xs
xsm
sm
md
lg

เสียง “ก๊อกแก๊ก” ตอนออกกำลังกาย : สัญญาณอันตรายต่อรูปร่าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในช่วงที่เทรนด์ดูแลสุขภาพกำลังมาแรงในพศ. นี้ หลายต่อหลายคนตื่นตัวและออกกำลังกายกันอย่างล้นหลาม เพราะนอกจากร่างกายจะแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังทำให้รูปร่างกระชับได้สัดส่วน แถมบุคลิกภาพดีโดดเด่นสง่า จึงเชื่อว่าย่อมมีไม่มากก็น้อยที่คนออกกำลังกายจะได้ยินเสียงก๊อกแก๊กๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือทำให้ใครนอนไม่หลับพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ทว่าเสียงสัญญาณดังกล่าวนั้นกำลังเตือนบอกว่าบุคลิกภาพของคุณผิดรูป เบี้ยว งองุ้ม เสียความสง่า
ซึ่งอาการเกิดเสียงก๊อกแก๊กๆ เกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่บาลานซ์ ขาดความสมดุลนั้นเอง

เสริมกล้ามเนื้อหัวไหล่หลังให้แข็งแรง
เนื่องจากหากกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวรกระดูกต้นแขน infraspinatus ที่ติดกล้ามเนื้อหัวไหล่หลัง หรือ Posterior Deltoid อ่อนแอกว่ากล้ามเนื้อส่วนหน้าหน้าอก Pectoralis หรือ หัวไหล่หน้า Anteriar Dellpids จะส่งผลให้หัวไล่เราโน้มมาอยู่ด้านหน้าและเกิดอาการหมุนเข้า การกายบริหารด้วยในส่วนนี้จะช่วยปรับให้ไหล่ของเราค่อยๆ กางขยายกลับสู่รูปแบบเดิม
ทำสะบักให้มั่นคง
Rhomboids หรือกล้ามเนื้อสะบัก เป็นมัดกล้ามเนื้อที่มองไม่เห็นและมักถูกมองข้าม เพราะซ่อนตัวอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อ Trapezius หลายๆ คนจึงละเลย ซึ่งจริงๆ Rhomboids หรือกล้ามเนื้อสะบัก เป็นกล้ามเนื้อที่มีส่วนสำคัญ เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อส่วนกลางที่ทำหน้าที่หุบ Scapula (กระดูกตรงหัวไหล่) เข้าหากัน ดึงให้หลังของเราเผยกว้าง ไม่หมุนเข้ามากเกินไป

บาลานซ์กลุ่มกล้ามเนื้อ
นอกจากจะต้องเสริมกล้ามเนื้อสะบัก Rhomboids และ กล้าเนื้อหัวไหล่หลัง Posterior Deltoid รวมไปถึง กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกต้นแขน infraspinatus แล้ว สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการนี้ก็คือ กลุ่มกล้ามเนื้อไม่บาลานซ์ หรือ Muscle Imbalance ดังนั้นจึงควรกายบริหารด้วยการดึงเขาและดึงขึ้นมากกว่าดึงออก เน้นการกายบริหารด้วยท่าต่างๆ เช่น Facepull Superset ,up Right Row หรือออกกำลังกายประเภท ไอโวเมติก (Isometric Exercise) การออกกำลังกายแบบมีการ ยืด หดตัว ของกล้ามเนื้อ ชนิดที่ความยาวของกล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงและอวัยวะมีการเคลื่อนไหวขณะออกกำลัง เป็นการบริหารกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยตรง ก็จะช่วยปรับให้ไหล่ของเราค่อยๆ กางขยายกลับสู่รูปแบบเดิม

ทั้งนี้หากมีการบาดเจ็บรู้สึกว่าจี๊ดๆ แปล๊บๆ นิดหน่อยเวลาออกกำลังกายของกล้ามเนื้อเข้ามามีส่วนร่วม ควรหลีกเลี่ยงร่างกายให้กล้ามเนื้อรักษาให้หายดีก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายผิดท่าที่จะส่งผลให้เกิดการไม่บาลานซ์ของกล้ามเนื้อ แต่ถ้ารู้สึกว่าอาการเจ็บทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และกินเวลานานกว่าปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด

กำลังโหลดความคิดเห็น