ประเทศไทยหัวกระไดไม่แห้งมีแขกคนสำคัญของโลกมาเยือนกันทุกขั้วในรอบสองสามสัปดาห์นี้ไม่ใช่เพราะความเก่งกล้าสามารถของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลก่อน ไม่ว่าพรรคนี้หรือพรรคไหน แต่ต้องสำนึกในความเสียสละปกบ้านป้องเมืองของบรรพบุรุษในอดีต โดยเฉพาะพระปรีชาสามารถของบรุพกษัตริย์ ที่รักษาที่ตั้งของสยามประเทศอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ไว้ได้มากที่สุด
ประแรกสุดและสำคัญสุดคือสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทยที่มหาอำนาจทุกฝ่ายต้องช่วงชิงเป็นพวก
ประการต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันคือทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน และในทะเล จะมีแผ่นดินไหนในโลกที่ยามร้อนก็ไม่ร้อนเกินไป ยามหนาวก็ไม่หนาว ยามประสบภัยธรรมชาติก็ไม่ร้ายแรงมาก พื้นที่เพาะปลูกอุดมสมบูรณ์จนกล่าวได้ว่าเป็นครัวย่อม ๆ ของโลก ใต้ดินก็มีปิโตรเลี่ยมในปริมาณที่ไม่ขี้เหร่ ยิ่งในทะเลอ่าวไทยยิ่งมีมาก นี่ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไม่สามารถรักษาจังหวัดตราดและเกาะกูดไว้ได้ในคราวพิพาทต่อเนื่องกับฝรั่งเศสเมื่อครั้งกระโน้นเราคงไม่มีวันนี้ วันที่มหาอำนาจทุกขั้วแย่งกันมาเอาใจ
เราไม่ควรจะต้องเป็นประเทศที่กำลังกังวลถึงภาระหนี้สาธารณะที่ใกล้จะแตะหลังร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
เราไม่ควรจะเป็นประเทศที่วางแผนจะหลุดจากกับดักประเทศรายได้น้อยด้วยการกู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทมาลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เราไม่ควรจะติดอยู่ในกับดักนี้ด้วยซ้ำ
ระยะเวลาผ่านมา 41 ปีจากปี 2514 เราใช้และฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 5 ฉบับและกำลังหาหนทางฉีกฉบับปัจจุบันอีก 1 ฉบับ แต่หลักการสำคัญของพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 เกี่ยวกับการให้สัมปทานในทรัพยากรปิโตรเลี่ยมที่เป็นไปเพื่อการส่งออกสถานเดียว (มาตรา 64) และทำให้คนไทยต้องใช้น้ำมันดิบในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งสถานเดียว (มาตรา 57) ไม่เคยได้รับการทบทวนเลย ทั้ง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างยิ่ง
ระบอบประชาธิปไตยจะมีความหมายอะไรให้คนไทยต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิตกันรอบแล้วรอบเล่าในรอบ 41 ปีมานี้ หากไม่สามารถแม้แต่แก้ไขเปลี่ยนแปลง “ระบอบปิโตรธิปไตย” ของกลุ่มทุนต่างชาติได้ ?
การแก้หรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยอะไรได้ถ้าเราไม่พูดถึงความเป็นจริงที่อัปยศประการนี้
นี่คือรัฐธรรมนูญที่แท้จริง !
สัมปทานปิโตรเลี่ยมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ปี 2514 โดยใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 24 เมษายน 2514 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้มีโอกาสใช้ในประเทศเลย เพราะบัญญัติไว้ในมาตรา 64 ว่า
"ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่ารัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลี่ยมออกนอกราชอาณาจักร..."
นอกจากให้สิทธิผู้รับสัมปทานส่งออกน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้โดยไม่จำกัดแล้ว ในมาตรา 57 (1) และ (2) ยังบัญญัติว่าหากจะขายน้ำมันดิบภายในราชอาณาจักรก็ให้ขายในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
"ในกรณีที่ยังไม่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาน้ำมันดิบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่งถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในราชอาณาจักร"
"ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาเฉลี่ยที่ได้รับจริงสำหรับน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานทุกรายส่งออกนอกราชอาณาจักรในเดือนปฏิทินที่แล้วมา..."
กฎหมายฉบับนี้เขียนเพื่อประโยชน์ผู้รับสัมปทานเพื่อการส่งออกจริง ๆ เพราะจะมีกรณีเดียวที่การขายในราชอาณาจักรจะถูกลง ก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขตามมาตรา 57(3) คือน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณ 10 เท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ในราชอาณาจักรเท่านั้น
ด้านหนึ่งหนึ่ง แม้ประเทศไทยจะมีปิโตรเลี่ยมขุดได้เอง 47 % ของความต้องการใช้งานภายในประเทศ แต่เราก็ต้องบริโภคน้ำมันดิบในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งทั้งหมด
อีกด้านหนึ่ง แม้เราจะมีโรงกลั่นน้ำมันผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเกินความต้องการใช้ในประเทศจนต้องส่งออก แต่คนไทยผู้มีกรรมหนักกลับต้องบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปนี้ในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องขนส่งจริง แพงกว่าที่โรงกลั่นขายในตลาดโลกเสียอีก
ควรตระหนักว่าปีนี้ประเทศไทยมีความสามารถในการจัดหาปิโตรเลี่ยมต่อวันได้ถึง 47 % ของความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ ถึง 12 % แต่คนไทยต้องใช้ปิโตรเลี่ยมในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งเต็ม 100 ตามปรัชญาและหลักการของพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 (มาตรา 64 และ 57) ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงด้านน้ำมันสำเร็จรูปอีก เมื่อโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีต้นทุนวัตถุดิบตามราคาตลาดโลก เวลาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศเขาก็ขายในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งทั้งที่ไม่ต้องขนส่ง
การมีทรัพยากรปิโตรเลี่ยมของประเทศไทยสูงถึงเกือบครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้ภายในประเทศจึงไม่มีความหมายต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งเป็นต้นทางของค่าครองชีพทั้งปวง
ถ้าจะยืนปรัชญาและหลักการอายุ 41 ปีนี้ต่อไป ก็ต้องมาถกกันอย่างซีเรียสถึงค่าตอบแทนรวมทั้งค่าภาคหลวงและภาษีที่ประเทศจะได้รับ ว่าที่ได้อยู่ 29 - 30 % ของมูลค่าที่ขุดขึ้นมาขายได้น่ะพอไหม
หรือควรจะเป็น 50, 60, 70 หรือ 80 %
หรือไม่ก็เก็บไว้ใช้ในอนาคต ไม่ต้องรีบขุดขึ้นมา ?
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมา 3 กลุ่มการเมืองในรอบห้าหกปีที่ผ่านมา คือพรรคคุณทักษิณ ชินวัตร, พรรคประชาธิปัตย์ และคณะรัฐประหารหรือจะเรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ก็สุดแท้แต่ แต่ทุกพรรคทุกกลุ่มไม่ว่าจะด่าพ่อล่อแม่ขัดแย้งกันเรื่องอื่นอย่างไร นโยบายปิโตรเลี่ยมเดินเป็นเส้นตรง นอกจากจะไม่ขัดแย้งกันแล้ว ยังหนุนเสริมต่อยอดซึ่งกันและกันอีก
ก็นี่ไง – รัฐธรรมนูญที่แท้จริงของประเทศไทย !
การเมืองไทยในระบบรัฐสภาเข้าใกล้ความเป็นระบบ 2 พรรคเข้าไปทุกที แต่พรรคการเมืองทั้ง 2 ขั้วนอกจากตัวบุคคลและวัฒนธรรมของสมาชิกพรรคแล้ว รากฐานนโยบายหาได้แตกต่างกันไม่ โดยเฉพาะนโยบายปิโตรเลี่ยม ประชาชนจึงไม่มีทางเลือก
ทั้ง ๆ ที่การปฏิรูปใหญ่นโยบายปิโตรเลี่ยมสามารถทำเป็น Political Platform เสนอต่อประชาชนได้เลย
การปฏิรูปใหญ่นโยบายปิโตรเลี่ยมจะเป็นฐานในการปฏิรูปใหญ่ประเทศ เพราะสามารถอรรถาธิบายขยายความถึงระบบเศรษฐกิจระบอบการเมืองที่อยุติธรรมทั้งมวล แม้จะเป็นงานยาก แต่ถ้าทำได้จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้การต่อยอดง่ายขึ้น
นอกเหนือจากพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 แล้ว ยังมีกฎหมายแวดล้อมอีกหลายฉบับที่จะต้องแก้ไข
ทำเป็นข้อเสนอรูปธรรมให้เห็นแล้วนำมารณรงค์ทางปัญญาต่อเนื่องให้พี่น้องประชาชนเข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมายเหล่านี้ให้เป็นแสนเป็นล้านเป็นสิบล้าน
ไม่ใช่หวังให้ระบบรัฐสภายินยอมทำตาม....
แต่เป็นกุศโลบายในการก่อการที่เป็นรูปธรรมและตอบโจทย์แห่งยุคสมัยได้ !
ประแรกสุดและสำคัญสุดคือสภาพภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทยที่มหาอำนาจทุกฝ่ายต้องช่วงชิงเป็นพวก
ประการต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันคือทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน และในทะเล จะมีแผ่นดินไหนในโลกที่ยามร้อนก็ไม่ร้อนเกินไป ยามหนาวก็ไม่หนาว ยามประสบภัยธรรมชาติก็ไม่ร้ายแรงมาก พื้นที่เพาะปลูกอุดมสมบูรณ์จนกล่าวได้ว่าเป็นครัวย่อม ๆ ของโลก ใต้ดินก็มีปิโตรเลี่ยมในปริมาณที่ไม่ขี้เหร่ ยิ่งในทะเลอ่าวไทยยิ่งมีมาก นี่ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไม่สามารถรักษาจังหวัดตราดและเกาะกูดไว้ได้ในคราวพิพาทต่อเนื่องกับฝรั่งเศสเมื่อครั้งกระโน้นเราคงไม่มีวันนี้ วันที่มหาอำนาจทุกขั้วแย่งกันมาเอาใจ
เราไม่ควรจะต้องเป็นประเทศที่กำลังกังวลถึงภาระหนี้สาธารณะที่ใกล้จะแตะหลังร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
เราไม่ควรจะเป็นประเทศที่วางแผนจะหลุดจากกับดักประเทศรายได้น้อยด้วยการกู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทมาลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เราไม่ควรจะติดอยู่ในกับดักนี้ด้วยซ้ำ
ระยะเวลาผ่านมา 41 ปีจากปี 2514 เราใช้และฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 5 ฉบับและกำลังหาหนทางฉีกฉบับปัจจุบันอีก 1 ฉบับ แต่หลักการสำคัญของพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 เกี่ยวกับการให้สัมปทานในทรัพยากรปิโตรเลี่ยมที่เป็นไปเพื่อการส่งออกสถานเดียว (มาตรา 64) และทำให้คนไทยต้องใช้น้ำมันดิบในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งสถานเดียว (มาตรา 57) ไม่เคยได้รับการทบทวนเลย ทั้ง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างยิ่ง
ระบอบประชาธิปไตยจะมีความหมายอะไรให้คนไทยต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิตกันรอบแล้วรอบเล่าในรอบ 41 ปีมานี้ หากไม่สามารถแม้แต่แก้ไขเปลี่ยนแปลง “ระบอบปิโตรธิปไตย” ของกลุ่มทุนต่างชาติได้ ?
การแก้หรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยอะไรได้ถ้าเราไม่พูดถึงความเป็นจริงที่อัปยศประการนี้
นี่คือรัฐธรรมนูญที่แท้จริง !
สัมปทานปิโตรเลี่ยมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ปี 2514 โดยใช้พ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 24 เมษายน 2514 ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้น้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้มีโอกาสใช้ในประเทศเลย เพราะบัญญัติไว้ในมาตรา 64 ว่า
"ให้ผู้รับสัมปทานได้รับหลักประกันว่ารัฐจะไม่จำกัดการส่งปิโตรเลี่ยมออกนอกราชอาณาจักร..."
นอกจากให้สิทธิผู้รับสัมปทานส่งออกน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้โดยไม่จำกัดแล้ว ในมาตรา 57 (1) และ (2) ยังบัญญัติว่าหากจะขายน้ำมันดิบภายในราชอาณาจักรก็ให้ขายในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง
"ในกรณีที่ยังไม่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาน้ำมันดิบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่งถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในราชอาณาจักร"
"ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานส่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นประจำ ให้ขายไม่เกินราคาเฉลี่ยที่ได้รับจริงสำหรับน้ำมันดิบที่ผู้รับสัมปทานทุกรายส่งออกนอกราชอาณาจักรในเดือนปฏิทินที่แล้วมา..."
กฎหมายฉบับนี้เขียนเพื่อประโยชน์ผู้รับสัมปทานเพื่อการส่งออกจริง ๆ เพราะจะมีกรณีเดียวที่การขายในราชอาณาจักรจะถูกลง ก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขตามมาตรา 57(3) คือน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีปริมาณ 10 เท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ในราชอาณาจักรเท่านั้น
ด้านหนึ่งหนึ่ง แม้ประเทศไทยจะมีปิโตรเลี่ยมขุดได้เอง 47 % ของความต้องการใช้งานภายในประเทศ แต่เราก็ต้องบริโภคน้ำมันดิบในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งทั้งหมด
อีกด้านหนึ่ง แม้เราจะมีโรงกลั่นน้ำมันผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเกินความต้องการใช้ในประเทศจนต้องส่งออก แต่คนไทยผู้มีกรรมหนักกลับต้องบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปนี้ในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องขนส่งจริง แพงกว่าที่โรงกลั่นขายในตลาดโลกเสียอีก
ควรตระหนักว่าปีนี้ประเทศไทยมีความสามารถในการจัดหาปิโตรเลี่ยมต่อวันได้ถึง 47 % ของความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ ถึง 12 % แต่คนไทยต้องใช้ปิโตรเลี่ยมในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งเต็ม 100 ตามปรัชญาและหลักการของพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 (มาตรา 64 และ 57) ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงด้านน้ำมันสำเร็จรูปอีก เมื่อโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีต้นทุนวัตถุดิบตามราคาตลาดโลก เวลาขายน้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศเขาก็ขายในราคาตลาดโลกบวกค่าขนส่งทั้งที่ไม่ต้องขนส่ง
การมีทรัพยากรปิโตรเลี่ยมของประเทศไทยสูงถึงเกือบครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้ภายในประเทศจึงไม่มีความหมายต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปซึ่งเป็นต้นทางของค่าครองชีพทั้งปวง
ถ้าจะยืนปรัชญาและหลักการอายุ 41 ปีนี้ต่อไป ก็ต้องมาถกกันอย่างซีเรียสถึงค่าตอบแทนรวมทั้งค่าภาคหลวงและภาษีที่ประเทศจะได้รับ ว่าที่ได้อยู่ 29 - 30 % ของมูลค่าที่ขุดขึ้นมาขายได้น่ะพอไหม
หรือควรจะเป็น 50, 60, 70 หรือ 80 %
หรือไม่ก็เก็บไว้ใช้ในอนาคต ไม่ต้องรีบขุดขึ้นมา ?
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมา 3 กลุ่มการเมืองในรอบห้าหกปีที่ผ่านมา คือพรรคคุณทักษิณ ชินวัตร, พรรคประชาธิปัตย์ และคณะรัฐประหารหรือจะเรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ก็สุดแท้แต่ แต่ทุกพรรคทุกกลุ่มไม่ว่าจะด่าพ่อล่อแม่ขัดแย้งกันเรื่องอื่นอย่างไร นโยบายปิโตรเลี่ยมเดินเป็นเส้นตรง นอกจากจะไม่ขัดแย้งกันแล้ว ยังหนุนเสริมต่อยอดซึ่งกันและกันอีก
ก็นี่ไง – รัฐธรรมนูญที่แท้จริงของประเทศไทย !
การเมืองไทยในระบบรัฐสภาเข้าใกล้ความเป็นระบบ 2 พรรคเข้าไปทุกที แต่พรรคการเมืองทั้ง 2 ขั้วนอกจากตัวบุคคลและวัฒนธรรมของสมาชิกพรรคแล้ว รากฐานนโยบายหาได้แตกต่างกันไม่ โดยเฉพาะนโยบายปิโตรเลี่ยม ประชาชนจึงไม่มีทางเลือก
ทั้ง ๆ ที่การปฏิรูปใหญ่นโยบายปิโตรเลี่ยมสามารถทำเป็น Political Platform เสนอต่อประชาชนได้เลย
การปฏิรูปใหญ่นโยบายปิโตรเลี่ยมจะเป็นฐานในการปฏิรูปใหญ่ประเทศ เพราะสามารถอรรถาธิบายขยายความถึงระบบเศรษฐกิจระบอบการเมืองที่อยุติธรรมทั้งมวล แม้จะเป็นงานยาก แต่ถ้าทำได้จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้การต่อยอดง่ายขึ้น
นอกเหนือจากพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 แล้ว ยังมีกฎหมายแวดล้อมอีกหลายฉบับที่จะต้องแก้ไข
ทำเป็นข้อเสนอรูปธรรมให้เห็นแล้วนำมารณรงค์ทางปัญญาต่อเนื่องให้พี่น้องประชาชนเข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมายเหล่านี้ให้เป็นแสนเป็นล้านเป็นสิบล้าน
ไม่ใช่หวังให้ระบบรัฐสภายินยอมทำตาม....
แต่เป็นกุศโลบายในการก่อการที่เป็นรูปธรรมและตอบโจทย์แห่งยุคสมัยได้ !