่องบล็อกเดิม 4D56 ขนาด 2.5 ลิตร นั่นอาจจะเป็นเพราะเห็นว่าสมรรถนะกำลังรุ่นเดิม มีความเหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว
สรุปดี-แมคซ์ใหม่ชัดเจนในทางเดิม
“อีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่” เครื่องยนต์ 1.9 Ddi นับว่ามีสมรรถนะดีขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่น 2.5 ลิตรเดิม ขณะที่ราคาวางค่อนข้างได้ดีเริ่ม 4.90-9.28 แสนบาท ไม่ได้ต่ำหรือกระโดดสูงจนเกินไป ขณะที่แนวทางการพัฒนายังคงบุคลิคที่ผ่านมาเอาไว้เช่นเดิม โดยให้สมรรถนะการใช้งานได้กว้าง คืออาจจะแรงขึ้นแต่ไม่ใช่พวกหลังติดเบาะ ส่วนหนึ่งมาจากการให้ความสำคัญเรื่องของอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันที่ถือเป็นจุดขายมาตลอด
สำหรับผู้ชื่นชอบเครื่องยนต์เล็กแต่แรง คงต้องไปคบกับ “มิตซูบิชิ ไทรทัน” เพียงแต่อาจจะมีรุ่นย่อยให้เลือกน้อยกว่าคู่แข่ง ส่วนรองลงมามีทางเลือกมากหน่อยกับ “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” หรือ “เชฟโรเลต โคโลราโด” แต่ถ้าขุมพลังกำลังดีและมีอุปกรณ์มาตรฐาน ตลอดจนระบบความปลอดภัยจัดเต็ม ต้องมองมาที่ “โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่” ส่วนผู้ที่เน้นออปชั่นพอสมควร และมีตัวเลือกเรื่องกำลังหลายแบบต้องพิจารณา “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50 โปร” แน่นอนถ้าอยากได้ปิกอัพ 4 ประตู เอาเรื่องราคาอย่างเดียว และสมรรถนะพอใช้ได้ นี่เลย... “ทาทา ซีนอน 150 NX-Plorer 4WD”
ทั้งหมดเป็นข้อมูลเบื้องต้น (ไม่รวมเรื่องบริการหลังการาย หรือราคาขายต่อ) โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์ ดังนั้นเมื่อเลือกหรือเจาะจงรุ่นย่อยใดได้แล้ว คงต้องศึกษารายละเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ ราคา และออปชั่น เปรียบเทียบรถแบบเดียวกันแต่ละยี่ห้ออีกครั้ง และที่สำคัญควรต้องไปลองขับเปรียบเทียบ ว่ารุ่นไหนเหมาะสมกับบุคลิกตนเองที่สุด ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ…
ไม่สูงสุดแต่เลี้ยงม้าไว้แน่นคอกกว่า
ความน่าสนใจที่สุดของการปรับโฉมปิกอัพ “อีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่” น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่มาทำตลาด โดยได้มีการถอดรุ่น 2.5 ลิตรเดิมออก และวางเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลบล็อกใหม่ รหัส RZ4E-TC ขนาด 1.9 ลิตร (1,898 ซีซี) มาทำตลาดแทน แต่ยังคงรุ่นเครื่องยนต์ 4JJ1-TCX ขนาด 3.0 ลิตร 177 แรงม้า ไว้ทำตลาดคู่กันเพื่อคนชื่นชอบความแรงต่อไป
เครื่องยนต์บล็อกใหม่ติดตั้ง VGS เทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ ไม่ได้เป็น Bi-Turbo ตามกระแสข่าวลือก่อนหน้านี้ แต่ขุมกำลังที่มีมาให้ไม่ได้ด้อยกว่าคู่แข่งหลายรุ่นในกลุ่มเครื่องยนต์เล็กด้วยกัน เพราะมีกำลังสูงสุด 150 แรงม้า หากเทียบกับขนาดคอกเพียง 1,898 ซีซี ถือว่าเลี้ยงม้าไว้แน่นสุดๆ แม้จะไม่มีจำนวนแรงม้ามากที่สุดก็ตาม โดยเป็นรอง มิตซูบิชิ ไทรทัน ที่เครื่องยนต์บล็อกใหม่ให้กำลังถึง 181 แรงม้า รวมถึงนิสสัน เอ็นพี300 นาวารา และเชฟโรเลต โคโลราโด ที่มีกำลัง 163 แรงม้า (ดูตารางประกอบ)
แน่นอนในฐานะปิกอัพที่ต้องใช้งานหนัก โดยเฉพาะการฉุดลากคงต้องดูแรงบิดสูงสุดประกอบ ซึ่งเครื่องยนต์ใหม่ของอีซูซุ ดี-แมคซ์อยู่ที่ 350 นิวตัน-เมตร ตั้งแต่รอบต่ำ 1,8000-2,600 รอบต่อนาที หากเทียบกับคู่แข่ง โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่, ฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า บีที-50 โปร ในรุ่นมาตรฐานทั่วไปนับว่าโดดเด่นกว่า ยกเว้นในรุ่นยกสูง หรือขับเคลื่อน 4 ล้อ เพราะด้วยน้ำหนักที่เพิ่มและการใช้งาน รถเหล่านี้จึงต้องปรับเพิ่มพลังรับการฉุดลาก ทั้งแรงบิดสูงสุดและกำลังแรงม้า
อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์บล็อกใหม่ของดี-แมคซ์น้ำหนักลดลง 60 กิโลกรัม หากเทียบกับรุ่น 2.5 ลิตรเดิม ส่งผลให้น้ำหนักรวมของดี-แมคซ์ใหม่ลดลง ทำให้พลังการฉุดลากมีประสิทธิภาพขึ้น แม้จะวางในตัวถังและรุ่นแตกต่างกันก็ตาม จะยกเว้นก็เพียงรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ต้องใช้กำลังมากจึงมอบหน้าที่ให้บล็อกเดิม 3.0 ลิตรทำตลาดแทน และเมื่อทำงานผสานกับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ (เดิมเป็นแบบ 5 จังหวะ) เหมือนกับปิกอัพส่วนใหญ่ในตลาด จึงช่วยเพิ่มสรรถนะให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกมิติ แม้เครื่องยนต์จะเล็กกว่ารุ่น 2.5 ลิตรก็ตาม ที่สำคัญเครื่องยนต์เล็กลงและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แน่นอนอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจึงดีกว่าเดิม 19% หรือตามข้อมูลในอีโคสติ๊กเกอร์ระบุไว้ที่ 14.9 กม./ลิตร และยังผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 6 ด้วย
อุปกรณ์มาตรฐาน-ความปลอดภัย
เกี่ยวกับอุปกรณ์มาตรฐานและความปลอดภัย ปัจจุบันปิกอัพแทบจะไม่แตกต่างจากรถยนต์นั่ง โดยเฉพาะในรุ่นท็อป หรือรุ่นบนๆ จะเห็นว่าอีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่ ให้มาสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบเหมือนกับคู่แข่ง แต่โดดเด่นสุดในกลุ่มจะเป็น “ฟอร์ด เรนเจอร์” ตามแนวทางของค่ายรถนี้ที่จัดเต็มตั้งแต่รุ่นล่างๆ หรือรุ่นมีแค็บราคากว่า 6 แสนบาทขึ้นไป
ระบบความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ แม้คนซื้อรถจะไม่ค่อยยกขึ้นมาพิจารณามากเท่าไหร่ แต่นับว่าค่ายรถมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญจึงพยายามใส่มาให้เลย อย่างเรื่องของถุงลมนิรภัยคู่หน้าบางค่าย อาทิ ฟอร์ด เรนเจอร์ มีให้ตั้งแต่รุ่นตอนเดียว และยิ่งในรุ่นมีแค็บแทบทุกรายมากันครบ รวมถึงอีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่ เครื่องยนต์ 1.9 ลิตร อาจจะไม่ได้จัดเต็มอย่างคู่แข่ง โตโยต้า ไฮลักซ์ ที่เพิ่มถุงลมนิรภัยบริเวณหัวเข่าผู้ขับมาให้ด้วย
หากไปดูในรุ่นดับเบิล แค็บ หรือปิกอัพ 4 ประตู ยิ่งเห็นว่าโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ให้มาค่อนข้างครบตั้งแต่รุ่นล่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า หัวเข่า ด้านข้าง และม่านนิรภัย ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน และระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน เรียกว่ามากันครบตั้งแต่รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบตัวถังปกติไปจนถึงรุ่นยกสูงกันเลย ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่จะมาในรุ่นท็อป หรือรองท็อป อย่างอีซูซุ ดี-แมคซ์ครบครันจริงๆ จะเป็นรุ่นท็อป 1.9 Ddi Z-Prestige เท่านั้น
เครื่องยนต์ใหม่มาเกือบทุกตัวถัง
การวางเครื่องยนต์ใหม่ของ อีซูซุ ดี-แมคซ์ เป็นการให้ความสำคัญกับทุกกลุ่ม เหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีให้เลือกตั้งแต่รุ่นมาตรฐาน หรือตอนเดียว รุ่นมีแค็บ และแบบ 4 ประตู รวมถึงรุ่นยกสูงของแต่ละตัวถังอีก จะมีเพียงรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่อีซูซุมีให้เลือกเฉพาะในรุ่นเครื่องยนต์บล็อกเดิม 3.0 ลิตร อาจจะมาจากรถประเภทนี้ต้องการสมรรถนะกำลังสูงๆ ประกอบกับอีซูซุไม่ได้ปรับให้เครื่องยนต์บล็อกเดียวกันมีหลายขนาดกำลัง เหมือนกับคู่แข่งอย่าง ฟอร์ด เรนเจอร์, มาสด้า บีที-50 โปร หรือนิสสัน เอ็นพี 300 นาวารา
ส่วนเครื่องยนต์เล็กรุ่นใหม่ที่มีขุมกำลังแรง อย่างบล็อก 4N15 MIVEC VG เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ขนาด 2.4 ลิตร 181 แรงม้า ของมิตซูบิชิ ไทรทัน โฉมใหม่ กลับเลือกวางเฉพาะในรุ่นยกสูงเท่านั้น ส่วนรุ่นธรรมดายังใช้บริการเครื่องบล็อกเดิม 4D56 ขนาด 2.5 ลิตร นั่นอาจจะเป็นเพราะเห็นว่าสมรรถนะกำลังรุ่นเดิม มีความเหมาะสมกับการใช้งานอยู่แล้ว
สรุปดี-แมคซ์ใหม่ชัดเจนในทางเดิม
“อีซูซุ ดี-แมคซ์ ใหม่” เครื่องยนต์ 1.9 Ddi นับว่ามีสมรรถนะดีขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่น 2.5 ลิตรเดิม ขณะที่ราคาวางค่อนข้างได้ดีเริ่ม 4.90-9.28 แสนบาท ไม่ได้ต่ำหรือกระโดดสูงจนเกินไป ขณะที่แนวทางการพัฒนายังคงบุคลิคที่ผ่านมาเอาไว้เช่นเดิม โดยให้สมรรถนะการใช้งานได้กว้าง คืออาจจะแรงขึ้นแต่ไม่ใช่พวกหลังติดเบาะ ส่วนหนึ่งมาจากการให้ความสำคัญเรื่องของอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันที่ถือเป็นจุดขายมาตลอด
สำหรับผู้ชื่นชอบเครื่องยนต์เล็กแต่แรง คงต้องไปคบกับ “มิตซูบิชิ ไทรทัน” เพียงแต่อาจจะมีรุ่นย่อยให้เลือกน้อยกว่าคู่แข่ง ส่วนรองลงมามีทางเลือกมากหน่อยกับ “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” หรือ “เชฟโรเลต โคโลราโด” แต่ถ้าขุมพลังกำลังดีและมีอุปกรณ์มาตรฐาน ตลอดจนระบบความปลอดภัยจัดเต็ม ต้องมองมาที่ “โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่” ส่วนผู้ที่เน้นออปชั่นพอสมควร และมีตัวเลือกเรื่องกำลังหลายแบบต้องพิจารณา “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50 โปร” แน่นอนถ้าอยากได้ปิกอัพ 4 ประตู เอาเรื่องราคาอย่างเดียว และสมรรถนะพอใช้ได้ นี่เลย... “ทาทา ซีนอน 150 NX-Plorer 4WD”
ทั้งหมดเป็นข้อมูลเบื้องต้น (ไม่รวมเรื่องบริการหลังการาย หรือราคาขายต่อ) โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์ ดังนั้นเมื่อเลือกหรือเจาะจงรุ่นย่อยใดได้แล้ว คงต้องศึกษารายละเอียดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ ราคา และออปชั่น เปรียบเทียบรถแบบเดียวกันแต่ละยี่ห้ออีกครั้ง และที่สำคัญควรต้องไปลองขับเปรียบเทียบ ว่ารุ่นไหนเหมาะสมกับบุคลิกตนเองที่สุด ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ…