ปี2555ที่ผ่านมาตลาดเก๋งเล็กคึกคักจริงๆครับ ทั้งพวกอีโคคาร์และกลุ่มซับคอมแพกต์ แน่นอนว่าอานิสงส์หลักมาจากนโยบายประชานิยม ส่งเสริมให้คนมีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล เรียกว่าเดิมใครไม่คิดออกรถ หรือจริงๆแล้วยังไม่มีศักยภาพด้านการเงินเพียงพอ แต่เมื่อเจอนโยบาบยั่วใจแบบนี้ คงต้องกัดฟันซื้อรถกับเขาสักคัน
…หลายรุ่นหลากทางเลือก ถ้าใครอยากได้อีโคคาร์ก็คืนเงินภาษีประมาณหกหมื่น-เจ็ดหมื่นบาท ส่วนซับคอมแพกต์ได้คืนเต็มแสน
หนึ่งในรถยนต์ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว และถือเป็นสีสันใหม่สดซิงในตลาดซับคอมแพกต์อย่าง “เชฟโรเลต โซนิค” หลังเปิดตัวมา 6 -7เดือน (กรกฎาคม 2555) ถือว่าได้กระแสตอบรับดีระดับหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้ลองขับ “โซนิค ตัวถังซีดาน” หลังการเปิดตัวไม่นาน คราวนี้มีโอกาสทดสอบรุ่นตัวถังแฮทช์แบ็กกันบ้าง
สำหรับโซนิค ตัวถังแฮทช์แบ็กนั้น เชฟโรเลตหวังว่าจะโดนใจวัยรุ่น หรืออายุคนซื้อน่าจะต่ำกว่ากลุ่มที่ซื้อตัวถังซีดานเสียอีก (บอกว่าอยากขายคนเจน Y อายุ 20 ต้นๆถึง 30 หน่อยๆ) ดังนั้นกิจกรรมการตลาด การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการเลือกพรีเซนเตอร์ (จอห์น วิญญู กับ ยิบโซ รมิตา)ก็ออกแนวเจ็บจี๊ด สีสันสดใส เปี่ยมไปด้วยอารมณ์และการเคลื่อนไหวละครับ
โดดเด่นด้วยไฟหน้าแบบโคมเปลือยออกแนวเนกเกดไบค์ (แต่จะดีในแง่ของหลักอากาศพลศาสตร์หรือปล่าวไม่รู้?) ไฟท้ายทรงกลม 2 วง ตัดกับเบ้ารับสีดำเข้ม เส้นสายโดยรวมสปอร์ตโฉบเฉี่ยว ทั้งยังแฝงลูกเล่นอย่างมือเปิดประตูสำหรับผู้โดยสารด้านหลังจะถูกซ้อนไว้ที่แนวเสาซี-พิลลาร์ ดูเท่ไปอีกแบบ
ทั้งนี้โซนิคตัวถังซีดานรุ่นLT ที่ใช้ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้วยาง 195/65 ส่วนรุ่นLTZ จะขนาด 16 นิ้ว ประกอบยาง 205/55 แต่สำหรับตัวถังแฮทช์แบ็คทุกกรุ่นย่อย จะใช้ล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้วพร้อมยาง 205/55 เป็นมาตรฐาน
อย่างไรก็ตามในรุ่นแฮทช์แบ็ก 5 ประตู จะมีระยะฐานล้อเท่ากับตัวถังซีดานคือ 2,525 มิลลิเมตร แต่ด้วยทรงตัวถังท้ายตัดทำให้ความยาวโดยรวมสั้นกว่าตัวถังซีดาน 360 มิลลิเมตร ดังนั้นความกว้างภายในห้องโดยสารก็ขยับขยายได้เท่ากันละครับ แต่ตัวถังแฮทช์แบ็กอาจจะได้เปรียบเรื่องความอเนกประสงค์ เพราะหากคุณพับเบาะนั่งแถวสองลงมาจะเพิ่มมิติของการจุสัมภาระได้อีกเพียบ
การลองขับผู้เขียนได้ โซนิค แฮทช์แบ็ก ตัวท็อป LTZ ราคา 6.87 แสนบาทเป็นพาหนะ ซึ่งในวันนั้น (ต้นเดือนตุลาคม) ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ มุ่งหมายไปหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็โดนพายุ “แกมี” ท้าทายตลอดทาง
ส่งผลให้การขับขี่ทริปนี้ ในช่วงแรกแทบไม่ได้ใช้ใช้ความเร็วสูงหรืออยู่ระดับ 80-100 กม./ชม.เท่านั้น ซึ่งผู้เขียนกลับมาคิดอีกทีว่าคงเหมือนการทดสอบ “เจ้าอเมริกันคันน้อย” ในรูปแบบการใช้งานจริง หรือยามเจออุปสรรคแบบโหดๆว่าจะไหวไหม?
...สภาพฝนเทกระหน่ำ การขับผ่านพื้นที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ โซนิค แฮทช์แบ็กคันนี้ ไม่ออกอาการแฉลบครับ การถือพวงมาลัยควบคุมยังทำได้สบายไม่เครียด ช่วงล่างหนึบแน่นขับผ่านถนนลื่นๆหรือแอ่งน้ำเล็กๆไปได้แบบนิ่งสบายขณะที่การทรงตัวเมื่ออยู่ในโค้ง ตัวรถยังเกาะถนนเยี่ยม ไม่มีปัดเป๋ วอกแวก
ด้านจังหวะและระยะเบรก ตอบสนองได้แม่นยำและนุ่มนวล เมื่อรวมกับการเก็บเสียงอันยอดเยี่ยม พร้อมกับการจัดการกับแรงสั่นอาการสะเทือนต่างๆของรถแล้ว ถือว่า เชฟโรเลต โซนิค ให้การขับขี่มั่นใจในระดับท็อปคลาสของเก๋งซับคอมแพกต์เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามคงมีเรื่องเดียวที่ โซนิคด้อยกว่าชาวบ้านคือพละกำลัง ด้วยเครื่องยนต์ A14XFR ขนาด 1.4 ลิตร 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบแคมชาร์ฟแปรผันต่อเนื่องDouble CVC หรือวาล์วแปรผันฝั่งไอดี-ไอเสีย ให้กำลังสูงสุด100 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด130 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
….ดูตามเสปกแล้วไม่ขี้เหร่ แถมมีเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดมาช่วยส่งกำลังลงสู่ล้อหน้า แต่การขับจริงรถค่อนข้างอืด (เกียร์ D) บางจังหวะต้องการเรียกความเร็วกะทันหัน แต่รถไม่ได้ตอบสนองรวดเร็วทันใจนัก
หลักๆคงมาจากตัวรถที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโครงสร้างตัวถังและแพลตฟอร์มGamma ที่ใช้สำหรับรถเล็กในเครือจีเอ็มค่อนข้างหนัก บวกกับการวางขุมพลังแค่ 1.4 ลิตร ส่งผลให้แรงม้าต่อน้ำหนักต้องแบกกันพอสมควร ซึ่งในต่างประเทศเครื่องยนต์บล็อกนี้ถูกรีดพลังด้วยเทอร์โบชาร์จ ย่อมส่งผลให้สมรรถนะการขับขี่ดีกว่าแน่ๆ
เมื่อแรงม้าต่อน้ำหนักไม่สมดุลกัน เรื่องอัตราบริโภคน้ำมันก็คงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ เพราะหลังจากการร่วมทริปสองครั้ง โดยครั้งแรกกับโซนิค ตัวถังซีดาน ผู้เขียนขับความเร็วเฉลี่ย 120-140 กม./ชม.สลับรถติดในเมืองยังมีตัวเลข 10 กม./ลิตร ส่วนในครั้งล่าสุดกับ โซนิค แฮทช์แบ็ก ใช้ความเร็วย่าน 80 -100-120กม./ชม. ยังมีระดับ 12-13 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...จุดเด่นยังอยู่ที่ช่วงล่าง ห้องโดยสารนิ่งแน่นและเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกดี แต่รูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยว เปรี้ยวเจ็บ สวนทางกับความสปอร์ตเร้าใจในการขับขี่โดยสิ้นเชิง...แต่กระนั้นรวมๆแล้ว “โซนิค”ยังถือพัฒนาการที่ดีของ“จีเอ็ม”(เชฟโรเลต) เอาเป็นว่ารุ่นนี้ “โอเค”กว่า “อาวีโอ” เยอะ!!!
…หลายรุ่นหลากทางเลือก ถ้าใครอยากได้อีโคคาร์ก็คืนเงินภาษีประมาณหกหมื่น-เจ็ดหมื่นบาท ส่วนซับคอมแพกต์ได้คืนเต็มแสน
หนึ่งในรถยนต์ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว และถือเป็นสีสันใหม่สดซิงในตลาดซับคอมแพกต์อย่าง “เชฟโรเลต โซนิค” หลังเปิดตัวมา 6 -7เดือน (กรกฎาคม 2555) ถือว่าได้กระแสตอบรับดีระดับหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้ลองขับ “โซนิค ตัวถังซีดาน” หลังการเปิดตัวไม่นาน คราวนี้มีโอกาสทดสอบรุ่นตัวถังแฮทช์แบ็กกันบ้าง
สำหรับโซนิค ตัวถังแฮทช์แบ็กนั้น เชฟโรเลตหวังว่าจะโดนใจวัยรุ่น หรืออายุคนซื้อน่าจะต่ำกว่ากลุ่มที่ซื้อตัวถังซีดานเสียอีก (บอกว่าอยากขายคนเจน Y อายุ 20 ต้นๆถึง 30 หน่อยๆ) ดังนั้นกิจกรรมการตลาด การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการเลือกพรีเซนเตอร์ (จอห์น วิญญู กับ ยิบโซ รมิตา)ก็ออกแนวเจ็บจี๊ด สีสันสดใส เปี่ยมไปด้วยอารมณ์และการเคลื่อนไหวละครับ
โดดเด่นด้วยไฟหน้าแบบโคมเปลือยออกแนวเนกเกดไบค์ (แต่จะดีในแง่ของหลักอากาศพลศาสตร์หรือปล่าวไม่รู้?) ไฟท้ายทรงกลม 2 วง ตัดกับเบ้ารับสีดำเข้ม เส้นสายโดยรวมสปอร์ตโฉบเฉี่ยว ทั้งยังแฝงลูกเล่นอย่างมือเปิดประตูสำหรับผู้โดยสารด้านหลังจะถูกซ้อนไว้ที่แนวเสาซี-พิลลาร์ ดูเท่ไปอีกแบบ
ทั้งนี้โซนิคตัวถังซีดานรุ่นLT ที่ใช้ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้วยาง 195/65 ส่วนรุ่นLTZ จะขนาด 16 นิ้ว ประกอบยาง 205/55 แต่สำหรับตัวถังแฮทช์แบ็คทุกกรุ่นย่อย จะใช้ล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้วพร้อมยาง 205/55 เป็นมาตรฐาน
อย่างไรก็ตามในรุ่นแฮทช์แบ็ก 5 ประตู จะมีระยะฐานล้อเท่ากับตัวถังซีดานคือ 2,525 มิลลิเมตร แต่ด้วยทรงตัวถังท้ายตัดทำให้ความยาวโดยรวมสั้นกว่าตัวถังซีดาน 360 มิลลิเมตร ดังนั้นความกว้างภายในห้องโดยสารก็ขยับขยายได้เท่ากันละครับ แต่ตัวถังแฮทช์แบ็กอาจจะได้เปรียบเรื่องความอเนกประสงค์ เพราะหากคุณพับเบาะนั่งแถวสองลงมาจะเพิ่มมิติของการจุสัมภาระได้อีกเพียบ
การลองขับผู้เขียนได้ โซนิค แฮทช์แบ็ก ตัวท็อป LTZ ราคา 6.87 แสนบาทเป็นพาหนะ ซึ่งในวันนั้น (ต้นเดือนตุลาคม) ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ มุ่งหมายไปหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็โดนพายุ “แกมี” ท้าทายตลอดทาง
ส่งผลให้การขับขี่ทริปนี้ ในช่วงแรกแทบไม่ได้ใช้ใช้ความเร็วสูงหรืออยู่ระดับ 80-100 กม./ชม.เท่านั้น ซึ่งผู้เขียนกลับมาคิดอีกทีว่าคงเหมือนการทดสอบ “เจ้าอเมริกันคันน้อย” ในรูปแบบการใช้งานจริง หรือยามเจออุปสรรคแบบโหดๆว่าจะไหวไหม?
...สภาพฝนเทกระหน่ำ การขับผ่านพื้นที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ โซนิค แฮทช์แบ็กคันนี้ ไม่ออกอาการแฉลบครับ การถือพวงมาลัยควบคุมยังทำได้สบายไม่เครียด ช่วงล่างหนึบแน่นขับผ่านถนนลื่นๆหรือแอ่งน้ำเล็กๆไปได้แบบนิ่งสบายขณะที่การทรงตัวเมื่ออยู่ในโค้ง ตัวรถยังเกาะถนนเยี่ยม ไม่มีปัดเป๋ วอกแวก
ด้านจังหวะและระยะเบรก ตอบสนองได้แม่นยำและนุ่มนวล เมื่อรวมกับการเก็บเสียงอันยอดเยี่ยม พร้อมกับการจัดการกับแรงสั่นอาการสะเทือนต่างๆของรถแล้ว ถือว่า เชฟโรเลต โซนิค ให้การขับขี่มั่นใจในระดับท็อปคลาสของเก๋งซับคอมแพกต์เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามคงมีเรื่องเดียวที่ โซนิคด้อยกว่าชาวบ้านคือพละกำลัง ด้วยเครื่องยนต์ A14XFR ขนาด 1.4 ลิตร 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบแคมชาร์ฟแปรผันต่อเนื่องDouble CVC หรือวาล์วแปรผันฝั่งไอดี-ไอเสีย ให้กำลังสูงสุด100 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด130 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
….ดูตามเสปกแล้วไม่ขี้เหร่ แถมมีเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดมาช่วยส่งกำลังลงสู่ล้อหน้า แต่การขับจริงรถค่อนข้างอืด (เกียร์ D) บางจังหวะต้องการเรียกความเร็วกะทันหัน แต่รถไม่ได้ตอบสนองรวดเร็วทันใจนัก
หลักๆคงมาจากตัวรถที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโครงสร้างตัวถังและแพลตฟอร์มGamma ที่ใช้สำหรับรถเล็กในเครือจีเอ็มค่อนข้างหนัก บวกกับการวางขุมพลังแค่ 1.4 ลิตร ส่งผลให้แรงม้าต่อน้ำหนักต้องแบกกันพอสมควร ซึ่งในต่างประเทศเครื่องยนต์บล็อกนี้ถูกรีดพลังด้วยเทอร์โบชาร์จ ย่อมส่งผลให้สมรรถนะการขับขี่ดีกว่าแน่ๆ
เมื่อแรงม้าต่อน้ำหนักไม่สมดุลกัน เรื่องอัตราบริโภคน้ำมันก็คงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ เพราะหลังจากการร่วมทริปสองครั้ง โดยครั้งแรกกับโซนิค ตัวถังซีดาน ผู้เขียนขับความเร็วเฉลี่ย 120-140 กม./ชม.สลับรถติดในเมืองยังมีตัวเลข 10 กม./ลิตร ส่วนในครั้งล่าสุดกับ โซนิค แฮทช์แบ็ก ใช้ความเร็วย่าน 80 -100-120กม./ชม. ยังมีระดับ 12-13 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...จุดเด่นยังอยู่ที่ช่วงล่าง ห้องโดยสารนิ่งแน่นและเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกดี แต่รูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยว เปรี้ยวเจ็บ สวนทางกับความสปอร์ตเร้าใจในการขับขี่โดยสิ้นเชิง...แต่กระนั้นรวมๆแล้ว “โซนิค”ยังถือพัฒนาการที่ดีของ“จีเอ็ม”(เชฟโรเลต) เอาเป็นว่ารุ่นนี้ “โอเค”กว่า “อาวีโอ” เยอะ!!!