ข่าวต่างประเทศ - เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศสเปน ประกาศเตรียมติดตั้งแผงโซลาร์เซลส์ (Solar Cells) พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 85,000 แผง ขนาดใหญ่ถึงกว่า 2 ล้านตารางนิ้ว หรือเกือบเท่ากับสนามฟุตบอล 3 สนาม ในศูนย์การผลิตรถยนต์ในเมืองซาราโกซา โดยสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 12 เมกะวัตต์ ป้อนการใช้งานในศูนย์การผลิตได้ถึง 1 ใน 3 เทียบได้กับการใช้ไฟฟ้าใน 4,600 ครัวเรือนในสเปน
แผงโซลาร์เซลส์ที่จีเอ็มนำมาใช้นั้นแตกต่างจากแผงโซลาร์เซลส์ทั่วไป โดยจะมีความบางและสามารถม้วนพับได้ โดยบริษัท เอเนอร์จี คอนเวอร์ชั่น ดีไวซ์ (อีซีดี) เป็นผู้ผลิต แผงโซลาร์เซลส์เทคโนโลยีใหม่นี้ สามารถติดตั้งได้ง่าย เพราะมีขนาดบางและม้วนงอได้คล้ายการติดตั้งพรม อีซีดี คาดการณ์ว่า จะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ 15.1 ล้านหน่วยหรือกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ใกล้เคียงกับกับการใช้พลังงานของชาวสเปน 3,214 ครัวเรือน และจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 6,700 ตันต่อปี ขณะที่พลังไฟฟ้าที่เกินมาจะขายให้กับระบบสาธารณูปโภคท้องถิ่นโดยมีข้อตกลง 25 ปี
ด้านผู้บริหารของจีเอ็มคาดว่า ต้นทุนสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลส์ในศูนย์การผลิตเมืองซาราโกซาจะอยู่ที่ประมาณ 78 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2,600 ล้านบาท โดยพร้อมใช้งานได้ภายในเดือนกันยายนนี้
“โครงการซาราโกซาพิสูจน์ว่า จีเอ็มกำลังพยายามอย่างหนักที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของโลกของเรา” แกรี่ คาวเกอร์ กลุ่มรองประธานฝ่ายผลิตและแรงงานสัมพันธ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา กล่าวและเสริมว่า “เรามีความภาคภูมิใจที่เป็นผู้นำในการใช้พลังงานทดแทน”
นอกจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จีเอ็มยังถือเป็นองค์กรที่ใช้พลังงานแปรรูปมาจากขยะ (Landfill gas) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยจีเอ็มใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวในศูนย์การผลิตรถยนต์ 6 แห่ง อาทิ ศูนย์ฯฟอร์ต เวนย์ ในรัฐอินเดียน่า และศูนย์ฯโอเรียน ในรัฐมิชิแกน หากรวมกำลังผลิตพลังงานจากขยะที่ใช้ในศูนย์ฯ ทั้ง 6 แห่ง เทียบเท่าได้กับการใช้พลังงานถึง 25,000 ครัวเรือน ซึ่งจีเอ็มสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 165 ล้านบาทต่อปี
สำหรับศูนย์การผลิตรถยนต์ในซาราโกซา มีศักยภาพการผลิตได้ถึง 480,000 คันต่อปี ที่ผี่านมา จีเอ็มได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลส์ที่มีเทคโนโลยีคล้ายกันนี้ในศูนย์การผลิตฯ หลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรป
แผงโซลาร์เซลส์ที่จีเอ็มนำมาใช้นั้นแตกต่างจากแผงโซลาร์เซลส์ทั่วไป โดยจะมีความบางและสามารถม้วนพับได้ โดยบริษัท เอเนอร์จี คอนเวอร์ชั่น ดีไวซ์ (อีซีดี) เป็นผู้ผลิต แผงโซลาร์เซลส์เทคโนโลยีใหม่นี้ สามารถติดตั้งได้ง่าย เพราะมีขนาดบางและม้วนงอได้คล้ายการติดตั้งพรม อีซีดี คาดการณ์ว่า จะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ 15.1 ล้านหน่วยหรือกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ใกล้เคียงกับกับการใช้พลังงานของชาวสเปน 3,214 ครัวเรือน และจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 6,700 ตันต่อปี ขณะที่พลังไฟฟ้าที่เกินมาจะขายให้กับระบบสาธารณูปโภคท้องถิ่นโดยมีข้อตกลง 25 ปี
ด้านผู้บริหารของจีเอ็มคาดว่า ต้นทุนสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลส์ในศูนย์การผลิตเมืองซาราโกซาจะอยู่ที่ประมาณ 78 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2,600 ล้านบาท โดยพร้อมใช้งานได้ภายในเดือนกันยายนนี้
“โครงการซาราโกซาพิสูจน์ว่า จีเอ็มกำลังพยายามอย่างหนักที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญของโลกของเรา” แกรี่ คาวเกอร์ กลุ่มรองประธานฝ่ายผลิตและแรงงานสัมพันธ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา กล่าวและเสริมว่า “เรามีความภาคภูมิใจที่เป็นผู้นำในการใช้พลังงานทดแทน”
นอกจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จีเอ็มยังถือเป็นองค์กรที่ใช้พลังงานแปรรูปมาจากขยะ (Landfill gas) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยจีเอ็มใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวในศูนย์การผลิตรถยนต์ 6 แห่ง อาทิ ศูนย์ฯฟอร์ต เวนย์ ในรัฐอินเดียน่า และศูนย์ฯโอเรียน ในรัฐมิชิแกน หากรวมกำลังผลิตพลังงานจากขยะที่ใช้ในศูนย์ฯ ทั้ง 6 แห่ง เทียบเท่าได้กับการใช้พลังงานถึง 25,000 ครัวเรือน ซึ่งจีเอ็มสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 165 ล้านบาทต่อปี
สำหรับศูนย์การผลิตรถยนต์ในซาราโกซา มีศักยภาพการผลิตได้ถึง 480,000 คันต่อปี ที่ผี่านมา จีเอ็มได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลส์ที่มีเทคโนโลยีคล้ายกันนี้ในศูนย์การผลิตฯ หลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรป