ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,123 ราย (ภาคเหนือ ร้อยละ 45.42 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.03 ภาคกลาง ร้อยละ 32.59 และภาคใต้ ร้อยละ 2.96) ระหว่างวันที่ 9 - 19 พฤษภาคม 2559 ในหัวข้อ “คนไทย...กับผลกระทบภัยแล้งต่อราคาสินค้าเกษตร”โดยผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.81 ซื้อสินค้าเกษตรจากตลาดสด รองลงมา คือ ร้อยละ 44.88 ซื้อจากซุปเปอร์มาเก็ต ร้อยละ 37.76 ซื้อจากร้านค้าภายในชุมชน และอื่นๆ ร้อยละ 13.57
เมื่อสอบถามความคิดเห็นการได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อปริมาณและราคาสินค้าเกษตรในท้องตลาดนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.69 ได้รับผลกระทบ จากเหตุผลปริมาณสินค้าเกษตรในท้องตลาดมีปริมาณลดลง จึงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น มีเพียงร้อยละ 24.31 ที่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในพื้นที่มีปริมาณสินค้าที่เพียงพอทำให้ราคาสินค้าเกษตรไม่สูงมากนัก โดยสินค้าเกษตรที่มีราคาปรับสูงขึ้น มีดังต่อไปนี้ คือ 1) ประเภทผัก ได้แก่ มะนาว รองลงมาคือ ผักชีต้นหอม และถั่วฝักยาว 2) ประเภทผลไม้ ได้แก่ ส้ม รองลงมาคือ ทุเรียน และองุ่น และ 3) ประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู รองลงมา คือ เนื้อไก่และไข่ และเนื้อสัตว์
ด้านการปรับตัวเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.96 ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ ส่วนอีกร้อยละ 35.04 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ โดยจะซื้อในปริมาณที่ลดลงและซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับมาตรการการควบคุมราคาสินค้าเกษตรนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.94 เห็นว่าภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผักต่างๆ ส่วนอีกร้อยละ 29.06 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องควบคุมราคาสินค้าเกษตร
สำหรับข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรในระยะยาวนั้น อันดับ 1(ร้อยละ 55.56) ควรรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การปลูกผักไว้รับประทานเองที่บ้านหรือการใช้น้ำอย่างประหยัด อันดับ 2 (ร้อยละ 20.47) เห็นว่าควรมีการควบคุมราคาสินค้าเกษตรไม่ให้สูงจนประชาชนได้รับผลกระทบ และอันดับ 3 (ร้อยละ 19.88) ควรมีการบริหารจัดการต้นทุนด้านการผลิตและการตลาด เพื่อลดการฉวยโอกาสขึ้นราคาของพ่อค้าคนกลาง
จากผลสำรวจพบว่าสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติ ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงและปริมาณฝนน้อยในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและทำให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง จนทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดไม่มีคุณภาพ และบางชนิดมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จึงส่งผลให้ราคาผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจประชาชนมีข้อเสนอแนะในระยะยาว คือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เพียงพอต่อการทำการเกษตรและมีสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดในปริมาณที่เพียงพอต่อไป
ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ ตั้งแต่ปี 2557 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่ไม่สามารถระบายน้ำออกมาได้เพียงพอต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะข้าว โดยภาครัฐได้มีมาตรการขอความร่วมมือในการงดเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและป้องกันความเสียหายอันจะเกิดจากภัยแล้ง
หากพิจารณาตัวเลขภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2558 พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร อยู่ที่ระดับ 106.19 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.49 หรือลดลงประมาณร้อยละ 7.26 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ก็มีทิศทางลดลง เช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ระดับ 133.10 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 140.30 หรือลดลง ประมาณร้อยละ 5.13 โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นสำคัญ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นการได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งต่อปริมาณและราคาสินค้าเกษตรในท้องตลาดนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.69 ได้รับผลกระทบ จากเหตุผลปริมาณสินค้าเกษตรในท้องตลาดมีปริมาณลดลง จึงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น มีเพียงร้อยละ 24.31 ที่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในพื้นที่มีปริมาณสินค้าที่เพียงพอทำให้ราคาสินค้าเกษตรไม่สูงมากนัก โดยสินค้าเกษตรที่มีราคาปรับสูงขึ้น มีดังต่อไปนี้ คือ 1) ประเภทผัก ได้แก่ มะนาว รองลงมาคือ ผักชีต้นหอม และถั่วฝักยาว 2) ประเภทผลไม้ ได้แก่ ส้ม รองลงมาคือ ทุเรียน และองุ่น และ 3) ประเภทเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู รองลงมา คือ เนื้อไก่และไข่ และเนื้อสัตว์
ด้านการปรับตัวเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.96 ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ ส่วนอีกร้อยละ 35.04 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อ โดยจะซื้อในปริมาณที่ลดลงและซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับมาตรการการควบคุมราคาสินค้าเกษตรนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.94 เห็นว่าภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผักต่างๆ ส่วนอีกร้อยละ 29.06 เห็นว่าไม่จำเป็นต้องควบคุมราคาสินค้าเกษตร
สำหรับข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรในระยะยาวนั้น อันดับ 1(ร้อยละ 55.56) ควรรณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การปลูกผักไว้รับประทานเองที่บ้านหรือการใช้น้ำอย่างประหยัด อันดับ 2 (ร้อยละ 20.47) เห็นว่าควรมีการควบคุมราคาสินค้าเกษตรไม่ให้สูงจนประชาชนได้รับผลกระทบ และอันดับ 3 (ร้อยละ 19.88) ควรมีการบริหารจัดการต้นทุนด้านการผลิตและการตลาด เพื่อลดการฉวยโอกาสขึ้นราคาของพ่อค้าคนกลาง
จากผลสำรวจพบว่าสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญของชาติ ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงและปริมาณฝนน้อยในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและทำให้พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง จนทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดไม่มีคุณภาพ และบางชนิดมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จึงส่งผลให้ราคาผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากผลสำรวจประชาชนมีข้อเสนอแนะในระยะยาว คือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เพียงพอต่อการทำการเกษตรและมีสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดในปริมาณที่เพียงพอต่อไป
ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ ตั้งแต่ปี 2557 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่ไม่สามารถระบายน้ำออกมาได้เพียงพอต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะข้าว โดยภาครัฐได้มีมาตรการขอความร่วมมือในการงดเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและป้องกันความเสียหายอันจะเกิดจากภัยแล้ง
หากพิจารณาตัวเลขภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2558 พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร อยู่ที่ระดับ 106.19 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.49 หรือลดลงประมาณร้อยละ 7.26 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ก็มีทิศทางลดลง เช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ระดับ 133.10 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 140.30 หรือลดลง ประมาณร้อยละ 5.13 โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นสำคัญ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)