ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ร่วมกับ 7 ยักษ์ใหญ่อาหารทะเลโลกลงนามแถลงการณ์ร่วม ให้คำมั่นต่อพันธกิจ 10 ประการในการพัฒนาท้องทะเล หลังการหารือร่วมกันครั้งแรกที่เรียกว่า “Keystone Dialogue” ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้นำด้านธุรกิจ มุ่งหาวิธีการใหม่ผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมจากธุรกิจนานาชาติขนาดใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายด้านความยั่งยืนระดับโลก
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจอาหารทะเล ร่วมกับอีก 7 ยักษ์ใหญ่อาหารทะเลโลกจับมือลงนามแถลงการณ์ร่วม ให้คำมั่นต่อพันธกิจ 10 ประการในการพัฒนาท้องทะเล หลังการหารือร่วมกันครั้งแรกที่เรียกว่า “Keystone Dialogue” ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้นำด้านธุรกิจ
การหารือ “Keystone Dialogue” ร่วมกันดังกล่าว เป็นการหารือถึงวิธีการใหม่ในการผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมจากธุรกิจนานาชาติขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายด้านความยั่งยืนในระดับโลก ทั้ง 8 บริษัทได้ให้คำมั่นในการปรับปรุงเรื่องความโปร่งใส และความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ รวมถึงการลดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ในระบบห่วงโซ่อุปทานของบริษัทดังกล่าว
สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษจากพลาสติก เป็นวาระเร่งด่วนในการหารือนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจดังกล่าวยังให้คำมั่นในการขจัดผลิตภัณฑ์ในระบบห่วงโซ่อุปทานของตนที่อาจมีแหล่งที่มาจากการใช้แรงงานในลักษณะทาสยุคใหม่ ซึ่งรวมไปถึง การบังคับ การมีเงื่อนไขผูกมัด และการใช้แรงงานเด็ก
แถลงการณ์ร่วมกันดังกล่าวระบุว่า บริษัทผู้ร่วมลงนามจะเป็น “ตัวแทนขับเคลื่อนในระดับโลกที่ไม่เพียงแต่ด้านการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โลกให้สมบูรณ์ต่อไป”
แถลงการณ์ดังกล่าว เป็นการลงนามระหว่างบริษัทผลิตทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกสองแห่ง (บริษัท ไทยยูเนี่ยน และบริษัท ดองวอน อินดัสทรีส์) บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเทียบจากรายได้รวมสองแห่ง (บริษัท มารูฮะ นิชิโร คอร์ปอร์เรชั่น และบริษัท นิปปอน ซุยซัน ไคชา) บริษัททำฟาร์มปลาแซลมอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกสองแห่ง (บริษัท มารีน ฮาร์เวสท์ เอเอสเอ และบริษัท เซอมัค ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอร์เรชั่น) และบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดสองแห่ง (บริษัท สเคร็ตติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท นูเทรโก้ และบริษัท คาร์กิลล์ อะควา นิวทริชั่น
ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกิจ บริษัทดังกล่าวจะตั้งโครงการใหม่ที่เรียกว่า Seafood Business for Ocean Stewardship (ธุรกิจอาหารทะเลเพื่อการพัฒนาท้องทะเล) ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงการประมงในท้องทะเลเข้ากับธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงบริษัทจากทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับบริษัทจากทวีปเอเชีย และเป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงธุรกิจอาหารทะเลโลกเข้ากับวิทยาศาสตร์
การหารือครั้งแรกนี้ ริเริ่มโดยศูนย์ Stockholm Resilience Centre และมีการหารือกันในระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2559 ที่ Soneva Fushi Resort บนเกาะมัลดีฟส์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของเจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ซึ่งให้การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs)
การริเริ่มดังกล่าว เป็นการหารือรอบพิเศษระหว่างผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอาหารทะเลชั้นนำ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ Stockholm Resilience Centre และที่ปรึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย ดร. เจน ลูบเชนโก้ จากมหาวิทยาลัยรัฐโอเรกอนและทูตวิทยาศาสตร์ด้านทะเล กระทรวงต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา นายโวล์คเกอร์ คูนท์ช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แซนฟอร์ด นายรูเพิร์ท โฮวส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล (Marine Stewardship Council) และนายแมคนัส โรบัคเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศญี่ปุ่น
นับเป็นครั้งแรกที่มีการหารือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และ "ผู้มีบทบาทสำคัญ" (keystone actors) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นในปี 2558 โดยคาร์ล โฟล์ค และเฮนริก โอสเตอร์บลอม ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ Stockholm Resilience Centre อธิบายถึงคำจำกัดความดังกล่าวในแง่วิทยาศาสตร์ว่า "สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ มีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในระบบนิเวศน์วิทยา เปรียบเทียบได้กับการที่องค์กรระดับนานาชาติขนาดใหญ่ที่นับวันกำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในท้องทะเลและป่าเขตร้อน"
นายโอสเตอร์บลอม เป็นผู้นำการวิจัยในการระบุผู้มีบทบาทสำคัญในทะเลต่างๆ ของโลก โดยทีมงานได้เลือกองค์กรระดับนานาชาติ 13 แห่ง ซึ่งมีสัดส่วนในการทำประมงในทะเลรวมกันประมาณ 11-16เปอร์เซนต์ ของการประมงทั้งหมด และมีปลาในสต๊อกมากถึง 40 เปอร์เซนต์ ของปลาขนาดใหญ่ที่สุดและมีค่ามากที่สุด
“เราเชิญผู้นำของบริษัทเหล่านี้มาหารือเพื่อสร้างความไว้วางใจและพัฒนาความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานะของท้องทะเล เรามีความยินดีที่บริษัทหลายแห่งตอบรับข้อเสนอของเรา นี่เป็นการสะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของสถานการณ์และยินดีที่จะมีส่วนร่วมในประเด็นเหล่านี้"นายโอสเตอร์บลอม กล่าว
“ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป มีพันธกิจในการปฏิรูปอุตสาหกรรมการประมง เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีการที่พิสูจน์ได้ การหารือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้นำจากภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมของเรา เป็นบทสะท้อนที่สำคัญของความพยายามนี้"นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยยูเนี่ยน กล่าว
การร่วมหารือ จากนี้จะมีการนัดประชุมและหารือเพิ่มเติมระหว่างทีมวิทยาศาสตร์และภาคธุรกิจ มีการกำหนดการประชุมครั้งต่อไปไว้แล้วในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีแผนงานที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับตามมา
ทั้งนี้ งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาในปี 2559 ระบุว่า การจัดการที่ดีในเรื่องการประมงโลกสามารถนำไปสู่การจับปลาได้เพิ่มมากขึ้นกว่า 16 ล้านตันต่อปี และสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้น 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินงานในปัจจุบัน
นายโจฮาน ร็อคสทรอม ผู้อำนวยการศูนย์ Stockholm Resilience Centre กล่าวว่า "ผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กรระดับนานาชาติเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคส่วนอาหารทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งไปสู่แนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนยิ่งขึ้น"
นายโจนาธอน พอร์ริตต์ ผู้อำนวยการก่อตั้งองค์กร Forum for the Future จากสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลโลกเหล่านี้ร่วมกันแสดงคำมั่นต่อการช่วยอนุรักษ์ทะเลของโลก การผสมผสานระหว่างหลักวิทยาศาสตร์ระดับโลก และการขับเคลื่อนจากองค์กรเป็นพลังสำคัญ และผมไม่สงสัยเลยว่าเราจะได้เห็นความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวอีกมากในอนาคต" องค์กร Forum for the Future เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนหลักต่อการหารือในครั้งนี้
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจอาหารทะเล ร่วมกับอีก 7 ยักษ์ใหญ่อาหารทะเลโลกจับมือลงนามแถลงการณ์ร่วม ให้คำมั่นต่อพันธกิจ 10 ประการในการพัฒนาท้องทะเล หลังการหารือร่วมกันครั้งแรกที่เรียกว่า “Keystone Dialogue” ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้นำด้านธุรกิจ
การหารือ “Keystone Dialogue” ร่วมกันดังกล่าว เป็นการหารือถึงวิธีการใหม่ในการผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมจากธุรกิจนานาชาติขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายด้านความยั่งยืนในระดับโลก ทั้ง 8 บริษัทได้ให้คำมั่นในการปรับปรุงเรื่องความโปร่งใส และความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ รวมถึงการลดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ในระบบห่วงโซ่อุปทานของบริษัทดังกล่าว
สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษจากพลาสติก เป็นวาระเร่งด่วนในการหารือนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจดังกล่าวยังให้คำมั่นในการขจัดผลิตภัณฑ์ในระบบห่วงโซ่อุปทานของตนที่อาจมีแหล่งที่มาจากการใช้แรงงานในลักษณะทาสยุคใหม่ ซึ่งรวมไปถึง การบังคับ การมีเงื่อนไขผูกมัด และการใช้แรงงานเด็ก
แถลงการณ์ร่วมกันดังกล่าวระบุว่า บริษัทผู้ร่วมลงนามจะเป็น “ตัวแทนขับเคลื่อนในระดับโลกที่ไม่เพียงแต่ด้านการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โลกให้สมบูรณ์ต่อไป”
แถลงการณ์ดังกล่าว เป็นการลงนามระหว่างบริษัทผลิตทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกสองแห่ง (บริษัท ไทยยูเนี่ยน และบริษัท ดองวอน อินดัสทรีส์) บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเทียบจากรายได้รวมสองแห่ง (บริษัท มารูฮะ นิชิโร คอร์ปอร์เรชั่น และบริษัท นิปปอน ซุยซัน ไคชา) บริษัททำฟาร์มปลาแซลมอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกสองแห่ง (บริษัท มารีน ฮาร์เวสท์ เอเอสเอ และบริษัท เซอมัค ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอร์เรชั่น) และบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดสองแห่ง (บริษัท สเคร็ตติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท นูเทรโก้ และบริษัท คาร์กิลล์ อะควา นิวทริชั่น
ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามพันธกิจ บริษัทดังกล่าวจะตั้งโครงการใหม่ที่เรียกว่า Seafood Business for Ocean Stewardship (ธุรกิจอาหารทะเลเพื่อการพัฒนาท้องทะเล) ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงการประมงในท้องทะเลเข้ากับธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงบริษัทจากทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับบริษัทจากทวีปเอเชีย และเป็นครั้งแรกที่จะมีการเชื่อมโยงธุรกิจอาหารทะเลโลกเข้ากับวิทยาศาสตร์
การหารือครั้งแรกนี้ ริเริ่มโดยศูนย์ Stockholm Resilience Centre และมีการหารือกันในระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2559 ที่ Soneva Fushi Resort บนเกาะมัลดีฟส์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของเจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ซึ่งให้การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs)
การริเริ่มดังกล่าว เป็นการหารือรอบพิเศษระหว่างผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอาหารทะเลชั้นนำ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ Stockholm Resilience Centre และที่ปรึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย ดร. เจน ลูบเชนโก้ จากมหาวิทยาลัยรัฐโอเรกอนและทูตวิทยาศาสตร์ด้านทะเล กระทรวงต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา นายโวล์คเกอร์ คูนท์ช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แซนฟอร์ด นายรูเพิร์ท โฮวส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสำนักงานคณะกรรมการบริการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากทะเล (Marine Stewardship Council) และนายแมคนัส โรบัคเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศญี่ปุ่น
นับเป็นครั้งแรกที่มีการหารือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และ "ผู้มีบทบาทสำคัญ" (keystone actors) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นในปี 2558 โดยคาร์ล โฟล์ค และเฮนริก โอสเตอร์บลอม ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ Stockholm Resilience Centre อธิบายถึงคำจำกัดความดังกล่าวในแง่วิทยาศาสตร์ว่า "สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ มีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในระบบนิเวศน์วิทยา เปรียบเทียบได้กับการที่องค์กรระดับนานาชาติขนาดใหญ่ที่นับวันกำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในท้องทะเลและป่าเขตร้อน"
นายโอสเตอร์บลอม เป็นผู้นำการวิจัยในการระบุผู้มีบทบาทสำคัญในทะเลต่างๆ ของโลก โดยทีมงานได้เลือกองค์กรระดับนานาชาติ 13 แห่ง ซึ่งมีสัดส่วนในการทำประมงในทะเลรวมกันประมาณ 11-16เปอร์เซนต์ ของการประมงทั้งหมด และมีปลาในสต๊อกมากถึง 40 เปอร์เซนต์ ของปลาขนาดใหญ่ที่สุดและมีค่ามากที่สุด
“เราเชิญผู้นำของบริษัทเหล่านี้มาหารือเพื่อสร้างความไว้วางใจและพัฒนาความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสถานะของท้องทะเล เรามีความยินดีที่บริษัทหลายแห่งตอบรับข้อเสนอของเรา นี่เป็นการสะท้อนว่าบริษัทเหล่านี้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของสถานการณ์และยินดีที่จะมีส่วนร่วมในประเด็นเหล่านี้"นายโอสเตอร์บลอม กล่าว
“ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป มีพันธกิจในการปฏิรูปอุตสาหกรรมการประมง เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีการที่พิสูจน์ได้ การหารือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้นำจากภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมของเรา เป็นบทสะท้อนที่สำคัญของความพยายามนี้"นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยยูเนี่ยน กล่าว
การร่วมหารือ จากนี้จะมีการนัดประชุมและหารือเพิ่มเติมระหว่างทีมวิทยาศาสตร์และภาคธุรกิจ มีการกำหนดการประชุมครั้งต่อไปไว้แล้วในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีแผนงานที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับตามมา
ทั้งนี้ งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาในปี 2559 ระบุว่า การจัดการที่ดีในเรื่องการประมงโลกสามารถนำไปสู่การจับปลาได้เพิ่มมากขึ้นกว่า 16 ล้านตันต่อปี และสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้น 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินงานในปัจจุบัน
นายโจฮาน ร็อคสทรอม ผู้อำนวยการศูนย์ Stockholm Resilience Centre กล่าวว่า "ผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กรระดับนานาชาติเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคส่วนอาหารทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งไปสู่แนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนยิ่งขึ้น"
นายโจนาธอน พอร์ริตต์ ผู้อำนวยการก่อตั้งองค์กร Forum for the Future จากสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารทะเลโลกเหล่านี้ร่วมกันแสดงคำมั่นต่อการช่วยอนุรักษ์ทะเลของโลก การผสมผสานระหว่างหลักวิทยาศาสตร์ระดับโลก และการขับเคลื่อนจากองค์กรเป็นพลังสำคัญ และผมไม่สงสัยเลยว่าเราจะได้เห็นความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวอีกมากในอนาคต" องค์กร Forum for the Future เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนหลักต่อการหารือในครั้งนี้