โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
suwatmgr@gmail.com
เริ่มนับหนึ่งของปี 2558 มาหลายวันแล้ว แต่บรรยากาศเดือนแรกของการขึ้นศกใหม่ก็ยังดูเป็นการเริ่มต้นที่มีความรู้สึกเป็นความหวังจะให้สุขกาย สบายใจ และมีความมั่งคั่งมั่นคง สมดังคำอวยพรที่ผู้คนในสังคมได้รับหรือมอบให้แก่กันในทำนองนี้แหละ
จะว่าไปแล้ว เทศกาลฉลองปีใหม่ ก็นับว่ามีความหมายไม่น้อยหากมองให้ถูกประเด็น และรู้จักเริ่มต้นอย่างถูกทางด้วยการใฝ่ดี มุ่งให้เกิดการพัฒนาให้สมกับโอกาส “ได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง”
เราได้เริ่มใช้ปฏิทินชุดใหม่ เปิดใช้สมุดบันทึกเล่มใหม่ ใครๆก็อยากให้เกิดเรื่องดีๆ ผลลัพธ์ดีๆ ในปีใหม่กันนะครับ
ในงานนับถอยหลังรอนาทีขึ้นปีใหม่ และกรีดเสียงเฮฮาราวกับเป็นเรื่องน่ายินดีมากมาย ทั้งๆ ที่บางคนยังมีปัญหาเก่ารออยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานมากมาย ความสนุกรื่นเริงจึงจบแค่คืนงานฉลองส่งท้าย
ปีเก่า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงได้กล่าวประโยคอมตะว่า “คงมีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำแต่สิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ แต่กลับหวังว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม”
จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดกิจกรรม “สวดมนต์ ข้ามปี” นับเป็นการกระตุกสังคมให้หันสู่แนวทางสุขภาวะที่ยั่งยืน
ปีนี้ สสส.จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดกิจกรรมที่บริเวณลานหน้าองค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 3 หมื่นคน
นอกเหนือจากมีกิจกรรมเดียวกันของวัดทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง
พระพรมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคมให้ความรู้ถึงคุณประโยชน์ที่เกิดกับคนที่สวดมนต์เป็นประจำว่า จะเกิดผลดีต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. จิตสงบ เกิดความรู้สึกนึกคิดที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งความดีงาม จะส่งผลดีต่อร่างกาย
2. ไม่เคร่งเครียด หากเกิดความเครียดก็จะผ่อนคลายลงจนจางหายไปในที่สุด
3. จิตใจสงบ เยือกเย็น หากสวดมนต์เป็นประจำจะช่วยลดความเร่าร้อนทางอารมณ์
4. หลับสบายตื่นก็เป็นสุข คนที่นอนหลับยากการสวดมนต์จะช่วยปรับความสมดุลทางจิตทำให้หลับสบาย
5. ช่วยปรับความสมดุลของระบบทางเดินอาหารในกระเพาะ ผู้ที่เครียดมักจะปวดท้องหรืออาเจียน การสวดมนต์จะช่วยลดระดับการเกร็งของประสาททุกส่วนในร่างกาย จึงทำให้ความเครียดลดลง และทำใหhระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติหายไป
6. การปฏิบัติงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะร่างกายมีสุขภาพดี จิตใจย่อมปลอดโปร่งมีความสุข การทำงานจะไปได้ดี ประสบผลสำเร็จ
7. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีจิตปลอดโปร่ง เป็นสมาธิ ย่อมมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
8. ย่อมเป็นที่รักและที่เมตตา ผู้สวดมนต์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนย่อมได้รับการคุ้มครองรักษา ทั้งจากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
9. ครอบครัวย่อมมีความสุข มีอนาคต เพราะการสวดมนต์ทำให้บุคคลรู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสติรู้ผิดชอบชั่วดี มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป
เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมการสวดมนต์ นับเป็นการฉลองต้อนรับปีใหม่ อย่างเป็นมงคลต่อชีวิต จึงเกิดกระแสตอบรับที่ดีจากสังคมอย่างกว้างขวาง
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.ได้ให้ข้อคิดการปรับแนวการดำเนินชีวิตรับปีใหม่อย่างน่าสนใจ
“เชื่อว่าทุกท่านคงอยากให้ปีใหม่นี้เป็นปีที่มีความสุข ปราศจากความทุกข์และเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของชีวิตตัวเอง ผมอยากชวนให้ทุกท่านตั้งจิตให้สงบ ทบทวนความสำเร็จและความผิดพลาดในปีที่ผ่านมา เพื่อก้าวไปสู่ปีใหม่ ด้วยทิศทางที่เหมาะสม โดยการเรียนรู้จากบทเรียนปีที่ผ่านมา และวางทิศทางของชีวิตให้ดีขึ้น”
ขอขยายความด้วยข้อมูลจากจดหมายข่าว “สร้างสุข” ของ สสส.ที่สรุปได้ไว้ว่า
ปณิธาน หรือความตั้งใจ ตามหลักจิตวิทยาถือเป็นการสร้างแรงฮึดปลุกความฮึกเหิม ให้ตัวเราได้มีพลังในการทำสิ่งต่างๆ สำเร็จ
ปีใหม่ คือ การกลับมาที่จุดเริ่มต้น เพื่อออกไปวิ่งสู่เส้นชัยทุกๆ ปี เราจะกลับมาที่จุดสตาร์ทแล้วมีเหมือนเสียง “เข้าที่เตรียมตัว ระวังไป!!” ก่อนที่จะออกไปเริ่มต้นทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จอีกครั้ง
การสร้างปณิธานจึงเหมือนเป็นการเตรียมเส้นชัยไว้ให้ออกวิ่งไปแตะ ซึ่งมีสูตรที่ขอแนะให้ท่านผู้อ่าน
ลองทำดู
1. ทบทวนเป้าหมายเก่า ให้พิจารณารอบปีที่ผ่านมา เราทำอะไร ยังไม่ได้ทำอะไร เสียเวลาไปกับอะไร เสียใจไปกับอะไร การหันกลับไปมองช้าๆ ค่อยๆ คิด เพื่อเอามาปรับเป็นแผนป้องกันความผิดพลาดในปีต่อไปจะได้ไม่ต้องบ่นว่า “รู้อย่างนี้....”
2. วางเป้าหมายใหม่ การมีเป้าหมายก็เหมือนเราพกแผนที่ช่วยชี้หลักว่าจะจัดการชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การสร้างสุขภาพและการเปลี่ยนตัวเอง
3. ลด ละ เลิก ถ้ารู้ว่าสิ่งใดไม่ดีแล้วจะทำต่อไปทำไม ถ้าตอบตัวเองไม่ได้ ว่าสิ่งที่ทำได้ประโยชน์หรือไม่ ก็ไม่ควรทำต่อไป โดยเฉพาะสิ่งบั่นทอนสุขภาพทั้งหลาย “ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ นอนแน่นิ่ง กินไม่คิด” ควรจะบรรจุไว้ในแผน และถือเป็นรายการที่จะเลิกทำให้จงได้
4. สร้างสุขภาพ เหมือนเป็นการวางรากฐานของชีวิต เพราะถ้ามีสุขภาพดี ก็จะพร้อมในการทำสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการงาน หรือการท่องเที่ยว แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี จะทำอะไรให้สนุกในการใช้ชีวิตย่อมลดลง ลองเพิ่มเวลาการสร้างสุขภาพในตารางชีวิตเพียงวันละ 30 นาที-1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วัน เราจะสนุกกับชีวิตไปได้อีกนาน
5. เริ่มลงมือทำ คือ ก้าวแรกก็จะทำให้ตัวเองมีความสุข
หากคุณยังไม่มีไอเดียการสร้างสุขภาพก็สามารถค้นหาคำตอบเรื่อง 8 วิธีการพบความสุขที่ยั่งยืนได้ที่เว็บไซต์ความสุขประเทศไทย www.happynessisthailand.com น่าจะเป็นแนวทางหาค้นพบความสุขได้นะครับ
suwatmgr@gmail.com
เริ่มนับหนึ่งของปี 2558 มาหลายวันแล้ว แต่บรรยากาศเดือนแรกของการขึ้นศกใหม่ก็ยังดูเป็นการเริ่มต้นที่มีความรู้สึกเป็นความหวังจะให้สุขกาย สบายใจ และมีความมั่งคั่งมั่นคง สมดังคำอวยพรที่ผู้คนในสังคมได้รับหรือมอบให้แก่กันในทำนองนี้แหละ
จะว่าไปแล้ว เทศกาลฉลองปีใหม่ ก็นับว่ามีความหมายไม่น้อยหากมองให้ถูกประเด็น และรู้จักเริ่มต้นอย่างถูกทางด้วยการใฝ่ดี มุ่งให้เกิดการพัฒนาให้สมกับโอกาส “ได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง”
เราได้เริ่มใช้ปฏิทินชุดใหม่ เปิดใช้สมุดบันทึกเล่มใหม่ ใครๆก็อยากให้เกิดเรื่องดีๆ ผลลัพธ์ดีๆ ในปีใหม่กันนะครับ
ในงานนับถอยหลังรอนาทีขึ้นปีใหม่ และกรีดเสียงเฮฮาราวกับเป็นเรื่องน่ายินดีมากมาย ทั้งๆ ที่บางคนยังมีปัญหาเก่ารออยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานมากมาย ความสนุกรื่นเริงจึงจบแค่คืนงานฉลองส่งท้าย
ปีเก่า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงได้กล่าวประโยคอมตะว่า “คงมีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำแต่สิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ แต่กลับหวังว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม”
จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดกิจกรรม “สวดมนต์ ข้ามปี” นับเป็นการกระตุกสังคมให้หันสู่แนวทางสุขภาวะที่ยั่งยืน
ปีนี้ สสส.จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดกิจกรรมที่บริเวณลานหน้าองค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 3 หมื่นคน
นอกเหนือจากมีกิจกรรมเดียวกันของวัดทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง
พระพรมเมธี กรรมการมหาเถรสมาคมให้ความรู้ถึงคุณประโยชน์ที่เกิดกับคนที่สวดมนต์เป็นประจำว่า จะเกิดผลดีต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. จิตสงบ เกิดความรู้สึกนึกคิดที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งความดีงาม จะส่งผลดีต่อร่างกาย
2. ไม่เคร่งเครียด หากเกิดความเครียดก็จะผ่อนคลายลงจนจางหายไปในที่สุด
3. จิตใจสงบ เยือกเย็น หากสวดมนต์เป็นประจำจะช่วยลดความเร่าร้อนทางอารมณ์
4. หลับสบายตื่นก็เป็นสุข คนที่นอนหลับยากการสวดมนต์จะช่วยปรับความสมดุลทางจิตทำให้หลับสบาย
5. ช่วยปรับความสมดุลของระบบทางเดินอาหารในกระเพาะ ผู้ที่เครียดมักจะปวดท้องหรืออาเจียน การสวดมนต์จะช่วยลดระดับการเกร็งของประสาททุกส่วนในร่างกาย จึงทำให้ความเครียดลดลง และทำใหhระบบทางเดินอาหารที่ผิดปกติหายไป
6. การปฏิบัติงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะร่างกายมีสุขภาพดี จิตใจย่อมปลอดโปร่งมีความสุข การทำงานจะไปได้ดี ประสบผลสำเร็จ
7. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีจิตปลอดโปร่ง เป็นสมาธิ ย่อมมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
8. ย่อมเป็นที่รักและที่เมตตา ผู้สวดมนต์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนย่อมได้รับการคุ้มครองรักษา ทั้งจากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
9. ครอบครัวย่อมมีความสุข มีอนาคต เพราะการสวดมนต์ทำให้บุคคลรู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสติรู้ผิดชอบชั่วดี มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป
เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมการสวดมนต์ นับเป็นการฉลองต้อนรับปีใหม่ อย่างเป็นมงคลต่อชีวิต จึงเกิดกระแสตอบรับที่ดีจากสังคมอย่างกว้างขวาง
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.ได้ให้ข้อคิดการปรับแนวการดำเนินชีวิตรับปีใหม่อย่างน่าสนใจ
“เชื่อว่าทุกท่านคงอยากให้ปีใหม่นี้เป็นปีที่มีความสุข ปราศจากความทุกข์และเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของชีวิตตัวเอง ผมอยากชวนให้ทุกท่านตั้งจิตให้สงบ ทบทวนความสำเร็จและความผิดพลาดในปีที่ผ่านมา เพื่อก้าวไปสู่ปีใหม่ ด้วยทิศทางที่เหมาะสม โดยการเรียนรู้จากบทเรียนปีที่ผ่านมา และวางทิศทางของชีวิตให้ดีขึ้น”
ขอขยายความด้วยข้อมูลจากจดหมายข่าว “สร้างสุข” ของ สสส.ที่สรุปได้ไว้ว่า
ปณิธาน หรือความตั้งใจ ตามหลักจิตวิทยาถือเป็นการสร้างแรงฮึดปลุกความฮึกเหิม ให้ตัวเราได้มีพลังในการทำสิ่งต่างๆ สำเร็จ
ปีใหม่ คือ การกลับมาที่จุดเริ่มต้น เพื่อออกไปวิ่งสู่เส้นชัยทุกๆ ปี เราจะกลับมาที่จุดสตาร์ทแล้วมีเหมือนเสียง “เข้าที่เตรียมตัว ระวังไป!!” ก่อนที่จะออกไปเริ่มต้นทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จอีกครั้ง
การสร้างปณิธานจึงเหมือนเป็นการเตรียมเส้นชัยไว้ให้ออกวิ่งไปแตะ ซึ่งมีสูตรที่ขอแนะให้ท่านผู้อ่าน
ลองทำดู
1. ทบทวนเป้าหมายเก่า ให้พิจารณารอบปีที่ผ่านมา เราทำอะไร ยังไม่ได้ทำอะไร เสียเวลาไปกับอะไร เสียใจไปกับอะไร การหันกลับไปมองช้าๆ ค่อยๆ คิด เพื่อเอามาปรับเป็นแผนป้องกันความผิดพลาดในปีต่อไปจะได้ไม่ต้องบ่นว่า “รู้อย่างนี้....”
2. วางเป้าหมายใหม่ การมีเป้าหมายก็เหมือนเราพกแผนที่ช่วยชี้หลักว่าจะจัดการชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การสร้างสุขภาพและการเปลี่ยนตัวเอง
3. ลด ละ เลิก ถ้ารู้ว่าสิ่งใดไม่ดีแล้วจะทำต่อไปทำไม ถ้าตอบตัวเองไม่ได้ ว่าสิ่งที่ทำได้ประโยชน์หรือไม่ ก็ไม่ควรทำต่อไป โดยเฉพาะสิ่งบั่นทอนสุขภาพทั้งหลาย “ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ นอนแน่นิ่ง กินไม่คิด” ควรจะบรรจุไว้ในแผน และถือเป็นรายการที่จะเลิกทำให้จงได้
4. สร้างสุขภาพ เหมือนเป็นการวางรากฐานของชีวิต เพราะถ้ามีสุขภาพดี ก็จะพร้อมในการทำสิ่งต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการงาน หรือการท่องเที่ยว แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี จะทำอะไรให้สนุกในการใช้ชีวิตย่อมลดลง ลองเพิ่มเวลาการสร้างสุขภาพในตารางชีวิตเพียงวันละ 30 นาที-1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วัน เราจะสนุกกับชีวิตไปได้อีกนาน
5. เริ่มลงมือทำ คือ ก้าวแรกก็จะทำให้ตัวเองมีความสุข
หากคุณยังไม่มีไอเดียการสร้างสุขภาพก็สามารถค้นหาคำตอบเรื่อง 8 วิธีการพบความสุขที่ยั่งยืนได้ที่เว็บไซต์ความสุขประเทศไทย www.happynessisthailand.com น่าจะเป็นแนวทางหาค้นพบความสุขได้นะครับ