ขยายความจากคอลัมน์ Learn & Share โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
(suwatmgr@gmail.com)
เซกชั่น Good Health & Well Being ของ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19-25 ธันวาคม 2558)
__________________________________________________________
ช่วงเวลาการต้อนรับปีใหม่ขณะนี้ ถ้าจะยึดคำที่พระท่านสอนให้ “สร้างเหตุที่ดี” เพื่อให้เกิด “ผลที่ดี” สมใจ ก็ถือว่า เหมาะกับการเริ่มต้นที่ดีแถมยังเอื้อด้วยบรรยากาศการอวยพรจากญาติมิตรทั้งหลายอีกด้วย
เรามาเรียนรู้วิธีคิดและอุปนิสัยที่น่าจะนำมาปรับใช้ ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ให้มีคุณสมบัติที่จะร่ำรวยและมีความสุขได้
คนที่ท้าพิสูจน์เหตุและผลที่ว่านี้ คือ โทนี่ โนะนากะ ผู้เขียนหนังสือ “ความลับเศรษฐี คนแบบนี้แหละดึงดูดเงิน” ซึ่งได้ใช้เวลาค่อนชีวิตสะสมข้อมูลจากคนระดับมหาเศรษฐีทั่วโลก 2,000 คน และสรุปได้ว่า ผู้คนในโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นมหาเศรษฐีนั้นมีแค่ 10% แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ราว 7% แม้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายแต่ก็ไม่มีความสุข เพราะไม่มีเวลาส่วนตัว ขาดเพื่อนแท้ ซ้ำร้ายการที่หมกมุ่นแต่งานก็เลยสั่งสมความเครียดและร่างกายทรุดโทรม จนมีโรคเรื้อรังเป็น “ผลพลอยเสีย”
ขณะที่มีเพียง 3% เป็นเศรษฐีที่มีชีวิตเปี่ยมสุข เพราะอยู่กับความมั่งคั่ง และแวดล้อมด้วยหมู่มิตรที่ไว้วางใจได้ เพราะเป็นคนคิดบวกและมีจิตใจดีงาม มีการตั้งมูลนิธิและบริจาคทรัพย์สินช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ถ้าเลือกได้เราก็คงอยากเป็นคนร่ำรวยอย่างมีสุขที่อยู่ในส่วน 3% ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ 97% ของประชากรโลกที่รู้สึกว่ามีทุกข์บ้าง สุขบ้าง ทั้งที่อาจเป็นสุขชั่วคราวและทุกข์ถาวรต่างหาก
หนังสือเล่มนี้เน้นแนวทางการเป็นเศรษฐีที่มีความสุข ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำตัวเพื่อมีอิสระทางการเงิน เวลา สุขภาพ และสังคม รวมถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว คือมีอิสระมีความคล่องตัวไม่ถูกจำกัด หรือผูกมัดด้วยเงื่อนไขทั้ง 4 ด้าน
“หากต้องการประสบความสำเร็จ ก็จงปฏิบัติตัวแบบผู้ประสบความสำเร็จ” เป็นคำตอบง่ายๆ เมื่อมีคนขอคำแนะนำจากมหาเศรษฐี
แสดงว่าคนที่มีอำนาจ วาสนา และร่ำรวยมาก ก็ยังมีทุกข์เพราะไม่รู้จักสร้างความสมดุลทั้ง 4 ปัจจัยดังกล่าว เช่น คนที่เอาแต่หมกมุ่นทำงานเพื่อหาเงินให้มากโดยหวังจะมีอิสระทางการเงิน ก็อาจบกพร่องต่อสังคมและความสัมพันธ์ในครอบครัว
เงิน จึงไม่ใช่ เส้นชัยของชีวิต แต่เป็นเพียงเครื่องมือปัจจุบันที่สนับสนุนไปสู่เป้าหมาย ทรัพย์สินมีค่า หรือรถยนต์หรู ก็ไม่ใช่เส้นชัย เพียงแต่เป็นเครื่องมือที่อาจสนับสนุนให้มีโอกาสไต่ระดับทางสังคมไปสู่เป้าหมายได้
ถ้าเช่นนี้ “เป้าหมายชีวิต” คืออะไร มหาเศรษฐีผู้หนึ่งอธิบายว่า “คือสิ่งที่เมื่อทำสำเร็จแล้วจะไม่นึกเสียใจ......แม้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องลาโลกนี้ไปก็ตาม”
เราพร้อมจะทุ่มเททั้งชีวิตให้กับ “สิ่งนั้น” โดยรู้สึกว่า ไม่มีอะไรจะดีกว่านี้อีกแล้ว จนเชื่อมั่นว่า “เราเกิดมาเพื่อสิ่งนี้”
จาก 4 องค์ประกอบสำคัญของสภาวะการเป็นเศรษฐีที่มีความสุขนั้น สามารถถอดบทเรียนได้เป็นเคล็ดลับ 10 ประการซึ่งขอสรุปมาแบ่งปันดังนี้
เคล็ดลับที่ 1 การดำเนินชีวิต : เงื่อนไขสู่การเป็นเศรษฐี
( 1) ปรับวิธีคิด นิสัยและพฤติกรรม คือใช้เงินให้เป็น ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เช่นจ่ายเงินก้อนโตเพื่อไปต่างประเทศ ไม่ใช่แค่ไปเปลี่ยนบรรยากาศ แต่ต้องได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ
(2) ไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่อธิษฐานอ้อนวอนขอให้ช่วย ความสำเร็จทางธุรกิจเกิดจากการทุ่มเทและความพยายามของตนเอง และคนรอบข้างช่วยเหลือ การเข้าวัดหรือไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ไปเพื่อแสดงความขอบคุณเท่านั้น
(3) ให้ความสำคัญ กับสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้
การได้ครอบครองสิ่งที่ใช้ “เงิน” ซื้อมาด้วยความพอใจก็จริง แต่อย่าปล่อยให้สูญเสีย “สิ่งที่เงินซื้อไม่ได้” เป็นอันขาด เช่น
เงินซื้อคฤหาสน์ได้ แต่ไม่สามารถซื้อความสุขในครอบครัวได้
เงินซื้อนาฬิกาได้ แต่ไม่สามารถซื้อเวลาได้
เงินซื้อหนังสือได้ แต่ไม่สามารถซื้อความรู้ได้
เงินซื้อตำแหน่งยศศักดิ์ได้ แต่ไม่สามารถซื้อความเคารพศรัทธาได้
(4) ตั้งเป้าหมายให้สุดยอด
เป็นเป้าหมายที่เมื่อทำสำเร็จแล้ว ไม่ต้องย้อนมานึกเสียใจ แม้ว่าวันพรุ่งนี้ จะต้องลาโลกไปก็ตาม
ลองค้นหาเป้าหมาย ที่ทำให้รู้สึกเป็นสุข ทุกครั้งที่นึกถึง นี่คือก้าวแรก สู่วิถีการเป็นเศรษฐีที่มีความสุข
เคล็ดลับที่ 2 การทำงาน
(1) ทำในสิ่งที่ชอบ จึงต้องชอบในสิ่งที่ทำ
(2) สนุกกับงาน มีความคิดสร้างสรรค์ หาแง่มุมใหม่ๆในการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ และประสิทธิภาพดีขึ้น
(3) มองที่ “สาเหตุ” ไม่ใช่ “ผลลัพธ์”
ฝึกให้เป็นนิสัย ทำเหตุให้ดี ผลจะดีเอง จึงให้ความสำคัญ กับการค้นหาสาเหตุ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
(4) พูดให้ติดปาก “เราเป็นคนโชคดี”
ทำให้เกิดกำลังใจ และเป็นพลังบวก ช่วยผ่านอุปสรรคไปได้ดี
(5) เมื่อได้สิ่งใดมา ก็ควรให้บางสิ่งไป
ฝึกให้เป็นนิสัยว่าเมื่อได้อะไรมา 1 อย่าง ก็ควรให้ไป 1 อย่าง ทำให้เกิดความสมดุล และไม่ติดยึดกับความละโมบโลภมาก
(6) เปลี่ยนความผิดพลาด ให้เป็นประสบการณ์ที่ดี
เมื่อมีความเพียรพยายาม ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นก็จะกลายเป็นประสบการณ์ดีๆ ระหว่างทางสู่ความสำเร็จ
แต่ระดับความยากลำบาก ที่เป็นบททดสอบ ในชีวิตคนเรา น่าจะสัมพันธ์ กับขนาดของเป้าหมาย หรือความฝัน หากเป้าหมาย มีขนาดใหญ่ บททดสอบก็ใหญ่ไปด้วย
เคล็ดลับที่ 3 : การเงิน
(1) ใช้เงินที่ถูกเรื่อง แล้วไม่เสียดายเงินและเวลาที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ทันการเปลี่ยนแปลง
(2 ) เรื่องเงินต้องละเอียดรอบคอบเสมอ แม้แต่จำนวนไม่มากก็ตาม
(3) กฎเหล็กของการใช้จ่าย ใช้เงินให้กับสิ่งที่มีคุณค่าคู่ควร
(4) ไม่หวังพึ่งเงินคนอื่น เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำ กำหนดกติการายรับรายจ่ายตัวเองเหมือนกำลังบริหารธุรกิจ
เคล็ดลับที่ 4 : ความมั่งคั่ง
(1) สร้างรายได้จากหลายช่องทาง ทั้งจากการทำงานของตัวเองและให้เงินทำงานจากรายได้นอกเหนือจาเงินเดือน เช่น จากการลงทุน ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย เงินปันผล
(2) รายได้ควรผกผันกับเวลาทำงาน เมื่อมีความสามารถพิเศษก็ใช้เวลาทำงานน้อยลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น
(3) ยินดี “ลงทุน” ในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ “ใช้เงิน” ไปกับความหรูหราเรื่องบ้านหรือรถยนต์เพราะไม่เกิดเม็ดเงินเพิ่มขึ้น
(4) ลงทุนซื้อรองเท้าและกระเป๋าชั้นดีราคาสูง เพราะแสดงถึงรสนิยมอีกทั้งใช้งานสบายและทนทาน
(5) ทำให้เงินงอกเงยพร้อมกับรักษาสมดุลชีวิต ไม่มุ่งทำงานให้ได้เงินมากๆ แต่มุ่งรักษาความสมดุลระหว่างเงินกับมีเวลาส่วนตัวดูแลสุขภาพให้ดี และมีสัมพันธภาพกับสังคมที่เกี่ยวข้อง
(6) สำนึกรู้คุณของเงิน การนำเงินไปใช้ต้องให้เกิดประโยชน์และเลือกลงทุนในธุรกิจที่นำเงินไปสร้างประโยชน์สูงสุด
เศรษฐียังใช้ธนบัตรและเหรียญอย่างทะนุถนอมมาก รวมถึงดูแลกระเป๋าใส่เงินให้อยู่ในสภาพดีด้วย
เคล็ดลับที่ 5 : เวลา
(1) ตรงเวลาเสมอ สมกับเป็นผู้มีอิสระทางเวลาก็จะไม่เบียดบังเวลาของใคร ไม่ว่าการประชุมและการนัดหมายที่ต้องกำหนดเวลาชัดเจน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องวางแผนและจัดการเวลาส่วนตัวได้
(2) ลงมือทำทันที เมื่อมีกำหนดหรือนึกขึ้นได้จะช่วยให้งานสำเร็จตามแผน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
(3) อย่ามีข้ออ้างว่า “ยุ่ง” มีการกระจายงานหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำงานตามสมควร เพื่อให้ตัวเองมีสมาธิและใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานที่ต้องเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพได้เต็มที่
เคล็ดลับที่ 6 : การผ่อนคลาย
(1) เริ่มทำสิ่งที่ไม่ชอบก่อน ลงมือทำเรื่องที่น่าเบื่อก่อนจะได้ใช้เวลาที่เหลือทำงานอย่างปลอดโปร่ง
(2) ตื่นแต่เช้า เศรษฐีที่มีความสุขทุกคนล้วนตื่นเช้าจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง เพราะร่างกายขับฮอร์โมนเซโรพามีนเพื่อให้สมองกระชับกระเฉงเหมาะกับการทำงาน
(3) ใช้ช่วงเวลาทองให้ได้ประโยชน์ จังหวะที่ลืมตาตื่น ก่อนจะลุกจากที่นอนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะสมองอยู่ในสภาวะที่ดีเยี่ยม มีการปล่อยคลื่นแอลฟาออกมาทำให้ภาวะจิตใต้สำนึกกับภาวะมีสติรับรู้เชื่อมโยงเข้าหากัน
ช่วงเวลานี้ถ้าจะใช้ประโยชน์ก็แค่ปล่อยตัวบน เตียงนอนสบายๆ 5 นาที พร้อมกับสร้างจินตนาการเรื่องดีๆที่จะเกิดขึ้นจากนี้ก่อนจะลุกจากที่นอนตามปกติ
(4) ยอมจ่ายแพงเพื่อซื้อโอกาส ขึ้นเครื่องบินจะเลือกใช้ที่นั่งชั้น 1 ไม่ใช่เพื่อโก้หรู แต่เป็นโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ประสบความสำเร็จที่ร่วมเดินทางไกล อาจได้มิตรใหม่ แถมที่นั่งกว้างขวาง เหมาะกับการทำงานหรือพักผ่อน
กรณีถ้าขึ้นแท็กซี่ราคาแพงกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับรถไฟธรรมดา แต่ถึงที่หมายเร็วกว่าครึ่งชั่วโมง คนระดับเศรษฐีอาจทำประโยชน์มีมูลค่ามากกว่าราคาค่ารถไฟหลายเท่า เขาจึงยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อเวลา
(5) สร้างคุณค่าให้กับกิจกรรมที่สนุก คนทั่วไปตีความว่า “งาน” คือสิ่งที่ต้องทำ แต่ “งานสนุก” คือ สิ่งที่อยากทำ เศรษฐีที่มีความสุขจะไม่แยกงานออกจากความสนุก จึงเชื่อมโยงส่วนที่ “อยากทำ” ให้เข้ากับงานและยังหาทางทำให้เกิดรายได้จะยิ่งดี
เคล็ดลับที่ 7 : ความสัมพันธ์
(1) วาดภาพคนในอุดมคติไว้ในหัว วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนในตลาดหุ้น แนะนำว่า “ให้มีมหาเศรษฐีสักคนที่เป็นฮีโร่ในดวงใจ”เพื่อเป็นคนต้นแบบ ทำนองว่า น่านับถือใน ความเก่งและดีที่ทำธุรกิจ หรือเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดี
(2) รักและมั่นใจตัวเอง เพื่อสร้างอิสระทางสังคม จำเป็นต้องเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ก็ต้องรู้จักรักตัวเองก่อน จึงเกิดมีพลังบวก
(3) พัฒนาตัวเองสม่ำเสมอ และไม่ข้องแวะกับคนที่ไม่มีทางประสบความสำเร็จ เพราะตามหลักกฎแห่งแรงดึงดูดคนไม่มีคุณธรรมย่อมอยู่กับคนที่มีคุณธรรมสูงไม่ได้
ขณะเดียวกัน การพัฒนาตัวเองต่อเนื่องคนที่ใกล้ชิดที่ไม่ยอมพัฒนาตัวให้สูงขึ้นก็อาจถอยห่างไปเอง หรือถ้ายังเห็นความสำคัญก็อาจพัฒนาตนเองให้สามารถคบหาด้วยความทัดเทียมกับตัวคุณ
(4) อยู่ให้ห่างจากพลังงานด้านลบ คนที่ควรห่างที่สุดคือคนที่ชอบพูดให้ร้ายคนอื่น หรือคนขี้บ่น คนแบบนี้เต็มไปด้วยพลังงานด้านลบ เพราะมีทั้งความเครียดแค้นชิงชังและริษยาอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
คนประเภทนี้ไม่มีโอกาสได้เป็นเศรษฐีที่มีความสุขแน่นอน ใครไปใกล้ชิดก็จะพลอยไม่มีความสุขไปด้วย และคนที่ชอบนินทาคนอื่นให้ฟังก็ย่อมจะนำเรื่องของคุณไปนินทาลับหลังด้วยเช่นกัน
แต่สำหรับคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และมองโลกในแง่บวกเสมอ คือคนที่มีพลังด้านบวกเต็มเปี่ยมซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะก้าวสู่การเป็นเศรษฐีที่มีความสุขได้ คนแบบนี้น่าคบ
เคล็ดลับที่ 8 : เสน่ห์มัดใจ
(1) อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างอิสระภาพทางสังคมโดยรู้จักขอความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังคำแนะนำอย่างตั้งใจ จากผู้รู้เฉพาะทาง แม้อีกฝ่ายจะมีสถานภาพด้อยกว่า
(2) มีน้ำใจเอื้อเฟื้อโดยไม่หวังผลประโยชน์ ตามหลักเหตุและผลสิ่งที่ได้ทุ่มเทให้ไป ยอมส่งผลลัพธ์กลับมา ไม่มากก็น้อยหรืออาจสนองกลับมาในรูปของโอกาส ที่ดี มิตรภาพ และเสียงชื่นชม
(3) เอาใจใส่รูปลักษณ์ เพราะคนมักตัดสินใจเลือกคบคนจากความประทับใจแรกพบ ดังนั้นควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่ดูสะอาดทรงผมไม่ยุ่งเหยิงเศรษฐีที่มีความสุขมากมองหาพลังหรือออร่าที่เปล่ง ออกมาจากภายในของอีกฝ่าย และที่สำคัญก็คือ การยิ้มแย้มแจ่มใสซึ่งแสดงถึงการมองโลกในแง่บวก
(4) กตัญญูรู้คุณ เศรษฐีที่สุดประสบความสำเร็จกับนักกีฬา เบล ตอบเหมือนกันว่า เป็นเพราะ ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ จากคนรอบข้าง รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ และพ่อแม่ที่ให้การคุ้มครอง เป็นผู้สมควรได้รับการระลึกถึงบุญคุณ
เคล็ดลับที่ 9 : คู่ชีวิต
(1) เลือกคู่ชีวิตที่ดี บรรดาเศรษฐีมักใช้หลักเหตุผล ที่ว่าเลือกคนนี้แล้วอนาคตจะเป็นเช่นไร โดยไม่ใช้ความรักเป็นเครื่องตัดสิน และ เลือกคนที่ไม่ฟุ่มเฟือย ที่พร้อมจะก้าวผ่านอุปสรรคไปด้วยกัน
(2) อย่าแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ และไม่เลือกคู่ครองประเภท ชอบนินทาให้ร้ายคนอื่น คนมองโลกในแง่ลบ คนที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่มีน้ำใจ ไม่สำนึกรู้บุญคุณคน และคนที่ต้องทุ่มเงินให้ เพราะชอบหรูหราฟุ่มเฟือย
(3) อย่ามุ่งเพียงอิสรภาพทางการเงิน ควรสร้าง ความสมดุล กับองค์ประกอบอื่นด้วยคือ เวลา สังคมและสุขภาพ
(4) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นแกนสำคัญที่สุดของ การมี “อิสรภาพทางสังคม” โดยทุกคนมีความเคารพและพูดถึงกันในแง่ดี
(5) อย่าคาดหวังให้ลูกเป็นผู้สืบทอดกิจการ ประเด็น “ความสุขของลูกหลาน” กับ “การสืบทอดกิจการ” ต้องแยก จากกัน เพราะใช่ว่าลูกหลานในตระกูลจะมีคุณสมบัติเหมาะที่จะสานต่อกิจการเสมอไป จึงจำเป็นต้องหามืออาชีพเป็นตัวเลือกเข้ามาทำงานแทน
เคล็ดลับ ที่ 10 : สุขภาพ
(1) ออกกำลังกายทุกวัน จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ และดีต่อสมอง การทำตัวให้กระฉับกระเฉงเสมอ ด้วยการมีกิจกรรมด้วยตนเองเช่น ออกไปขับรถไปชื้อสิ่งของหรือบางครั้งทำอาหารบ้าง ก็เป็นงานอดิเรกที่น่าเพลิดเพลิน
(2) ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่หมกมุ่นกับเรื่องงานจนเครียด เลือกที่จะมีความสุขกับงานที่ชอบ ลงทุนสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลาย เช่น จัดโต๊ะทำงานให้สะอาดเป็นระเบียบเสมอ ไม่มีเอกสารเต็มโต๊ะ
(3) อย่ามีเรื่องทะเลาะกับใคร แม้ใจร้อน ต้องการทำสิ่งใดอย่างฉับไวก็ดี แต่อย่าโมโห จะทำให้เครียด ซึ่งจะสร้างผลลบตามมาเป็นลูกโซ่ แถมยังเกิดผลร้ายต่อร่างกายและทำลายมิตรภาพอีกด้วย
การจัดการความโกรธ ให้ตระหนักว่า เรื่องที่เกิดขึ้น สาเหตุบางส่วนอาจมาจากข้อบกพร่องของตัวเราเอง เมื่อได้สติเช่นนี้ ก็ช่วยให้รู้จักปรับปรุงข้อบกพร่องตัวเอง จิตใจก็ดีขึ้น
(4) ใส่ใจอาหารการกิน คนเป็นเศรษฐี มีโอกาสกับอาหารหรูหรามากกว่าคนทั่วไปก็ เพื่อการคบค้าสมาคม แต่โดยส่วนตัวมีความคิดเรื่องการกินแบบง่ายๆขอให้อิ่มท้องและดีต่อสุขภาพก็พอ
(5) ฝึกผ่อนคลายจิตใจให้สมองโล่ง ควรทำให้เป็นนิสัย เพื่อถนอมรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ไปแช่น้ำพุร้อน การเดินป่าเพื่อรับพลังธรรมชาติ การฟังเพลงคลาสสิค หรือการนอนแช่น้ำอุ่นสบายๆในบ้าน
ดังนั้น เป้าหมายความร่ำรวย เมื่อไม่ได้วัดกันที่จำนวนทรัพย์สินเงินทอง คนที่รู้สึกว่ามีพอ และยังพร้อมเป็นผู้แบ่งปันช่วยเหลือคนรอบข้าง ก็มีความสุขที่เกิดจากความสมดุล 4 ด้านคือ มีอิสระทางการเงิน เวลาสุขภาพและความสัมพันธ์ กับครอบครัว และสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินความสำเร็จที่ดี
__________________________________________________________
ข้อมูลจากหนังสือ ความลับเศรษฐี คนแบบนี้แหละดึงดูดเงิน
ผู้เขียนโทนี่ โนะนากะ
ผู้แปลอนิษา เกมเผ่าพันธ์
สำนักพิมพ์ Amarin How-to
(suwatmgr@gmail.com)
เซกชั่น Good Health & Well Being ของ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19-25 ธันวาคม 2558)
__________________________________________________________
ช่วงเวลาการต้อนรับปีใหม่ขณะนี้ ถ้าจะยึดคำที่พระท่านสอนให้ “สร้างเหตุที่ดี” เพื่อให้เกิด “ผลที่ดี” สมใจ ก็ถือว่า เหมาะกับการเริ่มต้นที่ดีแถมยังเอื้อด้วยบรรยากาศการอวยพรจากญาติมิตรทั้งหลายอีกด้วย
เรามาเรียนรู้วิธีคิดและอุปนิสัยที่น่าจะนำมาปรับใช้ ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ให้มีคุณสมบัติที่จะร่ำรวยและมีความสุขได้
คนที่ท้าพิสูจน์เหตุและผลที่ว่านี้ คือ โทนี่ โนะนากะ ผู้เขียนหนังสือ “ความลับเศรษฐี คนแบบนี้แหละดึงดูดเงิน” ซึ่งได้ใช้เวลาค่อนชีวิตสะสมข้อมูลจากคนระดับมหาเศรษฐีทั่วโลก 2,000 คน และสรุปได้ว่า ผู้คนในโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นมหาเศรษฐีนั้นมีแค่ 10% แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ราว 7% แม้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายแต่ก็ไม่มีความสุข เพราะไม่มีเวลาส่วนตัว ขาดเพื่อนแท้ ซ้ำร้ายการที่หมกมุ่นแต่งานก็เลยสั่งสมความเครียดและร่างกายทรุดโทรม จนมีโรคเรื้อรังเป็น “ผลพลอยเสีย”
ขณะที่มีเพียง 3% เป็นเศรษฐีที่มีชีวิตเปี่ยมสุข เพราะอยู่กับความมั่งคั่ง และแวดล้อมด้วยหมู่มิตรที่ไว้วางใจได้ เพราะเป็นคนคิดบวกและมีจิตใจดีงาม มีการตั้งมูลนิธิและบริจาคทรัพย์สินช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ถ้าเลือกได้เราก็คงอยากเป็นคนร่ำรวยอย่างมีสุขที่อยู่ในส่วน 3% ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ 97% ของประชากรโลกที่รู้สึกว่ามีทุกข์บ้าง สุขบ้าง ทั้งที่อาจเป็นสุขชั่วคราวและทุกข์ถาวรต่างหาก
หนังสือเล่มนี้เน้นแนวทางการเป็นเศรษฐีที่มีความสุข ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำตัวเพื่อมีอิสระทางการเงิน เวลา สุขภาพ และสังคม รวมถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว คือมีอิสระมีความคล่องตัวไม่ถูกจำกัด หรือผูกมัดด้วยเงื่อนไขทั้ง 4 ด้าน
“หากต้องการประสบความสำเร็จ ก็จงปฏิบัติตัวแบบผู้ประสบความสำเร็จ” เป็นคำตอบง่ายๆ เมื่อมีคนขอคำแนะนำจากมหาเศรษฐี
แสดงว่าคนที่มีอำนาจ วาสนา และร่ำรวยมาก ก็ยังมีทุกข์เพราะไม่รู้จักสร้างความสมดุลทั้ง 4 ปัจจัยดังกล่าว เช่น คนที่เอาแต่หมกมุ่นทำงานเพื่อหาเงินให้มากโดยหวังจะมีอิสระทางการเงิน ก็อาจบกพร่องต่อสังคมและความสัมพันธ์ในครอบครัว
เงิน จึงไม่ใช่ เส้นชัยของชีวิต แต่เป็นเพียงเครื่องมือปัจจุบันที่สนับสนุนไปสู่เป้าหมาย ทรัพย์สินมีค่า หรือรถยนต์หรู ก็ไม่ใช่เส้นชัย เพียงแต่เป็นเครื่องมือที่อาจสนับสนุนให้มีโอกาสไต่ระดับทางสังคมไปสู่เป้าหมายได้
ถ้าเช่นนี้ “เป้าหมายชีวิต” คืออะไร มหาเศรษฐีผู้หนึ่งอธิบายว่า “คือสิ่งที่เมื่อทำสำเร็จแล้วจะไม่นึกเสียใจ......แม้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องลาโลกนี้ไปก็ตาม”
เราพร้อมจะทุ่มเททั้งชีวิตให้กับ “สิ่งนั้น” โดยรู้สึกว่า ไม่มีอะไรจะดีกว่านี้อีกแล้ว จนเชื่อมั่นว่า “เราเกิดมาเพื่อสิ่งนี้”
จาก 4 องค์ประกอบสำคัญของสภาวะการเป็นเศรษฐีที่มีความสุขนั้น สามารถถอดบทเรียนได้เป็นเคล็ดลับ 10 ประการซึ่งขอสรุปมาแบ่งปันดังนี้
เคล็ดลับที่ 1 การดำเนินชีวิต : เงื่อนไขสู่การเป็นเศรษฐี
( 1) ปรับวิธีคิด นิสัยและพฤติกรรม คือใช้เงินให้เป็น ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เช่นจ่ายเงินก้อนโตเพื่อไปต่างประเทศ ไม่ใช่แค่ไปเปลี่ยนบรรยากาศ แต่ต้องได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ
(2) ไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่อธิษฐานอ้อนวอนขอให้ช่วย ความสำเร็จทางธุรกิจเกิดจากการทุ่มเทและความพยายามของตนเอง และคนรอบข้างช่วยเหลือ การเข้าวัดหรือไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ไปเพื่อแสดงความขอบคุณเท่านั้น
(3) ให้ความสำคัญ กับสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้
การได้ครอบครองสิ่งที่ใช้ “เงิน” ซื้อมาด้วยความพอใจก็จริง แต่อย่าปล่อยให้สูญเสีย “สิ่งที่เงินซื้อไม่ได้” เป็นอันขาด เช่น
เงินซื้อคฤหาสน์ได้ แต่ไม่สามารถซื้อความสุขในครอบครัวได้
เงินซื้อนาฬิกาได้ แต่ไม่สามารถซื้อเวลาได้
เงินซื้อหนังสือได้ แต่ไม่สามารถซื้อความรู้ได้
เงินซื้อตำแหน่งยศศักดิ์ได้ แต่ไม่สามารถซื้อความเคารพศรัทธาได้
(4) ตั้งเป้าหมายให้สุดยอด
เป็นเป้าหมายที่เมื่อทำสำเร็จแล้ว ไม่ต้องย้อนมานึกเสียใจ แม้ว่าวันพรุ่งนี้ จะต้องลาโลกไปก็ตาม
ลองค้นหาเป้าหมาย ที่ทำให้รู้สึกเป็นสุข ทุกครั้งที่นึกถึง นี่คือก้าวแรก สู่วิถีการเป็นเศรษฐีที่มีความสุข
เคล็ดลับที่ 2 การทำงาน
(1) ทำในสิ่งที่ชอบ จึงต้องชอบในสิ่งที่ทำ
(2) สนุกกับงาน มีความคิดสร้างสรรค์ หาแง่มุมใหม่ๆในการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ และประสิทธิภาพดีขึ้น
(3) มองที่ “สาเหตุ” ไม่ใช่ “ผลลัพธ์”
ฝึกให้เป็นนิสัย ทำเหตุให้ดี ผลจะดีเอง จึงให้ความสำคัญ กับการค้นหาสาเหตุ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
(4) พูดให้ติดปาก “เราเป็นคนโชคดี”
ทำให้เกิดกำลังใจ และเป็นพลังบวก ช่วยผ่านอุปสรรคไปได้ดี
(5) เมื่อได้สิ่งใดมา ก็ควรให้บางสิ่งไป
ฝึกให้เป็นนิสัยว่าเมื่อได้อะไรมา 1 อย่าง ก็ควรให้ไป 1 อย่าง ทำให้เกิดความสมดุล และไม่ติดยึดกับความละโมบโลภมาก
(6) เปลี่ยนความผิดพลาด ให้เป็นประสบการณ์ที่ดี
เมื่อมีความเพียรพยายาม ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นก็จะกลายเป็นประสบการณ์ดีๆ ระหว่างทางสู่ความสำเร็จ
แต่ระดับความยากลำบาก ที่เป็นบททดสอบ ในชีวิตคนเรา น่าจะสัมพันธ์ กับขนาดของเป้าหมาย หรือความฝัน หากเป้าหมาย มีขนาดใหญ่ บททดสอบก็ใหญ่ไปด้วย
เคล็ดลับที่ 3 : การเงิน
(1) ใช้เงินที่ถูกเรื่อง แล้วไม่เสียดายเงินและเวลาที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ทันการเปลี่ยนแปลง
(2 ) เรื่องเงินต้องละเอียดรอบคอบเสมอ แม้แต่จำนวนไม่มากก็ตาม
(3) กฎเหล็กของการใช้จ่าย ใช้เงินให้กับสิ่งที่มีคุณค่าคู่ควร
(4) ไม่หวังพึ่งเงินคนอื่น เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำ กำหนดกติการายรับรายจ่ายตัวเองเหมือนกำลังบริหารธุรกิจ
เคล็ดลับที่ 4 : ความมั่งคั่ง
(1) สร้างรายได้จากหลายช่องทาง ทั้งจากการทำงานของตัวเองและให้เงินทำงานจากรายได้นอกเหนือจาเงินเดือน เช่น จากการลงทุน ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย เงินปันผล
(2) รายได้ควรผกผันกับเวลาทำงาน เมื่อมีความสามารถพิเศษก็ใช้เวลาทำงานน้อยลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น
(3) ยินดี “ลงทุน” ในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ “ใช้เงิน” ไปกับความหรูหราเรื่องบ้านหรือรถยนต์เพราะไม่เกิดเม็ดเงินเพิ่มขึ้น
(4) ลงทุนซื้อรองเท้าและกระเป๋าชั้นดีราคาสูง เพราะแสดงถึงรสนิยมอีกทั้งใช้งานสบายและทนทาน
(5) ทำให้เงินงอกเงยพร้อมกับรักษาสมดุลชีวิต ไม่มุ่งทำงานให้ได้เงินมากๆ แต่มุ่งรักษาความสมดุลระหว่างเงินกับมีเวลาส่วนตัวดูแลสุขภาพให้ดี และมีสัมพันธภาพกับสังคมที่เกี่ยวข้อง
(6) สำนึกรู้คุณของเงิน การนำเงินไปใช้ต้องให้เกิดประโยชน์และเลือกลงทุนในธุรกิจที่นำเงินไปสร้างประโยชน์สูงสุด
เศรษฐียังใช้ธนบัตรและเหรียญอย่างทะนุถนอมมาก รวมถึงดูแลกระเป๋าใส่เงินให้อยู่ในสภาพดีด้วย
เคล็ดลับที่ 5 : เวลา
(1) ตรงเวลาเสมอ สมกับเป็นผู้มีอิสระทางเวลาก็จะไม่เบียดบังเวลาของใคร ไม่ว่าการประชุมและการนัดหมายที่ต้องกำหนดเวลาชัดเจน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องวางแผนและจัดการเวลาส่วนตัวได้
(2) ลงมือทำทันที เมื่อมีกำหนดหรือนึกขึ้นได้จะช่วยให้งานสำเร็จตามแผน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
(3) อย่ามีข้ออ้างว่า “ยุ่ง” มีการกระจายงานหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำงานตามสมควร เพื่อให้ตัวเองมีสมาธิและใช้ความคิดสร้างสรรค์กับงานที่ต้องเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพได้เต็มที่
เคล็ดลับที่ 6 : การผ่อนคลาย
(1) เริ่มทำสิ่งที่ไม่ชอบก่อน ลงมือทำเรื่องที่น่าเบื่อก่อนจะได้ใช้เวลาที่เหลือทำงานอย่างปลอดโปร่ง
(2) ตื่นแต่เช้า เศรษฐีที่มีความสุขทุกคนล้วนตื่นเช้าจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง เพราะร่างกายขับฮอร์โมนเซโรพามีนเพื่อให้สมองกระชับกระเฉงเหมาะกับการทำงาน
(3) ใช้ช่วงเวลาทองให้ได้ประโยชน์ จังหวะที่ลืมตาตื่น ก่อนจะลุกจากที่นอนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะสมองอยู่ในสภาวะที่ดีเยี่ยม มีการปล่อยคลื่นแอลฟาออกมาทำให้ภาวะจิตใต้สำนึกกับภาวะมีสติรับรู้เชื่อมโยงเข้าหากัน
ช่วงเวลานี้ถ้าจะใช้ประโยชน์ก็แค่ปล่อยตัวบน เตียงนอนสบายๆ 5 นาที พร้อมกับสร้างจินตนาการเรื่องดีๆที่จะเกิดขึ้นจากนี้ก่อนจะลุกจากที่นอนตามปกติ
(4) ยอมจ่ายแพงเพื่อซื้อโอกาส ขึ้นเครื่องบินจะเลือกใช้ที่นั่งชั้น 1 ไม่ใช่เพื่อโก้หรู แต่เป็นโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ประสบความสำเร็จที่ร่วมเดินทางไกล อาจได้มิตรใหม่ แถมที่นั่งกว้างขวาง เหมาะกับการทำงานหรือพักผ่อน
กรณีถ้าขึ้นแท็กซี่ราคาแพงกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับรถไฟธรรมดา แต่ถึงที่หมายเร็วกว่าครึ่งชั่วโมง คนระดับเศรษฐีอาจทำประโยชน์มีมูลค่ามากกว่าราคาค่ารถไฟหลายเท่า เขาจึงยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อเวลา
(5) สร้างคุณค่าให้กับกิจกรรมที่สนุก คนทั่วไปตีความว่า “งาน” คือสิ่งที่ต้องทำ แต่ “งานสนุก” คือ สิ่งที่อยากทำ เศรษฐีที่มีความสุขจะไม่แยกงานออกจากความสนุก จึงเชื่อมโยงส่วนที่ “อยากทำ” ให้เข้ากับงานและยังหาทางทำให้เกิดรายได้จะยิ่งดี
เคล็ดลับที่ 7 : ความสัมพันธ์
(1) วาดภาพคนในอุดมคติไว้ในหัว วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนในตลาดหุ้น แนะนำว่า “ให้มีมหาเศรษฐีสักคนที่เป็นฮีโร่ในดวงใจ”เพื่อเป็นคนต้นแบบ ทำนองว่า น่านับถือใน ความเก่งและดีที่ทำธุรกิจ หรือเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดี
(2) รักและมั่นใจตัวเอง เพื่อสร้างอิสระทางสังคม จำเป็นต้องเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ก็ต้องรู้จักรักตัวเองก่อน จึงเกิดมีพลังบวก
(3) พัฒนาตัวเองสม่ำเสมอ และไม่ข้องแวะกับคนที่ไม่มีทางประสบความสำเร็จ เพราะตามหลักกฎแห่งแรงดึงดูดคนไม่มีคุณธรรมย่อมอยู่กับคนที่มีคุณธรรมสูงไม่ได้
ขณะเดียวกัน การพัฒนาตัวเองต่อเนื่องคนที่ใกล้ชิดที่ไม่ยอมพัฒนาตัวให้สูงขึ้นก็อาจถอยห่างไปเอง หรือถ้ายังเห็นความสำคัญก็อาจพัฒนาตนเองให้สามารถคบหาด้วยความทัดเทียมกับตัวคุณ
(4) อยู่ให้ห่างจากพลังงานด้านลบ คนที่ควรห่างที่สุดคือคนที่ชอบพูดให้ร้ายคนอื่น หรือคนขี้บ่น คนแบบนี้เต็มไปด้วยพลังงานด้านลบ เพราะมีทั้งความเครียดแค้นชิงชังและริษยาอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
คนประเภทนี้ไม่มีโอกาสได้เป็นเศรษฐีที่มีความสุขแน่นอน ใครไปใกล้ชิดก็จะพลอยไม่มีความสุขไปด้วย และคนที่ชอบนินทาคนอื่นให้ฟังก็ย่อมจะนำเรื่องของคุณไปนินทาลับหลังด้วยเช่นกัน
แต่สำหรับคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และมองโลกในแง่บวกเสมอ คือคนที่มีพลังด้านบวกเต็มเปี่ยมซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะก้าวสู่การเป็นเศรษฐีที่มีความสุขได้ คนแบบนี้น่าคบ
เคล็ดลับที่ 8 : เสน่ห์มัดใจ
(1) อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างอิสระภาพทางสังคมโดยรู้จักขอความช่วยเหลือ พร้อมรับฟังคำแนะนำอย่างตั้งใจ จากผู้รู้เฉพาะทาง แม้อีกฝ่ายจะมีสถานภาพด้อยกว่า
(2) มีน้ำใจเอื้อเฟื้อโดยไม่หวังผลประโยชน์ ตามหลักเหตุและผลสิ่งที่ได้ทุ่มเทให้ไป ยอมส่งผลลัพธ์กลับมา ไม่มากก็น้อยหรืออาจสนองกลับมาในรูปของโอกาส ที่ดี มิตรภาพ และเสียงชื่นชม
(3) เอาใจใส่รูปลักษณ์ เพราะคนมักตัดสินใจเลือกคบคนจากความประทับใจแรกพบ ดังนั้นควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่ดูสะอาดทรงผมไม่ยุ่งเหยิงเศรษฐีที่มีความสุขมากมองหาพลังหรือออร่าที่เปล่ง ออกมาจากภายในของอีกฝ่าย และที่สำคัญก็คือ การยิ้มแย้มแจ่มใสซึ่งแสดงถึงการมองโลกในแง่บวก
(4) กตัญญูรู้คุณ เศรษฐีที่สุดประสบความสำเร็จกับนักกีฬา เบล ตอบเหมือนกันว่า เป็นเพราะ ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ จากคนรอบข้าง รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ และพ่อแม่ที่ให้การคุ้มครอง เป็นผู้สมควรได้รับการระลึกถึงบุญคุณ
เคล็ดลับที่ 9 : คู่ชีวิต
(1) เลือกคู่ชีวิตที่ดี บรรดาเศรษฐีมักใช้หลักเหตุผล ที่ว่าเลือกคนนี้แล้วอนาคตจะเป็นเช่นไร โดยไม่ใช้ความรักเป็นเครื่องตัดสิน และ เลือกคนที่ไม่ฟุ่มเฟือย ที่พร้อมจะก้าวผ่านอุปสรรคไปด้วยกัน
(2) อย่าแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ และไม่เลือกคู่ครองประเภท ชอบนินทาให้ร้ายคนอื่น คนมองโลกในแง่ลบ คนที่คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่มีน้ำใจ ไม่สำนึกรู้บุญคุณคน และคนที่ต้องทุ่มเงินให้ เพราะชอบหรูหราฟุ่มเฟือย
(3) อย่ามุ่งเพียงอิสรภาพทางการเงิน ควรสร้าง ความสมดุล กับองค์ประกอบอื่นด้วยคือ เวลา สังคมและสุขภาพ
(4) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เป็นแกนสำคัญที่สุดของ การมี “อิสรภาพทางสังคม” โดยทุกคนมีความเคารพและพูดถึงกันในแง่ดี
(5) อย่าคาดหวังให้ลูกเป็นผู้สืบทอดกิจการ ประเด็น “ความสุขของลูกหลาน” กับ “การสืบทอดกิจการ” ต้องแยก จากกัน เพราะใช่ว่าลูกหลานในตระกูลจะมีคุณสมบัติเหมาะที่จะสานต่อกิจการเสมอไป จึงจำเป็นต้องหามืออาชีพเป็นตัวเลือกเข้ามาทำงานแทน
เคล็ดลับ ที่ 10 : สุขภาพ
(1) ออกกำลังกายทุกวัน จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ และดีต่อสมอง การทำตัวให้กระฉับกระเฉงเสมอ ด้วยการมีกิจกรรมด้วยตนเองเช่น ออกไปขับรถไปชื้อสิ่งของหรือบางครั้งทำอาหารบ้าง ก็เป็นงานอดิเรกที่น่าเพลิดเพลิน
(2) ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่หมกมุ่นกับเรื่องงานจนเครียด เลือกที่จะมีความสุขกับงานที่ชอบ ลงทุนสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลาย เช่น จัดโต๊ะทำงานให้สะอาดเป็นระเบียบเสมอ ไม่มีเอกสารเต็มโต๊ะ
(3) อย่ามีเรื่องทะเลาะกับใคร แม้ใจร้อน ต้องการทำสิ่งใดอย่างฉับไวก็ดี แต่อย่าโมโห จะทำให้เครียด ซึ่งจะสร้างผลลบตามมาเป็นลูกโซ่ แถมยังเกิดผลร้ายต่อร่างกายและทำลายมิตรภาพอีกด้วย
การจัดการความโกรธ ให้ตระหนักว่า เรื่องที่เกิดขึ้น สาเหตุบางส่วนอาจมาจากข้อบกพร่องของตัวเราเอง เมื่อได้สติเช่นนี้ ก็ช่วยให้รู้จักปรับปรุงข้อบกพร่องตัวเอง จิตใจก็ดีขึ้น
(4) ใส่ใจอาหารการกิน คนเป็นเศรษฐี มีโอกาสกับอาหารหรูหรามากกว่าคนทั่วไปก็ เพื่อการคบค้าสมาคม แต่โดยส่วนตัวมีความคิดเรื่องการกินแบบง่ายๆขอให้อิ่มท้องและดีต่อสุขภาพก็พอ
(5) ฝึกผ่อนคลายจิตใจให้สมองโล่ง ควรทำให้เป็นนิสัย เพื่อถนอมรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ไปแช่น้ำพุร้อน การเดินป่าเพื่อรับพลังธรรมชาติ การฟังเพลงคลาสสิค หรือการนอนแช่น้ำอุ่นสบายๆในบ้าน
ดังนั้น เป้าหมายความร่ำรวย เมื่อไม่ได้วัดกันที่จำนวนทรัพย์สินเงินทอง คนที่รู้สึกว่ามีพอ และยังพร้อมเป็นผู้แบ่งปันช่วยเหลือคนรอบข้าง ก็มีความสุขที่เกิดจากความสมดุล 4 ด้านคือ มีอิสระทางการเงิน เวลาสุขภาพและความสัมพันธ์ กับครอบครัว และสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินความสำเร็จที่ดี
__________________________________________________________
ข้อมูลจากหนังสือ ความลับเศรษฐี คนแบบนี้แหละดึงดูดเงิน
ผู้เขียนโทนี่ โนะนากะ
ผู้แปลอนิษา เกมเผ่าพันธ์
สำนักพิมพ์ Amarin How-to