(จากคอลัมน์ Learn & Share โดย ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล (suwatmgr@gmail.com) เซกชั่น Good Health & Well Being ของ ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10-18 ตุลาคม 2558)
__________________________________________________________
หนังสือที่สาวชาวอาทิตย์อุทัย ผู้นี้เขียนเผยแพร่หลักคิดและวิธีการเรื่อง The Life-Changing Magic of Tidying Up ก็ขายดีในญี่ปุ่นยาวนานกว่า 5 ปี และเป็นยอดนิยมติดอันดับ 1 ไป ทั้งตลาดจีน เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส จนถึง สหรัฐอเมริกา
ผลของหนังสือเล่มนี้ได้สร้างกระแสการจัดบ้านไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ ยกให้มาริเอะเป็น 1 ใน 100 บุคคล ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกทีเดียวเชียว
หนังสือฉบับภาษาไทยก็วางแผงแล้วในชื่อปก “ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” จัดพิมพ์ โดย WE LEARN ก็น่าจะโดนใจคนจำนวนมาก ที่เผลอสะสมเสื้อผ้า หนังสือและสิ่งของแล้วขาดหลักการจัดเก็บที่ดี จนสภาพห้องรกของเต็มบ้าน
มีคนสงสัยว่าวิธีการจัดบ้าน “คมมาริ” (Kon Mari) ที่ดูเรียบง่ายแต่มีคนสนใจ จนมีเข้ามาอบรมมากมายนั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้ขนาดไหน?
คำตอบที่เธอบอกก็คือ นี่ไม่ใช่เทคนิคการจัดบ้าน แค่การเคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง แต่คือการจัดเก็บอย่างเหมาะสม ซึ่งดูเหมือนง่าย แต่คนส่วนใหญ่ทั่วไปมักทำไม่สำเร็จ เพราะถึงจะจัดห้องได้เรียบร้อย ไม่นานก็กลับมารกเหมือนเดิม
เพราะความสำเร็จในทุกเรื่องนั้นขึ้นอยู่กับวิธีคิดถึง 90 % จึงต้องจัดการกับ “วิธีคิด” ก่อน เรามาเรียนรู้หลักคิดและวิธีการที่เธอแนะผ่านหนังสือเล่มนี้กัน เพื่อจะหลุดพ้นจากวงจรความรกรุงรังกันได้
1.จัดแบบรวดเดียวจบ
วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องลงมือจัดการกับจำนวนล้นเกินและไม่เป็นระเบียบแบบรวดเดียวจบ แล้วจะได้เห็นผลลัพธ์ทันทีว่า สภาพห้องและพื้นที่ในบ้านมีความสะอาดเรียบร้อย
ผลที่ตามมาคือ คุณจะมีกำลังใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำกันจนกลายเป็นนิสัยให้กลับเป็นการรักษาระเบียบเรียบร้อยของบ้าน โดยที่จะไม่หวนกลับไปสู่ความไร้ระเบียบอีกเลย
เพราะปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ในการจัดบ้านให้สำเร็จก็คือ 1)พิจารณาของแต่ละชิ้น แล้วตัดสินใจว่าจะเก็บไว้ หรือเอาไปทิ้ง 2)ตัดสินใจว่าจะเก็บไว้ที่ไหนต้องทำให้ถูกทาง
แล้วความเป็นระเบียบ โปร่งโล่ง ไม่รกรุงรังก็จะ เป็นสภาพใหม่ที่สัมผัสได้ คุณจะมองตัวเองต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และเกิดความมั่นใจว่า “ถ้าตั้งใจทำเต็มที่ ไม่ว่าอะไรก็เป็นไปได้”
2.การจัดบ้านถือว่าเป็นกิจกรรมพิเศษ
นี่ไม่ใช่ภาระที่ทำกันประจำวันแบบเก็บๆของหลังจากนำออกมาใช้ให้เข้าที่ แล้วก็ยังทนได้กับสภาพที่บ้านเป็นเหมือน “โรงเก็บของ” มาหลายสิบปีหรือ
ดังนั้นเมื่อมีความกระตือรือร้นที่อยากให้เรียบร้อยสมบูรณ์แบบ จึงต้องทำแบบชุดใหญ่รวดเดียวจบ และขอให้รู้ว่า “ทันทีที่เริ่มต้นทำ เท่ากับว่าคุณกำลังก้าวไปสู่ชีวิตใหม่แล้ว”
3.เริ่มด้วยการทิ้ง
วิธีการที่ใช้นี้ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จึงต้องเลือกใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด หากยอมให้เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ก็จะไม่สามารถสร้างผลกระทบที่ดีได้ชัดเจน
ดังนั้น เคล็ดลับการจัดบ้านให้เสร็จแบบรวดเดียว ให้เสร็จอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์จึงต้องเริ่มต้นดัวย “การทิ้ง”
4.ให้นึกถึงภาพผลลัพธ์ที่ต้องการ
ก่อนเริ่มทิ้งสิ่งของที่เคยสุมเป็นกองหรือวางระเกะระกะ ให้ลองจินตนาการถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่คุณปรารถนา ถ้ามีเป้าหมายที่ละเอียดชัดเจนชนิดเห็นเป็นภาพได้ ไม่ใช่แค่บอกว่า “ฉันอยากมีชีวิตที่ปราศจากความรกรุงรัง” หรือ “ฉันอยากเก็บสิ่งของให้เป็น”
แต่ถ้าเห็นภาพว่า...“เวลาฉันกลับจากที่ทำงาน พื้นห้องไม่มีของเกลื่นกลาด ห้องสะอาดเรียบร้อยเหมือนห้องในโรงแรม ฉันจะใช้ผ้าคลุมเตียงสีชมพูกับโคมไฟแบบย้อนยุคสีขาว ก่อนเข้านอนฉันจะอาบน้ำ แล้วจุดเตาน้ำมันหอมระเหย เปิดเพลงคลาสสิกฟังระหว่างเล่นโยคะ ดื่มชาสมุนไพร แล้วนอนหลับไปด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย...”
ลำดับต่อไปให้ทำความเข้าใจว่าทำไมจึงอยากใช้ชีวิตแบบนี้ ในที่สุดก็จะค้นพบว่าจุดประสงค์เดียวของการกำจัดและจัดการสิ่งของให้มีแต่ของที่พึงพอใจ ก็คือ “ความสุข”
5.การคัดเลือก “เก็บ” หรือ “ทิ้ง”
มาริเอะ บอกว่า รู้ตัวดีว่าการหมกมุ่นอยู่กับการทิ้งของก็ทำให้เป็นทุกข์อยู่เหมือนกัน เธอจึงแนะว่า วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกว่าจะเก็บ หรือ กำจัดของแต่ละชิ้นคือ ให้ถือของชิ้นนั้นเอาไว้ในมือแล้วถามตัวเองว่า “มันปลุกเร้าความสุขได้ไหม” ถ้าได้ก็เก็บไว้แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกว่าเกิดความสุข ก็ทิ้งไปได้
“เกณฑ์ที่ดีที่สุดก็คือ เกิดความสุขหรือความชื่นอกชื่นใจที่คุณจะได้รับเมื่อเก็บของชิ้นนั้นไว้”
6.จัดตามหมวดหมู่ไม่ใช่ตามพื้นที่
มาริเอะแนะนำว่า ก่อนเลือกว่าจะเก็บอะไรไว้บ้างให้รวบรวมของทุกชิ้น ในหมวดหมู่เดียวกันมากองรวมไว้ เช่น การจัดเสื้อผ้า ก็ต้องเอาเสื้อผ้าจากที่เก็บไว้ทุกตู้ทุกจุดที่เคยเก็บเคยซุกไว้ให้มากองรวมกันไว้บนพื้น แล้วหยิบขึ้นมาทีละชิ้น เพื่อพิจารณาว่า “ชิ้นนี้ปลุกเร้าความสุขได้ไหม” ถ้าได้ก็เก็บไว้
เห็นได้เลยว่าเมื่อกองรวมของทุกชิ้นไว้บนพื้น เราจะตะลึงกับปริมาณของที่มากกว่าที่คิดไว้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าแน่ๆ และยังได้เห็นบางชิ้นที่เคยถูกซุกซ่อนไว้ โดยไม่ได้เหลียวแลก็มี
แต่การจัดการกับสิ่งของ ควรเริ่มต้นจากหมวดหมู่ที่ตัดสินใจง่าย ตามลำดับคือ 1) เสื้อผ้า 2) หนังสือ 3) เอกสาร 4) ของจิปาถะ 5) ของที่มีคุณค่าทางใจ (เช่นภาพถ่าย จดหมาย ของที่ระลึก)
7.การจัดเก็บเสื้อผ้า
จากประสบการณ์มาริเอะ พบว่า หลังจากคัดเลือกแล้วลูกค้าของเธอจะเหลือเสื้อผ้าเพียง 25-35% จากจำนวนเสื้อผ้าที่เคยเก็บอยู่เดิม จนแน่นตู้ หรือกองรกห้อง
เพื่อการประหยัดพื้นที่ เธอยังได้แนะให้ใช้วิธีพับผ้าและม้วน ซึ่งจะเก็บเสื้อผ้าได้ 20-40 ชิ้น ในพื้นที่สำหรับแขวนเสื้อผ้าเพียง 10 ชิ้น และยังแนะให้จัดเรียงเสื้อผ้าในแนวตั้ง โดยใส่ในกล่องหรือลิ้นชักก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้เห็นได้ทุกชิ้นเพราะไม่ถูกวางทับซ้อน
ส่วนเสื้อผ้าที่เหมาะที่จะใช้ไม้แขวนเสื้อก็มี เช่น เสื้อโค้ต สูท เสื้อแจ็คเก็ต กระโปรง โดยเฉพาะที่เป็นเนื้อผ้าบางเบาพลิ้วไหว หรือสั่งตัดพิเศษ จะมีความสุขกับการถูกแขวนมากกว่า
ที่มาข้อมูล : หนังสือ “ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” โดย คนโด มาริเอะ สำนักพิมพ์ : WE LEARN
__________________________________________________________
เชื่อหรือไม่ ถ้ามีคนบอกว่า “การจัดบ้าน” มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปตลอดกาล ตามที่ “คนโด มาริเอะ” (Kondo Marie) ได้พิสูจน์จากการให้คำปรึกษาแนะนำการจัดบ้านจนเปิดเป็นหลักสูตรอบรม และเป็นที่ยอมรับไม่เพียงในญี่ปุ่นแต่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก |
หนังสือที่สาวชาวอาทิตย์อุทัย ผู้นี้เขียนเผยแพร่หลักคิดและวิธีการเรื่อง The Life-Changing Magic of Tidying Up ก็ขายดีในญี่ปุ่นยาวนานกว่า 5 ปี และเป็นยอดนิยมติดอันดับ 1 ไป ทั้งตลาดจีน เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส จนถึง สหรัฐอเมริกา
ผลของหนังสือเล่มนี้ได้สร้างกระแสการจัดบ้านไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ ยกให้มาริเอะเป็น 1 ใน 100 บุคคล ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกทีเดียวเชียว
หนังสือฉบับภาษาไทยก็วางแผงแล้วในชื่อปก “ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” จัดพิมพ์ โดย WE LEARN ก็น่าจะโดนใจคนจำนวนมาก ที่เผลอสะสมเสื้อผ้า หนังสือและสิ่งของแล้วขาดหลักการจัดเก็บที่ดี จนสภาพห้องรกของเต็มบ้าน
มีคนสงสัยว่าวิธีการจัดบ้าน “คมมาริ” (Kon Mari) ที่ดูเรียบง่ายแต่มีคนสนใจ จนมีเข้ามาอบรมมากมายนั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้ขนาดไหน?
คำตอบที่เธอบอกก็คือ นี่ไม่ใช่เทคนิคการจัดบ้าน แค่การเคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง แต่คือการจัดเก็บอย่างเหมาะสม ซึ่งดูเหมือนง่าย แต่คนส่วนใหญ่ทั่วไปมักทำไม่สำเร็จ เพราะถึงจะจัดห้องได้เรียบร้อย ไม่นานก็กลับมารกเหมือนเดิม
เพราะความสำเร็จในทุกเรื่องนั้นขึ้นอยู่กับวิธีคิดถึง 90 % จึงต้องจัดการกับ “วิธีคิด” ก่อน เรามาเรียนรู้หลักคิดและวิธีการที่เธอแนะผ่านหนังสือเล่มนี้กัน เพื่อจะหลุดพ้นจากวงจรความรกรุงรังกันได้
1.จัดแบบรวดเดียวจบ
วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องลงมือจัดการกับจำนวนล้นเกินและไม่เป็นระเบียบแบบรวดเดียวจบ แล้วจะได้เห็นผลลัพธ์ทันทีว่า สภาพห้องและพื้นที่ในบ้านมีความสะอาดเรียบร้อย
ผลที่ตามมาคือ คุณจะมีกำลังใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำกันจนกลายเป็นนิสัยให้กลับเป็นการรักษาระเบียบเรียบร้อยของบ้าน โดยที่จะไม่หวนกลับไปสู่ความไร้ระเบียบอีกเลย
เพราะปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ในการจัดบ้านให้สำเร็จก็คือ 1)พิจารณาของแต่ละชิ้น แล้วตัดสินใจว่าจะเก็บไว้ หรือเอาไปทิ้ง 2)ตัดสินใจว่าจะเก็บไว้ที่ไหนต้องทำให้ถูกทาง
แล้วความเป็นระเบียบ โปร่งโล่ง ไม่รกรุงรังก็จะ เป็นสภาพใหม่ที่สัมผัสได้ คุณจะมองตัวเองต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และเกิดความมั่นใจว่า “ถ้าตั้งใจทำเต็มที่ ไม่ว่าอะไรก็เป็นไปได้”
2.การจัดบ้านถือว่าเป็นกิจกรรมพิเศษ
นี่ไม่ใช่ภาระที่ทำกันประจำวันแบบเก็บๆของหลังจากนำออกมาใช้ให้เข้าที่ แล้วก็ยังทนได้กับสภาพที่บ้านเป็นเหมือน “โรงเก็บของ” มาหลายสิบปีหรือ
ดังนั้นเมื่อมีความกระตือรือร้นที่อยากให้เรียบร้อยสมบูรณ์แบบ จึงต้องทำแบบชุดใหญ่รวดเดียวจบ และขอให้รู้ว่า “ทันทีที่เริ่มต้นทำ เท่ากับว่าคุณกำลังก้าวไปสู่ชีวิตใหม่แล้ว”
3.เริ่มด้วยการทิ้ง
วิธีการที่ใช้นี้ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จึงต้องเลือกใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด หากยอมให้เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ก็จะไม่สามารถสร้างผลกระทบที่ดีได้ชัดเจน
ดังนั้น เคล็ดลับการจัดบ้านให้เสร็จแบบรวดเดียว ให้เสร็จอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์จึงต้องเริ่มต้นดัวย “การทิ้ง”
4.ให้นึกถึงภาพผลลัพธ์ที่ต้องการ
ก่อนเริ่มทิ้งสิ่งของที่เคยสุมเป็นกองหรือวางระเกะระกะ ให้ลองจินตนาการถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่คุณปรารถนา ถ้ามีเป้าหมายที่ละเอียดชัดเจนชนิดเห็นเป็นภาพได้ ไม่ใช่แค่บอกว่า “ฉันอยากมีชีวิตที่ปราศจากความรกรุงรัง” หรือ “ฉันอยากเก็บสิ่งของให้เป็น”
แต่ถ้าเห็นภาพว่า...“เวลาฉันกลับจากที่ทำงาน พื้นห้องไม่มีของเกลื่นกลาด ห้องสะอาดเรียบร้อยเหมือนห้องในโรงแรม ฉันจะใช้ผ้าคลุมเตียงสีชมพูกับโคมไฟแบบย้อนยุคสีขาว ก่อนเข้านอนฉันจะอาบน้ำ แล้วจุดเตาน้ำมันหอมระเหย เปิดเพลงคลาสสิกฟังระหว่างเล่นโยคะ ดื่มชาสมุนไพร แล้วนอนหลับไปด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย...”
ลำดับต่อไปให้ทำความเข้าใจว่าทำไมจึงอยากใช้ชีวิตแบบนี้ ในที่สุดก็จะค้นพบว่าจุดประสงค์เดียวของการกำจัดและจัดการสิ่งของให้มีแต่ของที่พึงพอใจ ก็คือ “ความสุข”
5.การคัดเลือก “เก็บ” หรือ “ทิ้ง”
มาริเอะ บอกว่า รู้ตัวดีว่าการหมกมุ่นอยู่กับการทิ้งของก็ทำให้เป็นทุกข์อยู่เหมือนกัน เธอจึงแนะว่า วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกว่าจะเก็บ หรือ กำจัดของแต่ละชิ้นคือ ให้ถือของชิ้นนั้นเอาไว้ในมือแล้วถามตัวเองว่า “มันปลุกเร้าความสุขได้ไหม” ถ้าได้ก็เก็บไว้แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกว่าเกิดความสุข ก็ทิ้งไปได้
“เกณฑ์ที่ดีที่สุดก็คือ เกิดความสุขหรือความชื่นอกชื่นใจที่คุณจะได้รับเมื่อเก็บของชิ้นนั้นไว้”
6.จัดตามหมวดหมู่ไม่ใช่ตามพื้นที่
มาริเอะแนะนำว่า ก่อนเลือกว่าจะเก็บอะไรไว้บ้างให้รวบรวมของทุกชิ้น ในหมวดหมู่เดียวกันมากองรวมไว้ เช่น การจัดเสื้อผ้า ก็ต้องเอาเสื้อผ้าจากที่เก็บไว้ทุกตู้ทุกจุดที่เคยเก็บเคยซุกไว้ให้มากองรวมกันไว้บนพื้น แล้วหยิบขึ้นมาทีละชิ้น เพื่อพิจารณาว่า “ชิ้นนี้ปลุกเร้าความสุขได้ไหม” ถ้าได้ก็เก็บไว้
เห็นได้เลยว่าเมื่อกองรวมของทุกชิ้นไว้บนพื้น เราจะตะลึงกับปริมาณของที่มากกว่าที่คิดไว้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าแน่ๆ และยังได้เห็นบางชิ้นที่เคยถูกซุกซ่อนไว้ โดยไม่ได้เหลียวแลก็มี
แต่การจัดการกับสิ่งของ ควรเริ่มต้นจากหมวดหมู่ที่ตัดสินใจง่าย ตามลำดับคือ 1) เสื้อผ้า 2) หนังสือ 3) เอกสาร 4) ของจิปาถะ 5) ของที่มีคุณค่าทางใจ (เช่นภาพถ่าย จดหมาย ของที่ระลึก)
7.การจัดเก็บเสื้อผ้า
จากประสบการณ์มาริเอะ พบว่า หลังจากคัดเลือกแล้วลูกค้าของเธอจะเหลือเสื้อผ้าเพียง 25-35% จากจำนวนเสื้อผ้าที่เคยเก็บอยู่เดิม จนแน่นตู้ หรือกองรกห้อง
เพื่อการประหยัดพื้นที่ เธอยังได้แนะให้ใช้วิธีพับผ้าและม้วน ซึ่งจะเก็บเสื้อผ้าได้ 20-40 ชิ้น ในพื้นที่สำหรับแขวนเสื้อผ้าเพียง 10 ชิ้น และยังแนะให้จัดเรียงเสื้อผ้าในแนวตั้ง โดยใส่ในกล่องหรือลิ้นชักก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้เห็นได้ทุกชิ้นเพราะไม่ถูกวางทับซ้อน
ส่วนเสื้อผ้าที่เหมาะที่จะใช้ไม้แขวนเสื้อก็มี เช่น เสื้อโค้ต สูท เสื้อแจ็คเก็ต กระโปรง โดยเฉพาะที่เป็นเนื้อผ้าบางเบาพลิ้วไหว หรือสั่งตัดพิเศษ จะมีความสุขกับการถูกแขวนมากกว่า
“การจัดบ้าน” เปลี่ยนชีวิตได้อย่างไร? ตัวผมเองก็ยังประจักษ์เลยว่า การจะลดปริมาณสิ่งของทั้งเสื้อผ้า หนังสือและเอกสารสำคัญหลายชิ้น เป็นเรื่องที่ต้องตัดใจเอาออกจากสภาพล้นตู้ และได้แต่รำพึงอำลา “ขอบคุณที่ดูแลกันมานะ” ซึ่งผมจะ “ปล่อยของ” โดยใช้วิธีนำไปบริจาค ทั้งๆที่บางครั้ง ข้ออ้างที่ขอเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ก่อนว่า “สักวันจะได้อ่าน” มาริเอะบอกว่า “วันนั้นไม่มีวันมาถึง” เพราะเรามีงานอื่นที่แย่งเวลาไป ยิ่งกว่านั้นการตัดสินใจว่าจะทิ้งบางสิ่งไปนั้นยากกว่า การสัมผัสความสุขจากสิ่งที่เก็บไว้ เพราะมักจะมีข้ออ้างสารพัด แต่คนเรานั้นจะยึดติดกับ 3 รูปแบบ คือ 1)การยึดติดกับอดีต 2)ความต้องการความมั่นคงในอนาคต 3)ทั้ง 2 รูปแบบผสมกัน แล้วก็ถามว่าจริง ๆ อยากเป็นเจ้าของสิ่งใดก็คือ การถามว่าคุณอยากใช้ชีวิตอย่างไร หลักคิดสำคัญก็คือ การยึดติดอยู่กับอดีตและความกังวลเกี่ยวกับอนาคต ไม่เพียงส่งผลต่อการเลือกว่าคุณจะเป็นเจ้าของอะไรเท่านั้น แต่ยังครอบงำการตัดสินใจในทุกแง่มุมของชีวิต รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้คนและอาชีพการงานของคุณอีกด้วย นี่เองลูกค้าของมาริเอะรายหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “การจัดบ้านส่งผลต่อชีวิตมากกว่าการปรับฮวงจุ้ย หินนำโชค และเครื่องรางอื่นๆ เสียอีก” เป็นการยืนยันว่า หนึ่งในผลลัพธ์มหัศจรรย์ของการจัดบ้านก็คือวิธีในการเลือกจัดการอย่างมีประสิทธิผลด้วยความมั่นใจในการตัดสินใจของตัวเอง |
ที่มาข้อมูล : หนังสือ “ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” โดย คนโด มาริเอะ สำนักพิมพ์ : WE LEARN