xs
xsm
sm
md
lg

ปลุกบริษัทจดทะเบียนสร้างเกราะคุ้มครองธุรกิจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ก.ล.ต.เดินหน้าดันบริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หวังใช้เป็นเกราะป้องกันธุรกิจ รับมือวิกฤตในอนาคต

นายชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทควรมีการวางเป้าหมายให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ และก็ไม่ใช่เรื่องที่ออกนอกแนวการทำธุรกิจปกติ อีกทั้งการดำเนินการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ใช่ทำเพื่อชิงรางวัล หรือเอาใจใคร ซึ่งการดำเนินการเป็นการทำธุรกิจปกติ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากองค์กรใดดำเนินการได้จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถรับมือกับวิกฤติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ในการนี้ ก.ล.ต. ได้วางแนวทางหรือจัดทำแผนพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนขึ้น โดยเริ่มสำรวจว่าปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนทำอะไรได้ดีแล้ว เช่น เรื่อง CG อะไรที่ยังทำได้น้อยหรือต้องปรับทิศทางให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เช่น เรื่อง CSR และ Anti-corruption และนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวทางที่เน้น 3 เรื่องหลัก คือ
1. CG in substance: การพัฒนา CG ซึ่งเน้นที่การปฏิบัติจริง
2. CSR in process: การทำให้ CSR หลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปกติในการทำธุรกิจ
3. Anti-corruption in practice: การให้ความสำคัญในเรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง และเป็นแรงผลักดันไปยังภาคธุรกิจอื่น ๆ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะใช้เครื่องมือ 3 ด้าน พร้อม ๆ กัน คือ
1. Regulatory Discipline คือ การออกกฎเกณฑ์ที่จำเป็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ เช่น การกำหนดให้ บจ. รายงานข้อมูล CSR และ Anti-corruption ไว้ในแบบ 56-1 และรายงานประจำปี
2. Market Discipline การสร้างแรงกดดันทางสังคม เช่น การที่ IOD จัดทำ
และเผยแพร่ระดับ CG ของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง การที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ส่งอาสาพิทักษ์สิทธิเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นและติดตามสอบถามความคืบหน้า รวมทั้งการที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันรวมพลังกันประกาศให้ทราบว่าจะใช้ข้อมูล CG, CSR และนโยบาย Anti-corruption เป็นปัจจัยในการพิจารณาลงทุน และที่สำคัญคือสื่อมวลชนที่สามารถแสดงบทบาทการเป็น “Influencer” ในการช่วยกันติดตาม ยกย่องบริษัทจดทะเบียนที่มีความตั้งใจและมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
3. Self Discipline หรือบริษัทจดทะเบียนมีความตั้งใจสนใจที่จะดำเนินการเรื่องนี้เอง เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งที่เป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินการดังกล่าวอยู่แล้ว รวมทั้งสมาคมบริษัทจดทะเบียนก็แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการเป็นพี่เลี้ยงที่จะช่วยสนับสนุนแลกเปลี่ยนความรู้และกระตุ้น ให้ให้ตื่นตัวมากขึ้น มีการดำเนินการอยู่แล้วหลายรูปแบบ เช่น การยกระดับเลขานุการบริษัท และนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนแผนงานดังกล่าวทั้ง CG, CSR และ Anti-corruption ผ่านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าในการผลักดันการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ชัดเจน ก.ล.ต. ได้จัดทำดัชนี้ชี้วัดพัฒนาการด้าน CSR และ Anti-corruption ของแต่ละบริษัทจดทะเบียนร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ รวมทั้งอยู่ระหว่างจัดทำ CG Gateway ในรูปแบบ website ที่จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้ง CG, CSR และ Anti-corruption เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวก ครบถ้วนในที่เดียว
นายชาลี สรุปปัญหาที่ต้องปรับปรุง CG ของบริษัทจดทะเบียนไทย ประกอบด้วย
1.บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
2.การเอาใจใส่ Stakeholders ทุกกลุ่ม
3.การยกระดับ CG ใน บจ.ขนาดกลางและเล็ก
4.การเน้นที่เนื้อหา ไม่ใช่แค่รูปแบบ
ทั้งนี้ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในไทยมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อย ๆ
•ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) ปี 2556 โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ไทยได้ 35/100 คะแนนอยู่อันดับที่ 102 จากทั้งหมด 177 ประเทศทั่วโลก
•ภาคเอกชนเกี่ยวข้องในฐานะผู้ให้ จึงมีความพยายามรณรงค์จาก 2 ด้านหลัก เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน (ต่อต้านในสังคม) และ แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน
ปัจจุบันมีบริษัทประกาศเจตนารมณ์แล้ว 302 บริษัทแต่ได้รับการรับรองจาก CAC โดย IOD เพียง 9 บริษัท โดยที่ประกาศเจตนารมย์ ได้แก่ บริษัททั่วไป113 บริษัท บริษัทจดทะเบียน 134 บริษัท จาก 586 บริษัท ธนาคารพาณิชย์ 15 แห่ง จาก 20 แห่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น