คอลัมน์ Learn&Share
โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
suwatmgr@gmail.com
เซกชั่น Good Health & Well-Being
ของ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4-10 เมษายน 2558
____________________
ใครจะนึกบ้างว่า คนที่เคยมองกันแบบศัตรูหรือคู่อริที่มีแต่ความขัดแย้ง จะมีโอกาสทางวิธีสร้างความสงบสุขกันได้
ตัวละครในเรื่องนี้ เป็นชาวอาหรับ (ยูซุฟ อัลฟาลาห์) และอีกคนเป็นชาวยิว (อาวี โรเซน) ที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตที่สูญเสียพ่อด้วยน้ำมือคนร่วมชาติของอีกฝ่าย กลับเข้าใจกันแล้วกลายมาเป็นพี่เลี้ยงในค่ายฝึกการเรียนรู้กลางทะเลทรายในรัฐแอริโซนาเพื่อดัดนิสัยทัศนคติของเด็กมีปัญหา
โปรแกรมนี้ส่งกลุ่มเด็กเจ้าปัญหาเข้าค่ายฝึกแล้ว จัดให้พ่อแม่ของเด็กเหล่านั้นได้อยู่ร่วมกัน 2 วัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ จนเข้าถึงเหตุและผล จนมีคนยอมรับผิดต่อปัญหาและเห็นทางแก้ไข
ข้อคิดแรกที่น่าเอามาใช้แก้ปัญหาที่ชุลมุนอยู่ก็คือ
“เราควรใช้เวลาและความพยายามในการช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้อง มากกว่าพยายามรับมือหรือจ้องจัดการสิ่งที่ผิดพลาด”
แต่คนเรามักทำสิ่งที่ตรงข้าม คือใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งไปรับมือกับสิ่งที่ผิดพลาด เช่น สั่งสอนลูก ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคู่รัก ดัดนิสัยพนักงาน หรือสร้างวินัยคนที่ทำตัวไม่ได้ดั่งใจเรา
“ผมจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเป็นคนที่ช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้อง ดีกว่าเอาแต่ไปแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด” ยูซุฟกล่าวย้ำ
นี่เป็นกลยุทธ์เชิงบวกและเป็นเชิงรุก ในการสนับสนุนการทำใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่ต้องไปจี้ความผิดพลาดที่ผ่านไปแล้ว
ต้องเริ่มที่ “ใจที่เป็นมิตร” ไม่ว่าจะเป็นทางออกในปัญหาความขัดแย้ง แม้แต่ในสงครามหรือการทำงานและชีวิตครอบครัวก็ตาม
มาร์ติน บูเบอร์ นักปรัชญาชื่อดังชี้ว่า ในการมองลูก คู่ครอง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่คนแปลกหน้า หลักสำคัญอยู่ที่ “วิธีมองคน” ว่า เรามองพวกเขาอย่างไร
มองเป็น “คน” ฉันกับคุณ
มองเป็น “วัตถุสิ่งของ” ฉันกับมัน
“การมองคน” จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ามองเป็นวัตถุสิ่งของ หรือสิ่งกีดขวาง แถมด้วยใจที่เป็นศัตรู ย่อมมีอคติหรือความลำเอียง และจะมองเรื่องราวต่างๆ ไม่ชัดเจน
ถ้ามองผู้อื่นเป็นคน ด้วยใจที่เป็นมิตร การตัดสินใจใดๆ ก็ด้วยเจตนาดี มีความแจ่มชัด และเข้าใจปัญหาของอีกฝ่ายได้ดีพอๆ กับปัญหาของตัวเอง (เอาใจเขามาใส่ใจเรา)
ดังนั้น คนเราต่างมีปฏิกิริยาต่อ “วิธีมองคน” ของคนอื่นมากกว่าตอบสนองต่อพฤติกรรมของเขา เช่น ลูกเราจะแสดงออกหรือตอบโต้ต่อการตีความการมองลูกของเรา มากกว่าดูการกระทำหรือคำพูดที่เราแสดงออกให้ดูดี
ปัญหาส่วนใหญ่ ทั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน ที่ลุกลามบานปลาย จึงไม่ใช่เพราะพฤติกรรมการแสดงออก แต่เบื้องลึกก็เพราะวิธีการมองคนอย่างมิตรหรือศัตรูในวงนั้นต่างหาก
ยิ่งกว่านั้น ในโลกแห่งความเป็นจริง เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องตอบสนอง เรามักมี 2 ทางเลือก คือ 1.“ทำตามความรู้สึก” เช่น เข้าช่วยเหลือ หรือเข้าจัดการกับปัญหา 2.“ทรยศต่อความรู้สึก” โดยวางเฉย หรือถอยห่างออกไปเหมือนไม่รู้ไม่เห็น
แสดงว่าบางครั้ง เราไม่ได้เลือกทำสิ่งที่รู้อยู่ว่า “ถูกต้อง” เสมอไปนั่นแสดงว่า เรา “ทรยศต่อความรู้สึก” แล้วก็สร้างความชอบธรรมให้ตัวเองด้วย “กล่องที่มองไม่เห็น” มาคลุมตัว ซึ่งเท่าที่พบบ่อยมี 4 แบบ
แบบที่ 1 กล่องแห่ง “ความเหนือกว่า” อยู่ในกล่องนี้จะไม่มองผู้อื่นเป็นคน และมองว่าคนอื่นด้อยกว่า สำคัญน้อยกว่าแล้วมองตัวเองว่าเหนือกว่า เก่งกว่า ทำถูกทุกอย่าง
แบบที่ 2 กล่องแห่ง “ความคู่ควร” จะรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าและคู่ควรกับการยกย่อง แต่ถูกกระทำไม่ดี ไม่มีใครเห็นหัว ทั้งๆ ที่ตัวเองน่าจะมีสิทธิ์แต่ถูกกีดกัน ขณะที่มอง ผู้อื่นว่าทำพลาด ไม่สำนึกบุญคุณ
แบบที่ 3 กล่องแห่ง “ภาพลักษณ์” อยากดูดีจนต้องถนอมน้ำใจคน แม้บางครั้งเสแสร้ง เพราะวิตกว่าจะถูกมองไม่ดี
แบบที่ 4 กล่องแห่ง “ความด้อยกว่า” มองตัวเองว่าไม่ดีพอ มีความต่ำต้อย บกพร่อง และโชคร้าย ขณะที่มองคนอื่นว่าได้เปรียบ มีอภิสิทธิ์และโชคดีกว่า
ถ้าเช่นนั้นเราอยากก้าวออกจากกล่องทั้ง 4 ที่บดบังความจริงของตัวเอง นี่คือ การฟื้นฟูความสงบสุขในใจ แม้ถูกแวดล้อมด้วยความปัญหาแบบสงครามก็ตาม
ข้อเสนอแนะก็มี 4 ขั้นตอน
1.มองหาสัญญาณว่ามีกล่องเกิดขึ้น ว่ามีการกล่าวโทษ การสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง แล้วยัดเยียดความร้ายกาจให้คนอื่น
2.มองหาสถานที่ไม่มีกล่อง ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ ความทรงจำดีๆ ที่สามารถไตร่ตรองสถานการณ์ได้ชัดขึ้น
3.พิจารณาความทุกข์ยากของคนอื่นด้วย ไม่ใช่มองแต่ทุกข์ของตัวเอง
4.ทำตามความรู้สึกและความปรารถนา เพื่อไปอยู่นอกกล่องและมีใจเป็นมิตรตลอดไป
สรุปแล้วเราสามารถสร้างเป็น “พีระมิดแห่งความสุข” นำทางเราในทุกๆ ปฏิสัมพันธ์ ที่ใช้กับคนในระบบงานและคนในครอบครัวหรือคนที่จะคบค้าสมาคมด้วย
เราได้บทเรียนจากพีระมิดดังนี้
1.เวลาและความพยายามส่วนใหญ่ ควรใช้ไปกับชั้นล่างๆ ของพีระมิดทำสิ่งที่อยู่ในชั้นรองลงมาจากยอดพีระมิด และเราควรช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้องมากกว่าคอยรับมือกับสิ่งผิดพลาด
นั่นคือ เราต้องออกจากกล่องแล้ว สร้างความสัมพันธ์ รับฟัง-เรียนรู้ และสื่อสารความเข้าใจ
หากเราเลือกที่จะแก้ไข-จัดการคนอื่น ก็ยิ่งจำเป็นต้องพยายามทำสิ่งที่อยู่ชั้นล่างๆ ของพีระมิดให้มากขึ้นอีก
แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ไม้แข็ง ก็ควรต้องเพิ่มการสื่อสาร การเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ให้มากกว่าเดิม
2.ปัญหาที่ชั้นใดของพีระมิด ทางออกจะอยู่ในชั้นถัดลงไปเสมอ
ถ้ามุ่งมั่น-เรียนรู้แล้วยังไม่ได้ผล อาจต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนที่กำลังรับมือและคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาให้มากขึ้น
หากพบว่ามีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ อาจเพราะมีปัญหาที่ฐานของพีระมิดคือ “วิธีมองคน”
3.การทำสิ่งที่อยู่ในพีระมิดได้ดี ขึ้นอยู่กับวิธีมองคนที่ฐาน พีระมิด “ประสิทธิภาพของพีระมิดผูกอยู่กับชั้นล่างสุด”
บทเรียนสุดท้ายย้ำเตือนให้ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดจากการแสดงพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผสานกลยุทธ์อันชาญฉลาดกับจิตใจที่สุขสงบเท่านั้น
ข้อดีของพีระมิดคือให้ความสำคัญกับรากฐาน คือการเปลี่ยนแปลงตัวเราเองก่อน
_________________________________
อบคุณข้อมูลจากหนังสือ “อยู่แต่ใน “กล่อง” คุณจะไปเห็นอะไร” สำนักพิมพ์วีเลิร์น
โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล
suwatmgr@gmail.com
เซกชั่น Good Health & Well-Being
ของ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4-10 เมษายน 2558
____________________
ใครจะนึกบ้างว่า คนที่เคยมองกันแบบศัตรูหรือคู่อริที่มีแต่ความขัดแย้ง จะมีโอกาสทางวิธีสร้างความสงบสุขกันได้
ตัวละครในเรื่องนี้ เป็นชาวอาหรับ (ยูซุฟ อัลฟาลาห์) และอีกคนเป็นชาวยิว (อาวี โรเซน) ที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตที่สูญเสียพ่อด้วยน้ำมือคนร่วมชาติของอีกฝ่าย กลับเข้าใจกันแล้วกลายมาเป็นพี่เลี้ยงในค่ายฝึกการเรียนรู้กลางทะเลทรายในรัฐแอริโซนาเพื่อดัดนิสัยทัศนคติของเด็กมีปัญหา
โปรแกรมนี้ส่งกลุ่มเด็กเจ้าปัญหาเข้าค่ายฝึกแล้ว จัดให้พ่อแม่ของเด็กเหล่านั้นได้อยู่ร่วมกัน 2 วัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ จนเข้าถึงเหตุและผล จนมีคนยอมรับผิดต่อปัญหาและเห็นทางแก้ไข
ข้อคิดแรกที่น่าเอามาใช้แก้ปัญหาที่ชุลมุนอยู่ก็คือ
“เราควรใช้เวลาและความพยายามในการช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้อง มากกว่าพยายามรับมือหรือจ้องจัดการสิ่งที่ผิดพลาด”
แต่คนเรามักทำสิ่งที่ตรงข้าม คือใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งไปรับมือกับสิ่งที่ผิดพลาด เช่น สั่งสอนลูก ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคู่รัก ดัดนิสัยพนักงาน หรือสร้างวินัยคนที่ทำตัวไม่ได้ดั่งใจเรา
“ผมจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเป็นคนที่ช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้อง ดีกว่าเอาแต่ไปแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด” ยูซุฟกล่าวย้ำ
นี่เป็นกลยุทธ์เชิงบวกและเป็นเชิงรุก ในการสนับสนุนการทำใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่ต้องไปจี้ความผิดพลาดที่ผ่านไปแล้ว
ต้องเริ่มที่ “ใจที่เป็นมิตร” ไม่ว่าจะเป็นทางออกในปัญหาความขัดแย้ง แม้แต่ในสงครามหรือการทำงานและชีวิตครอบครัวก็ตาม
มาร์ติน บูเบอร์ นักปรัชญาชื่อดังชี้ว่า ในการมองลูก คู่ครอง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่คนแปลกหน้า หลักสำคัญอยู่ที่ “วิธีมองคน” ว่า เรามองพวกเขาอย่างไร
มองเป็น “คน” ฉันกับคุณ
มองเป็น “วัตถุสิ่งของ” ฉันกับมัน
“การมองคน” จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ามองเป็นวัตถุสิ่งของ หรือสิ่งกีดขวาง แถมด้วยใจที่เป็นศัตรู ย่อมมีอคติหรือความลำเอียง และจะมองเรื่องราวต่างๆ ไม่ชัดเจน
ถ้ามองผู้อื่นเป็นคน ด้วยใจที่เป็นมิตร การตัดสินใจใดๆ ก็ด้วยเจตนาดี มีความแจ่มชัด และเข้าใจปัญหาของอีกฝ่ายได้ดีพอๆ กับปัญหาของตัวเอง (เอาใจเขามาใส่ใจเรา)
ดังนั้น คนเราต่างมีปฏิกิริยาต่อ “วิธีมองคน” ของคนอื่นมากกว่าตอบสนองต่อพฤติกรรมของเขา เช่น ลูกเราจะแสดงออกหรือตอบโต้ต่อการตีความการมองลูกของเรา มากกว่าดูการกระทำหรือคำพูดที่เราแสดงออกให้ดูดี
ปัญหาส่วนใหญ่ ทั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน ที่ลุกลามบานปลาย จึงไม่ใช่เพราะพฤติกรรมการแสดงออก แต่เบื้องลึกก็เพราะวิธีการมองคนอย่างมิตรหรือศัตรูในวงนั้นต่างหาก
ยิ่งกว่านั้น ในโลกแห่งความเป็นจริง เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องตอบสนอง เรามักมี 2 ทางเลือก คือ 1.“ทำตามความรู้สึก” เช่น เข้าช่วยเหลือ หรือเข้าจัดการกับปัญหา 2.“ทรยศต่อความรู้สึก” โดยวางเฉย หรือถอยห่างออกไปเหมือนไม่รู้ไม่เห็น
แสดงว่าบางครั้ง เราไม่ได้เลือกทำสิ่งที่รู้อยู่ว่า “ถูกต้อง” เสมอไปนั่นแสดงว่า เรา “ทรยศต่อความรู้สึก” แล้วก็สร้างความชอบธรรมให้ตัวเองด้วย “กล่องที่มองไม่เห็น” มาคลุมตัว ซึ่งเท่าที่พบบ่อยมี 4 แบบ
แบบที่ 1 กล่องแห่ง “ความเหนือกว่า” อยู่ในกล่องนี้จะไม่มองผู้อื่นเป็นคน และมองว่าคนอื่นด้อยกว่า สำคัญน้อยกว่าแล้วมองตัวเองว่าเหนือกว่า เก่งกว่า ทำถูกทุกอย่าง
แบบที่ 2 กล่องแห่ง “ความคู่ควร” จะรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าและคู่ควรกับการยกย่อง แต่ถูกกระทำไม่ดี ไม่มีใครเห็นหัว ทั้งๆ ที่ตัวเองน่าจะมีสิทธิ์แต่ถูกกีดกัน ขณะที่มอง ผู้อื่นว่าทำพลาด ไม่สำนึกบุญคุณ
แบบที่ 3 กล่องแห่ง “ภาพลักษณ์” อยากดูดีจนต้องถนอมน้ำใจคน แม้บางครั้งเสแสร้ง เพราะวิตกว่าจะถูกมองไม่ดี
แบบที่ 4 กล่องแห่ง “ความด้อยกว่า” มองตัวเองว่าไม่ดีพอ มีความต่ำต้อย บกพร่อง และโชคร้าย ขณะที่มองคนอื่นว่าได้เปรียบ มีอภิสิทธิ์และโชคดีกว่า
ถ้าเช่นนั้นเราอยากก้าวออกจากกล่องทั้ง 4 ที่บดบังความจริงของตัวเอง นี่คือ การฟื้นฟูความสงบสุขในใจ แม้ถูกแวดล้อมด้วยความปัญหาแบบสงครามก็ตาม
ข้อเสนอแนะก็มี 4 ขั้นตอน
1.มองหาสัญญาณว่ามีกล่องเกิดขึ้น ว่ามีการกล่าวโทษ การสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง แล้วยัดเยียดความร้ายกาจให้คนอื่น
2.มองหาสถานที่ไม่มีกล่อง ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ ความทรงจำดีๆ ที่สามารถไตร่ตรองสถานการณ์ได้ชัดขึ้น
3.พิจารณาความทุกข์ยากของคนอื่นด้วย ไม่ใช่มองแต่ทุกข์ของตัวเอง
4.ทำตามความรู้สึกและความปรารถนา เพื่อไปอยู่นอกกล่องและมีใจเป็นมิตรตลอดไป
สรุปแล้วเราสามารถสร้างเป็น “พีระมิดแห่งความสุข” นำทางเราในทุกๆ ปฏิสัมพันธ์ ที่ใช้กับคนในระบบงานและคนในครอบครัวหรือคนที่จะคบค้าสมาคมด้วย
เราได้บทเรียนจากพีระมิดดังนี้
1.เวลาและความพยายามส่วนใหญ่ ควรใช้ไปกับชั้นล่างๆ ของพีระมิดทำสิ่งที่อยู่ในชั้นรองลงมาจากยอดพีระมิด และเราควรช่วยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปอย่างถูกต้องมากกว่าคอยรับมือกับสิ่งผิดพลาด
นั่นคือ เราต้องออกจากกล่องแล้ว สร้างความสัมพันธ์ รับฟัง-เรียนรู้ และสื่อสารความเข้าใจ
หากเราเลือกที่จะแก้ไข-จัดการคนอื่น ก็ยิ่งจำเป็นต้องพยายามทำสิ่งที่อยู่ชั้นล่างๆ ของพีระมิดให้มากขึ้นอีก
แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ไม้แข็ง ก็ควรต้องเพิ่มการสื่อสาร การเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ให้มากกว่าเดิม
2.ปัญหาที่ชั้นใดของพีระมิด ทางออกจะอยู่ในชั้นถัดลงไปเสมอ
ถ้ามุ่งมั่น-เรียนรู้แล้วยังไม่ได้ผล อาจต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนที่กำลังรับมือและคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาให้มากขึ้น
หากพบว่ามีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ อาจเพราะมีปัญหาที่ฐานของพีระมิดคือ “วิธีมองคน”
3.การทำสิ่งที่อยู่ในพีระมิดได้ดี ขึ้นอยู่กับวิธีมองคนที่ฐาน พีระมิด “ประสิทธิภาพของพีระมิดผูกอยู่กับชั้นล่างสุด”
บทเรียนสุดท้ายย้ำเตือนให้ทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดจากการแสดงพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผสานกลยุทธ์อันชาญฉลาดกับจิตใจที่สุขสงบเท่านั้น
ข้อดีของพีระมิดคือให้ความสำคัญกับรากฐาน คือการเปลี่ยนแปลงตัวเราเองก่อน
_________________________________
อบคุณข้อมูลจากหนังสือ “อยู่แต่ใน “กล่อง” คุณจะไปเห็นอะไร” สำนักพิมพ์วีเลิร์น