xs
xsm
sm
md
lg

สาระน่ารู้กับโรงพยาบาลธนบุรี1 : การนอนกรนแบบไหนอันตราย?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


การกรน

การกรนไม่ได้เป็นปัญหาเพราะเสียงดังเท่านั้น แต่การกรนเป็นปัญหาของสุขภาพด้วย

การกรน คือภาวะที่การนอนมีเสียงดังขณะหลับ โดยเสียงนั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน, ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน เนื่องจากมีการแคบลงของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อขากรรไกรล่าง ลิ้น และเพดานอ่อน ในขณะหลับทำให้ไปขัดขวางทางลมผ่านของการหายใจ

นอกจากนี้ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า เนื้องอกในโพรงจมูก ภูมิแพ้ ยานอนหลับ ความอ้วน และการดื่มสุรา ล้วนเป็นสาเหตุโดยอ้อมของเสียงกรน

การกรนแบ่งเป็น 2 ชนิด

• การกรนปกติที่มีเสียงรบกวน
• การนอนกรนที่มีเสียงและมีการหยุดหายใจร่วมด้วย

การนอนกรนชนิดที่มีการหยุดหายใจร่วม เรียกว่า Sleep Apnea ซึ่งเป็นอันตรายและมีผลเสียต่อสุขภาพได้ Sleep Apnea จะมีการหยุดหายใจนานอย่างน้อยที่สุด 10 วินาที มากกว่า 5 ครั้ง ต่อ 1 ชั่วโมง ในขณะที่นอนหลับ ซึ่งเกิดจากมีการปิดกั้นอย่างสมบูรณ์ของทางเดินหายใจชั่วคราว ซึ่งภาวะเช่นนี้จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ทำให้ร่างกายช่วยตัวเองโดยตื่นขึ้นมาจากการหลับลึก เพื่อหายใจเป็นระยะในช่วงที่นอนหลับ

การกรนชนิดที่มีการหยุดหายใจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ

• มีการหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจผิดปกติ
• มีความเสี่ยงต่อโรคสมองขาดเลือด
• มีความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลว
• มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
• มีการเต้นของหัวใจผิดปกติในเวลากลางคืน
• ปวดศีรษะตอนเช้า
• ซึมเศร้า, ง่วงนอน, ขาดสมาธิ, ไม่แจ่มใสในเวลากลางวัน
• มีความเสี่ยงกับอุบัติเหตุขณะขับรถ หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
• รบกวนทำลายสุขภาพเพื่อนร่วมห้องนอน

การรักษามีหลายวิธี ในผู้ป่วยที่เป็น OSA (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA) ปานกลางถึงรุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การใส่เครื่องเพิ่มแรงดันในทางเดินหายใจ (CPAP) ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ทางกายวิภาค ส่วนทางเดินหายใจอาจได้ผลดีต่อการผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกรนโดยไม่มีการหยุดหายใจ สามารถแก้ได้โดยใส่เครื่องมือในปากเวลานอน เพื่อเปิดทางเดินหายใจไม่ให้เกิดเสียงกรน ปรึกษาแพทย์หากมีอาการกรนหรือง่วงนอนผิดปกติ หรือปวดศีรษะตอนเช้าๆ ความจำหรือสมาธิลดลง อาการกรนมีผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเสียงดัง และสามารถรักษาให้หายได้

ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลธนบุรี1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Hotline 1645 กด 1 หรือ 02-487-2000
HOT LINE 1645 กด 1 หรือ 0-2487-2000 ต่อ 7470-1 เปิดบริการทุกวัน
Email : thonburihospital1@gmail.com
www.thonburihospital.com/2015_new

INSTAGRAM: @thonburi_hospital
www.facebook.com/thonburihospitalclub

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

กำลังโหลดความคิดเห็น