คณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ “บอร์ดยั่งยืน” ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ และสื่อมวลชน รวมทั้งสิ้น 7 คน โดยมีสถาบันไทยพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ
ศิริชัย สาครรัตนกุล ประธานกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงการจัดตั้งบอร์ดยั่งยืนในครั้งนี้ ว่า “ผมหวังว่าการขับเคลื่อนในครั้งนี้ จะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง ในกระบวนการพัฒนา CSR ในประเทศไทย ในฐานะที่ผมได้มีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จึงมีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานของบอร์ดยั่งยืนนี้ โดยเฉพาะการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่ขับเคลื่อนเรื่อง CSR ด้วยกัน”
ดร.วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองประธานกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงแผนในการทำงานเชื่อมโยงกับภาคสังคมว่า “บอร์ดยั่งยืนที่จัดตั้งขึ้นนี้ มีความตั้งใจที่จะใช้เป็นกลไกในการประสานให้เกิดพลังร่วมระหว่างภาคธุรกิจกับภาคสังคม และหน่วยงานต่างๆ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ที่เรียกว่า CSR-in-Process เป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อประโยชน์ของสังคมในมิติต่างๆ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร ของสังคม ของประเทศ ตลอดจนของประชาคมโลกด้วย”
ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวถึง บทบาทของคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า “จะประสานความร่วมมือกับเครือข่ายที่มีศักยภาพ เพื่อดำเนินการให้เกิดผล 3 ลักษณะ คือ ส่งเสริม-สนับสนุน-ยกย่อง ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยในส่วนของการส่งเสริม ประกอบด้วย การสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างเสริมกิจกรรมการแบ่งปันและพัฒนาความรู้ ความคิดกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การจัดกลุ่มผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแหล่งให้คำปรึกษาและพัฒนาเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ในส่วนการสนับสนุน ประกอบด้วย การสร้างเครื่องมือทางวิชาการและแนวปฏิบัติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติของเครือข่าย การติดตามและรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา ตัวอย่างความสำเร็จดำเนินงานที่สร้างคุณค่าใน 3 มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ของเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนการยกย่อง เป็นการนำเสนอตัวอย่างที่ดีของเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแบบอย่างนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เป็นต้น”
ดร.สุนทร คุณชัยมัง กรรมการผู้จัดการบริษัท อิมเมจพลัส คอมมิวนิเคชั่น กล่าวถึงการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับชุมชนและส่วนราชการท้องถิ่นว่า “ในช่วง 10 ปีหลังนี้ แนวคิดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รุกคืบไปยังพื้นที่ของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีลึกซึ้งใน 2 มิติ ด้วยกัน คือ มิติที่เป็น Social movement ซึ่งเป็นการต่อต้านการขยายเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริโภคนิยมที่นับวันจะเข้มข้นมากขึ้น กับมิติที่เป็น Collaborative governance หรือด้านที่เป็นการจัดการความร่วมมือของการจัดการร่วมกันของหลายภาคส่วน ที่จะนำพาทั้งการผลักดันแนวคิดและการแปลผลนโยบายใหม่ๆ ไปสู่การปฏิบัติ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องหลังนี้ ก็คือ การทำงานร่วมกันตามนโยบายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัด 5 นำร่อง ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เป็นต้น”
สุกิจ อุทินทุ รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ กลุ่มบริษัทไมเนอร์ กล่าวถึงความริเริ่มที่จะผลักดันความร่วมมือในภาคเอกชนว่า “เครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ปัจจุบันภาคเอกชนต่างพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการดำเนินการอย่างกว้างขวางในหลายๆ ด้าน แต่เมื่อดูภาพรวม จะเห็นว่า ทำกันเป็นจุดๆ ต่างคนต่างทำ ทำให้ขาดผลสัมฤทธิ์ และไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายได้ ดังนั้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือลักษณะนี้ จะทำให้ภาคเอกชนได้มีกลไกที่ทำงานร่วมกันให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด และมีพลัง ทั้งยังสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และทำงานขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมเห็นผลชัดเจน สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล”
รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ประธาน CSR พอเพียง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงบทบาทของการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาว่า “ดิฉันได้เห็นความสำคัญของการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้มีส่วนร่วมในการทำงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 อาทิ การจัดตั้งชมรมรักธุรกิจ รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงการเป็นผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การริเริ่มจัดทำหลักสูตรวิชาการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเป็นมหาวิทยาลัยแรก รวมทั้งการจัดทำคู่มือแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนการจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (พ.ศ.2558-2560) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ
ดิฉันเชื่อและมั่นใจว่า การผลักดันและส่งเสริมให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคการศึกษาได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จะช่วยบ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของชาติได้เป็นอย่างดี”
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของบอร์ดยั่งยืน กล่าวว่า “การทำงานของบอร์ดชุดนี้ มุ่งหวังตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development ซึ่งครอบคลุมในระดับสังคมโดยรวม อันมีขอบข่ายที่กว้างกว่าโจทย์การพัฒนาความยั่งยืน หรือ Sustainability Development ซึ่งมีจุดเน้นอยู่ที่ระดับองค์กรหรือห่วงโซ่ธุรกิจเป็นสำคัญ”
การทำงานตามวาระสังคม 2020 จะขับเคลื่อนในรูปของกลุ่มความร่วมมือผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Group) เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยจะเชิญชวนหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 ในกรอบเวลา 5 ปีแรก (พ.ศ.2559-2563) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (พ.ศ.2564-2573) ตามวาระสังคม 2030 ในระยะต่อไป
ศิริชัย สาครรัตนกุล ประธานกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงการจัดตั้งบอร์ดยั่งยืนในครั้งนี้ ว่า “ผมหวังว่าการขับเคลื่อนในครั้งนี้ จะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง ในกระบวนการพัฒนา CSR ในประเทศไทย ในฐานะที่ผมได้มีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จึงมีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานของบอร์ดยั่งยืนนี้ โดยเฉพาะการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่ขับเคลื่อนเรื่อง CSR ด้วยกัน”
ดร.วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองประธานกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงแผนในการทำงานเชื่อมโยงกับภาคสังคมว่า “บอร์ดยั่งยืนที่จัดตั้งขึ้นนี้ มีความตั้งใจที่จะใช้เป็นกลไกในการประสานให้เกิดพลังร่วมระหว่างภาคธุรกิจกับภาคสังคม และหน่วยงานต่างๆ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ที่เรียกว่า CSR-in-Process เป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อประโยชน์ของสังคมในมิติต่างๆ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร ของสังคม ของประเทศ ตลอดจนของประชาคมโลกด้วย”
ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวถึง บทบาทของคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า “จะประสานความร่วมมือกับเครือข่ายที่มีศักยภาพ เพื่อดำเนินการให้เกิดผล 3 ลักษณะ คือ ส่งเสริม-สนับสนุน-ยกย่อง ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยในส่วนของการส่งเสริม ประกอบด้วย การสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างเสริมกิจกรรมการแบ่งปันและพัฒนาความรู้ ความคิดกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การจัดกลุ่มผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแหล่งให้คำปรึกษาและพัฒนาเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ในส่วนการสนับสนุน ประกอบด้วย การสร้างเครื่องมือทางวิชาการและแนวปฏิบัติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติของเครือข่าย การติดตามและรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา ตัวอย่างความสำเร็จดำเนินงานที่สร้างคุณค่าใน 3 มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ของเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนการยกย่อง เป็นการนำเสนอตัวอย่างที่ดีของเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแบบอย่างนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เป็นต้น”
ดร.สุนทร คุณชัยมัง กรรมการผู้จัดการบริษัท อิมเมจพลัส คอมมิวนิเคชั่น กล่าวถึงการเชื่อมโยงการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับชุมชนและส่วนราชการท้องถิ่นว่า “ในช่วง 10 ปีหลังนี้ แนวคิดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รุกคืบไปยังพื้นที่ของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีลึกซึ้งใน 2 มิติ ด้วยกัน คือ มิติที่เป็น Social movement ซึ่งเป็นการต่อต้านการขยายเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริโภคนิยมที่นับวันจะเข้มข้นมากขึ้น กับมิติที่เป็น Collaborative governance หรือด้านที่เป็นการจัดการความร่วมมือของการจัดการร่วมกันของหลายภาคส่วน ที่จะนำพาทั้งการผลักดันแนวคิดและการแปลผลนโยบายใหม่ๆ ไปสู่การปฏิบัติ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องหลังนี้ ก็คือ การทำงานร่วมกันตามนโยบายเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัด 5 นำร่อง ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เป็นต้น”
สุกิจ อุทินทุ รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ กลุ่มบริษัทไมเนอร์ กล่าวถึงความริเริ่มที่จะผลักดันความร่วมมือในภาคเอกชนว่า “เครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ปัจจุบันภาคเอกชนต่างพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการดำเนินการอย่างกว้างขวางในหลายๆ ด้าน แต่เมื่อดูภาพรวม จะเห็นว่า ทำกันเป็นจุดๆ ต่างคนต่างทำ ทำให้ขาดผลสัมฤทธิ์ และไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายได้ ดังนั้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือลักษณะนี้ จะทำให้ภาคเอกชนได้มีกลไกที่ทำงานร่วมกันให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด และมีพลัง ทั้งยังสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และทำงานขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมเห็นผลชัดเจน สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล”
รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ประธาน CSR พอเพียง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงบทบาทของการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาว่า “ดิฉันได้เห็นความสำคัญของการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และได้มีส่วนร่วมในการทำงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 อาทิ การจัดตั้งชมรมรักธุรกิจ รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงการเป็นผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การริเริ่มจัดทำหลักสูตรวิชาการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเป็นมหาวิทยาลัยแรก รวมทั้งการจัดทำคู่มือแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนการจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (พ.ศ.2558-2560) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ
ดิฉันเชื่อและมั่นใจว่า การผลักดันและส่งเสริมให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคการศึกษาได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จะช่วยบ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของชาติได้เป็นอย่างดี”
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของบอร์ดยั่งยืน กล่าวว่า “การทำงานของบอร์ดชุดนี้ มุ่งหวังตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development ซึ่งครอบคลุมในระดับสังคมโดยรวม อันมีขอบข่ายที่กว้างกว่าโจทย์การพัฒนาความยั่งยืน หรือ Sustainability Development ซึ่งมีจุดเน้นอยู่ที่ระดับองค์กรหรือห่วงโซ่ธุรกิจเป็นสำคัญ”
การทำงานตามวาระสังคม 2020 จะขับเคลื่อนในรูปของกลุ่มความร่วมมือผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Group) เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยจะเชิญชวนหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 ในกรอบเวลา 5 ปีแรก (พ.ศ.2559-2563) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (พ.ศ.2564-2573) ตามวาระสังคม 2030 ในระยะต่อไป