ข่าวในประเทศ - เปิดแผนสเต็ปสองค่าย “มาสด้า” โรดแมปสู่เป้าหมายขยับขึ้นแท่น “ท็อปโฟร์” ติด 1 ใน 4 อันดับผู้นำตลาดรถไทย หลังจากประกาศลงทุนเพิ่มในไทย ร่วมกับพันธมิตรเป็นมูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อผลิตเก๋งซับคอมแพ็กต์ “มาสด้า2” ในปี 2552 รวมถึงสปอร์ตซีดาน “มาสด้า3” จากนั้นอีกหนึ่งปีน่าจะถึงเวลาเปลี่ยนโฉมปิกอัพ “บีที-50” ในช่วงประมาณปี 2553 ทำให้ค่ายมาสด้าพร้อมรบครอบคลุมทุกเซกเม้นท์หลัก ยิ่งเมื่อบวกกับการขยายเครือข่ายรองรับมากกว่า 100 แห่ง คาดว่าจะผลักดันให้ยอดขายทะลุ 3-4 หมื่นคันต่อปี ขณะที่ปีหนูไฟ 2551 นี้ ใช่ว่ามาสด้าจะปล่อยให้สูญญากาศ เพราะเตรียมเขย่าตลาดตั้งแต่ต้นปี กับปิกอัพบีที-50 ไมเนอร์เชนจ์ ที่ทำการแต่งหน้าทาปากใหม่ แต่ที่สุดก็ยังไม่ยอมปลดล็อคความเร็วเอาใจนักซิ่งแต่อย่างใด จากนั้นช่วงกลางปีนำเก๋งคอมแพ็กต์รุ่น “3” มาแต่งตัวใหม่ในสไตล์ของ “มาสด้า สปีด” ตอกย้ำความเป็นสปอร์ตซีดานชัดเจนขึ้นไปอีก
ตลาดรถยนต์ไทยปีหมูไฟ แม้จะยังไม่สรุปปิดตัวเลขยอดขายเป็นทางการ แต่หากดูแนวโน้มแล้วคงจะติดลบประมาณ 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หรือมีตัวเลขยอดขายระดับ 6.3-6.4 แสนคัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางการเมือง และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง “อีซูซุ” ยังต้านไม่อยู่ร่วงไปถึงกว่า 10% โดยในกลุ่มรถตลาดที่พอประครองตัวไปได้ ติดลบเล็กน้อยก็มีเพียง “โตโยต้า-ฮอนด้า” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนค่ายรถระดับกลาง “มาสด้า” ถือเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะเมื่อดูยอดขาย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.2550) ทำได้กว่า 1.35 หมื่นคัน ลดลงจากปี 2549 เพียง 5.6% ทั้งที่ไม่มีรถโมเดลใหม่สู่ตลาดแม้แต่รุ่นเดียว แม้จะเทียบกับนิสสันที่มียอดขายบวกกว่า 22% ไม่ได้ แต่นั่นเพราะนิสสันมีปิกอัพโฉมใหม่มาช่วยชีวิตไว้ จึงทำให้สามารถฝ่าสภาวะตลาดดิ่งเหวไปได้
ทั้งนี้หากย้อนดูเส้นทางของค่ายมาสด้า นับตั้งแต่เข้ามาดำเนินการในไทยเอง โดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2542 จากยอดขายเพียงปีละไม่ถึง 4 พันคัน แต่ในช่วงระยะเวลา 8 ปี พุ่งขึ้นเป็นเกือบสองหมื่นคันต่อปี โดยเฉพาะในปี 2548 ที่สภาวะเศรษฐกิจฟูฟ่องทำได้ถึง 1.86 หมื่นคัน แม้ในปีต่อมายอดขายจะลดลงเหลือกว่า 1.6 หมื่นคัน และล่าสุดประมาณ 1.5 หมื่นคัน แต่นั่นก็เป็นไปตามสภาวะตลาด และหากเทียบกับทุกยี่ห้อ ยังถือว่ามาสด้ารักษาอัตราการเติบโตของยอดขาย ได้เหนือกว่าภาพรวมตลาดรถทุกๆ ปี
ผลงานที่ประสบความสำเร็จของมาสด้าดังกล่าว เกิดจากการวางแผนธุรกิจที่สอดคล้องกับตัวเอง และทิศทางของตลาด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาอาจถือได้ว่า เป็นการดำเนินงานตามแผนสเต็ปแรก ซึ่งเริ่มต้นแทนที่มาสด้าจะเร่งสร้างตัวเลขยอดขาย แต่กลับให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกรถยนต์มาสด้า ด้วยการนำแนวคิด “ซูม-ซูม” มาใช้เปรียบเทียบความเป็นสปอร์ต หรือการขับขี่ที่สนุกสนาน ในรถยนต์มาสด้าทุกรุ่น
และเมื่อมาสด้าสร้างภาพลักษณ์ซูม-ซูม จนเป็นที่เข้าใจของลูกค้า พร้อมกับให้สัมผัสดีเอ็นเอสปอร์ตแบบซูม-ซูม จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่แนะนำสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็น มาสด้า เอ็มเอ็กซ์-5 หรือมาสด้า อาร์เอ็กซ์-8 จนเมื่อทุกอย่างพร้อมจึงเป็นเวลาของเป้าหมายจริง...... “มาสด้า3” สปอร์ตซีดานที่รวมแนวคิดซูม-ซูมไว้อย่างชัดเจน
จึงไม่แปลกที่มาสด้าได้สร้างบรรยากาศ “ขายใบจอง” ให้หวนกลับมาอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนานนับสิบปี เมื่อลูกค้าแห่จองซื้อรถมาสด้า 3 มากกว่าปริมาณการผลิต ทำให้ช่วงแรกของการเปิดตัว ลูกค้าต้องรอรับรถนานเป็นปี!!
เท่านั้นไม่พอมาสด้าได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ กับปิกอัพที่แค็บสามารถเปิดได้ หรือ “ฟรีสไตล์แค็บ” จนได้รับการตอบรับสูงเช่นกัน และนั่นนำมาสู่ปิกอัพรุ่นล่าสุด “มาสด้า บีที-50” ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขาย ผลักดันตัวเลขพุ่งแตะเกือบสองหมื่นคัน ภายหลังการเปิดตัวเมื่อปี 2548
นี่คือความสำเร็จของมาสด้าที่ผ่านมา แต่สำหรับก้าวต่อไปของมาสด้า ยิ่งน่าจับตามองอย่างยิ่ง!! เมื่อมาสด้าได้ประกาศลงทุนล่าสุดช่วงปลายปี 2550 ที่ผ่านมา โดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จับมือกับพันธมิตร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี เพิ่มการลงทุนในไทยอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีมูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตรถยนต์นั่งกลุ่ม B-Segment หรือเก๋งซับคอมแพ็กต์ในไทย
ถือเป็นเดินหน้าสู่แผนขั้นที่สองของมาสด้าในไทยก็ว่าได้ หลังจากสเต็ปแรกได้ลงทุนตั้งโรงงานผลิตปิกอัพ และสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า หรือแบรนด์อิมเมจ จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ซึ่งเห็นได้จากความสำเร็จของมาสด้า3 และปิกอัพบีที-50
สำหรับเก๋งซับคอมแพ็กต์ ถือเป็นรถที่มีตลาดขนาดใหญ่อยู่ในทั่วโลก แม้แต่ไทยก็ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันมีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 50% ของตลาดเก๋งทั้งหมด นี่จึงทำให้มาสด้าตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานผลิตเก๋งซับคอมแพ็กต์ในไทย
ส่วนสาเหตุทำไมมาสด้าไม่เลือกผลิตอีโคคาร์ ที่รัฐบาลไทยผลักดันให้เป็นโปรดักซ์แชมเปี้ยนคู่กับปิกอัพ เนื่องจากมาสด้า-ฟอร์ดมองตลาด A-Segment หรือซิตี้คาร์ ยังมีข้อจำกัดเรื่องของตลาดไม่เป็นที่นิยมทั่วโลก เท่ากับซับคอมแพ็กต์ แม้จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดภาษีสรรพสามิตเหลือเพียง 17% แต่หากเทียบกับเก๋งซับคอมแพ็กต์ที่สามารถเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ซึ่งได้รับการลดภาษีสรรพสามิตเหลือ 25% ขณะที่อีโคคาร์ยังมีข้อบังคับเรื่องมาตรฐานมลพิษระดับสูง จึงทำให้ต้นทุนสูงไปด้วย ส่วนต่างของราคาระหว่างซับคอมแพ็กต์และอีโคคาร์จึงไม่แตกต่างกันมากนัก
นี่จึงเป็นเหตุผลให้มาสด้าและฟอร์ด ตัดสินใจเลือกลงทุนผลิตรถซับคอมแพ็กต์ พร้อมกับใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกเก๋งซับคอมแพ็กต์เพิ่มอีกรุ่น เพราะเป็นรถที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงอยู่แล้ว จากปัจจุบันที่มีเพียงปิกอัพโมเดลเดียว
สำหรับเก๋งซับคอมแพ็กต์ที่จะผลิตในไทย เป็นรุ่น “มาสด้า2” ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ญี่ปุ่นเรียกชื่อเดมิโอ) โดยเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมา แต่เวอร์ชั่นที่จะผลิตในไทยจะเป็นโฉมใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มไลน์ผลิตและแนะนำสู่ตลาดในปี 2552 และด้วยเงินลงทุนเมื่อรวมกับฟอร์ด มูลค่าสูงถึงเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จึงแน่นอนว่า...... มาสด้า 2 จะเป็นอีก 1 ใน 3 โมเดลหลักของมาสด้าในไทย
ขณะที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันประมาณปี 2553 มาสด้าก็น่าจะถึงเวลาปรับโฉมให้กับปิกอัพบีที-50 ชนิดที่เรียกว่าโมเดลเชนจ์เสียที ว่ากันว่าจะเป็นการเปลี่ยนใหม่หมด ทั้งโครงสร้างตัวถัง และแชสซีส์ ให้มีขนาดที่ใหญ่แบบสุดๆ ตามเทรนด์ และไม่เพียงเท่านั้นในช่วงปี 2552 ถึงเวลาปรับโฉม “มาสด้า3” (ญี่ปุ่นเรียกเอกเซล่า) เช่นเดียวกัน หลังจากทำตลาดมานาน 6-7 ปีแล้ว
ฉะนั้นในช่วงปี 2552-2553 มาสด้าจึงมีความพร้อมรบมากที่สุด โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่ครอบคลุมทุกเซกเม้นท์หลักๆ ในไทย ไม่ว่าจะเป็นปิกอัพ 1 ตัน เก๋งคอมแพ็กต์ และซับคอมแพ็กต์ เหตุนี้มาสด้าย่อมคาดหวังกับแผนสเต็ปสองนี่เป็นอย่างมาก เพราะหากดูตัวเลขปัจจุบันอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 2 หมื่นคัน แต่เมื่อถึงเวลาตามแผนดังกล่าว ตัวเลขยอดขายย่อมต้องทะลุเป็นอีกเท่าตัว หรือไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นคันแน่นอน!!
นั่นย่อมหมายความว่า......ตัวเลข 3-4 หมื่นคัน ได้ส่งให้ค่ายมาสด้าผงาดขึ้นมา ติดกลุ่ม 1 ใน 4 อันดับแรกผู้นำตลาดรถไทย หรือ “ท็อปโฟร์” แน่ๆ จากปัจจุบัน (ม.ค.-พ.ย.2550) มาสด้าอยู่อันดับ 7 ของตลาด หรืออันดับ 8 ของตลาดเมื่อปี 2549
ทั้งนี้หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ค่ายรถที่จะถูกมาสด้าเขี่ยร่วง ย่อมต้องเป็นนิสสัน และมิตซูบิชิ ที่มียอดขายอยู่ในระดับ 3-4 หมื่นคันต่อปี พร้อมกับโดดข้ามหัวเชฟโรเลต และพันธมิตฟอร์ดอีกสองยี่ห้อ ขณะที่อันดับ 1-3 ที่เป็นของ โตโยต้า อีซูซุ และฮอนด้า คงยังไม่ไปเบียดแทรกได้ เพราะมีตัวเลขยอดขายต่อปีมากกว่า 6 หมื่นคัน ไปจนถึงสูงสุดเกือบ 3 แสนคัน
ส่วนในปี 2551 ที่เป็นรอยต่อระหว่างแผนธุรกิจสเต็ปแรกกับสอง มาสด้าไม่ได้ปล่อยให้สุญญากาศแต่อย่างใด โดยได้มีการเตรียมรุกตลาดต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหนูไฟกันเลยทีเดียว กับการเปิดตัวรถตัวธงปิกอัพมาสด้า บีที-50 ใหม่ ซึ่งเป็นการปรับโฉมครั้งแรก นับตั้งแต่เปิดตัวมาเมื่อปี 2548
มาสด้า บีที-50 ใหม่ จะเปิดประมาณเดือนมีนาคม โดยได้รับการแต่งหน้าทาปากใหม่ นับตั้งแต่กระจังหน้า ไฟหน้า และท้ายใหม่ ขณะที่ภายในก็มีการเพิ่มอุปกรณ์ รวมถึงเบาะนั่งเปลี่ยนเป็นสีเบส และขาว-ดำ แต่จำนวนรุ่นยังคงมีเท่าเดิม รวมถึงราคาจำหน่าย ส่วนที่มีการคาดว่ามาสด้าจะปลดล็อคความเร็วสูงสุด จากที่รุ่นปัจจุบันล็อคไว้ที่ประมาณ 160 กม./ชม.นั้น เป็นที่ยืนยันแล้วว่า จะยังไม่มีการปลดล็อคแต่อย่างใด
จากนั้นช่วงกลางปี หรือประมาณเดือนมิถุนายน มาสด้าจะทำการแต่งตัวใหม่ให้กับ “มาสด้า3” โดยได้เพิ่มความโฉบเฉี่ยวมากขึ้น ในสไตล์การแต่งรอบคันเช่นเดียวกับ “มาสด้า สปีด” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเพิ่มความแรงและตกแต่งแบบสปอร์ตให้กับรถมาสด้าทีบัพ้เตรียมรุกตลาดต่อเนื่อง โไว้อย่างชัดเจน
ในส่วนของเครือข่ายการจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการขยายผลิตภัณฑ์ และโดยเฉพาะยอดขายที่ปรับเพิ่มตามแผนปีละ 3-4 หมื่นคัน มาสด้าจึงเตรียมจะขยายโชว์รูมและศูนย์บริการทั่วประเทศรองรับ ซึ่งในช่วง 1-2 ปีจากนี้ไป จะต้องเพิ่มให้ได้มากกว่า 100 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 92 แห่ง ทั้งหมดเป็นโรดแมปของค่าย “มาสด้า” ตามแผนสเต็ปสอง ซึ่งจะเริ่มเห็นผลเป็นรูปร่างชัดเจนในปี 2552-2553 ส่วนจะสำเร็จหรือไม่? คงต้องติดตามกันต่อไป!!
ตลาดรถยนต์ไทยปีหมูไฟ แม้จะยังไม่สรุปปิดตัวเลขยอดขายเป็นทางการ แต่หากดูแนวโน้มแล้วคงจะติดลบประมาณ 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หรือมีตัวเลขยอดขายระดับ 6.3-6.4 แสนคัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางการเมือง และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ที่แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง “อีซูซุ” ยังต้านไม่อยู่ร่วงไปถึงกว่า 10% โดยในกลุ่มรถตลาดที่พอประครองตัวไปได้ ติดลบเล็กน้อยก็มีเพียง “โตโยต้า-ฮอนด้า” เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนค่ายรถระดับกลาง “มาสด้า” ถือเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เพราะเมื่อดูยอดขาย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.2550) ทำได้กว่า 1.35 หมื่นคัน ลดลงจากปี 2549 เพียง 5.6% ทั้งที่ไม่มีรถโมเดลใหม่สู่ตลาดแม้แต่รุ่นเดียว แม้จะเทียบกับนิสสันที่มียอดขายบวกกว่า 22% ไม่ได้ แต่นั่นเพราะนิสสันมีปิกอัพโฉมใหม่มาช่วยชีวิตไว้ จึงทำให้สามารถฝ่าสภาวะตลาดดิ่งเหวไปได้
ทั้งนี้หากย้อนดูเส้นทางของค่ายมาสด้า นับตั้งแต่เข้ามาดำเนินการในไทยเอง โดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2542 จากยอดขายเพียงปีละไม่ถึง 4 พันคัน แต่ในช่วงระยะเวลา 8 ปี พุ่งขึ้นเป็นเกือบสองหมื่นคันต่อปี โดยเฉพาะในปี 2548 ที่สภาวะเศรษฐกิจฟูฟ่องทำได้ถึง 1.86 หมื่นคัน แม้ในปีต่อมายอดขายจะลดลงเหลือกว่า 1.6 หมื่นคัน และล่าสุดประมาณ 1.5 หมื่นคัน แต่นั่นก็เป็นไปตามสภาวะตลาด และหากเทียบกับทุกยี่ห้อ ยังถือว่ามาสด้ารักษาอัตราการเติบโตของยอดขาย ได้เหนือกว่าภาพรวมตลาดรถทุกๆ ปี
ผลงานที่ประสบความสำเร็จของมาสด้าดังกล่าว เกิดจากการวางแผนธุรกิจที่สอดคล้องกับตัวเอง และทิศทางของตลาด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาอาจถือได้ว่า เป็นการดำเนินงานตามแผนสเต็ปแรก ซึ่งเริ่มต้นแทนที่มาสด้าจะเร่งสร้างตัวเลขยอดขาย แต่กลับให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกรถยนต์มาสด้า ด้วยการนำแนวคิด “ซูม-ซูม” มาใช้เปรียบเทียบความเป็นสปอร์ต หรือการขับขี่ที่สนุกสนาน ในรถยนต์มาสด้าทุกรุ่น
และเมื่อมาสด้าสร้างภาพลักษณ์ซูม-ซูม จนเป็นที่เข้าใจของลูกค้า พร้อมกับให้สัมผัสดีเอ็นเอสปอร์ตแบบซูม-ซูม จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่แนะนำสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็น มาสด้า เอ็มเอ็กซ์-5 หรือมาสด้า อาร์เอ็กซ์-8 จนเมื่อทุกอย่างพร้อมจึงเป็นเวลาของเป้าหมายจริง...... “มาสด้า3” สปอร์ตซีดานที่รวมแนวคิดซูม-ซูมไว้อย่างชัดเจน
จึงไม่แปลกที่มาสด้าได้สร้างบรรยากาศ “ขายใบจอง” ให้หวนกลับมาอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนานนับสิบปี เมื่อลูกค้าแห่จองซื้อรถมาสด้า 3 มากกว่าปริมาณการผลิต ทำให้ช่วงแรกของการเปิดตัว ลูกค้าต้องรอรับรถนานเป็นปี!!
เท่านั้นไม่พอมาสด้าได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ กับปิกอัพที่แค็บสามารถเปิดได้ หรือ “ฟรีสไตล์แค็บ” จนได้รับการตอบรับสูงเช่นกัน และนั่นนำมาสู่ปิกอัพรุ่นล่าสุด “มาสด้า บีที-50” ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขาย ผลักดันตัวเลขพุ่งแตะเกือบสองหมื่นคัน ภายหลังการเปิดตัวเมื่อปี 2548
นี่คือความสำเร็จของมาสด้าที่ผ่านมา แต่สำหรับก้าวต่อไปของมาสด้า ยิ่งน่าจับตามองอย่างยิ่ง!! เมื่อมาสด้าได้ประกาศลงทุนล่าสุดช่วงปลายปี 2550 ที่ผ่านมา โดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จับมือกับพันธมิตร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี เพิ่มการลงทุนในไทยอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีมูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตรถยนต์นั่งกลุ่ม B-Segment หรือเก๋งซับคอมแพ็กต์ในไทย
ถือเป็นเดินหน้าสู่แผนขั้นที่สองของมาสด้าในไทยก็ว่าได้ หลังจากสเต็ปแรกได้ลงทุนตั้งโรงงานผลิตปิกอัพ และสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า หรือแบรนด์อิมเมจ จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ซึ่งเห็นได้จากความสำเร็จของมาสด้า3 และปิกอัพบีที-50
สำหรับเก๋งซับคอมแพ็กต์ ถือเป็นรถที่มีตลาดขนาดใหญ่อยู่ในทั่วโลก แม้แต่ไทยก็ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันมีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 50% ของตลาดเก๋งทั้งหมด นี่จึงทำให้มาสด้าตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานผลิตเก๋งซับคอมแพ็กต์ในไทย
ส่วนสาเหตุทำไมมาสด้าไม่เลือกผลิตอีโคคาร์ ที่รัฐบาลไทยผลักดันให้เป็นโปรดักซ์แชมเปี้ยนคู่กับปิกอัพ เนื่องจากมาสด้า-ฟอร์ดมองตลาด A-Segment หรือซิตี้คาร์ ยังมีข้อจำกัดเรื่องของตลาดไม่เป็นที่นิยมทั่วโลก เท่ากับซับคอมแพ็กต์ แม้จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดภาษีสรรพสามิตเหลือเพียง 17% แต่หากเทียบกับเก๋งซับคอมแพ็กต์ที่สามารถเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ซึ่งได้รับการลดภาษีสรรพสามิตเหลือ 25% ขณะที่อีโคคาร์ยังมีข้อบังคับเรื่องมาตรฐานมลพิษระดับสูง จึงทำให้ต้นทุนสูงไปด้วย ส่วนต่างของราคาระหว่างซับคอมแพ็กต์และอีโคคาร์จึงไม่แตกต่างกันมากนัก
นี่จึงเป็นเหตุผลให้มาสด้าและฟอร์ด ตัดสินใจเลือกลงทุนผลิตรถซับคอมแพ็กต์ พร้อมกับใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกเก๋งซับคอมแพ็กต์เพิ่มอีกรุ่น เพราะเป็นรถที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงอยู่แล้ว จากปัจจุบันที่มีเพียงปิกอัพโมเดลเดียว
สำหรับเก๋งซับคอมแพ็กต์ที่จะผลิตในไทย เป็นรุ่น “มาสด้า2” ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ญี่ปุ่นเรียกชื่อเดมิโอ) โดยเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมา แต่เวอร์ชั่นที่จะผลิตในไทยจะเป็นโฉมใหม่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มไลน์ผลิตและแนะนำสู่ตลาดในปี 2552 และด้วยเงินลงทุนเมื่อรวมกับฟอร์ด มูลค่าสูงถึงเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จึงแน่นอนว่า...... มาสด้า 2 จะเป็นอีก 1 ใน 3 โมเดลหลักของมาสด้าในไทย
ขณะที่ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันประมาณปี 2553 มาสด้าก็น่าจะถึงเวลาปรับโฉมให้กับปิกอัพบีที-50 ชนิดที่เรียกว่าโมเดลเชนจ์เสียที ว่ากันว่าจะเป็นการเปลี่ยนใหม่หมด ทั้งโครงสร้างตัวถัง และแชสซีส์ ให้มีขนาดที่ใหญ่แบบสุดๆ ตามเทรนด์ และไม่เพียงเท่านั้นในช่วงปี 2552 ถึงเวลาปรับโฉม “มาสด้า3” (ญี่ปุ่นเรียกเอกเซล่า) เช่นเดียวกัน หลังจากทำตลาดมานาน 6-7 ปีแล้ว
ฉะนั้นในช่วงปี 2552-2553 มาสด้าจึงมีความพร้อมรบมากที่สุด โดยมีผลิตภัณฑ์ใหม่ครอบคลุมทุกเซกเม้นท์หลักๆ ในไทย ไม่ว่าจะเป็นปิกอัพ 1 ตัน เก๋งคอมแพ็กต์ และซับคอมแพ็กต์ เหตุนี้มาสด้าย่อมคาดหวังกับแผนสเต็ปสองนี่เป็นอย่างมาก เพราะหากดูตัวเลขปัจจุบันอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 2 หมื่นคัน แต่เมื่อถึงเวลาตามแผนดังกล่าว ตัวเลขยอดขายย่อมต้องทะลุเป็นอีกเท่าตัว หรือไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นคันแน่นอน!!
นั่นย่อมหมายความว่า......ตัวเลข 3-4 หมื่นคัน ได้ส่งให้ค่ายมาสด้าผงาดขึ้นมา ติดกลุ่ม 1 ใน 4 อันดับแรกผู้นำตลาดรถไทย หรือ “ท็อปโฟร์” แน่ๆ จากปัจจุบัน (ม.ค.-พ.ย.2550) มาสด้าอยู่อันดับ 7 ของตลาด หรืออันดับ 8 ของตลาดเมื่อปี 2549
ทั้งนี้หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ค่ายรถที่จะถูกมาสด้าเขี่ยร่วง ย่อมต้องเป็นนิสสัน และมิตซูบิชิ ที่มียอดขายอยู่ในระดับ 3-4 หมื่นคันต่อปี พร้อมกับโดดข้ามหัวเชฟโรเลต และพันธมิตฟอร์ดอีกสองยี่ห้อ ขณะที่อันดับ 1-3 ที่เป็นของ โตโยต้า อีซูซุ และฮอนด้า คงยังไม่ไปเบียดแทรกได้ เพราะมีตัวเลขยอดขายต่อปีมากกว่า 6 หมื่นคัน ไปจนถึงสูงสุดเกือบ 3 แสนคัน
ส่วนในปี 2551 ที่เป็นรอยต่อระหว่างแผนธุรกิจสเต็ปแรกกับสอง มาสด้าไม่ได้ปล่อยให้สุญญากาศแต่อย่างใด โดยได้มีการเตรียมรุกตลาดต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหนูไฟกันเลยทีเดียว กับการเปิดตัวรถตัวธงปิกอัพมาสด้า บีที-50 ใหม่ ซึ่งเป็นการปรับโฉมครั้งแรก นับตั้งแต่เปิดตัวมาเมื่อปี 2548
มาสด้า บีที-50 ใหม่ จะเปิดประมาณเดือนมีนาคม โดยได้รับการแต่งหน้าทาปากใหม่ นับตั้งแต่กระจังหน้า ไฟหน้า และท้ายใหม่ ขณะที่ภายในก็มีการเพิ่มอุปกรณ์ รวมถึงเบาะนั่งเปลี่ยนเป็นสีเบส และขาว-ดำ แต่จำนวนรุ่นยังคงมีเท่าเดิม รวมถึงราคาจำหน่าย ส่วนที่มีการคาดว่ามาสด้าจะปลดล็อคความเร็วสูงสุด จากที่รุ่นปัจจุบันล็อคไว้ที่ประมาณ 160 กม./ชม.นั้น เป็นที่ยืนยันแล้วว่า จะยังไม่มีการปลดล็อคแต่อย่างใด
จากนั้นช่วงกลางปี หรือประมาณเดือนมิถุนายน มาสด้าจะทำการแต่งตัวใหม่ให้กับ “มาสด้า3” โดยได้เพิ่มความโฉบเฉี่ยวมากขึ้น ในสไตล์การแต่งรอบคันเช่นเดียวกับ “มาสด้า สปีด” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นเพิ่มความแรงและตกแต่งแบบสปอร์ตให้กับรถมาสด้าทีบัพ้เตรียมรุกตลาดต่อเนื่อง โไว้อย่างชัดเจน
ในส่วนของเครือข่ายการจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการขยายผลิตภัณฑ์ และโดยเฉพาะยอดขายที่ปรับเพิ่มตามแผนปีละ 3-4 หมื่นคัน มาสด้าจึงเตรียมจะขยายโชว์รูมและศูนย์บริการทั่วประเทศรองรับ ซึ่งในช่วง 1-2 ปีจากนี้ไป จะต้องเพิ่มให้ได้มากกว่า 100 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 92 แห่ง ทั้งหมดเป็นโรดแมปของค่าย “มาสด้า” ตามแผนสเต็ปสอง ซึ่งจะเริ่มเห็นผลเป็นรูปร่างชัดเจนในปี 2552-2553 ส่วนจะสำเร็จหรือไม่? คงต้องติดตามกันต่อไป!!