นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อ เดือนกุมภาพันธ์ 2559 พบว่า เท่ากับ 105.62 ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 โดยลดลงร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เป็นการติดลบในอัตราน้อยลง เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงต่อเนื่องทั้งน้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 , 95 และน้ำมันเบนซิน 95 รวมถึงค่าไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้มที่ใช้ในบ้าน ค่าโดยสารรถ บขส. ที่ลดลงตามราคาน้ำมัน แต่หากเทียบอัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2559 กลับมาขยายตัวเป็นบวกร้อยละ 0.15 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดในช่วงเทศกาลตรุษจีน และการปรับขึ้นของอัตราค่าแสตมป์ยาสูบที่ปรับขึ้นร้อยละ 18.94 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นของภาพรวมเศรษฐกิจและลดความกังวลต่อการเข้าสู่ภาวะเงินฝืดลงได้ ส่งผลให้ระยะ 2 เดือนแรกปีนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.52
ทั้งนี้ จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 450 รายการ พบว่ามีสินค้าปรับตัวสูงขึ้น156 รายการ ราคาทรงตัว 189 รายการ และลดลง 105 รายการ อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อหลังจากนี้จะติดลบในอัตราที่น้อยลง และจะกลับมาเป็นบวกในช่วงครึ่งปีหลัง แต่จากการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยลงในหลายหน่วยงาน ทำให้กระทรวงพาณิชย์ปรับประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อใหม่เป็นกรอบร้อยละ 0 – 1 จากเดิมขยายตัวร้อยละ 1 – 2 ภายใต้สมมติฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 2.8-3.8 จากเดิมร้อยละ 3 – 4 และน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 30-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิม 48-54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม 36-38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่จะมีผลต่อราคาสินค้าเกษตร
ทั้งนี้ จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 450 รายการ พบว่ามีสินค้าปรับตัวสูงขึ้น156 รายการ ราคาทรงตัว 189 รายการ และลดลง 105 รายการ อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อหลังจากนี้จะติดลบในอัตราที่น้อยลง และจะกลับมาเป็นบวกในช่วงครึ่งปีหลัง แต่จากการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยลงในหลายหน่วยงาน ทำให้กระทรวงพาณิชย์ปรับประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อใหม่เป็นกรอบร้อยละ 0 – 1 จากเดิมขยายตัวร้อยละ 1 – 2 ภายใต้สมมติฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 2.8-3.8 จากเดิมร้อยละ 3 – 4 และน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 30-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิม 48-54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม 36-38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่จะมีผลต่อราคาสินค้าเกษตร