นับจากไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีการรายงานข้อมูลในแบบ 56-1 และ เปิดเผยในรายงานประจำปีที่มีหัวข้อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นในรายงานรอบมีนาคม 2557 เป็นต้นไป
ไม่รู้ว่าจะมีใครบ่นกันหรือไม่ ว่าต้องทำการส่งรายงานมากขึ้น ตามหลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ ที่บริษัทจดทะเบียนฯ ต้องจะส่งให้ ก.ล.ต.
นั้นคือการรายงานอีก 2 เรื่อง คือ 1. การดำเนินงานด้าน CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) และ 2.เปิดเผยเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (เพื่อป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท และบริษัทย่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น)
นี่นับเป็นพัฒนการบทบาทสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีแผนผลักดัน การพัฒนาความยั่งยืนให้กับบริษัทจดทะเบียน
ชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ ก.ล.ต. อธิบายว่า การดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมาย เพื่อไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนจะสามารถรับมือภาวะวิกฤตได้อย่างทันท่วงที เพราะการดำเนินงานได้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียรอบด้านทั้งในมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ก.ล.ต. จึงได้กำหนดแนวทางส่งเสริมไว้ 3 เรื่อง คือ
1.การมีธรรมาภิบาล ที่เน้นการปฏิบัติ (CG-in substance)
2.การทำให้หลัก CSR หลอมรวมอยู่ในกระบวนการธุรกิจ (CSR- in process)
3.ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง (Anti-corruption in practice)
ทั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือ 3 ด้านพร้อมกัน คือ
1.การใช้กฏระเบียบ กำหนดให้ทำ เช่น ให้บริษัทจดทะเบียน รายงานข้อมูล CSR และ การต่อต้านคอร์รัปชั่น ในแบบรายงาน 56-1 และเปิดเผยในรายงานประจำปี
2.สร้างแรงกดดันทางสังคม ตัวอย่างเช่น สนับสนุนให้สถาบัน IOD เผยแพร่ผลการจัดระดับ CG หรือ ธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน ก็น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เร่งปรับตัว โดยเฉพาะการที่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน ผนึกกำลังกันประกาศว่าจะใช้ ข้อมูล CG การมี CSR และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เป็นปัจจัยพิจารณาการลงทุนในหลักทรัพย์ เพราะต้องการลงทุนในกิจการที่มีความถูกต้อง เป็นธรรม รับผิดชอบและไม่สนับสนุนการคดโกง
3.การส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น เป็นเรื่องเฉพาะรายของบริษัทจดทะเบียนที่สนใจและตั้งใจดำเนินการเรื่องนี้เอง เพราะเห็นว่าเป้นประโยชน์ต่อกิจการ
เรื่องแบบนี้เราเคยได้ยันนักธุรกิจและนักการเมืองที่พูดสนับสนุน 3 แนวทางข้างต้น ว่าสนับสนุนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้ “ดูดี”
แต่เพื่อให้เป็นจริง ก.ล.ต.จึงเตรียมร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ จัดทำดัชนีชี้วัดความคืบหน้าในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทจดทะเบียน (Anti-Corruption Progress Indicator) และ ดัชนีความคืบหน้าด้านความรับผิดชอบต่อต้าน ( CSR Progress Indicator )
รองเลขาธิการ ก.ล.ต.เปิดเผยว่าทั้ง 2 ดัชนี จะมี 5 ระดับการชี้วัด เพื่อกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดทรัพย์ดำเนินธุรกิจที่โป่รงใสและเป็นแบบอย่างที่ดีให้บริษัทอื่นปฏิบัติตาม
ข้อคิด...
กานต์ ตระกูลฮุน ผู้บริหารสูงสุด (CEO) เครือซิเมนต์ไทยเคยกล่าวเมื่อวันรับรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards เมื่อเดือนสิงหาคมปีทีผ่านมาว่า “CSR เพื่อภาพลักษณ์หมดยุดไปแล้ว วันนี้องค์กรต้องรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความจริงใจ และด้วยความรับผิดชอบอย่างแท้จริง”
คนที่เคยมีความคิดแบบเก่าว่า กิจการค้า หรืออุตสาหกรรมต้องมุ่งหารายได้และทำกำไร จึงจะอยู่รอดและเติบโตมาถึงยุดปัจจุบันนี้ ก็ต้องปรับความคิดและพฤติกรรมว่าแค่นั้นไม่พอ ! เพราะวิกฤติที่เกิดกับสังคมและสภาวะแวดล้อมยุคนี้ได้ยืนยันว่าเป็นผลจากกรณีการแสวงหาผลประโยช์นอย่างไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม โดยสร้างผลกระทบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมจนเกิดผลกระทบต่อเนื่อง จนเกิดกระแสกดดันให้มีความโปร่งใสและเปิดเผยอย่างเป็นระบบ
มาตรการที่ ก.ล.ต.ดำเนินอยู่ในการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจด้วยหลักความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีธรรมาภิบาล (CG) และต่อต้านคอร์รัปชั่น
อันที่จริงแล้วกิจการที่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารสูงสุดมีวิสัยทัคน์และนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR คือมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม คำนึงถึงการสร้างคุณค่า ไม่ส่งผลเสียหายด่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ก็จะเป็นแกนหลักให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจ เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล (ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้)
แน่นอนกิจการแบบนี้ย่อมไม่สนับสนุนและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นรากเหง้าของสาเหตุความไม่เป็นธรรมและการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
suwatmgr@gmail.com
ไม่รู้ว่าจะมีใครบ่นกันหรือไม่ ว่าต้องทำการส่งรายงานมากขึ้น ตามหลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงใหม่ ที่บริษัทจดทะเบียนฯ ต้องจะส่งให้ ก.ล.ต.
นั้นคือการรายงานอีก 2 เรื่อง คือ 1. การดำเนินงานด้าน CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) และ 2.เปิดเผยเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (เพื่อป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท และบริษัทย่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น)
นี่นับเป็นพัฒนการบทบาทสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีแผนผลักดัน การพัฒนาความยั่งยืนให้กับบริษัทจดทะเบียน
ชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการ ก.ล.ต. อธิบายว่า การดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมาย เพื่อไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนจะสามารถรับมือภาวะวิกฤตได้อย่างทันท่วงที เพราะการดำเนินงานได้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียรอบด้านทั้งในมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ก.ล.ต. จึงได้กำหนดแนวทางส่งเสริมไว้ 3 เรื่อง คือ
1.การมีธรรมาภิบาล ที่เน้นการปฏิบัติ (CG-in substance)
2.การทำให้หลัก CSR หลอมรวมอยู่ในกระบวนการธุรกิจ (CSR- in process)
3.ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง (Anti-corruption in practice)
ทั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือ 3 ด้านพร้อมกัน คือ
1.การใช้กฏระเบียบ กำหนดให้ทำ เช่น ให้บริษัทจดทะเบียน รายงานข้อมูล CSR และ การต่อต้านคอร์รัปชั่น ในแบบรายงาน 56-1 และเปิดเผยในรายงานประจำปี
2.สร้างแรงกดดันทางสังคม ตัวอย่างเช่น สนับสนุนให้สถาบัน IOD เผยแพร่ผลการจัดระดับ CG หรือ ธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน ก็น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เร่งปรับตัว โดยเฉพาะการที่กลุ่มนักลงทุนสถาบัน ผนึกกำลังกันประกาศว่าจะใช้ ข้อมูล CG การมี CSR และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เป็นปัจจัยพิจารณาการลงทุนในหลักทรัพย์ เพราะต้องการลงทุนในกิจการที่มีความถูกต้อง เป็นธรรม รับผิดชอบและไม่สนับสนุนการคดโกง
3.การส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น เป็นเรื่องเฉพาะรายของบริษัทจดทะเบียนที่สนใจและตั้งใจดำเนินการเรื่องนี้เอง เพราะเห็นว่าเป้นประโยชน์ต่อกิจการ
เรื่องแบบนี้เราเคยได้ยันนักธุรกิจและนักการเมืองที่พูดสนับสนุน 3 แนวทางข้างต้น ว่าสนับสนุนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้ “ดูดี”
แต่เพื่อให้เป็นจริง ก.ล.ต.จึงเตรียมร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ จัดทำดัชนีชี้วัดความคืบหน้าในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทจดทะเบียน (Anti-Corruption Progress Indicator) และ ดัชนีความคืบหน้าด้านความรับผิดชอบต่อต้าน ( CSR Progress Indicator )
รองเลขาธิการ ก.ล.ต.เปิดเผยว่าทั้ง 2 ดัชนี จะมี 5 ระดับการชี้วัด เพื่อกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดทรัพย์ดำเนินธุรกิจที่โป่รงใสและเป็นแบบอย่างที่ดีให้บริษัทอื่นปฏิบัติตาม
ข้อคิด...
กานต์ ตระกูลฮุน ผู้บริหารสูงสุด (CEO) เครือซิเมนต์ไทยเคยกล่าวเมื่อวันรับรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards เมื่อเดือนสิงหาคมปีทีผ่านมาว่า “CSR เพื่อภาพลักษณ์หมดยุดไปแล้ว วันนี้องค์กรต้องรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความจริงใจ และด้วยความรับผิดชอบอย่างแท้จริง”
คนที่เคยมีความคิดแบบเก่าว่า กิจการค้า หรืออุตสาหกรรมต้องมุ่งหารายได้และทำกำไร จึงจะอยู่รอดและเติบโตมาถึงยุดปัจจุบันนี้ ก็ต้องปรับความคิดและพฤติกรรมว่าแค่นั้นไม่พอ ! เพราะวิกฤติที่เกิดกับสังคมและสภาวะแวดล้อมยุคนี้ได้ยืนยันว่าเป็นผลจากกรณีการแสวงหาผลประโยช์นอย่างไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม โดยสร้างผลกระทบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมจนเกิดผลกระทบต่อเนื่อง จนเกิดกระแสกดดันให้มีความโปร่งใสและเปิดเผยอย่างเป็นระบบ
มาตรการที่ ก.ล.ต.ดำเนินอยู่ในการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจด้วยหลักความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มีธรรมาภิบาล (CG) และต่อต้านคอร์รัปชั่น
อันที่จริงแล้วกิจการที่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารสูงสุดมีวิสัยทัคน์และนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR คือมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม คำนึงถึงการสร้างคุณค่า ไม่ส่งผลเสียหายด่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ก็จะเป็นแกนหลักให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจ เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล (ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้)
แน่นอนกิจการแบบนี้ย่อมไม่สนับสนุนและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นรากเหง้าของสาเหตุความไม่เป็นธรรมและการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
suwatmgr@gmail.com