หากพูดถึงศึกระหว่าง “มนุษย์ กับ ยุง” แล้ว ศึกครั้งนี้นับว่าเป็นศึกที่มีการรบรากันมาเป็นเวลายาวนาน เนื่องจากว่า ในประวัติศาสตร์ในเวลาช้านาน การเผชิญหน้ากันระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 สิ่ง ได้สร้างความเสียหายให้กับโลกใบนี้ ในด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคนตายอย่างมหาศาล เพียงจากปลายปากของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ยุง” นั่นเอง
ในขณะเดียวกัน นอกจากสงครามระหว่างมนุษย์กับยุง ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบง่ายๆ แล้ว ยังมีสงครามชิ้นใหม่ก่อตัวขึ้นมาอีกต่างหาก นั่นคือ “ไวรัสซิกา” ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยเงียบชนิดใหม่ ที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะเราไม่รู้ว่า มันจะมาที่ตัวเราเมื่อไหร่ และ ณ ขณะนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย กำลังคืบคลานมาอย่างช้าๆ ‘และเงียบๆ’ แล้ว
อะไรคือ “ไวรัสซิกา”
ไวรัสซิกา หรือ ไข้ซิกา นั้น เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส มีลักษณะคล้ายกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเตงกี และ ไวรัสเวสต์ไนล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบตามลำดับ และมียุงลายเป็นตัวพาหะ โดยไวรัสดังกล่าวนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองลิงวอกที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เมื่อ พ.ศ. 2490 และพบในมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศในจีเรีย แล้วเชื้อดังกล่าวยังพบได้มากในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา แถบเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
อาการและการติดต่อของ “ไวรัสซิกา”
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุว่า ได้มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก คือ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ และมีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ แถมมีความรู้สึกไม่สบาย ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะมีการทุเลาลงในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธ๊
แต่ถ้าไม่ทันการณ์ อาการจะมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบทำงานของสมองมีความผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ด้วยแล้ว เชื้อไวรัสดังกล่าว อาจทำให้เกิดความผิดปกติให้กับทารกในครรภ์ ให้มีความผิดปกติกับศีรษะคือ ทำให้กะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติได้
ส่วนการติดต่อของไวรัสซิกานั้น จะมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน จนกระทั่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ได้ยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด ซึ่งแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
วิธีการรักษา และการป้องกัน
แม้ว่าโรคดังกล่าวจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ไวรัสซิกาก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด คงทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับไวรัสชนิดอื่น ที่มียุงลายเป็นพาหะ ฉะนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนให้มากๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ, ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ
ส่วนการป้องกันที่ดีที่สุดของโรค ก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซากหมดจด เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันจากยุงลาย ที่โรคอาจจะมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา อีกด้วย
ในขณะเดียวกัน นอกจากสงครามระหว่างมนุษย์กับยุง ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบง่ายๆ แล้ว ยังมีสงครามชิ้นใหม่ก่อตัวขึ้นมาอีกต่างหาก นั่นคือ “ไวรัสซิกา” ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยเงียบชนิดใหม่ ที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะเราไม่รู้ว่า มันจะมาที่ตัวเราเมื่อไหร่ และ ณ ขณะนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย กำลังคืบคลานมาอย่างช้าๆ ‘และเงียบๆ’ แล้ว
อะไรคือ “ไวรัสซิกา”
ไวรัสซิกา หรือ ไข้ซิกา นั้น เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส มีลักษณะคล้ายกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเตงกี และ ไวรัสเวสต์ไนล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบตามลำดับ และมียุงลายเป็นตัวพาหะ โดยไวรัสดังกล่าวนี้ ถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองลิงวอกที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เมื่อ พ.ศ. 2490 และพบในมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศในจีเรีย แล้วเชื้อดังกล่าวยังพบได้มากในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา แถบเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
อาการและการติดต่อของ “ไวรัสซิกา”
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุว่า ได้มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก คือ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ และมีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ แถมมีความรู้สึกไม่สบาย ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะมีการทุเลาลงในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธ๊
แต่ถ้าไม่ทันการณ์ อาการจะมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบทำงานของสมองมีความผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ด้วยแล้ว เชื้อไวรัสดังกล่าว อาจทำให้เกิดความผิดปกติให้กับทารกในครรภ์ ให้มีความผิดปกติกับศีรษะคือ ทำให้กะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติได้
ส่วนการติดต่อของไวรัสซิกานั้น จะมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน จนกระทั่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ได้ยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด ซึ่งแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
วิธีการรักษา และการป้องกัน
แม้ว่าโรคดังกล่าวจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ไวรัสซิกาก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด คงทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับไวรัสชนิดอื่น ที่มียุงลายเป็นพาหะ ฉะนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนให้มากๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ, ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ
ส่วนการป้องกันที่ดีที่สุดของโรค ก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซากหมดจด เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันจากยุงลาย ที่โรคอาจจะมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา อีกด้วย