“อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ เตรียมจ่อคิวเปิดตัวเร็วๆ นี้ และนั่นจะทำให้ปิกอัพที่วางจำหน่ายในไทย มีการปรับโฉมครบทุกโมเดล ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อรถได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปลักษณ์หน้าตา สมรรถนะ และข้อเสนอพิเศษต่างๆ แต่ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จะขอเพิ่มรายงานข้อมูลความปลอดภัย ที่ไม่ค่อยถูกนำมาร่วมพิจารณาในการซื้อรถเท่าไหร่ ทั้งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตอย่างมาก…
เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รายงานเรื่องอีโคสติกเกอร์ ซึ่งภาครัฐกำหนดบริษัทรถให้แสดงข้อมูลการประหยัดเชื้อเพลิง และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยของรถ พร้อมกับกล่าวถึง Asean NCAP แหล่งข้อมูลที่รายงานผลการทดสอบความปลอดภัยรถ (รายละเอียด http://astv.mobi/AHqTrAx) และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลความปลอดภัยมากขึ้น ในการนำมาร่วมพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อรถ ครั้งนี้จึงนำเสนอแหล่งข้อมูลอีกแห่ง ANCAP ซึ่งเป็นหน่วยงานทดสอบความปลอดภัยรถอิสระในประเทศออสเตรเลีย(+นิวซีแลนด์) และเป็น 1 ใน 9 ของ NCAPs เช่นเดียวกับ Asean NCAP แต่ได้เริ่มรายงานผลการทดสอบมาตั้งแต่ปี 1993
สาเหตุที่นำเสนอ ANCAP เพราะเป็นตลาดสำคัญที่นำรถผลิตจากไทยมาจำหน่าย หรือหลายรุ่นที่ผลิตและทำตลาดในไทย ได้ใช้ประเทศออสเตรเลียในการพัฒนาและวิจัย โดยเฉพาะปิกอัพรุ่นหลักๆ ที่ผลิตในไทย ล้วนส่งออกไปยังออสเตรเลียกันหมด ฉะนั้นปิกอัพเกือบทุกรุ่นที่ผลิตเพื่อทำตลาดในออสเตรเลียและไทย จึงถูกส่งไปให้ ANCAP ทำการทดสอบและรายงานผลสู่ผู้บริโภคต่อไป
ในส่วนของการคิดคะแนนและให้ดาวของ ANCAP โดยพื้นฐานก็เหมือนกับ NCAPs ทุกแห่ง เพียงแต่อาจจะแตกต่างในรายละเอียด โดยหลักๆ จะมาจากในส่วนของอุปกรณ์ความปลอดภัย และการทดสอบการชน ซึ่ง ANCAP จะมีการชนด้านหน้า(Frontal Offset Test : คะแนนเต็ม 16) ด้านข้าง (Side Impact Test : คะแนนเต็ม 16) ความปลอดภัยของคนเดินถนนที่ถูกชน(Pedestrian Protection : คะแนนเต็ม 2) ชนต้นไม้หรือเสาจากการหลุดโค้งของรถ(Pole Test : ดีสุด = Good) และการถูกชนด้านท้ายที่มีผลต่อคอของผู้ขับขี่(Whiplash Protection : ดีสุด = Good)
สำหรับปิกอัพที่ทำการทดสอบ ANCAP โมเดลหลักๆ ในตลาดออสเตรเลีย ล้วนผลิตจากโรงงานในไทยของแต่ละยี่ห้อ โดยเฉพาะการทดสอบในปี 2015 ล้วนเป็นโฉมใหม่ที่เพิ่งเปิดตัววางขายในไทย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ไฮลักซ์ (รีโว่), มิตซูบิชิ ไทรทัน, นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา, ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ และยังมีอีซูซุ ดีแมคซ์ ที่เป็นโมเดลเมื่อปี 2013 เพราะในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์สู่ตลาด
ปิกอัพทั้งหมดที่รายงานผลการทดสอบ ล้วนเป็นตัวบน หรือรุ่นท็อปของปิกอัพแบบ 4 ประตู ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ความปลอดภัยค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบช่วยเบรกฉุกเฉิน(EBA) เบรกอิเลคทรอนิคส์(EBD) หรือระบบควบคุมการทรงตัวฯ (ESC) เป็นต้น อาจจะแตกต่างบ้างแต่ก็มีอุปกรณ์ที่อยู่ในเกณฑ์กำหนดให้มาตรฐาน 5 ดาวของ ANCAP (อุปกรณ์บางอย่างอาจจะแตกต่างจากเวอร์ชั่นทำตลาดในไทย)
ในส่วนของผลการทดสอบการชนของปิกอัพดังกล่าว การปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่มีคะแนนรวมสูงสุดเป็น “ฟอร์ด เรนเจอร์” ใหม่(2015) 36.72 คะแนน ซึ่งเกือบจะเต็ม 37 คะแนน รองลงมา “มิตซูบิชิ ไทรทัน”(2015) 36.22 คะแนน ตามมาด้วย “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” 35.1 ส่วน “โตโยต้า ไฮลักซ์” (รีโว่) 34.45 คะแนน และ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” (2013) 33.58 คะแนน อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดทำคะแนนอยู่ระหว่าง 32.5-37 คะแนน หรือเป็นช่วงที่ได้มาตรฐาน 5 ดาวของ ANCAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของการทดสอบ และถือเป็นรถที่มีความปลอดภัย ANCAP แนะนำน่าจะซื้อมากที่สุด (คะแนน 24.5-32 ระดับ 4 ดาว, คะแนน 16.5-24 ระดับ 3 ดาว, คะแนน 8.5-16 ระดับ 2 ดาว และคะแนน 0.5-8 ระดับ 1 ดาว)
จากคะแนนรวมหากแยกออกมาเป็นหัวข้อทดสอบการชน ทั้งหมดจะได้คะแนนเต็มในเรื่องของการปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงคะแนนเต็มในส่วนของการชนด้านข้าง และรถหลุดไถลไปชนเสาหรือต้นไม้ ตลอดจนการปกป้องคอของผู้ขับขี่เมื่อรถถูกชนด้านท้าย แต่ในส่วนของการปกป้องคนเดินถนนจากการชนกลับแตกต่างกันไป โดยดีที่สุด(Good) มีเพียง โตโยต้า ไฮลักซ์ เท่านั้น ส่วนมิตซูบิชิ ไทรทัน และฟอร์ด เรนเจอร์ อยู่ในระดับรับได้(Acceptable) ขณะที่นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา และอีซูซุ ดี-แมคซ์ อยู่ในเกณฑ์น้อย (Marginal) แต่ยังไม่ใช่ต่ำสุด (Poor)
คะแนนทดสอบการชนด้านหน้าเป็นอีกจุดที่น่าสนใจ โดยฟอร์ด เรนเจอร์ มีคะแนนสูงสุด 15.72 เกือบเต็ม 16 คะแนน เพราะปกป้องผู้โดยสารได้ในระดับดี(Good) ประตูข้างด้านคนขับเมื่อเกิดการชน ยังปิดและสามารถเปิดได้เป็นปกติ รองลงมาเป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน 15.22 คะแนน การปกป้องผู้โดยสารทำได้ดีเช่นกัน แต่พื้นด้านหลังที่นั่งคนขับมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงนิดหน่อย ประตูข้างปกติแต่อาจจะใช้แรงเปิดมากขึ้นหน่อย และนิสสัน เอ็นพี300 นาวารา 14.01 คะแนน ตามด้วยอีซูซุ ดี-แมคซ์ 13.58 คะแนน และต่ำสุดเป็น โตโยต้า ไฮลักซ์ 13.45 คะแนน เนื่องจากการปกป้องผู้ขับขี่ในส่วนของขาล่างค่อนข้างทำได้ไม่ดีนัก (รายงานผลการทดสอบปิกอัพทั้งหมดอย่างละเอียดดูที่ www.ancap.com.au)
นอกจากนี้ยังมีผลการทดสอบความปลอดภัยปิกอัพ 4 ประตู ที่ดำเนินการและรายงานโดย Asean NCAP ซึ่งได้เชฟโรเลต โคโลราโด มาร่วมทดสอบความปลอดภัยแต่ไม่มี ฟอร์ด เรนเจอร์ และยังแตกต่างโดยแยกเป็นคะแนนการปกป้องผู้ใหญ่(AOP) กับส่วนของเด็ก(COP) ปรากฏว่าคะแนนสูงสุดในการปกป้องผู้ใหญ่ 15.22 (5 ดาว) เป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน แต่กลับต่ำในการปกป้องเด็ก 48% (2 ดาว), โตโยต้า ไฮลักซ์ 14.53 คะแนน ในส่วนของผู้ใหญ่ และเด็ก 71%, เชฟโรเลต โคโลราโด คะแนนปกป้องผู้ใหญ่ 14.19 และเด็ก 63% ขณะที่อีซูซุ ดีแมคซ์ ผู้ใหญ่คะแนนการปกป้อง 11.87 และเด็ก 71% (รายละเอียดผลการทดสอบดูที่ www.aseancap.org)
ทั้งนี้ปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ และมิตซูบิชิ ไทรทัน ที่ทดสอบเป็นรุ่นปี 2015 แต่เชฟโรเลต โคโลราโด จะเป็นปี 2014 เช่นเดียวกับอีซูซุ ดี-แมคซ์ โดยในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ปิกอัพรุ่นดี-แมคซ์จะมีการเปิดตัวรุ่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์สู่ตลาดไทย ซึ่งตามรายงานข่าวจะเป็นการปรับหน้าตาใหม่ แต่ที่กำลังได้รับความสนใจและลุ้นกัน เห็นจะเป็นกระแสการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ตามที่สื่อต่างประเทศและในไทยรายงานไปก่อนหน้านี้ ว่าจะเป็นบล็อกใหม่ 1900-2000 ซีซี. เทอร์โบคู่ เพื่อทำตลาดแทนรุ่น 2500 ซีซี และถอดรุ่น 3000 ซีซี โดยนำรุ่น 2500 ซีซี Twin Turbo ที่ส่งตลาดยุโรปมาวางแทน(อ่านข่าวประกอบ http://astv.mobi/AqlY0Wd)
แน่นอนการปรับโฉมของอีซูซุ ดี-แมคซ์ จะทำให้ตลาดปิกอัพในไทยมีการปรับเปลี่ยนโฉมกันครบทุกรุ่น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเลือกซื้อรถแบบไม่ต้องกลัวตกรุ่นในเร็วๆ นี้ และหากยิ่งนำข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยมาประกอบการตัดสินใจ จะทำให้เป็นการเลือกซื้อปิกอัพใหม่ที่สมบูรณ์ทีเดียว…
เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รายงานเรื่องอีโคสติกเกอร์ ซึ่งภาครัฐกำหนดบริษัทรถให้แสดงข้อมูลการประหยัดเชื้อเพลิง และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยของรถ พร้อมกับกล่าวถึง Asean NCAP แหล่งข้อมูลที่รายงานผลการทดสอบความปลอดภัยรถ (รายละเอียด http://astv.mobi/AHqTrAx) และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลความปลอดภัยมากขึ้น ในการนำมาร่วมพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อรถ ครั้งนี้จึงนำเสนอแหล่งข้อมูลอีกแห่ง ANCAP ซึ่งเป็นหน่วยงานทดสอบความปลอดภัยรถอิสระในประเทศออสเตรเลีย(+นิวซีแลนด์) และเป็น 1 ใน 9 ของ NCAPs เช่นเดียวกับ Asean NCAP แต่ได้เริ่มรายงานผลการทดสอบมาตั้งแต่ปี 1993
สาเหตุที่นำเสนอ ANCAP เพราะเป็นตลาดสำคัญที่นำรถผลิตจากไทยมาจำหน่าย หรือหลายรุ่นที่ผลิตและทำตลาดในไทย ได้ใช้ประเทศออสเตรเลียในการพัฒนาและวิจัย โดยเฉพาะปิกอัพรุ่นหลักๆ ที่ผลิตในไทย ล้วนส่งออกไปยังออสเตรเลียกันหมด ฉะนั้นปิกอัพเกือบทุกรุ่นที่ผลิตเพื่อทำตลาดในออสเตรเลียและไทย จึงถูกส่งไปให้ ANCAP ทำการทดสอบและรายงานผลสู่ผู้บริโภคต่อไป
ในส่วนของการคิดคะแนนและให้ดาวของ ANCAP โดยพื้นฐานก็เหมือนกับ NCAPs ทุกแห่ง เพียงแต่อาจจะแตกต่างในรายละเอียด โดยหลักๆ จะมาจากในส่วนของอุปกรณ์ความปลอดภัย และการทดสอบการชน ซึ่ง ANCAP จะมีการชนด้านหน้า(Frontal Offset Test : คะแนนเต็ม 16) ด้านข้าง (Side Impact Test : คะแนนเต็ม 16) ความปลอดภัยของคนเดินถนนที่ถูกชน(Pedestrian Protection : คะแนนเต็ม 2) ชนต้นไม้หรือเสาจากการหลุดโค้งของรถ(Pole Test : ดีสุด = Good) และการถูกชนด้านท้ายที่มีผลต่อคอของผู้ขับขี่(Whiplash Protection : ดีสุด = Good)
สำหรับปิกอัพที่ทำการทดสอบ ANCAP โมเดลหลักๆ ในตลาดออสเตรเลีย ล้วนผลิตจากโรงงานในไทยของแต่ละยี่ห้อ โดยเฉพาะการทดสอบในปี 2015 ล้วนเป็นโฉมใหม่ที่เพิ่งเปิดตัววางขายในไทย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ไฮลักซ์ (รีโว่), มิตซูบิชิ ไทรทัน, นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา, ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ และยังมีอีซูซุ ดีแมคซ์ ที่เป็นโมเดลเมื่อปี 2013 เพราะในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์สู่ตลาด
ปิกอัพทั้งหมดที่รายงานผลการทดสอบ ล้วนเป็นตัวบน หรือรุ่นท็อปของปิกอัพแบบ 4 ประตู ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ความปลอดภัยค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบช่วยเบรกฉุกเฉิน(EBA) เบรกอิเลคทรอนิคส์(EBD) หรือระบบควบคุมการทรงตัวฯ (ESC) เป็นต้น อาจจะแตกต่างบ้างแต่ก็มีอุปกรณ์ที่อยู่ในเกณฑ์กำหนดให้มาตรฐาน 5 ดาวของ ANCAP (อุปกรณ์บางอย่างอาจจะแตกต่างจากเวอร์ชั่นทำตลาดในไทย)
ในส่วนของผลการทดสอบการชนของปิกอัพดังกล่าว การปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่มีคะแนนรวมสูงสุดเป็น “ฟอร์ด เรนเจอร์” ใหม่(2015) 36.72 คะแนน ซึ่งเกือบจะเต็ม 37 คะแนน รองลงมา “มิตซูบิชิ ไทรทัน”(2015) 36.22 คะแนน ตามมาด้วย “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” 35.1 ส่วน “โตโยต้า ไฮลักซ์” (รีโว่) 34.45 คะแนน และ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” (2013) 33.58 คะแนน อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดทำคะแนนอยู่ระหว่าง 32.5-37 คะแนน หรือเป็นช่วงที่ได้มาตรฐาน 5 ดาวของ ANCAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของการทดสอบ และถือเป็นรถที่มีความปลอดภัย ANCAP แนะนำน่าจะซื้อมากที่สุด (คะแนน 24.5-32 ระดับ 4 ดาว, คะแนน 16.5-24 ระดับ 3 ดาว, คะแนน 8.5-16 ระดับ 2 ดาว และคะแนน 0.5-8 ระดับ 1 ดาว)
จากคะแนนรวมหากแยกออกมาเป็นหัวข้อทดสอบการชน ทั้งหมดจะได้คะแนนเต็มในเรื่องของการปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงคะแนนเต็มในส่วนของการชนด้านข้าง และรถหลุดไถลไปชนเสาหรือต้นไม้ ตลอดจนการปกป้องคอของผู้ขับขี่เมื่อรถถูกชนด้านท้าย แต่ในส่วนของการปกป้องคนเดินถนนจากการชนกลับแตกต่างกันไป โดยดีที่สุด(Good) มีเพียง โตโยต้า ไฮลักซ์ เท่านั้น ส่วนมิตซูบิชิ ไทรทัน และฟอร์ด เรนเจอร์ อยู่ในระดับรับได้(Acceptable) ขณะที่นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา และอีซูซุ ดี-แมคซ์ อยู่ในเกณฑ์น้อย (Marginal) แต่ยังไม่ใช่ต่ำสุด (Poor)
คะแนนทดสอบการชนด้านหน้าเป็นอีกจุดที่น่าสนใจ โดยฟอร์ด เรนเจอร์ มีคะแนนสูงสุด 15.72 เกือบเต็ม 16 คะแนน เพราะปกป้องผู้โดยสารได้ในระดับดี(Good) ประตูข้างด้านคนขับเมื่อเกิดการชน ยังปิดและสามารถเปิดได้เป็นปกติ รองลงมาเป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน 15.22 คะแนน การปกป้องผู้โดยสารทำได้ดีเช่นกัน แต่พื้นด้านหลังที่นั่งคนขับมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงนิดหน่อย ประตูข้างปกติแต่อาจจะใช้แรงเปิดมากขึ้นหน่อย และนิสสัน เอ็นพี300 นาวารา 14.01 คะแนน ตามด้วยอีซูซุ ดี-แมคซ์ 13.58 คะแนน และต่ำสุดเป็น โตโยต้า ไฮลักซ์ 13.45 คะแนน เนื่องจากการปกป้องผู้ขับขี่ในส่วนของขาล่างค่อนข้างทำได้ไม่ดีนัก (รายงานผลการทดสอบปิกอัพทั้งหมดอย่างละเอียดดูที่ www.ancap.com.au)
นอกจากนี้ยังมีผลการทดสอบความปลอดภัยปิกอัพ 4 ประตู ที่ดำเนินการและรายงานโดย Asean NCAP ซึ่งได้เชฟโรเลต โคโลราโด มาร่วมทดสอบความปลอดภัยแต่ไม่มี ฟอร์ด เรนเจอร์ และยังแตกต่างโดยแยกเป็นคะแนนการปกป้องผู้ใหญ่(AOP) กับส่วนของเด็ก(COP) ปรากฏว่าคะแนนสูงสุดในการปกป้องผู้ใหญ่ 15.22 (5 ดาว) เป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน แต่กลับต่ำในการปกป้องเด็ก 48% (2 ดาว), โตโยต้า ไฮลักซ์ 14.53 คะแนน ในส่วนของผู้ใหญ่ และเด็ก 71%, เชฟโรเลต โคโลราโด คะแนนปกป้องผู้ใหญ่ 14.19 และเด็ก 63% ขณะที่อีซูซุ ดีแมคซ์ ผู้ใหญ่คะแนนการปกป้อง 11.87 และเด็ก 71% (รายละเอียดผลการทดสอบดูที่ www.aseancap.org)
ทั้งนี้ปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ และมิตซูบิชิ ไทรทัน ที่ทดสอบเป็นรุ่นปี 2015 แต่เชฟโรเลต โคโลราโด จะเป็นปี 2014 เช่นเดียวกับอีซูซุ ดี-แมคซ์ โดยในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ปิกอัพรุ่นดี-แมคซ์จะมีการเปิดตัวรุ่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์สู่ตลาดไทย ซึ่งตามรายงานข่าวจะเป็นการปรับหน้าตาใหม่ แต่ที่กำลังได้รับความสนใจและลุ้นกัน เห็นจะเป็นกระแสการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ตามที่สื่อต่างประเทศและในไทยรายงานไปก่อนหน้านี้ ว่าจะเป็นบล็อกใหม่ 1900-2000 ซีซี. เทอร์โบคู่ เพื่อทำตลาดแทนรุ่น 2500 ซีซี และถอดรุ่น 3000 ซีซี โดยนำรุ่น 2500 ซีซี Twin Turbo ที่ส่งตลาดยุโรปมาวางแทน(อ่านข่าวประกอบ http://astv.mobi/AqlY0Wd)
แน่นอนการปรับโฉมของอีซูซุ ดี-แมคซ์ จะทำให้ตลาดปิกอัพในไทยมีการปรับเปลี่ยนโฉมกันครบทุกรุ่น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเลือกซื้อรถแบบไม่ต้องกลัวตกรุ่นในเร็วๆ นี้ และหากยิ่งนำข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยมาประกอบการตัดสินใจ จะทำให้เป็นการเลือกซื้อปิกอัพใหม่ที่สมบูรณ์ทีเดียว…