นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
ความเดิมมีอยู่ว่า...
พระทากูอันยืนอยู่ข้าง ๆ รำพึงรำพันด้วยความรู้สึกของชายหนุ่ม---และนักปฏิบัติธรรม ไม่มีทีท่าว่าจะเข้าช่วยโอซือที่กำลังตั้งอกตั้งใจตัดดอกไม้ใส่กระบุง
“...โอซือ ตัวตนของเจ้า ณ เวลานี้คือความสงบสุขที่แท้จริง มนุษย์เราสามารถมีชีวิตอย่างสุขสงบราวอยู่บนวิมานที่ดารดาษไปด้วยดอกไม้ด้วยกันทั้งนั้น แต่ทำไมถึงได้ชอบที่จะร้องไห้ ทุกข์ทรมาน ชอบที่จะตกจมลงไปในวังวนของกิเลศ ตัณหา ชอบที่จะเข่นฆ่ากัน ทรมานตนเองอยู่ในไฟนรก อาตมาไม่อยากให้ โอซือเป็นเช่นนั้น”
3
โอซือตัดดอกไม้ดอกหญ้าหลากสีนานาพันธุ์อันมีดอกนาโนฮานะสีเหลือง ดอกเบญจมาศ โอนิเงชิ กุหลาบดง และซุมิเระ โยนใส่กระบุง พลางพูดหยอกล้อพระทากูอัน
“หลวงพี่เจ้าคะ อย่ามัวแต่เทศนาโปรดสัตว์อยู่เลย ระวังหัวให้ดีเถิดเดี๋ยวจะถูกผึ้งต่อยเอาอีก”
พระทากูอันมาสนใจคำเตือน
“เด็กดื้อ นี่ไม่ใช่เวลามาพูดถึงผึ้ง อาตมากำลังนำคำของพระพุทธองค์มาสอนเจ้าเรื่องชะตาชีวิตของผู้หญิงต่างหาก”
“ไม่ต้องมายุ่งกับชะตาชีวิตของฉันหรอกหลวงพี่”
“ไม่ต้องมาพูดดีนะโอซือ พระอาจจะถูกมองว่าชอบเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านก็จริงอยู่ แต่ถ้าชาวบ้านไม่ต้องการก็คงไม่มีพระอยู่ในโลกนี้แล้วละเจ้า พระก็เหมือนกับพ่อค้าข้าว พ่อค้าเสื้อผ้า ช่างไม้ และก็นักรบนั่นแหละ ที่มีอยู่ก็เพราะชาวบ้านเขาต้องการ เดิมทีพระกับสีกาเข้ากันไม่ได้มาตั้งแต่โบราณนานมากว่าสามพันปี สมัยที่ว่าหญิงคือยักษี คือพญามาร คือทูตนรก หรือสุดแต่ว่าจะหาคำร้าย ๆ มาว่า ที่อาตมากับโอซือไม่ถูกกัน ก็คงจะเป็นเพราะอย่างนี้ละมัง”
“ทำไมถึงมาว่าผู้หญิงเป็นยักษี”
“ก็เพราะนางชอบหลอกลวงพวกผู้ชายน่ะซี”
“ชายก็ชอบหลอกผู้หญิงเหมือนกันนะหลวงพี่”
“เดี๋ยว ๆ โอซือ...เจ้าสวนคำเร็วอย่างนี้อาตมาก็แย่น่ะซี...ใช่ ใช่ เข้าใจแล้ว”
“งั้นก็ตอบมาเร็ว ๆ “
“ก็เพราะพระพุทธจ้าท่านเป็นชาย...”
“หลวงพี่เถียงไม่ได้ก็เอาสีข้างเข้าถูไปเรื่อย”
“แต่ นางเอ๋ย”
“โอ๊ย...พอได้แล้ว หนวกหู”
“นางเอ๋ย อย่าดื้อดึงไปเลยฟังอาตมาเถิด เมื่อครั้งที่พระสิทธัตถะยังทรงเป็นหนุ่ม ยามที่นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ถูกนางมารทั้งนางยั่วนางงามมากหน้าหลายตามาผจญ จนทำให้มองสตรีว่าเป็นเพศที่น่ารังเกียจ แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิตเมื่อได้ทรงบรรลุซึ่งธรรมะอันสูงส่งพระองค์ก็ได้รับสตรีหลายคนมาเป็นสานุศิษย์ พระโพธิสัตว์นาคารชุนะไม่ทรงโปรดสตรีพอ ๆ กับพระสิทธัตถะหรือจะพูดให้ถูกคือกลัวมากกว่านั้น ยังได้พูดถึงคุณสมบัติของศรีภรรยาที่ควรแก่การสรรเสริญเอาไว้สี่ประการคือ เป็นพี่น้องที่เคารพนบนอบ เป็นเพื่อนที่รัก เป็นมารดาผู้มีจิตใจอ่อนโยน และเป็นบ่าวผู้ภักดี และทรงแนะนำว่าบุรุษผู้ทรงปัญญาควรเลือกสตรีเช่นนั้นมาเป็นคู่ครอง”
“ก็ดีแต่พูดในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่พวกผู้ชายด้วยกันเท่านั้น”
“ช่วยไม่ได้นะเพราะนั่นเป็นเรื่องของอินเดียสมัยโบราณนานมา ที่ให้ความสำคัญแก่บุรุษมากกว่าสตรี ยิ่งกว่าในญี่ปุ่นเสียอีก พระโพธิสัตว์นาคารชุนะยังได้ตรัสต่อไปอีกว่า---”
“ว่ายังไง”
“สตรีเอ๋ยเจ้าจงอย่าสมรสกับบุรุษ”
“ตลกแล้วหลวงพี่”
“อย่ามาหัวเราะอาตมา เจ้าต้องฟังให้ครบถึงท่อนจบคือ---สตรีเอ๋ยเจ้าจงสมรสกับความจริง”
“... ... ...”
“เข้าใจหรือยังโอซือ---จงสมรสกับความจริง พูดง่าย ๆ ก็คืออย่าหลงรักบุรุษ แต่ให้หลงรักความจริง”
“แล้วความจริงที่ว่านั้นคืออะไรหรือหลวงพี่”
“โอซือเอ๊ย ว่ากันตามจริงอาตมาก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้นักหรอก”
โอซือหัวเราะเสียงแหลม
“พูดอันตามภาษาชาวบ้านก็คือ แต่งงานกับความเป็นจริง ออกเรือนไปกับคนในบ้านเกิดเมืองนอนแล้วก็ออกลูกเลี้ยงลูกกันให้แข็งแรงเป็นเด็กดีอยู่ที่นี่ แทนที่จะทะเยอทะยานเข้าไปนครหลวงหรือเมืองใหญ่ที่ใฝ่ฝันและมีลูกที่สำรวยและอ่อนแอ”
“พูดไปเรื่อย...” โอซือว่าแล้วทำท่าแกล้งตี “หลวงพี่มาช่วยฉันตัดดอกไม้ไม่ใช่รึ”
“ดูเหมือนจะจริง”
“ถ้างั้นอย่ามัวแต่พูดอยู่เลย หยิบเคียวมาช่วยกันดีกว่า”
“เรื่องเล็กมาก”
“หลวงพี่ตัดดอกไม้ไปนะ ฉันจะไปบ้านโอกินสักหน่อย ถ้าเธอเย็บผ้าคาดโอบิให้ฉันเสร็จแล้วจะได้รับเอามา”
“โอกิน อ๋อที่เคยมาที่วัดเมื่อวันก่อนใช่ไหม งั้นอาตมาไปด้วย”
“ไปทั้งอย่างนี้น่ะรึ”
“พอดีคอแห้งเป็นผง จะได้ขอน้ำชาดื่มสักหน่อย”
4
โอกินอายุยี่สิบห้าแล้ว รูปร่างหน้าตาไม่ใช่ว่าจะขี้ริ้ว ตระกูลก็ดี และมีแม่สื่อแม่ชักมาติดต่อสู่ขอไม่ได้ขาด แม้จะมีน้องชายเป็นเด็กเกเรมีกิติศัพท์เลื่องลือไปทั่วถึงหมู่บ้านใกล้เคียงมาตั้งแต่เด็ก ในนาม ทาเกโซแห่งหมู่บ้านมิยาโมโตะ เข้าคู่กับ มาตาฮาจิแห่งหมู่บ้านฮนอิเด็น แต่ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความมีวิชาความรู้ของโอกินเป็นเสน่ห์จูงใจให้มีคนมาสู่ขออยู่เนือง ๆ แต่ทุกครั้งนางจะปฏิเสธทุกรายด้วยเหตุผลเดียวกันว่าเสมอว่า---ฉันต้องทำหน้าที่เป็นแม่ดูแลทาเกโซน้องชายให้โตเป็นผู้ใหญ่กว่านี้อีกสักหน่อย
โอกินอาศัยอยู่ในบ้านที่มูนิไซผู้เป็นพ่อของนางซึ่งเป็นครูฝึกนักรบของตระกูลชินเม็นสมัยที่ยังรุ่งเรือง ได้รับอนุญาตจากประมุขของตระกูลให้สร้างขึ้นบนที่ราบลุ่มแม่น้ำไอดางาวะตอนล่าง เป็นบ้านกว้างขวางใหญ่โตมีรั้วดินฐานหินล้อมรอบสง่างามเกินฐานะนักรบซามูไรท้องถิ่น แต่บัดนี้บ้านเก่าแก่ทรุดโทรมลงมาก บนหลังคามีหญ้าขึ้นแซมและตรงซอกระหว่างหน้าต่างสูงกับชายคาเรือนที่เคยเป็นโรงฝึกอาวุธ มีขี้นกนางแอ่นจับขาวเต็มไปหมด
ต่อมาวิถีชีวิตมูนิไซผกผันกลายเป็นซามูไรไร้นายและจบชีวิตลงท่ามกลางความยากจนข้นแค้น บริวารและคนรับใช้ต้องแยกย้ายกันออกไปทำมาหากินที่อื่น แต่เนื่องจากทุกคนเป็นคนในหมู่บ้านมิยาโมโตะกันทั้งนั้น พ่อเฒ่าแม่เฒ่าและคนที่เคยอยู่ร่วมกันมาในเรือนใหญ่ ต่างก็ผลัดกันมาดูแลบ้านของมูนิไซไม่ได้ขาด บ้างก็เอาผักมาวางไว้ให้ในครัว บ้างก็มาเก็บกวาดห้องหับ บ้างก็ตักน้ำมาใส่โอ่งใส่ไหไว้ให้
แม้จนทุกวันนี้---
โอกินนั่งเย็บผ้าอยู่ในห้องด้านในได้ยินใครเปิดประตูหลังบ้านเข้ามา ก็คิดว่าใครสักคนที่เป็นบริวารเก่าผู้ภักดีเข้ามาทำอะไรให้ตามเคย จึงไม่ได้หยุดมือ
“โอกินเจ้าขา”
โอซือย่องกริบเข้ามานั่งแปะอยู่ข้างหลังก่อนส่งเสียงทัก
“อุ๊ย นึกว่าใคร ที่แม้ก็โอซือนี่เอง นี่ฉันกำลังเย็บโอบิให้เธอ เห็นบอกว่าจะใช้วันสรงน้ำพระพรุ่งนี้ใช่ไหม”
“เจ้าค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ต้องรบกวนโอกินทั้ง ๆ ที่งานยุ่งอยู่ แต่แรกดิฉันก็จะเย็บเอง แต่ที่วัดก็มีธุระมากมายเหลือเกิน”
“ไม่เป็นไรหรอก ฉันเองก็ว่างอยู่ ออกจะว่างเกินไปด้วยซ้ำ...ดีที่มีอะไรทำ ไม่งั้นก็จะคิดอะไรฟุ้งซ่านไป”
โอซือเหลือบมองขึ้นไปที่แท่นบูชาพระข้างหลังโอกิน ที่มีจานเทียนจุดไฟเรือง ๆ เอาไว้ และเห็นแถบกระดาษเขียนด้วยลายมือที่น่าจะเป็นของโอโค ติดเรียงกันไว้สองแถบ พร้อมน้ำและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะ
แด่ดวงวิญญาณของชินเม็น ทาเกโซ มรณะในวัยสิบเจ็ด
แด่ดวงวิญญาณของฮนอิเด็น มาตาฮาจิ มรณะในวัยเดียวกัน
“ตายจริง”
โอซือกระพริบตาถี่ ๆ
“มีใครมาแจ้งข่าวว่าตายทั้งสองคนเลยหรือเจ้าคะ”
“ไม่มีใครมาแจ้งหรอกโอซือ แต่...ป่านนี้แล้วถึงไม่อยากคิดก็ต้องคิด ฉันเลิกหวังแล้วละว่าน้องชายกับมาตาฮาจิจะยังมีชีวิตอยู่ ก็จะถือเอาว่าวันที่สิบห้าเดือนเก้าที่เป็นวันเกิดศึกที่เซกิงาฮาระ เป็นวันตายของเขาทั้งสอง”
“อย่าคิดอะไรที่ไม่เป็นมงคลอย่างนั้นซิเจ้าคะ”
โอซือสั่นหัวแรง ๆ
“สองคนนั่นไม่ตายง่าย ๆ หรอก สักวันหนึ่งจะต้องกลับมา”
“โอซือฝันถึงมาตาฮาจิบ้างหรือเปล่า”
“หลายครั้งเจ้าค่ะ”
“ถ้าเช่นนั้นมาตาฮาจิก็ตายแล้วละ เพราะฉันก็ฝันเห็นแต่น้องชายไม่เว้นวัน”
“ไม่เอา อย่าพูดอย่างนั้น กระดาษนี่ก็เป็นลางไม่ดีเลย ดิฉันแกะออกนะเจ้าคะ”
น้ำตาเอ่อขึ้นมาเต็มตาโอซือ ขณะลุกขึ้นไปเป่าดวงไฟที่แท่นบูชาพระจนดับ เท่านั้นยังไม่หายหม่นมองจึงฉวยถ้วยน้ำและดอกไม้บูชาออกไปที่ระเบียงห้องข้าง ๆ แล้วสาดน้ำทิ้งลงไป
พระทากูอันที่นั่งอยู่ที่มุมระเบียงสะดุ้งโหยง และร้องลั่น
“เฮ้ย ใครสาดน้ำ”
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
ความเดิมมีอยู่ว่า...
พระทากูอันยืนอยู่ข้าง ๆ รำพึงรำพันด้วยความรู้สึกของชายหนุ่ม---และนักปฏิบัติธรรม ไม่มีทีท่าว่าจะเข้าช่วยโอซือที่กำลังตั้งอกตั้งใจตัดดอกไม้ใส่กระบุง
“...โอซือ ตัวตนของเจ้า ณ เวลานี้คือความสงบสุขที่แท้จริง มนุษย์เราสามารถมีชีวิตอย่างสุขสงบราวอยู่บนวิมานที่ดารดาษไปด้วยดอกไม้ด้วยกันทั้งนั้น แต่ทำไมถึงได้ชอบที่จะร้องไห้ ทุกข์ทรมาน ชอบที่จะตกจมลงไปในวังวนของกิเลศ ตัณหา ชอบที่จะเข่นฆ่ากัน ทรมานตนเองอยู่ในไฟนรก อาตมาไม่อยากให้ โอซือเป็นเช่นนั้น”
3
โอซือตัดดอกไม้ดอกหญ้าหลากสีนานาพันธุ์อันมีดอกนาโนฮานะสีเหลือง ดอกเบญจมาศ โอนิเงชิ กุหลาบดง และซุมิเระ โยนใส่กระบุง พลางพูดหยอกล้อพระทากูอัน
“หลวงพี่เจ้าคะ อย่ามัวแต่เทศนาโปรดสัตว์อยู่เลย ระวังหัวให้ดีเถิดเดี๋ยวจะถูกผึ้งต่อยเอาอีก”
พระทากูอันมาสนใจคำเตือน
“เด็กดื้อ นี่ไม่ใช่เวลามาพูดถึงผึ้ง อาตมากำลังนำคำของพระพุทธองค์มาสอนเจ้าเรื่องชะตาชีวิตของผู้หญิงต่างหาก”
“ไม่ต้องมายุ่งกับชะตาชีวิตของฉันหรอกหลวงพี่”
“ไม่ต้องมาพูดดีนะโอซือ พระอาจจะถูกมองว่าชอบเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านก็จริงอยู่ แต่ถ้าชาวบ้านไม่ต้องการก็คงไม่มีพระอยู่ในโลกนี้แล้วละเจ้า พระก็เหมือนกับพ่อค้าข้าว พ่อค้าเสื้อผ้า ช่างไม้ และก็นักรบนั่นแหละ ที่มีอยู่ก็เพราะชาวบ้านเขาต้องการ เดิมทีพระกับสีกาเข้ากันไม่ได้มาตั้งแต่โบราณนานมากว่าสามพันปี สมัยที่ว่าหญิงคือยักษี คือพญามาร คือทูตนรก หรือสุดแต่ว่าจะหาคำร้าย ๆ มาว่า ที่อาตมากับโอซือไม่ถูกกัน ก็คงจะเป็นเพราะอย่างนี้ละมัง”
“ทำไมถึงมาว่าผู้หญิงเป็นยักษี”
“ก็เพราะนางชอบหลอกลวงพวกผู้ชายน่ะซี”
“ชายก็ชอบหลอกผู้หญิงเหมือนกันนะหลวงพี่”
“เดี๋ยว ๆ โอซือ...เจ้าสวนคำเร็วอย่างนี้อาตมาก็แย่น่ะซี...ใช่ ใช่ เข้าใจแล้ว”
“งั้นก็ตอบมาเร็ว ๆ “
“ก็เพราะพระพุทธจ้าท่านเป็นชาย...”
“หลวงพี่เถียงไม่ได้ก็เอาสีข้างเข้าถูไปเรื่อย”
“แต่ นางเอ๋ย”
“โอ๊ย...พอได้แล้ว หนวกหู”
“นางเอ๋ย อย่าดื้อดึงไปเลยฟังอาตมาเถิด เมื่อครั้งที่พระสิทธัตถะยังทรงเป็นหนุ่ม ยามที่นั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ถูกนางมารทั้งนางยั่วนางงามมากหน้าหลายตามาผจญ จนทำให้มองสตรีว่าเป็นเพศที่น่ารังเกียจ แต่ในช่วงบั้นปลายชีวิตเมื่อได้ทรงบรรลุซึ่งธรรมะอันสูงส่งพระองค์ก็ได้รับสตรีหลายคนมาเป็นสานุศิษย์ พระโพธิสัตว์นาคารชุนะไม่ทรงโปรดสตรีพอ ๆ กับพระสิทธัตถะหรือจะพูดให้ถูกคือกลัวมากกว่านั้น ยังได้พูดถึงคุณสมบัติของศรีภรรยาที่ควรแก่การสรรเสริญเอาไว้สี่ประการคือ เป็นพี่น้องที่เคารพนบนอบ เป็นเพื่อนที่รัก เป็นมารดาผู้มีจิตใจอ่อนโยน และเป็นบ่าวผู้ภักดี และทรงแนะนำว่าบุรุษผู้ทรงปัญญาควรเลือกสตรีเช่นนั้นมาเป็นคู่ครอง”
“ก็ดีแต่พูดในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่พวกผู้ชายด้วยกันเท่านั้น”
“ช่วยไม่ได้นะเพราะนั่นเป็นเรื่องของอินเดียสมัยโบราณนานมา ที่ให้ความสำคัญแก่บุรุษมากกว่าสตรี ยิ่งกว่าในญี่ปุ่นเสียอีก พระโพธิสัตว์นาคารชุนะยังได้ตรัสต่อไปอีกว่า---”
“ว่ายังไง”
“สตรีเอ๋ยเจ้าจงอย่าสมรสกับบุรุษ”
“ตลกแล้วหลวงพี่”
“อย่ามาหัวเราะอาตมา เจ้าต้องฟังให้ครบถึงท่อนจบคือ---สตรีเอ๋ยเจ้าจงสมรสกับความจริง”
“... ... ...”
“เข้าใจหรือยังโอซือ---จงสมรสกับความจริง พูดง่าย ๆ ก็คืออย่าหลงรักบุรุษ แต่ให้หลงรักความจริง”
“แล้วความจริงที่ว่านั้นคืออะไรหรือหลวงพี่”
“โอซือเอ๊ย ว่ากันตามจริงอาตมาก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้นักหรอก”
โอซือหัวเราะเสียงแหลม
“พูดอันตามภาษาชาวบ้านก็คือ แต่งงานกับความเป็นจริง ออกเรือนไปกับคนในบ้านเกิดเมืองนอนแล้วก็ออกลูกเลี้ยงลูกกันให้แข็งแรงเป็นเด็กดีอยู่ที่นี่ แทนที่จะทะเยอทะยานเข้าไปนครหลวงหรือเมืองใหญ่ที่ใฝ่ฝันและมีลูกที่สำรวยและอ่อนแอ”
“พูดไปเรื่อย...” โอซือว่าแล้วทำท่าแกล้งตี “หลวงพี่มาช่วยฉันตัดดอกไม้ไม่ใช่รึ”
“ดูเหมือนจะจริง”
“ถ้างั้นอย่ามัวแต่พูดอยู่เลย หยิบเคียวมาช่วยกันดีกว่า”
“เรื่องเล็กมาก”
“หลวงพี่ตัดดอกไม้ไปนะ ฉันจะไปบ้านโอกินสักหน่อย ถ้าเธอเย็บผ้าคาดโอบิให้ฉันเสร็จแล้วจะได้รับเอามา”
“โอกิน อ๋อที่เคยมาที่วัดเมื่อวันก่อนใช่ไหม งั้นอาตมาไปด้วย”
“ไปทั้งอย่างนี้น่ะรึ”
“พอดีคอแห้งเป็นผง จะได้ขอน้ำชาดื่มสักหน่อย”
4
โอกินอายุยี่สิบห้าแล้ว รูปร่างหน้าตาไม่ใช่ว่าจะขี้ริ้ว ตระกูลก็ดี และมีแม่สื่อแม่ชักมาติดต่อสู่ขอไม่ได้ขาด แม้จะมีน้องชายเป็นเด็กเกเรมีกิติศัพท์เลื่องลือไปทั่วถึงหมู่บ้านใกล้เคียงมาตั้งแต่เด็ก ในนาม ทาเกโซแห่งหมู่บ้านมิยาโมโตะ เข้าคู่กับ มาตาฮาจิแห่งหมู่บ้านฮนอิเด็น แต่ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความมีวิชาความรู้ของโอกินเป็นเสน่ห์จูงใจให้มีคนมาสู่ขออยู่เนือง ๆ แต่ทุกครั้งนางจะปฏิเสธทุกรายด้วยเหตุผลเดียวกันว่าเสมอว่า---ฉันต้องทำหน้าที่เป็นแม่ดูแลทาเกโซน้องชายให้โตเป็นผู้ใหญ่กว่านี้อีกสักหน่อย
โอกินอาศัยอยู่ในบ้านที่มูนิไซผู้เป็นพ่อของนางซึ่งเป็นครูฝึกนักรบของตระกูลชินเม็นสมัยที่ยังรุ่งเรือง ได้รับอนุญาตจากประมุขของตระกูลให้สร้างขึ้นบนที่ราบลุ่มแม่น้ำไอดางาวะตอนล่าง เป็นบ้านกว้างขวางใหญ่โตมีรั้วดินฐานหินล้อมรอบสง่างามเกินฐานะนักรบซามูไรท้องถิ่น แต่บัดนี้บ้านเก่าแก่ทรุดโทรมลงมาก บนหลังคามีหญ้าขึ้นแซมและตรงซอกระหว่างหน้าต่างสูงกับชายคาเรือนที่เคยเป็นโรงฝึกอาวุธ มีขี้นกนางแอ่นจับขาวเต็มไปหมด
ต่อมาวิถีชีวิตมูนิไซผกผันกลายเป็นซามูไรไร้นายและจบชีวิตลงท่ามกลางความยากจนข้นแค้น บริวารและคนรับใช้ต้องแยกย้ายกันออกไปทำมาหากินที่อื่น แต่เนื่องจากทุกคนเป็นคนในหมู่บ้านมิยาโมโตะกันทั้งนั้น พ่อเฒ่าแม่เฒ่าและคนที่เคยอยู่ร่วมกันมาในเรือนใหญ่ ต่างก็ผลัดกันมาดูแลบ้านของมูนิไซไม่ได้ขาด บ้างก็เอาผักมาวางไว้ให้ในครัว บ้างก็มาเก็บกวาดห้องหับ บ้างก็ตักน้ำมาใส่โอ่งใส่ไหไว้ให้
แม้จนทุกวันนี้---
โอกินนั่งเย็บผ้าอยู่ในห้องด้านในได้ยินใครเปิดประตูหลังบ้านเข้ามา ก็คิดว่าใครสักคนที่เป็นบริวารเก่าผู้ภักดีเข้ามาทำอะไรให้ตามเคย จึงไม่ได้หยุดมือ
“โอกินเจ้าขา”
โอซือย่องกริบเข้ามานั่งแปะอยู่ข้างหลังก่อนส่งเสียงทัก
“อุ๊ย นึกว่าใคร ที่แม้ก็โอซือนี่เอง นี่ฉันกำลังเย็บโอบิให้เธอ เห็นบอกว่าจะใช้วันสรงน้ำพระพรุ่งนี้ใช่ไหม”
“เจ้าค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ต้องรบกวนโอกินทั้ง ๆ ที่งานยุ่งอยู่ แต่แรกดิฉันก็จะเย็บเอง แต่ที่วัดก็มีธุระมากมายเหลือเกิน”
“ไม่เป็นไรหรอก ฉันเองก็ว่างอยู่ ออกจะว่างเกินไปด้วยซ้ำ...ดีที่มีอะไรทำ ไม่งั้นก็จะคิดอะไรฟุ้งซ่านไป”
โอซือเหลือบมองขึ้นไปที่แท่นบูชาพระข้างหลังโอกิน ที่มีจานเทียนจุดไฟเรือง ๆ เอาไว้ และเห็นแถบกระดาษเขียนด้วยลายมือที่น่าจะเป็นของโอโค ติดเรียงกันไว้สองแถบ พร้อมน้ำและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะ
แด่ดวงวิญญาณของชินเม็น ทาเกโซ มรณะในวัยสิบเจ็ด
แด่ดวงวิญญาณของฮนอิเด็น มาตาฮาจิ มรณะในวัยเดียวกัน
“ตายจริง”
โอซือกระพริบตาถี่ ๆ
“มีใครมาแจ้งข่าวว่าตายทั้งสองคนเลยหรือเจ้าคะ”
“ไม่มีใครมาแจ้งหรอกโอซือ แต่...ป่านนี้แล้วถึงไม่อยากคิดก็ต้องคิด ฉันเลิกหวังแล้วละว่าน้องชายกับมาตาฮาจิจะยังมีชีวิตอยู่ ก็จะถือเอาว่าวันที่สิบห้าเดือนเก้าที่เป็นวันเกิดศึกที่เซกิงาฮาระ เป็นวันตายของเขาทั้งสอง”
“อย่าคิดอะไรที่ไม่เป็นมงคลอย่างนั้นซิเจ้าคะ”
โอซือสั่นหัวแรง ๆ
“สองคนนั่นไม่ตายง่าย ๆ หรอก สักวันหนึ่งจะต้องกลับมา”
“โอซือฝันถึงมาตาฮาจิบ้างหรือเปล่า”
“หลายครั้งเจ้าค่ะ”
“ถ้าเช่นนั้นมาตาฮาจิก็ตายแล้วละ เพราะฉันก็ฝันเห็นแต่น้องชายไม่เว้นวัน”
“ไม่เอา อย่าพูดอย่างนั้น กระดาษนี่ก็เป็นลางไม่ดีเลย ดิฉันแกะออกนะเจ้าคะ”
น้ำตาเอ่อขึ้นมาเต็มตาโอซือ ขณะลุกขึ้นไปเป่าดวงไฟที่แท่นบูชาพระจนดับ เท่านั้นยังไม่หายหม่นมองจึงฉวยถ้วยน้ำและดอกไม้บูชาออกไปที่ระเบียงห้องข้าง ๆ แล้วสาดน้ำทิ้งลงไป
พระทากูอันที่นั่งอยู่ที่มุมระเบียงสะดุ้งโหยง และร้องลั่น
“เฮ้ย ใครสาดน้ำ”