นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนเมษายน 2559 เท่ากับ 106.42 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.55 หากเทียบกับเดือนมีนาคม 2559 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 4 เดือน (มกราคม-เมษายน ) 2559 ลดลง ร้อยละ 0.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้พืชและสัตว์เติบโตได้ช้า ส่งผลให้ผลผลิตในตลาดน้อยลง ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์และผักสดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปรับขึ้น เช่น มะนาว ผักชี ถั่วฝักยาว และพริกสด โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.57 ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 13.13 โดยเฉพาะบุหรี่ร้อยละ 28.15
ส่วนหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.81 ค่าตรวจรักษาและค่ายา สูงขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.52 อย่างไรก็ตาม หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 2.58 โดยน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ลดลงร้อยละ 11.20 ค่าไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.11
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2559 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.0-1.0 ตามสมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 2.8-3.8 ซึ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2559 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.8-3.8 ราคาน้ำมันดิบดูไบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน ที่ระดับ 36-38 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเชื่อว่าเงินเฟ้อจะทรงตัวในระดับใกล้เคียงปัจจุบัน เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรจะออกสู่ตลาดมากขึ้น จากภาวะภัยแล้งที่น่าจะคลี่คลายดีขึ้นหากฝนตกตามที่คาดการณ์ จึงจะส่งผลให้เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์จะทบทวนอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ยังมั่นใจแนวโน้นหลังจากนี้ไปจะดีขึ้นอัตราเงินเฟ้อทั้งปีกลับมาเป็นบวกได้ และไม่เกิดภาวะเงินฝืด
สำหรับสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้พืชและสัตว์เติบโตได้ช้า ส่งผลให้ผลผลิตในตลาดน้อยลง ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์และผักสดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปรับขึ้น เช่น มะนาว ผักชี ถั่วฝักยาว และพริกสด โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.57 ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 13.13 โดยเฉพาะบุหรี่ร้อยละ 28.15
ส่วนหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลสูงขึ้นร้อยละ 0.81 ค่าตรวจรักษาและค่ายา สูงขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.52 อย่างไรก็ตาม หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 2.58 โดยน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ลดลงร้อยละ 11.20 ค่าไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.11
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2559 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.0-1.0 ตามสมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 2.8-3.8 ซึ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2559 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.8-3.8 ราคาน้ำมันดิบดูไบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน ที่ระดับ 36-38 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยเชื่อว่าเงินเฟ้อจะทรงตัวในระดับใกล้เคียงปัจจุบัน เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรจะออกสู่ตลาดมากขึ้น จากภาวะภัยแล้งที่น่าจะคลี่คลายดีขึ้นหากฝนตกตามที่คาดการณ์ จึงจะส่งผลให้เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์จะทบทวนอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่ยังมั่นใจแนวโน้นหลังจากนี้ไปจะดีขึ้นอัตราเงินเฟ้อทั้งปีกลับมาเป็นบวกได้ และไม่เกิดภาวะเงินฝืด