บทความโดย : ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
suwatmgr@gmail.com
จากคอลัมน์ : Learn&Share นิตยสาร Good Health & Well-Being
_______________________________________________
ฉบับนี้ขออ้างอิงสาระจากหนังสือชื่อ “ทำทีละอย่าง” (Just One Thing) ว่าด้วยการพัฒนาสู่สมองแห่งพุทธะ ภาคต่อจากหนังสือเล่มก่อนหน้า คือสมองแห่งพุทธะ (buddha’ brain) ผู้เขียนคือ ดร.ริค แฮนสัน ซึ่งเป็นทั้งนักประสาทวิทยา และผ่านการเจริญสติภาวนามาไม่น้อยกว่า 30 ปี ขณะที่ผู้แปลคือ ดร.ณัชร สยามวาลา ก็สั่งสมประสบการณ์การเจริญสติภาวนามาอย่างยาวนานเช่นกัน
ด้วยกระแสความตื่นตัวระดับโลกที่สนใจถึงคุณประโยชน์ของการเจริญสติภาวนา ในมุมมองความสัมพันธ์กับประสาทวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาการทำงานของสมองและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอื่นๆ หนังสือแนวนี้จึงมีออกมามากมาย และหนังสือ 2 เล่มข้างต้นก็มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 12 และ 24 ภาษาตามลำดับ
หนังสือเล่มนี้แนะการฝึก 52 วิธี เพื่อพัฒนาจิตใจและสมองอย่างง่ายๆ ที่สามารถทำได้คราวละวิธีหรือทีละอย่างเป็นประจำทุกวัน ซึ่ง ดร.ริค แฮนสัน ยืนยันว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาสิ่งดีๆ ในตัวคุณได้มากมาย ทั้งความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ การเห็นคุณค่าภายในตัวเอง และความสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์อันเจ็บปวด
อีกทั้งยังจะเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ความอยู่เย็นเป็นสุข มีไหวพริบดี มีปัญญา รวมไปถึงเกิดความสุขสงบภายใน สอดคล้องกับบทสรุปของหนังสือเล่มก่อนหน้า (สมองแห่งพุทธะ) ที่ว่า
“ถ้าคุณเปลี่ยนสมองของคุณได้ก็เปลี่ยนจิตใจได้ ถ้าคุณเปลี่ยนจิตใจได้ก็เปลี่ยนสมองได้ ถ้าคุณเปลี่ยนสมองและจิตใจได้ก็เปลี่ยนชีวิตได้”
เพราะสมองมีรูปแบบตามสิ่งที่ใจเกาะเกี่ยวอยู่ เช่นคนที่หมกหมุ่นอยู่กับความกังวล การตำหนิตัวเองหรือมีความโกรธแค้น สมองคนนั้นก็จะมีรูปแบบเป็นลบ (-) ที่มีความกังวล มีความรู้สึกต่ำต้อยน้อยใจ และมักหงุดหงิดง่ายต่อคนอื่น
ในทางกลับกัน ถ้าจิตใจคุณมีแต่ความรู้สึกว่าไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะทุกอย่างดีอยู่แล้ว มองเห็นสิ่งที่ดีงามในตัวคุณและรู้จักปล่อยวาง สมองคุณก็จะค่อยพัฒนาไปในทางที่มีความสุขุม เยือกเย็น มีความมั่นใจในตัวเอง และมีความสุขสงบภายใน
แต่ผู้เขียนยกตัวอย่างที่ดูแปลก ที่พบว่ามีแง่มุมความงามอยเช่น กระจุกหญ้าที่งอกขึ้นมาจากรอยแยกบนขอบถนน เสียงหวูดรถไฟที่กำลังเคลื่อนตัวออกจากสถานี กลิ่นอบเชย ความโค้งเว้าของถนนหลวง มีดทำครัว ใบหน้าของนางพยาบาล ความกล้าหาญ น้ำตกที่ไหลจากหน้าผา โดนัทเคลือบน้ำตาล สัมผัสของผ้าแคชเมียร์ ผลพิสูจน์ของโจทย์เรขาคณิต เหรียญเก่าๆ และแม้กระทั่งงู
ตัวอย่างเหล่านี้ยืนยันกับเราได้ว่า มีสิ่งสวยงามอยู่มากมาย แต่คนจำนวนมากไม่ค่อยรู้สึกชื่นชมมันจนมีคนชอบมาบ่นว่า “ทำไมชีวิตดูไม่ค่อยน่าเพลิดเพลินเสียเลย”
ดร.ริกแนะว่า เมื่อคุณพบกับความงามที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน บางทีหัวใจของคุณอาจจะเปิด จิตใจก็จะผ่อนคลายลง แล้วอาจจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ในนั้น และเกิดรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้นะ
การได้พบกับความงามนั้น จะผ่อนคลายความเครียด ช่วยหล่อเลี้ยงความหวังและคอยเตือนเราว่า ชีวิตยังมีอะไรมากไปกว่าแค่คิดเอา แต่กัดฟันสู้กับภารกิจมากนัก
วิธีทำ... ลองใช้เวลาสักชั่วขณะในแต่ละวัน เพื่อเปิดรับความงามโดยพยายามมองไปยังสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ โดยเฉพาะสิ่งที่คนทั่วไปเห็นเป็นสิ่งธรรมดาๆ และมักไม่ใส่ใจกัน เช่น ท้องฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หญ้า วัชพืช วิวทิวทัศน์ที่คุ้นเคยหรือทางเดินริมถนน
ขอให้เปิดรับสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกกรอบของคำว่า “ดูดี” หรือ “สวย” ลองหาความงามในสิ่งที่คาดไม่ถึงกัน จนคุณเองก็ยังประหลาดใจ
เมื่อเปิดรับความรู้สึกของการรับรู้ความงามที่ไร้ขอบเขตที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเห็นความงามของสิ่งที่อยู่เบื้องบน ที่อยู่เบื้องล่างและความงามที่แผ่ขยายออกไปทั่วทุกทิศ ราวกับว่าคุณกำลังลอยอยู่ในทะเลที่เต็มไปด้วยกลีบกุหลาบ
โดยเฉพาะเมื่อตระหนักรู้ถึงความงามในคนอื่น เท่ากับยอมรับในลักษณะนิสัย ทางเลือก และความปรารถนาของเขา และเข้าให้ถึงความงามแม้แต่เป็นความล้มเหลวก็ยังดูว่าสง่างาม เพราะเขามีความมุ่งมั่นแฝงอยู่จึงเกิดปัญญาที่ผุดขึ้นมาให้พร้อมจะยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น
นี่เป็นความงามในจิตใจของคุณเอง โดยต้องไม่หนีความจริง ที่ว่า คนอื่นมีแง่มุมความงามได้ คุณก็มีได้เช่นกัน โดยให้สร้างสรรค์ความงามด้วยมือ ด้วยคำพูดและด้วยการกระทำของตัวคุณเอง
suwatmgr@gmail.com
จากคอลัมน์ : Learn&Share นิตยสาร Good Health & Well-Being
_______________________________________________
ฉบับนี้ขออ้างอิงสาระจากหนังสือชื่อ “ทำทีละอย่าง” (Just One Thing) ว่าด้วยการพัฒนาสู่สมองแห่งพุทธะ ภาคต่อจากหนังสือเล่มก่อนหน้า คือสมองแห่งพุทธะ (buddha’ brain) ผู้เขียนคือ ดร.ริค แฮนสัน ซึ่งเป็นทั้งนักประสาทวิทยา และผ่านการเจริญสติภาวนามาไม่น้อยกว่า 30 ปี ขณะที่ผู้แปลคือ ดร.ณัชร สยามวาลา ก็สั่งสมประสบการณ์การเจริญสติภาวนามาอย่างยาวนานเช่นกัน
ด้วยกระแสความตื่นตัวระดับโลกที่สนใจถึงคุณประโยชน์ของการเจริญสติภาวนา ในมุมมองความสัมพันธ์กับประสาทวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาการทำงานของสมองและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอื่นๆ หนังสือแนวนี้จึงมีออกมามากมาย และหนังสือ 2 เล่มข้างต้นก็มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 12 และ 24 ภาษาตามลำดับ
หนังสือเล่มนี้แนะการฝึก 52 วิธี เพื่อพัฒนาจิตใจและสมองอย่างง่ายๆ ที่สามารถทำได้คราวละวิธีหรือทีละอย่างเป็นประจำทุกวัน ซึ่ง ดร.ริค แฮนสัน ยืนยันว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาสิ่งดีๆ ในตัวคุณได้มากมาย ทั้งความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ การเห็นคุณค่าภายในตัวเอง และความสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์อันเจ็บปวด
อีกทั้งยังจะเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ความอยู่เย็นเป็นสุข มีไหวพริบดี มีปัญญา รวมไปถึงเกิดความสุขสงบภายใน สอดคล้องกับบทสรุปของหนังสือเล่มก่อนหน้า (สมองแห่งพุทธะ) ที่ว่า
“ถ้าคุณเปลี่ยนสมองของคุณได้ก็เปลี่ยนจิตใจได้ ถ้าคุณเปลี่ยนจิตใจได้ก็เปลี่ยนสมองได้ ถ้าคุณเปลี่ยนสมองและจิตใจได้ก็เปลี่ยนชีวิตได้”
เพราะสมองมีรูปแบบตามสิ่งที่ใจเกาะเกี่ยวอยู่ เช่นคนที่หมกหมุ่นอยู่กับความกังวล การตำหนิตัวเองหรือมีความโกรธแค้น สมองคนนั้นก็จะมีรูปแบบเป็นลบ (-) ที่มีความกังวล มีความรู้สึกต่ำต้อยน้อยใจ และมักหงุดหงิดง่ายต่อคนอื่น
ในทางกลับกัน ถ้าจิตใจคุณมีแต่ความรู้สึกว่าไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะทุกอย่างดีอยู่แล้ว มองเห็นสิ่งที่ดีงามในตัวคุณและรู้จักปล่อยวาง สมองคุณก็จะค่อยพัฒนาไปในทางที่มีความสุขุม เยือกเย็น มีความมั่นใจในตัวเอง และมีความสุขสงบภายใน
แต่ผู้เขียนยกตัวอย่างที่ดูแปลก ที่พบว่ามีแง่มุมความงามอยเช่น กระจุกหญ้าที่งอกขึ้นมาจากรอยแยกบนขอบถนน เสียงหวูดรถไฟที่กำลังเคลื่อนตัวออกจากสถานี กลิ่นอบเชย ความโค้งเว้าของถนนหลวง มีดทำครัว ใบหน้าของนางพยาบาล ความกล้าหาญ น้ำตกที่ไหลจากหน้าผา โดนัทเคลือบน้ำตาล สัมผัสของผ้าแคชเมียร์ ผลพิสูจน์ของโจทย์เรขาคณิต เหรียญเก่าๆ และแม้กระทั่งงู
ตัวอย่างเหล่านี้ยืนยันกับเราได้ว่า มีสิ่งสวยงามอยู่มากมาย แต่คนจำนวนมากไม่ค่อยรู้สึกชื่นชมมันจนมีคนชอบมาบ่นว่า “ทำไมชีวิตดูไม่ค่อยน่าเพลิดเพลินเสียเลย”
ดร.ริกแนะว่า เมื่อคุณพบกับความงามที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน บางทีหัวใจของคุณอาจจะเปิด จิตใจก็จะผ่อนคลายลง แล้วอาจจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ในนั้น และเกิดรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้นะ
การได้พบกับความงามนั้น จะผ่อนคลายความเครียด ช่วยหล่อเลี้ยงความหวังและคอยเตือนเราว่า ชีวิตยังมีอะไรมากไปกว่าแค่คิดเอา แต่กัดฟันสู้กับภารกิจมากนัก
วิธีทำ... ลองใช้เวลาสักชั่วขณะในแต่ละวัน เพื่อเปิดรับความงามโดยพยายามมองไปยังสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ โดยเฉพาะสิ่งที่คนทั่วไปเห็นเป็นสิ่งธรรมดาๆ และมักไม่ใส่ใจกัน เช่น ท้องฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หญ้า วัชพืช วิวทิวทัศน์ที่คุ้นเคยหรือทางเดินริมถนน
ขอให้เปิดรับสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกกรอบของคำว่า “ดูดี” หรือ “สวย” ลองหาความงามในสิ่งที่คาดไม่ถึงกัน จนคุณเองก็ยังประหลาดใจ
เมื่อเปิดรับความรู้สึกของการรับรู้ความงามที่ไร้ขอบเขตที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเห็นความงามของสิ่งที่อยู่เบื้องบน ที่อยู่เบื้องล่างและความงามที่แผ่ขยายออกไปทั่วทุกทิศ ราวกับว่าคุณกำลังลอยอยู่ในทะเลที่เต็มไปด้วยกลีบกุหลาบ
โดยเฉพาะเมื่อตระหนักรู้ถึงความงามในคนอื่น เท่ากับยอมรับในลักษณะนิสัย ทางเลือก และความปรารถนาของเขา และเข้าให้ถึงความงามแม้แต่เป็นความล้มเหลวก็ยังดูว่าสง่างาม เพราะเขามีความมุ่งมั่นแฝงอยู่จึงเกิดปัญญาที่ผุดขึ้นมาให้พร้อมจะยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น
นี่เป็นความงามในจิตใจของคุณเอง โดยต้องไม่หนีความจริง ที่ว่า คนอื่นมีแง่มุมความงามได้ คุณก็มีได้เช่นกัน โดยให้สร้างสรรค์ความงามด้วยมือ ด้วยคำพูดและด้วยการกระทำของตัวคุณเอง