ปลายปีงูใหญ่ที่ผ่านมา ค่ายสองล้อ “ฮอนด้า” เอาใจดีลเลอร์ที่ชื่นชอบการขับขี่มอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ ด้วยการจัดทริปแกรนด์ทัวริ่งสไตล์เอ็นดูโร่ให้กับโกบอลโมเดล ซีอาร์เอฟ250 แอล(CRF250L) พร้อมชักชวนสื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ รวมถึง “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” มาร่วมทดสอบสมรรถนะ โดยใช้เส้นทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ สู่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ระยะทางรวมประมาณ 220 กม.
ก่อนตอบรับร่วมทริป ผู้เขียนลังเลอยู่นาน ไม่ใช่ติดภารกิจงานอื่น แต่เกรงว่าสรีระร่างกายที่มีความสูงเพียง 170 ซม. จะเหยียดแข้งยันขาถึงพื้นหรือไม่! เมื่อต้องขึ้นคร่อมรถวิบากที่มีความสูงของเบาะถึง 875 มม. งานนี้อยากรู้จึงต้องขอลองกันหน่อย...
เว้นวรรคคำตอบกับปัญหาที่กังวลเอาไว้ก่อน และมาทำความรู้จักตัวลุยจากค่ายปีกนกให้มากขึ้น นอกจากความสูงที่โดดเด่นแล้ว การออกแบบชุดสีของรถมาในสไตล์ตัวแข่ง โคมไฟหน้าและไฟเลี้ยวเล็กกะทัดรัด บังโคลนหน้าขนาดใหญ่ดีไซน์มีเหลี่ยมสันดูโฉบเฉี่ยว เรือนวัดความเร็วแบบดิจิตอลอ่านค่าง่าย บอกสถานะเกือบครบถ้วนทั้งความเร็ว ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมการเซตระยะทางด้วยทริปA และ B แต่เสียอย่างเดียวตรงที่ไม่แสดงรอบเครื่องยนต์
สำหรับขุมพลัง ปริมาตรความจุ 249.6 ซีซี. 4 จังหวะ สูบเดียว DOCH จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด PGM-FI ระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ 6 สปีด
ส่วนระบบช่วงล่างด้านหน้ามาแบบหัวกลับขนาด 43 มม. ด้านหลังโปร-ลิงค์ปรับระดับได้จับคู่สวิงอาร์มอลูมิเนียม พร้อมระบบเบรกใช้ดิสก์ทั้งหน้าและหลัง
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับคู่แข่งต่างค่ายอย่าง “คาวาซากิ เคแอลเอ็กซ์ 250” อุปกรณ์ติดรถแทบทุกอย่างให้มาสูสีพอฟัดพอเหวี่ยง
น่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่เคยได้สัมผัสตัวลุยจากฝั่งกรีนทีม จึงไม่อาจฟันธงได้ว่า สองตัวเลือกนี้มีจุดเด่นหรือข้อด้อยมากน้อยกว่ากันขนาดไหน แต่หากมองแค่รูปลักษณ์ภายนอกและสเปกที่ให้มา ฮอนด้าดูจะได้เปรียบเล็กน้อยตรงที่ราคาจับต้องได้สะดวกกว่าประมาณ 2 หมื่นนิดๆ
เข้าสู่ประเด็นการขับขี่ เส้นทางทดสอบในช่วงแรกต้องฝ่าการจราจรที่หนาแน่นจากตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้ขบวนรถวิบากเกือบ 20 คัน ต้องหยุดเป็นระยะๆ และเหตุนี้เองความกังวลที่พกมาตั้งแต่ต้นก็ถึงเวลาคลี่คลาย ท่านั่งไม่รู้สึกเมื่อยแขนหรือหลัง แต่ไปเมื่อยที่ก้นแทน เพราะเบาะรองรับแคบตามสไตล์รถประเภทนี้อยู่แล้ว ส่วนขณะจอดตามคาด ปลายเท้าจะยันถึงพื้นเพียงข้างเดียว ถึงกระนั้น ยืนยันว่าเพียงพอที่จะประคองรถได้อย่างมั่นคง แค่อย่าเผลอทิ้งน้ำหนักไปอีกข้างก็แล้วกัน
เมื่อออกนอกเมือง สภาพเส้นทางยังคงเป็นพื้นลาดยางและเริ่มมีโค้งให้เล่นมากขึ้น จึงได้ลองสมรรถนะการควบคุม รู้สึกถึงความคล่องตัว อัตราเร่งแม้จะไม่ปรู๊ดปร๊าดแต่ก็ขี่สนุก ในช่วงความเร็ว 60 กม./ชม. การยึดเกาะถนนของยางยังคงทำหน้าที่ได้ดี แม้ในบางโค้งที่บิดคันเร่งเพลินไปหน่อย จะมีอาการดิ้นและสไลด์ให้เสียวบ้างก็ตาม
มาถึงไฮไลท์ของทริปนี้ อยู่ในช่วงระยะทางวิบากประมาณ 35 กม. ผู้ขับขี่ทุกคนได้สัมผัสกลิ่นอายของธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ครบรสทั้งหิน ดิน ทราย โคลน เนิน หลุม เหว แถมเพิ่มความเร้าใจด้วยการเปลี่ยนรูปขบวนจากขี่แถวตอนคู่กัน เปลี่ยนเป็นการปล่อยให้วิ่งทีละคัน โดยทิ้งระยะห่างคันละ 20 วินาที
สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างขับขี่บนเส้นทางหฤโหดนี้ คือ การได้ทดสอบระบบช่วงล่างแบบเต็มสูบ การห้ามล้อหน้า-หลัง ทำได้ดี ส่วนการซับแรงกระแทกทำได้ดีเช่นกัน แต่ยังไม่ดีที่สุด เพราะยังแสดงอาการดีดเด้งให้รู้สึกพอสมควร
อย่างไรก็ตาม หากให้ประมวลความประทับใจจากซีอาร์เอฟ250 แอล ภายใต้ทริปแกรนด์ทัวริ่งสไตล์เอ็นดูโร่ ความสนุกที่ได้รับดูจะมากพอจนอาจทำให้มองข้ามจุดด้อยในบางส่วนไปได้เหมือนกัน
...ทิ้งระยะไม่นานหลังกลับจากทริปทางฝุ่น ผู้เขียนลองนำตัวลุยแนววิบากมาวิ่งใช้งานในป่าคอนกรีตดูบ้าง ปรากฏว่าไม่ขี้เหร่อย่างที่คิด อาจด้วยสภาพถนนในเมืองไม่คดโค้งหรือเอื้อให้ใช้ความเร็วเทียบเท่าในต่างจังหวัด ดังนั้น ข้อเสียของยางในการยึดเกาะถนนทางเรียบจึงไม่เป็นอุปสรรคมากนัก
ส่วนการซอกแซกช่วงรถติดทำได้คล่องตัว ไปได้อย่างสบายไม่แพ้รถตลาดทั่วไป แต่มีปัญหาอยู่บ้างกับตำแหน่งของกระจกมองข้าง ซึ่งมีขนาดใหญ่และอยู่สูง เวลามุดต้องระวังจ๊ะเอ๋กับกระจกของปิกอัพหรือรถตู้
โดยรวมแล้วการใช้งานในเมืองไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล ช่วงความเร็วที่ขี่สนุกที่สุดอยู่ระหว่าง 80-90 กม./ชม. เพราะแรงบิดติดมือ คิดจะเร่งแซงทำได้โดยไม่ต้องลุ้น ส่วนอัตราสื้นเปลืองเชื้อเพลิงทำได้เฉลี่ยอยู่ที่ 31 กม./ลิตร หาค่าโดยเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เต็มถัง กดปุ่มรีเซตระยะทางที่หน้าปัดวัดความเร็วดิจิตอล วิ่งใช้งานในเมืองและเติมเต็มถังอีกครั้ง ระยะทางที่วิ่งได้ 133.3 กม. ด้วยน้ำมันจำนวน 4.3 ลิตร
...ที่สุดแล้วการได้ขึ้นคร่อม “ซีอาร์เอฟ250 แอล” ลองวิ่งทั้งในเมืองและนอกเมือง คงสรุปสั้นๆ ว่าใช้งานบนทางเรียบพอไหวแต่ไม่เหมาะ หากซื้อแล้วอยากใช้คุ้ม เอาไปลุยขี่เปื้อนฝุ่นดีกว่า...
ก่อนตอบรับร่วมทริป ผู้เขียนลังเลอยู่นาน ไม่ใช่ติดภารกิจงานอื่น แต่เกรงว่าสรีระร่างกายที่มีความสูงเพียง 170 ซม. จะเหยียดแข้งยันขาถึงพื้นหรือไม่! เมื่อต้องขึ้นคร่อมรถวิบากที่มีความสูงของเบาะถึง 875 มม. งานนี้อยากรู้จึงต้องขอลองกันหน่อย...
เว้นวรรคคำตอบกับปัญหาที่กังวลเอาไว้ก่อน และมาทำความรู้จักตัวลุยจากค่ายปีกนกให้มากขึ้น นอกจากความสูงที่โดดเด่นแล้ว การออกแบบชุดสีของรถมาในสไตล์ตัวแข่ง โคมไฟหน้าและไฟเลี้ยวเล็กกะทัดรัด บังโคลนหน้าขนาดใหญ่ดีไซน์มีเหลี่ยมสันดูโฉบเฉี่ยว เรือนวัดความเร็วแบบดิจิตอลอ่านค่าง่าย บอกสถานะเกือบครบถ้วนทั้งความเร็ว ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมการเซตระยะทางด้วยทริปA และ B แต่เสียอย่างเดียวตรงที่ไม่แสดงรอบเครื่องยนต์
สำหรับขุมพลัง ปริมาตรความจุ 249.6 ซีซี. 4 จังหวะ สูบเดียว DOCH จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด PGM-FI ระบายความร้อนด้วยน้ำ ส่งกำลังด้วยชุดเกียร์ 6 สปีด
ส่วนระบบช่วงล่างด้านหน้ามาแบบหัวกลับขนาด 43 มม. ด้านหลังโปร-ลิงค์ปรับระดับได้จับคู่สวิงอาร์มอลูมิเนียม พร้อมระบบเบรกใช้ดิสก์ทั้งหน้าและหลัง
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับคู่แข่งต่างค่ายอย่าง “คาวาซากิ เคแอลเอ็กซ์ 250” อุปกรณ์ติดรถแทบทุกอย่างให้มาสูสีพอฟัดพอเหวี่ยง
น่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่เคยได้สัมผัสตัวลุยจากฝั่งกรีนทีม จึงไม่อาจฟันธงได้ว่า สองตัวเลือกนี้มีจุดเด่นหรือข้อด้อยมากน้อยกว่ากันขนาดไหน แต่หากมองแค่รูปลักษณ์ภายนอกและสเปกที่ให้มา ฮอนด้าดูจะได้เปรียบเล็กน้อยตรงที่ราคาจับต้องได้สะดวกกว่าประมาณ 2 หมื่นนิดๆ
เข้าสู่ประเด็นการขับขี่ เส้นทางทดสอบในช่วงแรกต้องฝ่าการจราจรที่หนาแน่นจากตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้ขบวนรถวิบากเกือบ 20 คัน ต้องหยุดเป็นระยะๆ และเหตุนี้เองความกังวลที่พกมาตั้งแต่ต้นก็ถึงเวลาคลี่คลาย ท่านั่งไม่รู้สึกเมื่อยแขนหรือหลัง แต่ไปเมื่อยที่ก้นแทน เพราะเบาะรองรับแคบตามสไตล์รถประเภทนี้อยู่แล้ว ส่วนขณะจอดตามคาด ปลายเท้าจะยันถึงพื้นเพียงข้างเดียว ถึงกระนั้น ยืนยันว่าเพียงพอที่จะประคองรถได้อย่างมั่นคง แค่อย่าเผลอทิ้งน้ำหนักไปอีกข้างก็แล้วกัน
เมื่อออกนอกเมือง สภาพเส้นทางยังคงเป็นพื้นลาดยางและเริ่มมีโค้งให้เล่นมากขึ้น จึงได้ลองสมรรถนะการควบคุม รู้สึกถึงความคล่องตัว อัตราเร่งแม้จะไม่ปรู๊ดปร๊าดแต่ก็ขี่สนุก ในช่วงความเร็ว 60 กม./ชม. การยึดเกาะถนนของยางยังคงทำหน้าที่ได้ดี แม้ในบางโค้งที่บิดคันเร่งเพลินไปหน่อย จะมีอาการดิ้นและสไลด์ให้เสียวบ้างก็ตาม
มาถึงไฮไลท์ของทริปนี้ อยู่ในช่วงระยะทางวิบากประมาณ 35 กม. ผู้ขับขี่ทุกคนได้สัมผัสกลิ่นอายของธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ครบรสทั้งหิน ดิน ทราย โคลน เนิน หลุม เหว แถมเพิ่มความเร้าใจด้วยการเปลี่ยนรูปขบวนจากขี่แถวตอนคู่กัน เปลี่ยนเป็นการปล่อยให้วิ่งทีละคัน โดยทิ้งระยะห่างคันละ 20 วินาที
สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างขับขี่บนเส้นทางหฤโหดนี้ คือ การได้ทดสอบระบบช่วงล่างแบบเต็มสูบ การห้ามล้อหน้า-หลัง ทำได้ดี ส่วนการซับแรงกระแทกทำได้ดีเช่นกัน แต่ยังไม่ดีที่สุด เพราะยังแสดงอาการดีดเด้งให้รู้สึกพอสมควร
อย่างไรก็ตาม หากให้ประมวลความประทับใจจากซีอาร์เอฟ250 แอล ภายใต้ทริปแกรนด์ทัวริ่งสไตล์เอ็นดูโร่ ความสนุกที่ได้รับดูจะมากพอจนอาจทำให้มองข้ามจุดด้อยในบางส่วนไปได้เหมือนกัน
...ทิ้งระยะไม่นานหลังกลับจากทริปทางฝุ่น ผู้เขียนลองนำตัวลุยแนววิบากมาวิ่งใช้งานในป่าคอนกรีตดูบ้าง ปรากฏว่าไม่ขี้เหร่อย่างที่คิด อาจด้วยสภาพถนนในเมืองไม่คดโค้งหรือเอื้อให้ใช้ความเร็วเทียบเท่าในต่างจังหวัด ดังนั้น ข้อเสียของยางในการยึดเกาะถนนทางเรียบจึงไม่เป็นอุปสรรคมากนัก
ส่วนการซอกแซกช่วงรถติดทำได้คล่องตัว ไปได้อย่างสบายไม่แพ้รถตลาดทั่วไป แต่มีปัญหาอยู่บ้างกับตำแหน่งของกระจกมองข้าง ซึ่งมีขนาดใหญ่และอยู่สูง เวลามุดต้องระวังจ๊ะเอ๋กับกระจกของปิกอัพหรือรถตู้
โดยรวมแล้วการใช้งานในเมืองไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล ช่วงความเร็วที่ขี่สนุกที่สุดอยู่ระหว่าง 80-90 กม./ชม. เพราะแรงบิดติดมือ คิดจะเร่งแซงทำได้โดยไม่ต้องลุ้น ส่วนอัตราสื้นเปลืองเชื้อเพลิงทำได้เฉลี่ยอยู่ที่ 31 กม./ลิตร หาค่าโดยเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เต็มถัง กดปุ่มรีเซตระยะทางที่หน้าปัดวัดความเร็วดิจิตอล วิ่งใช้งานในเมืองและเติมเต็มถังอีกครั้ง ระยะทางที่วิ่งได้ 133.3 กม. ด้วยน้ำมันจำนวน 4.3 ลิตร
...ที่สุดแล้วการได้ขึ้นคร่อม “ซีอาร์เอฟ250 แอล” ลองวิ่งทั้งในเมืองและนอกเมือง คงสรุปสั้นๆ ว่าใช้งานบนทางเรียบพอไหวแต่ไม่เหมาะ หากซื้อแล้วอยากใช้คุ้ม เอาไปลุยขี่เปื้อนฝุ่นดีกว่า...