แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการในเรื่องการรวมกิจการระหว่างพอร์ชกับโฟล์คสวาเกน แต่จากการที่เวนเดอลิน วีเดอคิง (Wendelin Wiedeking) นายใหญ่ของพอร์ชผู้ปลุกปั้นให้แบรนด์รถสปอร์ตจากเมืองสตุ๊ตการ์ทให้กลับมาเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีกำไรอย่างต่อเนื่อง ถูกบีบให้เดินลงจากตำแหน่ง CEO นั้น เท่ากับว่าเป็นสัญญาณของไฟเขียวที่ทำให้ทางรวมกิจการระหว่าง 2 แบรนด์นี้มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
ข่าวการประกาศลาออกของนายวีเดอคิงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโด่งดังมากในแวดวงอุตสากรรมยานยนต์ ถึงขนาด CNN ทำช่วงพิเศษในการวิเคราะห์สถานการณ์ของเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนับจากการเข้าร่วมงานเมื่อ 26 ปีที่แล้ว และขึ้นดำรงตำแหน่งใน CEO ของพอร์ชในปี 1993 เขาคือบุคคลสำคัญของพอร์ชในการวางรากฐานให้พอร์ชเป็นบริษัทรถสปอร์ตที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และถือเป็นผู้บริหารระดับ CEO ที่มีเงินเดือนสูงสุดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เลยทีเดียว โดยในปี 2007 คาดว่ารายได้ต่อปีของเขาอยู่ที่ 72 ล้านยูโร หรือ 3,456 ล้านบาทเลยทีเดียว
การลงจากตำแหน่งครั้งนี้เหมือนกับการถูกบีบให้ออกจากตำแหน่ง เพราะว่าทางบอร์ดบริหารของพอร์ชได้ยื่นแพ็คเกจการจ้างให้ลงจากตำแหน่งที่มีมูลค่า 71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2,556 ล้านบาท ซึ่งประเด็นหลักของการออกจากตำแหน่งครั้งนี้เป็นเพราะเขาไม่เห็นด้วยกับการเปิดทางให้บริษัทเข้าไปซื้อกิจการของโฟล์คสวาเกน เอจี ซึ่งขัดกับเสียงส่วนของของบอร์ดบริหารบริษัท ที่ต้องการเห็นพอร์ช และโฟล์คสวาเกนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
งานแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาท่ามกลางสายฝน นายวีเดอคิงกล่าวว่า เงินค่าจ้างในการลงจากตำแหน่งของเขาจะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นกองทุนการกุศลสำหรับการพัฒนาสวัสดิการทางสังคมให้กับพนักงานและคนงานของพอร์ชที่กระจายอยู่ตามโรงงานและสำนักงานต่างๆ รวมถึงการลงทุนในกิจการบางอย่างเพื่อสร้างงานขึ้นมา
นอกจากนายวีเดอคิงแล้ว นายโอลเดอร์ พี ฮาร์เตอร์ (Holger P. Härter) หัวหน้าส่วนการเงินของพอร์ชก็ถูกบีบให้ออกพร้อมกันด้วย โดยมิชาเอล มัคช์ (Michael Macht) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนผลิตและระบบโลจิสติกของพอร์ช จะขึ้นทำหน้าที่แทนนายวีเดอคิง ส่วนมัส อีดิค (Thomas Edig) หัวหน้าในส่วนทรัพยากรบุคคล จะรับหน้าที่ในส่วนกรรมการบอร์ดบริหาร
ว่ากันว่าพอร์ชจะเข้าถือหุ้นเสียงส่วนใหญ่ของโฟล์คสวาเกนจำนวน 51% และมีออพชั่นให้ซื้อเพิ่มได้จนถึงระดับ 75% โดยโปรเจ็กต์นี้ถือเป็นเรื่องที่ส่วนทางกับแนวคิดและปรัชญาการทำงานของวีเดอคิงที่คิดว่าการทำงานและดำเนินธุรกิจด้วยความเรียบง่ายไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ซึ่งการที่เดวิดกำลังจะเข้าเทคโอเวอร์กิจการของโกไลแอธตามที่สื่อมวลชนต่างประเทศตั้งฉายาเอาไว้นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันของกลุ่มทุนจากการ์ต้าซึ่งถือหุ้นอยู่ในพอร์ช 17% และคณะกรรมการบอร์ดบริหารของพอร์ชภายใต้การนำของตระกูลเพียค (Piech) โดยมีเฟอร์ดินัน เพียค เป็นผู้นำ ซึ่งเขาผู้นี้เป็นหลานชายของเฟอร์ดินันด์ พอร์ช และผู้บริหารระดับสูงของโฟล์คสวาเกน แต่มีสัดส่วนการถือหุ้นจนมีที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการบอร์ดบริหารของพอร์ช แถมยังมีชื่อของการเป็นนักบริหารที่เฉียบขาด
‘เขาแค่ทำตามคำสั่งของเบื้องบนในเรื่องของการปรับปรุงกิจการของพอร์ชในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้น มันไม่ใช่งานของเขาแล้ว ที่นี่ยังมีความต้องการและทะเยอะทะยานที่มากกว่านั้น’ ครอสตอฟ สเตอร์เมอร์ นักวิเคราะห์ของ IHS Global Insight กล่าว
วีเดอคิงเกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1952 ที่เมืองอาห์เลน ประเทศเยอรมนี และเข้าทำงานกับพอร์ชเป็นครั้งแรกปี 1983 ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการในส่วนการผลิตและจัดการวัตถุดิบของไลน์ผลิตพอร์ชที่โรงงาน Stuttgart-Zuffenhausen จากนั้นปี 1993 ก็ขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท
และภายใต้แนวคิด Lean Thinking ด้วยการลดต้นทุนการผลิตและบีบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง รวมถึงการนำเงินมาต่อยอดอย่างเช่นการผลิตเอสยูวีรุ่นคาเยนน์ที่ถูกเสียงต่อต้านในตอนแรกจากแฟนพอร์ชหัวอนุรักษ์ แต่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เขาสามารถพาพอร์ชฝ่าฟันให้หลุดออกจากวิกฤตทางด้านการเงิน และกลายเป็นบริษัทรถยนต์อิสระ (Independent Car Maker) ที่สามารถยืนด้วยลำแข้งของตัวเองท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก
‘กลยุทธ์การพัฒนาพอร์ชต่อไปในอนาคตคงจะเป็นไปได้ดีกว่า ถ้าไม่มีพวกเขาทั้ง 2 คนร่วมอยู่ด้วย’ นี่คือคำกล่าวของทั้งนายวีเดอคิงในการแถลงข่าว และการลงจากตำแหน่งครั้งนี้จะมีผลทันที นั่นเท่ากับว่าตอนนี้ พอร์ชกำลังนับถอยหลังเข้าสู่ยุคของการรวมกิจการกับโฟล์คสวาเกน ซึ่งคาดว่าตอนนี้รายละเอียดถูกดำเนินไปหลายส่วนแล้ว เหลือเพียงรายละเอียดบางอย่างเท่านั้นเองที่จะต้องมีการเจรจากันใหม่
ข่าวการประกาศลาออกของนายวีเดอคิงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโด่งดังมากในแวดวงอุตสากรรมยานยนต์ ถึงขนาด CNN ทำช่วงพิเศษในการวิเคราะห์สถานการณ์ของเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนับจากการเข้าร่วมงานเมื่อ 26 ปีที่แล้ว และขึ้นดำรงตำแหน่งใน CEO ของพอร์ชในปี 1993 เขาคือบุคคลสำคัญของพอร์ชในการวางรากฐานให้พอร์ชเป็นบริษัทรถสปอร์ตที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และถือเป็นผู้บริหารระดับ CEO ที่มีเงินเดือนสูงสุดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เลยทีเดียว โดยในปี 2007 คาดว่ารายได้ต่อปีของเขาอยู่ที่ 72 ล้านยูโร หรือ 3,456 ล้านบาทเลยทีเดียว
การลงจากตำแหน่งครั้งนี้เหมือนกับการถูกบีบให้ออกจากตำแหน่ง เพราะว่าทางบอร์ดบริหารของพอร์ชได้ยื่นแพ็คเกจการจ้างให้ลงจากตำแหน่งที่มีมูลค่า 71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2,556 ล้านบาท ซึ่งประเด็นหลักของการออกจากตำแหน่งครั้งนี้เป็นเพราะเขาไม่เห็นด้วยกับการเปิดทางให้บริษัทเข้าไปซื้อกิจการของโฟล์คสวาเกน เอจี ซึ่งขัดกับเสียงส่วนของของบอร์ดบริหารบริษัท ที่ต้องการเห็นพอร์ช และโฟล์คสวาเกนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
งานแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาท่ามกลางสายฝน นายวีเดอคิงกล่าวว่า เงินค่าจ้างในการลงจากตำแหน่งของเขาจะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นกองทุนการกุศลสำหรับการพัฒนาสวัสดิการทางสังคมให้กับพนักงานและคนงานของพอร์ชที่กระจายอยู่ตามโรงงานและสำนักงานต่างๆ รวมถึงการลงทุนในกิจการบางอย่างเพื่อสร้างงานขึ้นมา
นอกจากนายวีเดอคิงแล้ว นายโอลเดอร์ พี ฮาร์เตอร์ (Holger P. Härter) หัวหน้าส่วนการเงินของพอร์ชก็ถูกบีบให้ออกพร้อมกันด้วย โดยมิชาเอล มัคช์ (Michael Macht) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนผลิตและระบบโลจิสติกของพอร์ช จะขึ้นทำหน้าที่แทนนายวีเดอคิง ส่วนมัส อีดิค (Thomas Edig) หัวหน้าในส่วนทรัพยากรบุคคล จะรับหน้าที่ในส่วนกรรมการบอร์ดบริหาร
ว่ากันว่าพอร์ชจะเข้าถือหุ้นเสียงส่วนใหญ่ของโฟล์คสวาเกนจำนวน 51% และมีออพชั่นให้ซื้อเพิ่มได้จนถึงระดับ 75% โดยโปรเจ็กต์นี้ถือเป็นเรื่องที่ส่วนทางกับแนวคิดและปรัชญาการทำงานของวีเดอคิงที่คิดว่าการทำงานและดำเนินธุรกิจด้วยความเรียบง่ายไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ซึ่งการที่เดวิดกำลังจะเข้าเทคโอเวอร์กิจการของโกไลแอธตามที่สื่อมวลชนต่างประเทศตั้งฉายาเอาไว้นั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันของกลุ่มทุนจากการ์ต้าซึ่งถือหุ้นอยู่ในพอร์ช 17% และคณะกรรมการบอร์ดบริหารของพอร์ชภายใต้การนำของตระกูลเพียค (Piech) โดยมีเฟอร์ดินัน เพียค เป็นผู้นำ ซึ่งเขาผู้นี้เป็นหลานชายของเฟอร์ดินันด์ พอร์ช และผู้บริหารระดับสูงของโฟล์คสวาเกน แต่มีสัดส่วนการถือหุ้นจนมีที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการบอร์ดบริหารของพอร์ช แถมยังมีชื่อของการเป็นนักบริหารที่เฉียบขาด
‘เขาแค่ทำตามคำสั่งของเบื้องบนในเรื่องของการปรับปรุงกิจการของพอร์ชในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้น มันไม่ใช่งานของเขาแล้ว ที่นี่ยังมีความต้องการและทะเยอะทะยานที่มากกว่านั้น’ ครอสตอฟ สเตอร์เมอร์ นักวิเคราะห์ของ IHS Global Insight กล่าว
วีเดอคิงเกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1952 ที่เมืองอาห์เลน ประเทศเยอรมนี และเข้าทำงานกับพอร์ชเป็นครั้งแรกปี 1983 ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการในส่วนการผลิตและจัดการวัตถุดิบของไลน์ผลิตพอร์ชที่โรงงาน Stuttgart-Zuffenhausen จากนั้นปี 1993 ก็ขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท
และภายใต้แนวคิด Lean Thinking ด้วยการลดต้นทุนการผลิตและบีบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง รวมถึงการนำเงินมาต่อยอดอย่างเช่นการผลิตเอสยูวีรุ่นคาเยนน์ที่ถูกเสียงต่อต้านในตอนแรกจากแฟนพอร์ชหัวอนุรักษ์ แต่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เขาสามารถพาพอร์ชฝ่าฟันให้หลุดออกจากวิกฤตทางด้านการเงิน และกลายเป็นบริษัทรถยนต์อิสระ (Independent Car Maker) ที่สามารถยืนด้วยลำแข้งของตัวเองท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก
‘กลยุทธ์การพัฒนาพอร์ชต่อไปในอนาคตคงจะเป็นไปได้ดีกว่า ถ้าไม่มีพวกเขาทั้ง 2 คนร่วมอยู่ด้วย’ นี่คือคำกล่าวของทั้งนายวีเดอคิงในการแถลงข่าว และการลงจากตำแหน่งครั้งนี้จะมีผลทันที นั่นเท่ากับว่าตอนนี้ พอร์ชกำลังนับถอยหลังเข้าสู่ยุคของการรวมกิจการกับโฟล์คสวาเกน ซึ่งคาดว่าตอนนี้รายละเอียดถูกดำเนินไปหลายส่วนแล้ว เหลือเพียงรายละเอียดบางอย่างเท่านั้นเองที่จะต้องมีการเจรจากันใหม่