การสัมมนาใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียเพื่อส่งเสริมความสามารถในการมีงานทำของคนพิการ หรือ “Workability Asia Conference” เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมฮิลตัน พัทยา นับเป็นปรากฏการณ์ที่มีความหมายมาก
เพราะเป็นการผนึกกำลังของภาครัฐคือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการร่วมกับ กระทรวงแรงงาน กรมประชาสัมพันธ์ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา กิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป และ Workability Thailand (WTH) รวมทั้งเครือขายองค์กรกลุ่มภาคธุรกิจชั้นนํา
นับเป็นครั้งแรกของเอเชียในการขับเคลื่อนความร่วมมือเอกชนในมิติการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการบริหารจัดการเพื่อคนพิการอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการนำเสนอผลงานวิชาการ 23 ฉบับจาก 14 ประเทศทั่วโลก และได้รับเกียรติจาก วิทยากร ชั้นนำกว่า 25 คนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในงาน โดยมียอดผู้เข้าร่วมงานกว่า 485 คน กว่า 185 องค์กร จากกว่า 18 ประเทศ และบูธนิทรรศการจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ SE กว่า 28 องค์กร
เพื่อส่งเสริมการสร้างงานให้คนพิการ กระทรวงแรงงานได้ร่วมกับ 6 สถาบันภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมสภามหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย ร่วมประกาศเจตนารมณ์ หลักการ “พลังคนพิการ: หุ้นส่วนธุรกิจสร้างสรรค์สังคม” (Declaration of Welcome Disability)
เป็นการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของคนพิการและร่วมสร้างความตระหนักต่อคนที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้าและชุมชน โดยรณรงค์ให้สถานประกอบการติดสัญลักษณ์แสดงการต้อนรับผู้พิการWelcome Disability Mark หรือ Well-D Mark ซึ่งไทยเป็นประเทศนําร่องในการส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Well-D Mark ในกลุ่มประเทศสมาชิก Workability Asia โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสนับสนุนและขยายผลอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ มี 14 องค์กรนําร่อง ร่วมประกาศเจตนารมณ์หนุนโครงการนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), เมืองพัทยา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี, บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จํากัด, กลุ่มบริษัทไมเนอร์, เทสโก้โลตัส, บริษัท เอฟ ดับบลิวดี ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน), บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท เอเชีย พรีซิซั่น จํากัด (มหาชน)
นี่เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ด้วยแนวคิด “คนพิการจากภาระให้เป็นพลัง” โดยการประกาศหลักการ “พลังคนพิการ: หุ้นส่วนธุรกิจ สร้างสรรค์สังคม” ใน 4 ประการคือ 1. การส่งเสริมวัฒนธรรมสังคมเพื่อคนทั้งมวล (Cultivating Inclusion) 2. การส่งเสริมนโยบายการเข้าถึงของคนพิการ (Promoting Accessibility Policy) 3. การส่งเสริมการสร้างพันธมิตร (Creating Inclusive Partnership) ๔. การส่งเสริมการสร้างงานคนพิการ (Empowering Competitive Employment & Social Entrepreneurship)
คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีองค์กรภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมการรณรงค์สร้างความตระหนักต่อสังคมผ่านตราสัญลักษณ์ Welcome Disability Mark หรือ Well-D กว่า 100 องค์กร
อีกประเด็นสําคัญ คือการเปิดตัวสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาสไทย (Workability Thailand) เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ มุ่งสร้างสรรค์การพัฒนาศักยภาพและการสร้างงานคนพิการ นําร่องโดย ๘ องค์กรสําคัญ ได้แก่ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ, บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จํากัด, บริษัท สยามนิชชิน จํากัด, บริษัท ไอแอล โซลูชั่น จํากัด, มูลนิธิ วิถีชีวิตอิสระคนพิการ, บริษัท เคียงบ่าเคียงไหล่ จํากัด, บริษัท ฐานการ์เมทน์ จํากัด และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป
วิสัยทัศน์ก็คือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับการดําเนินงาน
พันธกิจที่สําคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1) การรณรงค์สร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นของสังคม (Awareness& Advocacy) 2) การแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงพลังความร่วมมือของเครือข่าย (Collaboration & Networking) 3) การพัฒนาตลาดและสร้างโอกาสธุรกิจเพื่อคนพิการ (Business Opportunity) 4) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตอย่างยั่งยืน (Capacity Building&Support)
Workability Thailand 3 กลยุทธ์สําคัญในการสร้างงานคนพิการเพื่อสร้างขีดความสามารถทางธุรกิจคือ 1. แนวทางส่งเสริมและปรับกระบวนการจ้างงานที่เหมาะสมกับคนพิการ (Customization Employment) 2. ส่งเสริมรูปแบบความร่วมมือของภาคเอกชนเพื่อสร้างงานโดยผ่านกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการ (Corporate Social Enterprise) 3. การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนคนพิการสู่การมีงานทําอย่างมีประสิทธิภาพ (Assistive Technology Communication)
ข้อคิด...
แม้โดยทั่วไปคนมักมองผู้พิการว่าน่าสงสารน่าเห็นใจไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องหรือสูญเสียอวัยวะส่วนใดจะเนื่องจากโรคภัยหรืออุบัติเหตุก็ตาม
แต่คนพิการเองก็ไม่อยากถูกมองว่าเป็น ภาระ (Liability) เครือข่ายเพื่อคนพิการจึงเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนค่านิยามให้มองคนพิการว่าเป็น “สินทรัพย์” (Asset) ได้ หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในทางที่ดี ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีปัจจัยเอื้อทั้งแนวคิดและบทบาทภาครัฐและเอกชนสอดคล้องกัน
การเกิดเครือข่ายWorkability Thailand (WTH) ที่มุ่งชูโมเดล “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise)เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็งของคนพิการด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่า และพร้อมเป็นองค์กรตัวกลางในการเชื่อมโยงภาคเอกชนร่วมสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในลักษณะการซื้อสินค้าและบริการจากกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการ (B2B หรือ Business to Business)
ผลลัทธ์จึงไม่ใช่แค่ Win-Win แต่จะได้ 3 Win ทีเดียว
Winที่ 1 จะสร้างประโยชน์ให้กับภาคเอกชนมากกว่ารูปแบบการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กรณีไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ตามกำหนด) ด้วยการได้สินค้าบริการกลับไปยังองค์กร
Winที่ 2 เป็นการใช้งบประมาณกิจกรรมส่งเสริมสังคม (CSR) ขององค์กรมาพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจและการบริหารจัดการขององค์กรคน พิการหรือองค์กรเพื่อคนพิการในการก้าวสู่รูปแบบกิจการเพื่อสังคมความยั่งยืนทางการเงิน
Winที่ 3 อีกทั้งสนองนโยบายรัฐตามมาตรา ๓๕ ในการสร้างงานให้คนพิการโดยตรงตามความต้องการที่เหมาะสมและขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงสถานประกอบการอีกด้วย
กลยุทธ์นี้จึงเชื่อมโยงบทบาทเอกชนในการและให้เครื่องหมาย Well-D Mark เป็นที่ยอมรับไปพร้อมกับการสร้างโมเดล SE เพื่อคนพิการที่หลากหลายโดยหวังใช้เทคโนโลยี ระบบการขายออนไลน์ (Digital Market Place) เข้าเสริม เพื่อสร้างโอกาสการเจาะตลาดผู้ซื้อรายย่อย และสร้างความตระหนักสต่อสังคมไทยต่อไป
เพราะเป็นการผนึกกำลังของภาครัฐคือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการร่วมกับ กระทรวงแรงงาน กรมประชาสัมพันธ์ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เมืองพัทยา กิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป และ Workability Thailand (WTH) รวมทั้งเครือขายองค์กรกลุ่มภาคธุรกิจชั้นนํา
นับเป็นครั้งแรกของเอเชียในการขับเคลื่อนความร่วมมือเอกชนในมิติการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการบริหารจัดการเพื่อคนพิการอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งมีการนำเสนอผลงานวิชาการ 23 ฉบับจาก 14 ประเทศทั่วโลก และได้รับเกียรติจาก วิทยากร ชั้นนำกว่า 25 คนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในงาน โดยมียอดผู้เข้าร่วมงานกว่า 485 คน กว่า 185 องค์กร จากกว่า 18 ประเทศ และบูธนิทรรศการจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ SE กว่า 28 องค์กร
เพื่อส่งเสริมการสร้างงานให้คนพิการ กระทรวงแรงงานได้ร่วมกับ 6 สถาบันภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมสภามหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย ร่วมประกาศเจตนารมณ์ หลักการ “พลังคนพิการ: หุ้นส่วนธุรกิจสร้างสรรค์สังคม” (Declaration of Welcome Disability)
เป็นการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของคนพิการและร่วมสร้างความตระหนักต่อคนที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้าและชุมชน โดยรณรงค์ให้สถานประกอบการติดสัญลักษณ์แสดงการต้อนรับผู้พิการWelcome Disability Mark หรือ Well-D Mark ซึ่งไทยเป็นประเทศนําร่องในการส่งเสริมตราสัญลักษณ์ Well-D Mark ในกลุ่มประเทศสมาชิก Workability Asia โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสนับสนุนและขยายผลอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ มี 14 องค์กรนําร่อง ร่วมประกาศเจตนารมณ์หนุนโครงการนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), เมืองพัทยา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี, บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จํากัด, กลุ่มบริษัทไมเนอร์, เทสโก้โลตัส, บริษัท เอฟ ดับบลิวดี ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน), บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท เอเชีย พรีซิซั่น จํากัด (มหาชน)
นี่เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ด้วยแนวคิด “คนพิการจากภาระให้เป็นพลัง” โดยการประกาศหลักการ “พลังคนพิการ: หุ้นส่วนธุรกิจ สร้างสรรค์สังคม” ใน 4 ประการคือ 1. การส่งเสริมวัฒนธรรมสังคมเพื่อคนทั้งมวล (Cultivating Inclusion) 2. การส่งเสริมนโยบายการเข้าถึงของคนพิการ (Promoting Accessibility Policy) 3. การส่งเสริมการสร้างพันธมิตร (Creating Inclusive Partnership) ๔. การส่งเสริมการสร้างงานคนพิการ (Empowering Competitive Employment & Social Entrepreneurship)
คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีองค์กรภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมการรณรงค์สร้างความตระหนักต่อสังคมผ่านตราสัญลักษณ์ Welcome Disability Mark หรือ Well-D กว่า 100 องค์กร
อีกประเด็นสําคัญ คือการเปิดตัวสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาสไทย (Workability Thailand) เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ มุ่งสร้างสรรค์การพัฒนาศักยภาพและการสร้างงานคนพิการ นําร่องโดย ๘ องค์กรสําคัญ ได้แก่ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ, บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จํากัด, บริษัท สยามนิชชิน จํากัด, บริษัท ไอแอล โซลูชั่น จํากัด, มูลนิธิ วิถีชีวิตอิสระคนพิการ, บริษัท เคียงบ่าเคียงไหล่ จํากัด, บริษัท ฐานการ์เมทน์ จํากัด และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป
วิสัยทัศน์ก็คือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับการดําเนินงาน
พันธกิจที่สําคัญ 4 ข้อ ได้แก่ 1) การรณรงค์สร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นของสังคม (Awareness& Advocacy) 2) การแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงพลังความร่วมมือของเครือข่าย (Collaboration & Networking) 3) การพัฒนาตลาดและสร้างโอกาสธุรกิจเพื่อคนพิการ (Business Opportunity) 4) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตอย่างยั่งยืน (Capacity Building&Support)
Workability Thailand 3 กลยุทธ์สําคัญในการสร้างงานคนพิการเพื่อสร้างขีดความสามารถทางธุรกิจคือ 1. แนวทางส่งเสริมและปรับกระบวนการจ้างงานที่เหมาะสมกับคนพิการ (Customization Employment) 2. ส่งเสริมรูปแบบความร่วมมือของภาคเอกชนเพื่อสร้างงานโดยผ่านกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการ (Corporate Social Enterprise) 3. การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนคนพิการสู่การมีงานทําอย่างมีประสิทธิภาพ (Assistive Technology Communication)
ข้อคิด...
แม้โดยทั่วไปคนมักมองผู้พิการว่าน่าสงสารน่าเห็นใจไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องหรือสูญเสียอวัยวะส่วนใดจะเนื่องจากโรคภัยหรืออุบัติเหตุก็ตาม
แต่คนพิการเองก็ไม่อยากถูกมองว่าเป็น ภาระ (Liability) เครือข่ายเพื่อคนพิการจึงเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนค่านิยามให้มองคนพิการว่าเป็น “สินทรัพย์” (Asset) ได้ หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในทางที่ดี ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีปัจจัยเอื้อทั้งแนวคิดและบทบาทภาครัฐและเอกชนสอดคล้องกัน
การเกิดเครือข่ายWorkability Thailand (WTH) ที่มุ่งชูโมเดล “กิจการเพื่อสังคม” (Social Enterprise)เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็งของคนพิการด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่า และพร้อมเป็นองค์กรตัวกลางในการเชื่อมโยงภาคเอกชนร่วมสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในลักษณะการซื้อสินค้าและบริการจากกิจการเพื่อสังคมเพื่อคนพิการ (B2B หรือ Business to Business)
ผลลัทธ์จึงไม่ใช่แค่ Win-Win แต่จะได้ 3 Win ทีเดียว
Winที่ 1 จะสร้างประโยชน์ให้กับภาคเอกชนมากกว่ารูปแบบการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กรณีไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ตามกำหนด) ด้วยการได้สินค้าบริการกลับไปยังองค์กร
Winที่ 2 เป็นการใช้งบประมาณกิจกรรมส่งเสริมสังคม (CSR) ขององค์กรมาพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจและการบริหารจัดการขององค์กรคน พิการหรือองค์กรเพื่อคนพิการในการก้าวสู่รูปแบบกิจการเพื่อสังคมความยั่งยืนทางการเงิน
Winที่ 3 อีกทั้งสนองนโยบายรัฐตามมาตรา ๓๕ ในการสร้างงานให้คนพิการโดยตรงตามความต้องการที่เหมาะสมและขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงสถานประกอบการอีกด้วย
กลยุทธ์นี้จึงเชื่อมโยงบทบาทเอกชนในการและให้เครื่องหมาย Well-D Mark เป็นที่ยอมรับไปพร้อมกับการสร้างโมเดล SE เพื่อคนพิการที่หลากหลายโดยหวังใช้เทคโนโลยี ระบบการขายออนไลน์ (Digital Market Place) เข้าเสริม เพื่อสร้างโอกาสการเจาะตลาดผู้ซื้อรายย่อย และสร้างความตระหนักสต่อสังคมไทยต่อไป