ในปีนี้ CSR มุ่งสู่บทบาทพลเมืองของภาคธุรกิจ หรือ Corporate Citizenship โดยมีการยกระดับการปฏิรูปสังคมด้วยแนวทาง การเข้าใจ เข้าถึง และร่วมพัฒนาสังคมที่เพิ่มขึ้น
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ชี้ “พลเมืองภาคองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น” เทรนด์มาแรง กำลังพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) ใช้เป็นตัวช่วยบริษัทที่อยู่ในโหมดนำไปปฏิบัติ
ที่มาที่ไปของการจัดเทรนด์ CSR ในไทย
เราทำงานขับเคลื่อนในเรื่อง CSR ร่วมกับภาคเอกชนมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเริ่มจากการวิจัยค้นหาองค์ความรู้เพื่อมาทำงานขับเคลื่อน งานวิจัยชิ้นแรกที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หัวเรื่องประมาณว่าเป็นการศึกษา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ ในเชิงคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและใช้ฐานภูมิปัญญาตะวันออก
ผลลัพธ์จากงานวิจัยดังกล่าว ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” เป็นครั้งแรก โดยมีการใช้ตัวกระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือในการจำแนก CSR ออกเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ใช้คำเรียกแทนว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” ถึงแม้จะไม่ค่อยตรงความหมายมากนัก แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปของกิจกรรมที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือ “CSR-after-process” และมีการใช้คำเรียก CSR จำพวกนี้ว่า “กิจกรรมเพื่อสังคม” เช่น การบริจาค การอาสาช่วยเหลือชุมชน
ต่อมามีงานวิจัยในเฟสต่อเนื่องมาจนถึงปี 2551 เฟสแรกได้ศึกษาร่วมกับองค์กรธุรกิจ 7 แห่ง ส่วนเฟสที่สองเพิ่มเป็น 13 แห่ง ช่วงระหว่างนั้น เราเริ่มมีแนวคิดจัดงานแถลงทิศทาง CSR ประจำปี เพื่อประมวลสิ่งที่เราศึกษามาเป็นข้อมูลทิศทาง CSR ที่เป็นแนวโน้มในประเทศไทย พร้อมเผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้ประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 2550
ทุกๆ ปี มีการประมวลข้อมูลและสถานการณ์สำคัญๆ ในรอบปี เป็นการประเมินแล้วว่า น่าจะมีอิทธิพลและคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการขับเคลื่อน CSR ของภาคธุรกิจ ทั้งข้อมูลทางตรงที่ได้รับจากการทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับที่กำหนดนโยบายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ Global Reporting Initiative ข้อมูลจากภาคีเครือข่ายที่เราเข้าไปร่วมขับเคลื่อน เช่น CSR Club ในสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หรือ คณะทำงานส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็น Focal Point ของไทยในเรื่อง CSR ตามกรอบความร่วมมืออาเซียน
รวมทั้งข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในปี 2553 มีผลกระทบจากคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ตัดสินให้ระงับโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และใกล้เคียง ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ หรือ ในปี 55 ผลพวงจากสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจอย่างกว้างขวางและกระเทือนถึงซัพพลายเชนทั่วโลก และล่าสุดกระแสที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปขนานใหญ่จากทั่วทุกสารทิศ จากมูลเหตุความไม่โปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินและการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐ
ในบริบท CSR ภาคธุรกิจ จะเข้าไปร่วมการปฏิรูป-ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างไร
คงจะต้องทำความเข้าใจ 2 เรื่องนี้ก่อนเรื่องแรก ปัญหาคอร์รัปชั่น ไม่ใช่ว่าปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้น และไม่ใช่ว่าไม่มีใครลุกขึ้นมาแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น จะว่าเป็นเทรนด์เฉพาะปีนี้คงไม่ได้ เรื่องที่สอง เรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นเป็นประเด็นหลักหนึ่งของ CSR หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า บริษัทที่บอกว่าตนเองทำ CSR จะต้องมีเรื่องการต่อต้านทุจริตในองค์กรด้วย ถ้าองค์กรไหนไม่มีหรือไม่ได้ทำเรื่องต้านทุจริตจริงจัง ก็แสดงว่าองค์กรนั้นไม่ได้มีหรือไม่ได้ทำ CSR อย่างจริงจังด้วย
ขอให้ไปดูได้ ทั้งหลักการใน UN Global Compact หรือเรื่องหลักในมาตรฐาน ISO26000 (เป็นมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม) หรือในแนวปฏิบัติของธุรกิจข้ามชาติที่ออกโดย OECD หรือในกรอบการรายงานความยั่งยืนของ GRI ที่เป็นองค์กรระดับนานาชาติ จนกระทั่งมาถึงแนวปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนที่ออกโดยสำนักงาน ก.ล.ต. แนวทาง CSR ของบริษัทที่ออกโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ของไทย ล้วนแล้วแต่พูดถึงการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นว่าเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของ CSR
ที่คาดว่า การต่อต้านทุจริตโดยองค์กรธุรกิจในบริบทของ CSR น่าจะเป็นเทรนด์หลักของปีนี้ เพราะมีปัจจัยบางตัวบ่งชี้ค่อนข้างชัด ปัจจัยแรก เราเห็นจำนวนของบริษัทที่มีการประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตที่ดำเนินงานโดย 8 องค์กรนำโดย IOD จากในปี 2553 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้น มีจำนวน 27 บริษัทที่เข้าร่วม เพิ่มเป็น 56 บริษัทใน ปี 2554 และเพิ่มเป็น 152 บริษัท ในปี 2555 และปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมแล้วราว 300 บริษัท ถือว่าเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ
เรื่องที่สอง ปีนี้จะเป็นปีแรกที่บริษัทจดทะเบียนจะต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรา 56 แห่ง พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ที่ต้องจัดส่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ โดยหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ได้เพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อ CSR และได้มีข้อแนะนำให้บริษัทเปิดเผยการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นหัวข้อแยกต่างหาก
บทบาทที่องค์กรธุรกิจจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม
ประการแรก : เตรียมและจัดการองค์กรตนเองให้พร้อมทำเรื่องต้านทุจริต ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรก เป็นเรื่องคำมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy) จากผู้บริหารสูงสุดและในนามองค์กรโดยมติคณะกรรมการบริษัทต่อการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ส่วนที่สอง เป็นการนำไปปฏิบัติ (Implementation) และส่วนที่สาม เป็นการติดตามผล (Monitoring)
ประการที่สอง : ใช้พลังจากการทำงานในแบบแนวร่วมเน้นการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และไม่ผลักภาระรับผิดชอบให้เป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเริ่มจากองค์กรตนเองและมีการดำเนินการที่เป็นแบบอย่างจากผู้นำองค์กรในลักษณะที่เป็น Action-Oriented นอกเหนือจากการให้คำมั่นและการประกาศเจตนารมณ์ เพราะความสำเร็จของการปฏิรูปเพื่อขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ได้เกิดจากจำนวนขององค์กรที่เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ไม่ได้เกิดจากการชี้นิ้วให้ภาครัฐหรือองค์กร (อิสระ) อื่นๆ ดำเนินการ หรือใช้วิธีโยนภาระไปสู่การสร้างหรือปลูกฝังคนรุ่นหลัง โดยที่ตัวเองมิได้ทำอะไรเลย
ธุรกิจจะต้องใช้สถานภาพที่ตนเองได้รับตามกฎหมายในฐานะของนิติบุคคล ดำรงบทบาทการเป็นพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เช่นที่บุคคลมีหน้าที่พลเมืองในการช่วยเหลือสังคมหรือยังประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสังคมโดยเริ่มจากตนเอง ซึ่งนาทีนี้ทุกภาคส่วนกำลังเรียกร้องให้มีการปฏิรูป โดยเฉพาะกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นประเด็นหลักอยู่ในทุกเวทีการปฏิรูป
"กำลังดำเนินการพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริษัทที่กำลังอยู่ในโหมดของการนำไปปฏิบัติ ได้มีแนวทางในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ"
สถาบันไทยพัฒน์ กับบทบาทขับเคลื่อนที่สนับสนุนการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรธุรกิจ
จริงๆ เราเริ่มทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่กลางปี 2553 ตอนนั้นสถาบันไทยพัฒน์ได้เข้าไปร่วมขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรมทั้ง 4 ภาคในประเด็นธุรกิจ (CSR) และศาสนา มีองค์กรภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมถกในประเด็น CSR นับรวมได้ 64 แห่ง ตกผลึกออกมาเป็นหลักการ 4 ข้อภายใต้กรอบแนวทาง “การทำงานวิถีกลุ่ม” หรือ Collective Action และได้มีการพัฒนาเป็นข้อเสนอมอบให้กับรัฐบาลในสมัยนั้น ผ่านทางเวที “Thailand Competitiveness Conference 2010” ซึ่งมี TMA เป็นแม่งานหลัก
ในช่วงดังกล่าวการขับเคลื่อนไปสอดรับกับสิ่งที่คุณชาญชัย จารุวัสตร์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการ IOD เริ่มจัดทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจภาคเอกชนเกี่ยวกับการสร้างแนวร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชั่น จนได้ก่อตั้งเป็นโครงการ Collective Action Coalition Against Corruption ขึ้นในปลายปี 2553
สำหรับปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ กำลังดำเนินการพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริษัทที่กำลังอยู่ในโหมดของการนำไปปฏิบัติ ได้มีแนวทางในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพราะที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพูดคุยกับบริษัทที่อยากจะทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร หรือมีวิธีและขั้นตอนดำเนินงานอะไรบ้าง โดยเครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้ข้อมูลแก่องค์กรที่ชัดเจนขึ้น
จุดประสงค์ของการใช้เครื่องมือ ไม่ได้ต้องการชี้ หรือใช้ตัดเกรดว่าบริษัทนี้ทำได้ดีกว่าบริษัทนั้น ในลักษณะ Score หรือผลคะแนนเทียบกับองค์กรอื่น แต่จะเป็นการบ่งบอกระดับในลักษณะ Progress Indicator ในเชิงที่เอื้อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทียบกับการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรตนเอง ซึ่งคาดว่าเครื่องมือในเวอร์ชั่นแรกจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
6 เทรนด์ CSR ก้าวถึงจุดเปลี่ยนแปลง
เทรนด์แรก : Corporate Citizenship Engagement องค์กรธุรกิจสามารถดำรงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทำหน้าที่ในหมวกของพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เป็นการเข้าร่วมขบวนปฏิรูปสังคม ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่น ประเด็นที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และเป็นหนึ่งในวาระหลักของการปฏิรูป ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้องค์กรธุรกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน จะมีการวางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน CSR
การเข้าร่วมขบวนปฏิรูปที่กำลังก่อตัวขึ้นในสังคมไทยของภาคเอกชนนั้นสามารถใช้แนวทาง Engage-Enable-Empower ที่เริ่มจาก ‘สำนึก’ ขององค์กรที่ประสงค์จะเข้าร่วม (Engage) ปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาด้วยการใช้สติปัญญาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์และทรัพยากรที่องค์กรมีให้ รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร เพื่อเปิดทาง (Enable) การเข้าร่วมปฏิรูป ทำให้เอื้อต่อการทำหน้าที่พลเมืองภาคองค์กร ตลอดจนการเสริมสร้างพลัง (Empower) ให้บุคลากรในเครือข่ายที่องค์กรเข้าไปร่วม แสดงเป้าประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายให้สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ เมื่อองค์กรถอนการทำงานออกจากเวที หรือประเด็นปฏิรูปที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
“ในปีนี้บทบาทของภาคเอกชนต่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาสังคม ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป็นมากกว่าการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่ในฐานะของพลเมืองภาคองค์กรที่ธุรกิจ (Corporate Citizenship Engagement) ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในสังคม และมีผลประโยชน์ร่วมกับสังคม” ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวไว้ในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship
เทรนด์สอง : Materiality Matters หมายถึงธุรกิจจะเพิ่มน้ำหนักความสำคัญมาที่ “สาระ” ของการดำเนินงาน และการรายงาน CSR มากขึ้น ตามกรอบการรายงานสากล และประกาศเรื่องการเปิดเผยข้อมูล CSR ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญที่สาระของการดำเนินงาน อยู่เหนือการตรวจสอบรูปแบบของรายการที่ดำเนินงาน และให้น้ำหนักกับความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถในการแจกแจงเรื่องทั้งหมดที่ได้ดำเนินการ ในปีนี้ องค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น
เทรนด์สาม : De-Organization Imperative หมายถึงเส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง ประเด็นการดำเนินงาน CSR จากนี้ไปจะไม่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะขององค์กรเพียงลำพัง แต่ยังยึดโยงกับสมรรถนะของคู่ค้าและครอบคลุมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นในห่วงโซ่ธุรกิจ เส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง หรือทำให้เกิดการลดทอนตัวตนหรือสภาพขององค์กรลง (De-Organization) เนื่องจากองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยการผลักภาระให้พ้นจากเขตความรับผิดชอบของตนได้ จึงคาดว่ากิจการขนาดใหญ่หลายแห่งในปีนี้จะลุกขึ้นเป็นผู้นำการขับเคลื่อน CSR ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เทรนด์สี่ : Strategy-Based CSR หมายความว่า แผนงาน CSR จะถูกยกระดับสู่การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมร้อยกับยุทธศาสตร์องค์กร วิธีการจะผนวก CSR เข้าในทุกส่วนการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างบูรณาการ เป็นการวางแนวทางการขับเคลื่อน CSR ไว้ในระดับกลยุทธ์องค์กร มิใช่เพียงการดำเนินงานตามแผนงาน CSR ที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม ในปีนี้ กระบวนทัศน์ของกิจการที่เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (CSR-in-process) จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR ในเชิงกลยุทธ์ (Strategy-Based) ที่เชื่อมร้อยเข้ากับยุทธศาสตร์องค์กร โดยมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองตอบต่อเป้าประสงค์ในระดับองค์กร มากกว่าการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในระดับแผนงานที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม
เทรนด์ห้า : Creating Shared Value (CSV) เป็นแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม จะถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในธุรกิจเพื่อตอบโจทย์สังคมที่เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการมาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ในปีนี้ คาดว่าจะมีธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจำเป็นทางสังคม ที่สร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นสิ่งจูงใจ
เทรนด์ที่หก : Green Procurement Policy หรือการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของธุรกิจ เพื่อแสดงถึง CSR ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกระบวนการสำคัญของธุรกิจ ที่สามารถใช้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจหันมาใส่ใจผลิตสินค้าและบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ในปีนี้ ภาคธุรกิจ จะมีความเคลื่อนไหวในการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ชี้ “พลเมืองภาคองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น” เทรนด์มาแรง กำลังพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) ใช้เป็นตัวช่วยบริษัทที่อยู่ในโหมดนำไปปฏิบัติ
ที่มาที่ไปของการจัดเทรนด์ CSR ในไทย
เราทำงานขับเคลื่อนในเรื่อง CSR ร่วมกับภาคเอกชนมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเริ่มจากการวิจัยค้นหาองค์ความรู้เพื่อมาทำงานขับเคลื่อน งานวิจัยชิ้นแรกที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หัวเรื่องประมาณว่าเป็นการศึกษา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ ในเชิงคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและใช้ฐานภูมิปัญญาตะวันออก
ผลลัพธ์จากงานวิจัยดังกล่าว ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” เป็นครั้งแรก โดยมีการใช้ตัวกระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือในการจำแนก CSR ออกเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ใช้คำเรียกแทนว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” ถึงแม้จะไม่ค่อยตรงความหมายมากนัก แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปของกิจกรรมที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือ “CSR-after-process” และมีการใช้คำเรียก CSR จำพวกนี้ว่า “กิจกรรมเพื่อสังคม” เช่น การบริจาค การอาสาช่วยเหลือชุมชน
ต่อมามีงานวิจัยในเฟสต่อเนื่องมาจนถึงปี 2551 เฟสแรกได้ศึกษาร่วมกับองค์กรธุรกิจ 7 แห่ง ส่วนเฟสที่สองเพิ่มเป็น 13 แห่ง ช่วงระหว่างนั้น เราเริ่มมีแนวคิดจัดงานแถลงทิศทาง CSR ประจำปี เพื่อประมวลสิ่งที่เราศึกษามาเป็นข้อมูลทิศทาง CSR ที่เป็นแนวโน้มในประเทศไทย พร้อมเผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้ประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 2550
ทุกๆ ปี มีการประมวลข้อมูลและสถานการณ์สำคัญๆ ในรอบปี เป็นการประเมินแล้วว่า น่าจะมีอิทธิพลและคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการขับเคลื่อน CSR ของภาคธุรกิจ ทั้งข้อมูลทางตรงที่ได้รับจากการทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับที่กำหนดนโยบายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ Global Reporting Initiative ข้อมูลจากภาคีเครือข่ายที่เราเข้าไปร่วมขับเคลื่อน เช่น CSR Club ในสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หรือ คณะทำงานส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็น Focal Point ของไทยในเรื่อง CSR ตามกรอบความร่วมมืออาเซียน
รวมทั้งข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในปี 2553 มีผลกระทบจากคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ตัดสินให้ระงับโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และใกล้เคียง ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ หรือ ในปี 55 ผลพวงจากสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจอย่างกว้างขวางและกระเทือนถึงซัพพลายเชนทั่วโลก และล่าสุดกระแสที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปขนานใหญ่จากทั่วทุกสารทิศ จากมูลเหตุความไม่โปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินและการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐ
ในบริบท CSR ภาคธุรกิจ จะเข้าไปร่วมการปฏิรูป-ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างไร
คงจะต้องทำความเข้าใจ 2 เรื่องนี้ก่อนเรื่องแรก ปัญหาคอร์รัปชั่น ไม่ใช่ว่าปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้น และไม่ใช่ว่าไม่มีใครลุกขึ้นมาแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น จะว่าเป็นเทรนด์เฉพาะปีนี้คงไม่ได้ เรื่องที่สอง เรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นเป็นประเด็นหลักหนึ่งของ CSR หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า บริษัทที่บอกว่าตนเองทำ CSR จะต้องมีเรื่องการต่อต้านทุจริตในองค์กรด้วย ถ้าองค์กรไหนไม่มีหรือไม่ได้ทำเรื่องต้านทุจริตจริงจัง ก็แสดงว่าองค์กรนั้นไม่ได้มีหรือไม่ได้ทำ CSR อย่างจริงจังด้วย
ขอให้ไปดูได้ ทั้งหลักการใน UN Global Compact หรือเรื่องหลักในมาตรฐาน ISO26000 (เป็นมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม) หรือในแนวปฏิบัติของธุรกิจข้ามชาติที่ออกโดย OECD หรือในกรอบการรายงานความยั่งยืนของ GRI ที่เป็นองค์กรระดับนานาชาติ จนกระทั่งมาถึงแนวปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนที่ออกโดยสำนักงาน ก.ล.ต. แนวทาง CSR ของบริษัทที่ออกโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ของไทย ล้วนแล้วแต่พูดถึงการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นว่าเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของ CSR
ที่คาดว่า การต่อต้านทุจริตโดยองค์กรธุรกิจในบริบทของ CSR น่าจะเป็นเทรนด์หลักของปีนี้ เพราะมีปัจจัยบางตัวบ่งชี้ค่อนข้างชัด ปัจจัยแรก เราเห็นจำนวนของบริษัทที่มีการประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตที่ดำเนินงานโดย 8 องค์กรนำโดย IOD จากในปี 2553 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้น มีจำนวน 27 บริษัทที่เข้าร่วม เพิ่มเป็น 56 บริษัทใน ปี 2554 และเพิ่มเป็น 152 บริษัท ในปี 2555 และปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมแล้วราว 300 บริษัท ถือว่าเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ
เรื่องที่สอง ปีนี้จะเป็นปีแรกที่บริษัทจดทะเบียนจะต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรา 56 แห่ง พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ที่ต้องจัดส่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ โดยหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ได้เพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อ CSR และได้มีข้อแนะนำให้บริษัทเปิดเผยการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นหัวข้อแยกต่างหาก
บทบาทที่องค์กรธุรกิจจะมีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม
ประการแรก : เตรียมและจัดการองค์กรตนเองให้พร้อมทำเรื่องต้านทุจริต ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรก เป็นเรื่องคำมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy) จากผู้บริหารสูงสุดและในนามองค์กรโดยมติคณะกรรมการบริษัทต่อการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ส่วนที่สอง เป็นการนำไปปฏิบัติ (Implementation) และส่วนที่สาม เป็นการติดตามผล (Monitoring)
ประการที่สอง : ใช้พลังจากการทำงานในแบบแนวร่วมเน้นการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และไม่ผลักภาระรับผิดชอบให้เป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเริ่มจากองค์กรตนเองและมีการดำเนินการที่เป็นแบบอย่างจากผู้นำองค์กรในลักษณะที่เป็น Action-Oriented นอกเหนือจากการให้คำมั่นและการประกาศเจตนารมณ์ เพราะความสำเร็จของการปฏิรูปเพื่อขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ได้เกิดจากจำนวนขององค์กรที่เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ไม่ได้เกิดจากการชี้นิ้วให้ภาครัฐหรือองค์กร (อิสระ) อื่นๆ ดำเนินการ หรือใช้วิธีโยนภาระไปสู่การสร้างหรือปลูกฝังคนรุ่นหลัง โดยที่ตัวเองมิได้ทำอะไรเลย
ธุรกิจจะต้องใช้สถานภาพที่ตนเองได้รับตามกฎหมายในฐานะของนิติบุคคล ดำรงบทบาทการเป็นพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เช่นที่บุคคลมีหน้าที่พลเมืองในการช่วยเหลือสังคมหรือยังประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสังคมโดยเริ่มจากตนเอง ซึ่งนาทีนี้ทุกภาคส่วนกำลังเรียกร้องให้มีการปฏิรูป โดยเฉพาะกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นประเด็นหลักอยู่ในทุกเวทีการปฏิรูป
"กำลังดำเนินการพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริษัทที่กำลังอยู่ในโหมดของการนำไปปฏิบัติ ได้มีแนวทางในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ"
สถาบันไทยพัฒน์ กับบทบาทขับเคลื่อนที่สนับสนุนการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรธุรกิจ
จริงๆ เราเริ่มทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่กลางปี 2553 ตอนนั้นสถาบันไทยพัฒน์ได้เข้าไปร่วมขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรมทั้ง 4 ภาคในประเด็นธุรกิจ (CSR) และศาสนา มีองค์กรภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมถกในประเด็น CSR นับรวมได้ 64 แห่ง ตกผลึกออกมาเป็นหลักการ 4 ข้อภายใต้กรอบแนวทาง “การทำงานวิถีกลุ่ม” หรือ Collective Action และได้มีการพัฒนาเป็นข้อเสนอมอบให้กับรัฐบาลในสมัยนั้น ผ่านทางเวที “Thailand Competitiveness Conference 2010” ซึ่งมี TMA เป็นแม่งานหลัก
ในช่วงดังกล่าวการขับเคลื่อนไปสอดรับกับสิ่งที่คุณชาญชัย จารุวัสตร์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการ IOD เริ่มจัดทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจภาคเอกชนเกี่ยวกับการสร้างแนวร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชั่น จนได้ก่อตั้งเป็นโครงการ Collective Action Coalition Against Corruption ขึ้นในปลายปี 2553
สำหรับปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ กำลังดำเนินการพัฒนาเครื่องมือประเมินระดับการต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption Rating) เพื่อเป็นตัวช่วยให้บริษัทที่กำลังอยู่ในโหมดของการนำไปปฏิบัติ ได้มีแนวทางในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพราะที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพูดคุยกับบริษัทที่อยากจะทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร หรือมีวิธีและขั้นตอนดำเนินงานอะไรบ้าง โดยเครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้ข้อมูลแก่องค์กรที่ชัดเจนขึ้น
จุดประสงค์ของการใช้เครื่องมือ ไม่ได้ต้องการชี้ หรือใช้ตัดเกรดว่าบริษัทนี้ทำได้ดีกว่าบริษัทนั้น ในลักษณะ Score หรือผลคะแนนเทียบกับองค์กรอื่น แต่จะเป็นการบ่งบอกระดับในลักษณะ Progress Indicator ในเชิงที่เอื้อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทียบกับการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรตนเอง ซึ่งคาดว่าเครื่องมือในเวอร์ชั่นแรกจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
6 เทรนด์ CSR ก้าวถึงจุดเปลี่ยนแปลง
เทรนด์แรก : Corporate Citizenship Engagement องค์กรธุรกิจสามารถดำรงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทำหน้าที่ในหมวกของพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เป็นการเข้าร่วมขบวนปฏิรูปสังคม ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่น ประเด็นที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และเป็นหนึ่งในวาระหลักของการปฏิรูป ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้องค์กรธุรกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน จะมีการวางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน CSR
การเข้าร่วมขบวนปฏิรูปที่กำลังก่อตัวขึ้นในสังคมไทยของภาคเอกชนนั้นสามารถใช้แนวทาง Engage-Enable-Empower ที่เริ่มจาก ‘สำนึก’ ขององค์กรที่ประสงค์จะเข้าร่วม (Engage) ปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาด้วยการใช้สติปัญญาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์และทรัพยากรที่องค์กรมีให้ รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร เพื่อเปิดทาง (Enable) การเข้าร่วมปฏิรูป ทำให้เอื้อต่อการทำหน้าที่พลเมืองภาคองค์กร ตลอดจนการเสริมสร้างพลัง (Empower) ให้บุคลากรในเครือข่ายที่องค์กรเข้าไปร่วม แสดงเป้าประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายให้สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ เมื่อองค์กรถอนการทำงานออกจากเวที หรือประเด็นปฏิรูปที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
“ในปีนี้บทบาทของภาคเอกชนต่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาสังคม ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป็นมากกว่าการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่ในฐานะของพลเมืองภาคองค์กรที่ธุรกิจ (Corporate Citizenship Engagement) ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในสังคม และมีผลประโยชน์ร่วมกับสังคม” ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวไว้ในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship
เทรนด์สอง : Materiality Matters หมายถึงธุรกิจจะเพิ่มน้ำหนักความสำคัญมาที่ “สาระ” ของการดำเนินงาน และการรายงาน CSR มากขึ้น ตามกรอบการรายงานสากล และประกาศเรื่องการเปิดเผยข้อมูล CSR ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญที่สาระของการดำเนินงาน อยู่เหนือการตรวจสอบรูปแบบของรายการที่ดำเนินงาน และให้น้ำหนักกับความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถในการแจกแจงเรื่องทั้งหมดที่ได้ดำเนินการ ในปีนี้ องค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น
เทรนด์สาม : De-Organization Imperative หมายถึงเส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง ประเด็นการดำเนินงาน CSR จากนี้ไปจะไม่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะขององค์กรเพียงลำพัง แต่ยังยึดโยงกับสมรรถนะของคู่ค้าและครอบคลุมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นในห่วงโซ่ธุรกิจ เส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง หรือทำให้เกิดการลดทอนตัวตนหรือสภาพขององค์กรลง (De-Organization) เนื่องจากองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยการผลักภาระให้พ้นจากเขตความรับผิดชอบของตนได้ จึงคาดว่ากิจการขนาดใหญ่หลายแห่งในปีนี้จะลุกขึ้นเป็นผู้นำการขับเคลื่อน CSR ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เทรนด์สี่ : Strategy-Based CSR หมายความว่า แผนงาน CSR จะถูกยกระดับสู่การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมร้อยกับยุทธศาสตร์องค์กร วิธีการจะผนวก CSR เข้าในทุกส่วนการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างบูรณาการ เป็นการวางแนวทางการขับเคลื่อน CSR ไว้ในระดับกลยุทธ์องค์กร มิใช่เพียงการดำเนินงานตามแผนงาน CSR ที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม ในปีนี้ กระบวนทัศน์ของกิจการที่เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (CSR-in-process) จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR ในเชิงกลยุทธ์ (Strategy-Based) ที่เชื่อมร้อยเข้ากับยุทธศาสตร์องค์กร โดยมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองตอบต่อเป้าประสงค์ในระดับองค์กร มากกว่าการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในระดับแผนงานที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม
เทรนด์ห้า : Creating Shared Value (CSV) เป็นแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม จะถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในธุรกิจเพื่อตอบโจทย์สังคมที่เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการมาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ในปีนี้ คาดว่าจะมีธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจำเป็นทางสังคม ที่สร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นสิ่งจูงใจ
เทรนด์ที่หก : Green Procurement Policy หรือการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของธุรกิจ เพื่อแสดงถึง CSR ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกระบวนการสำคัญของธุรกิจ ที่สามารถใช้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจหันมาใส่ใจผลิตสินค้าและบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ในปีนี้ ภาคธุรกิจ จะมีความเคลื่อนไหวในการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร