ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เชฟโรเลต สร้างสรรค์งานออกแบบออกมาประดับหน้าประวัติศาสตร์ยานยนต์โลกไว้มากมาย นับตั้งแต่รถเชฟโรเลต ปิกอัพที่รองรับการใช้งานทุกรูปแบบ เชฟโรเลต เบลแอร์ (BelAir) ที่สะท้อนตัวตนแห่งยุคสมัย จนถึงรถสปอร์ตที่ฉีกกรอบเดิมอย่างเชฟโรเลต คอร์เวทท์ (Corvette) โบว์ไทสีทองถูกกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในโลโก้ที่ทรงอิทธิพลที่สุด เช่นเดียวกับนักออกแบบของเชฟโรเลต อย่าง ฮาร์ลีย์ เอิร์ล และบิล มิทเชลล์ ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นตำนาน เช่นเดียวกับรถที่พวกเขาฝากผลงานไว้
จากยานยนต์รุ่นแรกเริ่มอย่างเชฟโรเลต คลาสสิก ซิกซ์ (Classic Six) ปี 1912 ที่เรียกเสียงฮือฮาในความก้าวล้ำ และมีสไตล์ที่สุดในยุคนั้น สู่ที่สุดแห่งยนตรกรรมอย่างโวลต์ และคามาโร ที่โลดแล่นอยู่ในปัจจุบัน เชฟโรเลตกำลังก้าวสู่ศตวรรษที่สอง ในตำแหน่งผู้นำแห่งการออกแบบบนราคาที่ลูกค้าทุกคนเข้าถึงได้ โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่ารถในอีก 100 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแนวทางให้เชฟโรเลต คือ เอ็ด เวลเบิร์น รองประธานฝ่ายออกแบบของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ซึ่งก้าวเข้ามาแทนที่นักออกแบบในตำนานอย่าง ฮาร์ลีย์ เอิร์ล และบิล มิทเชลล์ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2003 ในตำแหน่งความรับผิดชอบสูงลิ่วเช่นนี้ เอ็ด ยอมรับว่า “ผมสนุกกับงานในเวลานี้มากที่สุดในการทำงานที่จีเอ็ม”
เอ็ด เกิดในเมืองฟิลลาเดลเฟีย ในปี 1950 ในอู่ซ่อมรถยนต์ของพ่อ “เวลานั้น รอบตัวผมมีแต่รถยนต์” ความสนใจในยานยนต์ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งเมื่ออายุ 11 ปี เขาเขียนจดหมายถึงจีเอ็ม สอบถามถึงตำแหน่ง งานด้านออกแบบ ก่อนที่จะได้รับจดหมายตอบกลับมาพร้อมคำแนะนำให้เข้าเรียนในสาขาที่ตรงกับความต้องการ รวมถึงรายละเอียดการเข้าเป็นนักศึกษาฝึกงานที่จีเอ็ม
เขาปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านั้นและได้เข้าเป็นนักศึกษาฝึกงาน และเมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโฮเวิร์ดในวอชิงตันดีซี เอ็ดได้เข้าเป็นพนักงานประจำของจีเอ็ม ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970
หนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของเอ็ด คือ สตรีมไลน์ แอโรเทค ที่สุดแห่งยานยนต์ที่ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 417 กม./ชม. ในปี 1987 สร้างชื่อเสียงให้เอ็ด ทั้งในและนอกองค์กรจีเอ็ม “ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดในชีวิตผม ผมต้องทำงานในส่วนการตลาด และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้วย ไม่ใช่ในด้านวิศวกรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อน มันทำให้ผมมีความหลงใหลในหลักอากาศพลศาสตร์มาตั้งแต่นั้น”
รถเชฟโรเลต ทั้ง 10 คันต่อไปนี้ เป็นรถที่เอ็ด ให้ความเห็นว่า มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
เชฟโรเลต คลาสสิก ซิกซ์ ปี 1912 (Chevrolet Classic Six)
รถรุ่นแรกที่ประทับตราเชฟโรเลต หลังจากวิลเลี่ยม ดูแรนท์ และหลุยส์ เชฟโรเลต จับมือกันก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นในปี 1911 มาพร้อมกับตัวถังขนาดใหญ่ รูปลักษณ์หรูหรา เครื่องยนต์ทรงพลังขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น คลาสสิก ซิกซ์ ที่เป็นรถในฝันของหลุยส์ เชฟโรเลต ได้รับการเผยโฉมในปี 1911 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1912 มีราคาอยู่ที่ 2,150 สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น มียอดจำหน่ายจำนวนทั้งสิ้น 5,987 คัน
“ด้วยความที่เป็นรถเชฟโรเลต รุ่นแรก จึงมีความหมายอย่างมาก” เอ็ด กล่าว “หลุยส์ เชฟโรเลต ใช้ประสบการณ์ทั้งหมดที่เขามีในการสร้างสรรค์ยานยนต์รุ่นนี้ พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ขึ้นมา”
เชฟโรเลต ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ ปี 1932 (Chevrolet Deluxe Sport Coupe)
กล่าวกันว่าความยากลำบากอยู่เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ ดังเช่นการปรากฎขึ้นของเชฟโรเลต ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ ปี 1932 ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยอย่างหนัก เชฟโรเลต มียอดขายลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยสมรรถนะอันโดดเด่น และรูปลักษณ์สุดสปอร์ตที่ได้รับการยกย่องว่าสวยที่สุดในกลุ่มรถยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ จึงได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี
“เป็นการออกแบบที่เท่มาก สามารถบ่งบอกตัวตนของเชฟโรเลตได้เป็นอย่างดี และยังถูกถ่ายทอดมาถึงรถในปัจจุบัน เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ มีดีไซน์ร่วมสมัย เข้าถึงได้ ซึ่งลูกค้าสามารถสัมผัสได้ถึงความคุ้มค่า นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้เลยทีเดียว”
เชฟโรเลต ซับเบอร์เบิน ปี 1936 (Chevrolet Suburban)
ซับเบอร์เบิน ไม่เพียงจะเป็นหนึ่งในรถที่สำคัญที่สุดของเชฟโรเลต หากยังมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวมด้วย เพราะถือเป็นรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีรุ่นแรกของโลก รองรับการใช้งานหนักด้วยตัวถังแบบสเตชั่นวากอนบนพื้นฐานรถปิกอัพ ทำให้มีอีกชื่อว่า ซับเบอร์เบิน แครี่ออล (Carryall) หากจะมองถึงต้นกำเนิดต้องย้อนกลับไปในปี 1933 ซับเบอร์เบิน ถูกพัฒนาจากเฟรมรถปิกอัพครึ่งตันกลายเป็นรถ 8 ที่นั่ง เพื่อใช้ในกองกำลังป้องกันประเทศ และหน่วยอนุรักษ์พลเรือน
“เป็นการผสมผสานระหว่างรถยนต์และรถปิกอัพ ทั้งออกแบบภายในยอดเยี่ยม ถือเป็นรถครอสโอเวอร์รุ่นแรกของโลก และเป็นต้นกำเนิดของรถอเนกประสงค์ รวมถึงเชฟโรเลต แคปติวาด้วย” เอ็ด กล่าวถึงที่มาของรถอเนกประสงค์ในโลกยานยนต์
เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1948 (Chevrolet Pick-Up)
รถปิกอัพและรถแวน มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของเชฟโรเลต โดยเฉพาะรถปิกอัพรุ่นปี 1947 ซึ่งเป็นยานยนต์ของจีเอ็ม รุ่นแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง และเป็นรถที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุกรูปแบบการใช้งาน และรองรับงานหนัก เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1948 เป็นรถปิกอัพขนาดครึ่งตันที่เจาะตลาดได้ทั่วโลก
เอ็ด ให้ความเห็นถึงรถปิกอัพของเชฟโรเลตว่าเป็นรถเพื่อการใช้งานขนานแท้ รูปทรงสะดุดตา แต่ก็ใช้งานได้ดี เรียบง่าย และเข้าถึงได้ทุกคน
เชฟโรเลต คอร์เวทท์ 1953 (Chevrolet Corvette)
“เป็นรถคอร์เวทท์ รุ่นแรกในประวัติศาสตร์” เอ็ด กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของรถสปอร์ตในตำนาน ซึ่งกำเนิดขึ้นในช่วงที่เชฟโรเลต กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ได้รับการรังสรรค์โดยฮาร์ลีย์ เอิร์ล สุดยอดนักออกแบบของจีเอ็ม ในเวลานั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์สุดสปอร์ตให้แก่แบรนด์เชฟโรเลต พร้อมแข่งขันกับรถสปอร์ตจากฝั่งยุโรปที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
คอร์เวทท์ ปี 1953 มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่คือตัวถังไฟเบอร์กลาส “ผมไม่ได้ชื่นชอบดีไซน์เท่าใดนักในช่วงแรก แต่เวลานี้ผมประทับใจที่สุด ผมไม่เคยลืมครั้งแรกที่ผมได้เห็นคอร์เวทท์รุ่นนี้ ตอนนั้นผมอายุ 7 ขวบ เห็นความโฉบเฉี่ยวได้ทุกมิติเมื่อมันแล่นผ่านหน้าผมไป ท่ามกลางใบไม้แห้งที่ร่วงหล่น ผมคิดว่ามันเท่มาก”
เชฟโรเลต เบลแอร์ 1955 (Chevrolet Bel Air)
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การผลิตรถยนต์ใหม่ในปี 1955 ให้กลายเป็นรถที่มีภาพลักษณ์แบบ “โมโตรามิค” (Motoramic) เริ่มจากรถระดับพรีเมียมอย่าง เชฟโรเลต เบลแอร์ ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์บล็อกใหญ่ วี8 เป็นครั้งแรก ด้วยสมรรถนะอันทรงพลัง โฉบเฉี่ยว เปี่ยมด้วยสไตล์ล้ำสมัย ตัวถังของเบลแอร์ มีให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ทั้งคูเป้ เปิดประทุน และสเตชั่นวากอน ซึ่งสร้างความโดดเด่นให้จีเอ็ม ในช่วงปี 1955 ถึง 1957 และได้รับชื่อเล่นว่า “ไทร5” (Tri5)
“ผมคิดว่า เบลแอร์ปี 55 สมบูรณ์แบบที่สุด แตกต่างจากรถรุ่นอื่นในปีนั้น สดใหม่ ร่วมสมัย มีคุณค่ามากกว่าราคาจริง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในเชฟโรเลต ครูซ ในปัจจุบันเช่นกัน”
เชฟโรเลต คอร์เวทท์ สติงเรย์ 1963 (Chevrolet Corvette Sting Ray)
“เป็นรถที่มหัศจรรย์มาก” เอ็ดกล่าวถึงคอร์เวทท์ สติงเรย์ รถสปอร์ตที่ยกระดับไลน์คอร์เวทท์ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือของบิล มิทเชลล์ หัวหน้านักออกแบบของจีเอ็ม ที่เติมความปราดเปรียว และเพิ่มเหลี่ยมมุมให้แก่สติงเรย์ได้อย่างลงตัว นอกจากตัวถังไฟเบอร์กลาสแล้ว สติงเรย์ ยังมีความโดดเด่นตรงที่ไฟหน้าป๊อป-อัพ ควบคุมด้วยไฟฟ้า และกระจกหลังแยกส่วนเอกลัษณ์ใหม่
“ผมบรรยายถึงรถรุ่นนี้หลายครั้งมาก ทุกสิ่งทุกอย่างดูใหม่หมดจด ใหม่มากกระทั่งต้องตั้งชื่อให้ใหม่ว่า สติงเรย์ โดยรถคอร์เวทท์ ทุกรุ่นนับจากนั้นต่างได้รับอิทธิพลจากสติงเรย์ โครงสร้างห้องโดยสารแบบดูอัลค็อกพิท ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของคอร์เวทท์ และกลายเป็นเอกลักษณ์ของรถเชฟโรเลตในปัจจุบันด้วย”
เชฟโรเลต ปิกอัพ 1967 (Chevrolet Pick-Up)
ใหญ่ บึกบึน และเอนกประสงค์ คือคำจำกัดความของรถปิกอัพเชฟโรเลต ปี 1967 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกงานหนักอย่างแท้จริง มีความทรงพลัง และตอบสนองทุกการใช้งาน ทั้งการเดินทางทั่วไป และการใช้งานหนัก ซึ่งตอบโจทย์ตลาดและกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
“เต็มเปี่ยมด้วยตัวตนความเป็นอเมริกัน เมื่อคุณเห็นปิกอัพเชฟโรเลต รุ่นนี้ คุณจะได้เห็นผู้ชายใส่กางเกงยีนส์ และมีกล่องเครื่องมือด้วย เชฟโรเลต ปิกอัพปี 1967 เสริมเอกลักษณ์ความเป็นอเมริกัน และเชฟโรเลต ไว้อย่างครบถ้วน”
เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1989 (Chevrolet Pick-Up)
รถปิกอัพ มีความสำคัญมากต่อเชฟโรเลตอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายของศตวรรษที่ 20 และนับเป็นรุ่นที่ 4 ของรถปิกอัพซีรีส์ C/K (พัฒนาเพื่อจำหน่ายร่วมกันระหว่างเชฟโรเลต และจีเอ็มซี) โดดเด่นที่กรอบไฟหน้าแบบสองชั้น ตัวถังทรงเหลี่ยม ให้รูปลักษณ์สมบุกสมบันซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ปกติแล้วรถปิกอัพถูกพัฒนามาเพื่อการบรรทุกหนัก แต่กระแสการใช้งานแบบไลฟ์สไตล์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เชฟโรเลต นำเสนอแพคเกจสปอร์ตเพิ่มเข้ามา และได้รับเสียงตอบรับเป็นยอดจำหน่ายอันน่าประทับใจ
“มีดีไซน์ที่สะอาดตา แต่ก็ยังดูร่วมสมัยมาจนถึงทุกวันนี้ และสามารถทำยอดจำหน่ายที่สูงลิ่ว เรากำลังทำงานอย่างหนักในการพัฒนารถปิกอัพรุ่นใหม่ ในออฟฟิศของเราเต็มไปด้วยรูปปิกอัพคลาสสิกของเชฟโรเลต โดยเฉพาะรุ่นปี 1989 ที่เป็นแรงบันดาลใจอย่างดีเยี่ยม”
เชฟโรเลต คามาโร 2010 (Chevrolet Camaro)
เอ็ด เป็นแฟนตัวยงของคามาโร เขาเป็นเจ้าของคามาโร รุ่นคลาสสิก ปี 1969 “ผมนำคามาโรปี 2010 มาอยู่ในลิสต์นี้ แทนที่รุ่นคลาสสิกปี 1969 เพราะว่ามันเชื่อมต่อคนทั่วโลก เมื่อเราเปิดตัวรถต้นแบบออกมา มันสร้างความประทับใจให้คนรุ่นใหม่อย่างมาก”
เขาเล่าด้วยว่าเมื่อต้องพัฒนารถคามาโรรุ่นใหม่ แต่กลับนำคามาโร รุ่นคลาสสิกมาจอดในสตูดิโอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน “ผมบอกพวกเขาว่า ให้ดีไซน์รุ่นใหม่ที่ดีกว่านี้ให้ได้”
ถึงแม้ว่า คามาโร รุ่นใหม่จะมีกลิ่นอายของรุ่นปี 1967 - 1969 ในหลายจุด ทั้งรูปทรงที่บึกบึน ซุ้มล้อหลังขนาดใหญ่ แต่เอ็ดก็ชี้ว่า ดีไซน์ของปี 2010 ไม่ใช่การย้อนยุค แต่เป็นการมองไปข้างหน้า
"ผมคิดถึงอนาคตอยู่เสมอ แต่ในเมื่อคุณตระหนักถึงตำนานอันยิ่งใหญ่ของเชฟโรเลต คุณก็จะต้องสร้างสรรค์บนพื้นฐานตำนานดังกล่าว ผมไม่ได้ต้องการจะสร้างคามาโร แบบย้อนอดีตแต่อย่างใด” เอ็ด ระบุด้วยว่า ดีไซน์ของคามาโร นั้นเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น และมีความหวัง “สร้างสัญญาณที่ดีให้แก่พนักงาน และลูกค้าของจีเอ็ม มันได้จุดแสงสว่างอันน่าตื่นเต้นขึ้นมาในองค์กรของเรา”
จากยานยนต์รุ่นแรกเริ่มอย่างเชฟโรเลต คลาสสิก ซิกซ์ (Classic Six) ปี 1912 ที่เรียกเสียงฮือฮาในความก้าวล้ำ และมีสไตล์ที่สุดในยุคนั้น สู่ที่สุดแห่งยนตรกรรมอย่างโวลต์ และคามาโร ที่โลดแล่นอยู่ในปัจจุบัน เชฟโรเลตกำลังก้าวสู่ศตวรรษที่สอง ในตำแหน่งผู้นำแห่งการออกแบบบนราคาที่ลูกค้าทุกคนเข้าถึงได้ โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่ารถในอีก 100 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแนวทางให้เชฟโรเลต คือ เอ็ด เวลเบิร์น รองประธานฝ่ายออกแบบของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ซึ่งก้าวเข้ามาแทนที่นักออกแบบในตำนานอย่าง ฮาร์ลีย์ เอิร์ล และบิล มิทเชลล์ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2003 ในตำแหน่งความรับผิดชอบสูงลิ่วเช่นนี้ เอ็ด ยอมรับว่า “ผมสนุกกับงานในเวลานี้มากที่สุดในการทำงานที่จีเอ็ม”
เอ็ด เกิดในเมืองฟิลลาเดลเฟีย ในปี 1950 ในอู่ซ่อมรถยนต์ของพ่อ “เวลานั้น รอบตัวผมมีแต่รถยนต์” ความสนใจในยานยนต์ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งเมื่ออายุ 11 ปี เขาเขียนจดหมายถึงจีเอ็ม สอบถามถึงตำแหน่ง งานด้านออกแบบ ก่อนที่จะได้รับจดหมายตอบกลับมาพร้อมคำแนะนำให้เข้าเรียนในสาขาที่ตรงกับความต้องการ รวมถึงรายละเอียดการเข้าเป็นนักศึกษาฝึกงานที่จีเอ็ม
เขาปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านั้นและได้เข้าเป็นนักศึกษาฝึกงาน และเมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโฮเวิร์ดในวอชิงตันดีซี เอ็ดได้เข้าเป็นพนักงานประจำของจีเอ็ม ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970
หนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของเอ็ด คือ สตรีมไลน์ แอโรเทค ที่สุดแห่งยานยนต์ที่ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 417 กม./ชม. ในปี 1987 สร้างชื่อเสียงให้เอ็ด ทั้งในและนอกองค์กรจีเอ็ม “ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดในชีวิตผม ผมต้องทำงานในส่วนการตลาด และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้วย ไม่ใช่ในด้านวิศวกรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อน มันทำให้ผมมีความหลงใหลในหลักอากาศพลศาสตร์มาตั้งแต่นั้น”
รถเชฟโรเลต ทั้ง 10 คันต่อไปนี้ เป็นรถที่เอ็ด ให้ความเห็นว่า มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
เชฟโรเลต คลาสสิก ซิกซ์ ปี 1912 (Chevrolet Classic Six)
รถรุ่นแรกที่ประทับตราเชฟโรเลต หลังจากวิลเลี่ยม ดูแรนท์ และหลุยส์ เชฟโรเลต จับมือกันก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นในปี 1911 มาพร้อมกับตัวถังขนาดใหญ่ รูปลักษณ์หรูหรา เครื่องยนต์ทรงพลังขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น คลาสสิก ซิกซ์ ที่เป็นรถในฝันของหลุยส์ เชฟโรเลต ได้รับการเผยโฉมในปี 1911 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1912 มีราคาอยู่ที่ 2,150 สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น มียอดจำหน่ายจำนวนทั้งสิ้น 5,987 คัน
“ด้วยความที่เป็นรถเชฟโรเลต รุ่นแรก จึงมีความหมายอย่างมาก” เอ็ด กล่าว “หลุยส์ เชฟโรเลต ใช้ประสบการณ์ทั้งหมดที่เขามีในการสร้างสรรค์ยานยนต์รุ่นนี้ พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ขึ้นมา”
เชฟโรเลต ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ ปี 1932 (Chevrolet Deluxe Sport Coupe)
กล่าวกันว่าความยากลำบากอยู่เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ ดังเช่นการปรากฎขึ้นของเชฟโรเลต ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ ปี 1932 ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยอย่างหนัก เชฟโรเลต มียอดขายลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยสมรรถนะอันโดดเด่น และรูปลักษณ์สุดสปอร์ตที่ได้รับการยกย่องว่าสวยที่สุดในกลุ่มรถยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีลักซ์ สปอร์ต คูเป้ จึงได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี
“เป็นการออกแบบที่เท่มาก สามารถบ่งบอกตัวตนของเชฟโรเลตได้เป็นอย่างดี และยังถูกถ่ายทอดมาถึงรถในปัจจุบัน เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ มีดีไซน์ร่วมสมัย เข้าถึงได้ ซึ่งลูกค้าสามารถสัมผัสได้ถึงความคุ้มค่า นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้เลยทีเดียว”
เชฟโรเลต ซับเบอร์เบิน ปี 1936 (Chevrolet Suburban)
ซับเบอร์เบิน ไม่เพียงจะเป็นหนึ่งในรถที่สำคัญที่สุดของเชฟโรเลต หากยังมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวมด้วย เพราะถือเป็นรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีรุ่นแรกของโลก รองรับการใช้งานหนักด้วยตัวถังแบบสเตชั่นวากอนบนพื้นฐานรถปิกอัพ ทำให้มีอีกชื่อว่า ซับเบอร์เบิน แครี่ออล (Carryall) หากจะมองถึงต้นกำเนิดต้องย้อนกลับไปในปี 1933 ซับเบอร์เบิน ถูกพัฒนาจากเฟรมรถปิกอัพครึ่งตันกลายเป็นรถ 8 ที่นั่ง เพื่อใช้ในกองกำลังป้องกันประเทศ และหน่วยอนุรักษ์พลเรือน
“เป็นการผสมผสานระหว่างรถยนต์และรถปิกอัพ ทั้งออกแบบภายในยอดเยี่ยม ถือเป็นรถครอสโอเวอร์รุ่นแรกของโลก และเป็นต้นกำเนิดของรถอเนกประสงค์ รวมถึงเชฟโรเลต แคปติวาด้วย” เอ็ด กล่าวถึงที่มาของรถอเนกประสงค์ในโลกยานยนต์
เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1948 (Chevrolet Pick-Up)
รถปิกอัพและรถแวน มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของเชฟโรเลต โดยเฉพาะรถปิกอัพรุ่นปี 1947 ซึ่งเป็นยานยนต์ของจีเอ็ม รุ่นแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง และเป็นรถที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุกรูปแบบการใช้งาน และรองรับงานหนัก เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1948 เป็นรถปิกอัพขนาดครึ่งตันที่เจาะตลาดได้ทั่วโลก
เอ็ด ให้ความเห็นถึงรถปิกอัพของเชฟโรเลตว่าเป็นรถเพื่อการใช้งานขนานแท้ รูปทรงสะดุดตา แต่ก็ใช้งานได้ดี เรียบง่าย และเข้าถึงได้ทุกคน
เชฟโรเลต คอร์เวทท์ 1953 (Chevrolet Corvette)
“เป็นรถคอร์เวทท์ รุ่นแรกในประวัติศาสตร์” เอ็ด กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของรถสปอร์ตในตำนาน ซึ่งกำเนิดขึ้นในช่วงที่เชฟโรเลต กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ได้รับการรังสรรค์โดยฮาร์ลีย์ เอิร์ล สุดยอดนักออกแบบของจีเอ็ม ในเวลานั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์สุดสปอร์ตให้แก่แบรนด์เชฟโรเลต พร้อมแข่งขันกับรถสปอร์ตจากฝั่งยุโรปที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
คอร์เวทท์ ปี 1953 มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่คือตัวถังไฟเบอร์กลาส “ผมไม่ได้ชื่นชอบดีไซน์เท่าใดนักในช่วงแรก แต่เวลานี้ผมประทับใจที่สุด ผมไม่เคยลืมครั้งแรกที่ผมได้เห็นคอร์เวทท์รุ่นนี้ ตอนนั้นผมอายุ 7 ขวบ เห็นความโฉบเฉี่ยวได้ทุกมิติเมื่อมันแล่นผ่านหน้าผมไป ท่ามกลางใบไม้แห้งที่ร่วงหล่น ผมคิดว่ามันเท่มาก”
เชฟโรเลต เบลแอร์ 1955 (Chevrolet Bel Air)
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การผลิตรถยนต์ใหม่ในปี 1955 ให้กลายเป็นรถที่มีภาพลักษณ์แบบ “โมโตรามิค” (Motoramic) เริ่มจากรถระดับพรีเมียมอย่าง เชฟโรเลต เบลแอร์ ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์บล็อกใหญ่ วี8 เป็นครั้งแรก ด้วยสมรรถนะอันทรงพลัง โฉบเฉี่ยว เปี่ยมด้วยสไตล์ล้ำสมัย ตัวถังของเบลแอร์ มีให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ทั้งคูเป้ เปิดประทุน และสเตชั่นวากอน ซึ่งสร้างความโดดเด่นให้จีเอ็ม ในช่วงปี 1955 ถึง 1957 และได้รับชื่อเล่นว่า “ไทร5” (Tri5)
“ผมคิดว่า เบลแอร์ปี 55 สมบูรณ์แบบที่สุด แตกต่างจากรถรุ่นอื่นในปีนั้น สดใหม่ ร่วมสมัย มีคุณค่ามากกว่าราคาจริง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในเชฟโรเลต ครูซ ในปัจจุบันเช่นกัน”
เชฟโรเลต คอร์เวทท์ สติงเรย์ 1963 (Chevrolet Corvette Sting Ray)
“เป็นรถที่มหัศจรรย์มาก” เอ็ดกล่าวถึงคอร์เวทท์ สติงเรย์ รถสปอร์ตที่ยกระดับไลน์คอร์เวทท์ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือของบิล มิทเชลล์ หัวหน้านักออกแบบของจีเอ็ม ที่เติมความปราดเปรียว และเพิ่มเหลี่ยมมุมให้แก่สติงเรย์ได้อย่างลงตัว นอกจากตัวถังไฟเบอร์กลาสแล้ว สติงเรย์ ยังมีความโดดเด่นตรงที่ไฟหน้าป๊อป-อัพ ควบคุมด้วยไฟฟ้า และกระจกหลังแยกส่วนเอกลัษณ์ใหม่
“ผมบรรยายถึงรถรุ่นนี้หลายครั้งมาก ทุกสิ่งทุกอย่างดูใหม่หมดจด ใหม่มากกระทั่งต้องตั้งชื่อให้ใหม่ว่า สติงเรย์ โดยรถคอร์เวทท์ ทุกรุ่นนับจากนั้นต่างได้รับอิทธิพลจากสติงเรย์ โครงสร้างห้องโดยสารแบบดูอัลค็อกพิท ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของคอร์เวทท์ และกลายเป็นเอกลักษณ์ของรถเชฟโรเลตในปัจจุบันด้วย”
เชฟโรเลต ปิกอัพ 1967 (Chevrolet Pick-Up)
ใหญ่ บึกบึน และเอนกประสงค์ คือคำจำกัดความของรถปิกอัพเชฟโรเลต ปี 1967 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกงานหนักอย่างแท้จริง มีความทรงพลัง และตอบสนองทุกการใช้งาน ทั้งการเดินทางทั่วไป และการใช้งานหนัก ซึ่งตอบโจทย์ตลาดและกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี
“เต็มเปี่ยมด้วยตัวตนความเป็นอเมริกัน เมื่อคุณเห็นปิกอัพเชฟโรเลต รุ่นนี้ คุณจะได้เห็นผู้ชายใส่กางเกงยีนส์ และมีกล่องเครื่องมือด้วย เชฟโรเลต ปิกอัพปี 1967 เสริมเอกลักษณ์ความเป็นอเมริกัน และเชฟโรเลต ไว้อย่างครบถ้วน”
เชฟโรเลต ปิกอัพ ปี 1989 (Chevrolet Pick-Up)
รถปิกอัพ มีความสำคัญมากต่อเชฟโรเลตอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายของศตวรรษที่ 20 และนับเป็นรุ่นที่ 4 ของรถปิกอัพซีรีส์ C/K (พัฒนาเพื่อจำหน่ายร่วมกันระหว่างเชฟโรเลต และจีเอ็มซี) โดดเด่นที่กรอบไฟหน้าแบบสองชั้น ตัวถังทรงเหลี่ยม ให้รูปลักษณ์สมบุกสมบันซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ปกติแล้วรถปิกอัพถูกพัฒนามาเพื่อการบรรทุกหนัก แต่กระแสการใช้งานแบบไลฟ์สไตล์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เชฟโรเลต นำเสนอแพคเกจสปอร์ตเพิ่มเข้ามา และได้รับเสียงตอบรับเป็นยอดจำหน่ายอันน่าประทับใจ
“มีดีไซน์ที่สะอาดตา แต่ก็ยังดูร่วมสมัยมาจนถึงทุกวันนี้ และสามารถทำยอดจำหน่ายที่สูงลิ่ว เรากำลังทำงานอย่างหนักในการพัฒนารถปิกอัพรุ่นใหม่ ในออฟฟิศของเราเต็มไปด้วยรูปปิกอัพคลาสสิกของเชฟโรเลต โดยเฉพาะรุ่นปี 1989 ที่เป็นแรงบันดาลใจอย่างดีเยี่ยม”
เชฟโรเลต คามาโร 2010 (Chevrolet Camaro)
เอ็ด เป็นแฟนตัวยงของคามาโร เขาเป็นเจ้าของคามาโร รุ่นคลาสสิก ปี 1969 “ผมนำคามาโรปี 2010 มาอยู่ในลิสต์นี้ แทนที่รุ่นคลาสสิกปี 1969 เพราะว่ามันเชื่อมต่อคนทั่วโลก เมื่อเราเปิดตัวรถต้นแบบออกมา มันสร้างความประทับใจให้คนรุ่นใหม่อย่างมาก”
เขาเล่าด้วยว่าเมื่อต้องพัฒนารถคามาโรรุ่นใหม่ แต่กลับนำคามาโร รุ่นคลาสสิกมาจอดในสตูดิโอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน “ผมบอกพวกเขาว่า ให้ดีไซน์รุ่นใหม่ที่ดีกว่านี้ให้ได้”
ถึงแม้ว่า คามาโร รุ่นใหม่จะมีกลิ่นอายของรุ่นปี 1967 - 1969 ในหลายจุด ทั้งรูปทรงที่บึกบึน ซุ้มล้อหลังขนาดใหญ่ แต่เอ็ดก็ชี้ว่า ดีไซน์ของปี 2010 ไม่ใช่การย้อนยุค แต่เป็นการมองไปข้างหน้า
"ผมคิดถึงอนาคตอยู่เสมอ แต่ในเมื่อคุณตระหนักถึงตำนานอันยิ่งใหญ่ของเชฟโรเลต คุณก็จะต้องสร้างสรรค์บนพื้นฐานตำนานดังกล่าว ผมไม่ได้ต้องการจะสร้างคามาโร แบบย้อนอดีตแต่อย่างใด” เอ็ด ระบุด้วยว่า ดีไซน์ของคามาโร นั้นเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น และมีความหวัง “สร้างสัญญาณที่ดีให้แก่พนักงาน และลูกค้าของจีเอ็ม มันได้จุดแสงสว่างอันน่าตื่นเต้นขึ้นมาในองค์กรของเรา”